ซัมซุง กาแลคซีเอส 3

ซัมซุง กาแลคซีเอส 3 (อังกฤษ: Samsung Galaxy S III; ชื่อรหัส i9300) คือสมาร์ตโฟนระบบจอสัมผัส ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ที่พัฒนาโดย ซัมซุง อิเล็คทรอนิคส์ ซึ่งพัฒนาเพิ่มซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ ต่อจากรุ่นซัมซุง กาแลคซีเอส 2 เปิดตัวเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 เอส 3 นั้นมีคุณสมบัติใหม่เพิ่มขึ้นจากรุ่นก่อนหน้าค่อนข้างมาก รวมไปด้วย ผู้ช่วยอัจฉริยะ หรือเอสวอยซ์ (S Voice), เพิ่มหน่วยความจำในเครื่อง และ การชาร์จแบตเตอรีด้วยไวร์เลส ส่วนหน้าจอนั้นมีขนาด 4.8 นิ้ว โดยมาพร้อมกับแรม 1 หรือ 2 จิกะไบต์ และรองรับ 4 จี แอลทีอี[11] ในการเปิดตัวนั้นเอส 3 มาพร้อม แอนดรอยด์ 4.0.4 "ไอศกรีมแซนด์วิช" โดยสามารถอัปเดตเป็น แอนดรอยด์ 4.1 "เจลลีบีน" ได้

ซัมซุง กาแลคซีเอส 3
กาแลคซีเอส 3 สีขาว
ผู้พัฒนาซัมซุง อิเล็กทรอนิกส์
ผู้ผลิตซัมซุง อิเล็กทรอนิกส์
สโลแกน"Designed for Humans (Inspired by Nature)"[1][2]
ออกแบบเพื่อมวลมนุษย์ (แรงบันดาลใจจากธรรมชาติ)
ซีรีส์กาแลคซีเอส
เครือข่ายที่รองรับจีเอสเอ็ม/จีพีอาร์เอส/เอดจ์ - 850, 900, 1800, 1900 เมกาเฮิรตซ์[3]

3 จี ยูเอ็มทีเอส/เอชเอสพีเอพลัส/ซีดีเอ็มเอ 2000 - 850, 900, 1700, 1900, 2100 เมกาเฮิรตซ์[3]

4 จี แอลทีอี - 700, 800, 1700, 1800, 1900, 2600 เมกาเฮิรตซ์ (รุ่นที่ว่างขายใน ทวีปอเมริกาเหนือ, ประเทศญี่ปุ่น, ประเทศออสเตรเลีย และ ประเทศเกาหลีใต้)
เปิดตัวครั้งแรก29 พฤษภาคม ค.ศ. 2012 (2012-05-29)
ขายในประเทศ145 ประเทศ โดย 296 ผู้ให้บริการเครือข่าย (กรกฎาคม พ.ศ. 2555)[4]
วางขายการสั่งซื้อ 9 ล้านเครื่อง หลังจากวางขาย; รวม 50 ล้านเครื่อง (14 มีนาคม พ.ศ. 2556)[5]
รุ่นก่อนหน้าซัมซุง กาแลคซีเอส 2
รุ่นถัดไปซัมซุง กาแลคซีเอส 4
รุ่นที่เกี่ยวข้องซัมซุง กาแลคซี โน้ต 2
ซัมซุง กาแลคซีเอส 3 มินิ
ซัมซุง อาทีฟเอส
รูปแบบสมาร์ตโฟนจอสัมผัส
ลักษณะการออกแบบสมาร์ตโฟน
ขนาดสูง 136.6 มิลลิเมตร (5.38 นิ้ว)
กว้าง 70.6 มิลลิเมตร (2.78 นิ้ว)
หนา 8.6 มิลลิเมตร (0.34 นิ้ว) (9.0 มิลลิเมตร (0.35 นิ้ว) รุ่นที่ขายในเกาหลีใต้) [6][7]
น้ำหนัก133 กรัม (4.69 ออนซ์)
ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 4.0.4 "ไอศกรีมแซนด์วิช"; เมื่อ 29 มีนาคม ค.ศ. 2012 (2012-03-29)
ปัจจุบัน: แอนดรอยด์ 4.3 "เจลลีบีน"[8]
ทัชวิซ "เนเจอร์ยูเอ็กซ์"
ระบบบนชิปซัมซุง เอ็กซีนอส 4 ควอด (รุ่นที่ขายทั่วโลก, ออสเตรเลีย และเกาหลีใต้)
ควอล์คอมม์ สแนปดรากอน เอส 4 เอ็มเอสเอ็ม 8960 (รุ่นที่ขายในอเมริกาเหนือ และญี่ปุ่น)
ซีพียู1.4 จิกะเฮิรตซ์ ควอด-คอร์ คอร์เท็กซ์-เอ 9 (รุ่นที่ขายทั่วโลก, ออสเตรเลีย และเกาหลีใต้)
1.5 จิกะเฮิรตซ์ ดูอัล-คอร์ ไครท์ (รุ่นที่ขายในอเมริกาเหนือ และญี่ปุ่น)
จีพียูมาลี-400 เอ็มพี (รุ่นที่ขายทั่วโลก, ออสเตรเลีย และเกาหลีใต้)
อาดรีโน 225 (รุ่นที่ขายในอเมริกาเหนือ และญี่ปุ่น)
หน่วยความจำระบบจิกะไบต์ (รุ่นที่ขายทั่วโลก)
2 จิกะไบต์ (ในบางประเทศ)
หน่วยความจำ16 หรือ 32 จิกะไบต์
หน่วยความจำภายนอกสูงสุดถึง 64 จิกะไบต์ ไมโครเอสดีเอ็กซ์ซี[2]
แบตเตอรี่2,100 มิลลิแอมแปร์ต่อชั่วโมง, 7.98 วัตต์ต่อชั่วโมง, 3.8 โวลต์
แบตเตอรี ลิเทียมไอออน
การป้อนข้อมูล
จอแสดงผล
รายการ
[6]
กล้องหลัง
รายการ
กล้องหน้า1.9 ล้านพิกเซล
Zero shutter lag
วิดีโอ เอชดี (720p) at 30 frames/s[6]
การเชื่อมต่อ
อื่น ๆ
รายการ
SAR
  • รุ่นขายทั่วโลก:
    0.342 วัตต์/กิโลกรัม (ส่วนหัว)
    0.547 วัตต์/กิโลกรัม (ตัวเครื่อง)
  • รุ่นสหรัฐอเมริกา:
    0.55 วัตต์/กิโลกรัม (ส่วนหัว)
    1.49 วัตต์/กิโลกรัม (ตัวเครื่อง)[6]

ซัมซุงใช้เวลา 8 เดือนในการพัฒนารุ่นนี้ โดยเปิดตัวในวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 ในลอนดอน[12] และเริ่มวางขายใน 28 ประเทศทวีปยุโรปและตะวันออกกลาง เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 ก่อนที่จะวางขายในประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2555 รวมถึงการสั่งจองจากเครือข่ายกว่า 100 เครือข่ายทั่วโลกจำนวน 9 ล้านเครื่อง[13] มีการขายเอส 3 ภายใต้เครือข่ายผู้ให้บริการมากกว่า 300 เครือข่าย ในกว่า 150 ประเทศทั่วโลก ในปลายเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2555[4] เอส 3 กว่า 20 ล้านเครื่อง ถูกขายภายใน 100 วันหลังวางขายครั้งแรก[14] และซัมซุงสามารถขายอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือไปแล้วมากกว่า 40 ล้านเครื่อง[15]

เนื่องจากมีความต้องการทางการตลาดสูงและปัญหาเครื่องรุ่นสีน้ำเงิน[16] ทำให้เกิดการขาดตลาดโดยเฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ตามในวงการเทคโนโลยีสารสนเทศนั้น ได้แสดงความคิดเห็นอย่างหลายหลายว่า มันคือ "นักฆ่าไอโฟน"[17] ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2555 เทคเรดาร์จัดอันดับให้ เอส 3 เป็นโทรศัพท์มือถือที่ดีที่สุดจาก 20 อันดับ[18] ขณะเดียวกัน นิตยสารสตัฟฟ์ ได้จัดให้เอส 3 เป็นอันดับ 1 จาก 10 อันดับสมาร์ตโฟนที่ดีที่สุดในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2555[19] อีกทั้งยังได้รางวัล "โทรศัพท์เคลื่อนที่ยุโรปแห่งปี 2012-13" (European Mobile Phone of 2012–13) จากสมาคมภาพและเสียงแห่งยุโรป[20] และได้รางวัล "โทรศัพท์แห่งปี" ประจำปี 2555 จากนิตยสารที3[21]

การวางขายกาแลคซีเอส 3 ทำให้ซัมซุงมีกำไรเพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี พ.ศ. 2555[22] ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2555 เอส 3 ก็เป็นส่วนหนึ่งของคดีความที่ได้รับความสนใจระหว่างซัมซุงกับแอปเปิล[23] ในเดือนเดียวกัน จากการวิจัยสถิติยอดขายกาแลคซีเอส 3 นั้นจะทำยอดขายที่มากกว่า แอปเปิล ไอโฟน 4เอส ภายในไตรมาสที่ 3 ของปี พ.ศ. 2555[24] ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 กาแลคซีเอส 3 ได้รางวัล "สมาร์ตโฟนยอดเยี่ยม" (Best Smartphone) จากจีเอสเอ็มเอ (GSMA) ในงานโมบายล์เวิลด์คองเกรส[25] ปัจจุบันซัมซุงได้เปิดตัวรุ่นใหม่ คือ กาแลคซีเอส 4 เมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2556 และจะวางขายในเดือนเมษายน พ.ศ. 2556

ประวัติ แก้

การออกแบบ แก้

งานการออกแบบกาแลคซีเอส 3 นั้นเริ่มขึ้นในช่วงปลายปี พ.ศ. 2553 ภายใต้การกำกับดูแลงานของ ชาง ดอง-ฮูน รองประธานบริษัทและหัวหน้าแผนกดีไซน์ของบริษัทซัมซุงอิเล็กทรอนิกส์ โดยการออกแบบนั้นอยู่ภายใต้หัวข้อ "ออร์แกนิก" หรือ อินทรียสาร การออกแบบนั้นจะต้องสะท้อนให้เห็นถึงองค์ประกอบของธรรมชาติเช่น น้ำ หรือ ลม[26] โดยจะออกแบบให้ส่วนของโทรศัพท์มีความเว้าโค้ง รวมไปถึงหน้าโฮมในโทรศัพท์ที่เกี่ยวกับน้ำด้วย ซึ่งเมื่อแตะที่หน้าจอก็จะเสมือนการสัมผัสบนน้ำและมีคลื่นน้ำแสดงให้เห็น[26]

การออกแบบใช้เวลาร่วม 8 เดือน โดยก่อนจะจัดงานเปิดตัวนั้น ซัมซุงได้ใช้มาตรการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด รวมไปถึงการรักษาความลับอย่างเข้มงวด เพื่อไม่ให้รูปลักษณ์ของโทรศัพท์ถูกเปิดเผยก่อนจะมีการเปิดตัว โดยต้นแบบในการออกแบบนั้น มี 3 รูปแบบก่อนจะคัดเลือกให้เหลือเพียง 1 รูปแบบเดียวเท่านั้น[27][28] ซึ่งต้นแบบนั้นถูกเก็บไว้ในห้องปฏิบัติการ ที่สามารถเข้าไปได้เพียงนักออกแบบเท่านั้น[28][29] "มีเพียงพวกเราที่ได้รับอนุญาตที่จะได้เห็นโทรศัพท์เครื่องนี้ โดยห้ามให้คนอื่นเห็น" ลี บยุง-จุน วิศวกรหลักอธิบายถึงการปกปิดความลับ "เราไม่สามารถส่งรูปถ่ายหรือภาพวาด โดยเราทำได้เพียงอธิบายเป็นคำ ๆ เท่านั้น"[30] แม้ว่าจะมีการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด แต่ก็มีข่าวรั่วไหลออกมา จากทินห์เต๋อ เว็บไซต์เทคโนโลยีในประเทศเวียดนาม แต่สุดท้ายโทรศัพท์ที่ถูกเผยแพร่หรือหลุดออกมานั้นไม่ใช่ของจริง[31][32]

การคาดเดาของผู้คนและเว็บไซต์ต่าง ๆ ก่อนจะที่จะมีการเปิดตัวหลายเดือนก่อนหน้า ซึ่งมีข่าวที่ค่อนข้างมากพอสมควร ก่อนจะมีการเปิดตัวอย่างเป็นทางการในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2555 ก่อนหน้านั้นในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 ในงานโมบายล์เวิลด์คองเกรส ในเมืองบาร์เซโลนา ประเทศสเปน มีข่าวลือออกมาก่อนแล้วว่า จะใช้หน่วยประมวลผลควอด-คอร์ 1.5 จิกะเฮิรตซ์ ส่วนจอจะมีความละเอียด 1080p (1,920×1,080 พิกเซล) และมีกล้องหลัก 12 ล้านพิกเซล และใช้จอแสดงผล จอสัมผัส เอชดี ซูเปอร์อโมเลดพลัส[33][34] ส่วนข่าวลืออื่น ๆ นั้นก็รวมไปถึง แรมจิกะไบต์, พื้นที่เก็บข้อมูล 64 จิกะไบต์, 4 จี แอลทีอี, จอขนาด 4.8 นิ้ว, กล้องหลัก 8 ล้านพิกเซล และความหนาของเครื่อง 9 มิลลิเมตร[33][34] ซัมซุงได้ยืนยันถึงการผลิตรุ่นต่อของ กาแลคซีเอส 2 ในวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2555 แต่ยังไม่ระบุถึงชื่อทางการ จนในช่วงปลายเดือนเมษายน พ.ศ. 2555 โรเบิร์ต ยี่ รองประธานอาวุโสของบริษัทซัมซุง ได้ยืนยันว่ามันจะมันจะมีชื่อว่า "ซัมซุง กาแลคซีเอส 3" (Samsung Galaxy S III)[35][36]

การเปิดตัวและคดีความ แก้

 
กาแลคซีเอส 3 ถูกเปิดตัวในงานซัมซุงโมบายล์อันแพ็ก 2012 ในวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

หลังจากมีการเชิญผู้สื่อข่าวเข้าร่วมงานในช่วงกลางเดือนเมษายน ซัมซุงได้ทำการเปิดตัวกาแลคซีเอส 3 ในระหว่างงานซัมซุงโมบายล์อันแพ็ก 2012 (Samsung Mobile Unpacked 2012) ที่ เอิร์ลคอร์ตเอ็กซ์ฮีบีชันเซ็นเตอร์ ใน ลอนดอน ประเทศอังกฤษ ในวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 แทนที่จะมีการเปิดตัวในช่วงต้นปีในงานโมบายล์เวิลด์คองเกรส หรือ คอนซูเมอร์อิเล็กทรอนิกส์โชว์[12][37] ซึ่งการตัดสินใจครั้งนี้เพราะซัมซุง ต้องการเวลาสำหรับความพร้อมในการเปิดตัว[38] การอธิบายในการเปิดตัวใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง โดย ลอสเย เดอ รีเซ ผู้อำนวยการตลาดของบริษัทซัมซุงเบลเยียม[39]

วันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555 แอปเปิลดำเนินคดีฟ้องเบื้องต้นในศาลแขวง เขตตอนเหนือของรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา กับบริษัทซัมซุงอิเล็กทรอนิกส์ โดยอ้างว่ากาแลคซีเอส 3 ได้ละเมิดสิทธิบัตรอย่างน้อย 2 อย่าง โดยขอให้ศาลรวมคดีเก่ากับซัมซุงด้วย (ดูเพิ่มที่ "คดีระหว่างบริษัทแอปเปิลกับบริษัทซัมซุงอิเล็คทรอนิกส์ จำกัด") และให้ศาลสั่งห้ามขายกาแลคซีเอส 3 ซึ่งจะมีการวางจำหน่ายในวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2555 ในสหรัฐอเมริกา[40] แอปเปิลอ้างว่าการละเมิดข้อกล่าวหาจะทำให้เกิดอันตรายและไม่สามารถแก้ไขได้ในประโยชน์ทางการค้า[41] โดยซัมซุงทำการต่อต้านให้ศาลเห็นว่า "กาแลคซีเอส 3 นั้นเป็นวัตกรรมที่โดดเด่น" และอยากให้การวางขายในวันที่ 21 มิถุนายน เป็นไปตามแผนที่วางไว้[41] ในวันที่ 11 มิถุนายน ลูซี โก ผู้พิพากษาเห็นว่า ขอให้แอปเปิลนั้น เลิกคำร้องขอในการห้ามขายของกาแลคซีเอส 3 ในวันที่ 21 มิถุนายน[42]

ในช่วงกลางเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2555 ซัมซุงได้นำ "ยูนิเวอร์ซัลเสิร์ช" ออก ซึ่งเป็นคุณสมบัติหนึ่งของกาแลคซีเอส 3 โดยอัปเดตผ่านระบบ โอเวอร์-ดิ-แอร์ (OTA) สำหรับเครื่องของเครือข่าย สปรินต์ และ เอทีแอนด์ที ซึ่งเป็นมาตรการป้องกันของซัมซุง ก่อนการตัดสินคดีสิทธิบัตรกับแอปเปิล ในวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555[43] แอปเปิลซึ่งชนะคดี ทำให้หลาย ๆ ประเทศนั้นขัดขวางห้ามมิให้มีการวางขายกาแลคซีเอส 3 ภายในประเทศ[44] ในวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555 แอปเปิลฟ้องศาลในกรณีเดียวกันเพื่อเพิ่มกาแลคซีเอส 3 เข้าไปในคดีของตน เพราะเชื่อว่ามีการละเมิดสิทธิบัตร ซึ่งซัมซุงนั้นได้ตอบโต้ว่า "แอปเปิลยังคงที่จะดำเนินคดีเพื่อการแข่งขันทางการตลาด เพื่อจะจำกัดการเลือกใช้สอยของผู้บริโภค"[45]

ในวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ซัมซุงได้ทำการเปิดตัวซัมซุง กาแลคซีเอส 3 มินิ ซึ่งเป็นสมาร์ตโฟน จอ 4 นิ้ว โดยเป็นสมาร์ตโฟนที่ถูกลดคุณสมบัติจากกาแลคซีเอส 3[46]

คุณสมบัติ แก้

ซอฟต์แวร์ แก้

กาแลคซีเอส 3 ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ จากกูเกิล ซึ่งถูกสร้างขึ้นและรู้จักกันอย่างแพร่หลายในช่วงปี พ.ศ. 2551[47] โดยมีส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้คือ ทัชวิซ "เนเจอร์ยูเอ็กซ์" ซึ่งมีหน้าตาเกี่ยวกับ อินทรียสาร ตามแบบที่วางไว้ ซึ่งรวมไปถึงการโต้ตอบกับผู้ใช้, เอฟเฟกส์ "วอเตอร์ลักซ์"ซึ่งจะเป็นคลื่นน้ำเมื่อสัมผัสหน้าจอ[26] สำหรับส่วนที่เติมเต็ม ทัชวิซ รุ่นใหม่นี้ เพื่อเป็นการกับแข่งขันแอปเปิล ที่ผลิตซีรี ขึ้นมา โดยกาแลคซีเอส 3 นั้นมี เอสวอยซ์ ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ผู้ช่วย โดยเอสวอยซ์สามารถพูดคุยและรับฟังกับผู้ใช้ได้ในภาษาอังกฤษ, ภาษาเกาหลี และ ภาษาฝรั่งเศส[48] โดยมีฐานข้อมูล จาก วลิงโก เอสวอยซ์นั้นมีความสามารถในการสั่งงานมากถึง 20 แบบ เช่น การสั่งให้เล่นเพลง, การตั้งนาฬิกาปลุก หรือให้ใช้งานในโหมดระหว่างขับรถ โดยจะอาศัย โวล์ฟรามอัลฟา ในการค้นหาข้อมูลทางออนไลน์[49]

เอส 3 มาพร้อม แอนดรอยด์ เวอร์ชัน 4.0.4 หรือในชื่อ "ไอศกรีมแซนด์วิช" โดยเวอร์ชันนี้เปิดตัวเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2555 กับ เน็กซัสเอส และ กาแลคซี เน็กซัส[50] ไอศกรีมแซนด์วิชมีคุณสมบัติที่ใหมกว่ารุ่นก่อนหน้าอย่าง "จิงเจอร์เบรด" ทั้งเรื่องเพิ่มความสามารถของกล้อง และคุณสมบัติด้านความปลอดภัย รวมไปถึงการเชื่อมต่อต่าง ๆ [51] กลางเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2555 กูเกิล ได้เปิดตัว แอนดรอยด์ 4.1 หรือในชื่อ "เจลลีบีน" โดยมาพร้อมกับกูเกิลนาว ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ผู้ช่วยเหมือนกับ "เอสวอยซ์" และการเปลี่ยนแปลงด้านซอฟต์แวร์อื่น ๆ จากไอศกรีมแซนด์วิชด้วย โดยซัมซุงก็ได้เปลี่ยนฮาร์ดแวร์ในกาแลคซีเอส 3 ในบางรุ่นที่วางตลาดด้วย[52] เจลลีบีนถูกปล่อยให้อัปเดตบนกาแลคซีเอส 3 โดยเริ่มต้นจากกลุ่มประเทศทวีปยุโรปก่อน และการอัปเดตของทีโมบายล์ ในเดือนพฤศจิกายน ในประเทศสหรัฐอเมริกา[53][54] วันที่ 17 ตุลาคม ซัมซุงได้ทำการยืนยันว่า "ผู้ใช้กาแลคซีเอส 3 ในสหรัฐอเมริกาจะได้อัปเดตเป็นเป็นแอนดรอยด์ 4.1 เจลลีบีน ในเดือนหน้า"[55] กาแลคซีเอส 3 นั้นก็รองรับไซยาโนเจนมอด 10 ซึ่งเป็นเฟิร์มแวร์เฉพาะ ที่สามารถทำงานบนเจลลีบีนได้ โดยไม่ต้องรอการอัปเดตจากทางผู้ผลิตหรือผู้ให้บริการ[56]

เอส 3 มาพร้อมโปรแกรมประยุกต์ ที่มาพร้อมกับเครื่องตั้งแต่เริ่มแรก ซึ่งจะเป็นโปรแกรมมาตรฐานของแอนดรอยด์ เช่น ยูทูบ, กูเกิล+, การค้นหาด้วยเสียง, กูเกิล เพลย์, จีเมล, กูเกิล แมปส์ และ กูเกิล แคเลนเดอร์ และโปรแกรมของซัมซุง เช่น แชทออน, เกมฮับ, วิดีโอฮับ, โซเชียลฮับ และ ระบบนำทาง[57][58] หลายเหตุผลที่ผู้ใช้ ไอโฟน ไม่อยากเปลี่ยนมาใช้แอนดรอยด์ เพราะว่าแอนดรอยด์นั้นไม่รองรับ ไอทูนส์ เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2555 ซัมซุงได้สามารถทำให้ผู้ใช้ ซัมซุง กาแลคซี ที่จะถ่ายโอนข้อมูลเพลง, รูปภาพ, วิดีโอ, พอดแคสต์ และ ข้อความ จาก ไอโฟนมายังอุปกรณ์ซัมซุง กาแลคซี[59] โดยในแอนดรอยด์นั้นมี กูเกิล เพลย์ ซึ่งเป็นแหล่งดาวน์โหลดสื่อดิจิตอลสำหรับแอนดรอยด์ ทั้งโปรแกรมประยุกต์, ภาพยนตร์, เพลง, รายการโทรทัศน์, เกม, หนังสือ และนิตยสาร[60] ซึ่งจนถึงปัจจุบันนี้ในประเทศไทยนั้นยังไม่มีบริการสำหรับการดาวน์โหลดสื่ออื่น ๆ นอกจากโปรแกรมประยุกต์ของแอนดรอยด์ ผ่านกูเกิลเพลย์

นอกเหนือจาก เอสวอยซ์แล้ว ซัมซุงได้เพิ่มคุณสมบัติใหม่จำนวนมากสำหรับกาแลคซีเอส 3 ที่จะทำให้มันเป็นอุปกรณ์ที่สามารถอำนวยความสะดวกและสามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ได้ โดยคุณสมบัตินี้มีชื่อว่า "ไดเร็กส์คอล" ซึ่งอุปกรณ์จะรับรู้ว่าผู้ใช้จะต้องการพูดคุยกับใครแทนที่การส่งข้อความเมื่อผู้ใช้เอาโทรศัพท์แนบหู, "โซเชียลแท็ก" คุณสมบัติที่จะสามารถระบุชื่อบุคคลในภาพถ่ายได้, และ "ป็อปอัปเพลย์" คุณสมบัติที่จะสามารถแบ่งหน้าจอเป็น 2 ส่วนสำหรับการดูวิดีโอและใช้งานโปรแกรมได้ในเวลาเดียวกัน[61] นอกจากนี้ เอส 3 นั้นยังสามารถใช้เป็นรีโมตคอนโทรล เพื่อสั่งงานโทรทัศน์ได้ (ด้วยออลแชร์ แคสต์แอนด์เพลย์) และสามารถแบ่งปันรูปภาพกับผู้คนที่ได้แท็กลงไปในรูปได้ (ด้วยบัดดีโฟโตแชร์)[61] และคุณสมบัติอื่น ๆ เช่น สมาร์ตอเลิร์ต, สมาร์ตสเตย์ และ เอสบีม[61]

กาแลคซีเอส 3 สามารถเข้าถึงและเล่นสื่อต่าง ๆ ได้อย่างเต็มรูปแบบ เช่น เพลง, ภาพยนตร์, รายการโทรทัศน์, ออดิโอบุ๊ค และ พอดแคสต์ โดยสามารถเรียงลำดับสื่อต่าง ๆ ตามอักษร ด้วย ชื่อเพลง, ชื่อศิลปิน, ชื่ออัลบั้ม, รายการเล่นเพลง, แฟ้มเก็บข้อมูล และชนิดสื่อ โดยมีคุณสมบัติเด่นของเครื่องเล่นเพลงในกาแลคซีเอส 3 คือ มิวสิกสแควร์ (Music Square) โดยจะวิเคราะห์อารมณ์ของเพลง และเรียงลำดับให้ผู้ใช้ได้เลือกเพลงตามอารมณ์ของผู้ใช้[62] การเปิดตัวของกาแลคซีเอส 3 ซัมซุงจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ โปรแกรมจัดการเพลงและดาวน์โหลดเพลงที่มีชื่อว่า "มิวสิกฮับ" (Music Hub) โดยออกแบบมาเพื่อแข่งขันกับ ไอทูนส์, ไอคลาวด์ และ ไอทูนส์แมตช์ ของแอปเปิล โดยมิวสิกฮับนั้นมีสื่อเพลงมากกว่า 19 ล้านเพลง[63]

เอส 3 นั้นเป็นสมาร์ตโฟน เครื่องแรกที่รองรับการสนทนาผ่านแอลทีอี ด้วยเสียงในระบบความละเอียดสูง (HD) ในประเทศเกาหลีใต้[64] โดยรองรับการสนทนาด้วยวิดีโอ ด้วยกล้องหน้าความละเอียด 1.9 ล้านพิกเซล และรองรับการแปลงสัญญาณเสียง เอพีทีเอ็กซ์ (apt-X) และการสนทนาผ่านหูฟังบลูทูธ[65] การส่งข้อความบนเอส 3 นั้นไม่ได้นำคุณสมบัติใหม่ ๆ ในเอส 2 มาเลย การพูดด้วยเสียงผ่าน วลิงโก และผู้ช่วยในเรื่องเสียงของกูเกิล ไม่แตกต่างจากอุปกรณ์แอนดรอยด์อื่น ๆ แต่แป้นพิมพ์ของ เอส 3 นั้นมีความหลากหลายมากกว่า[66]

ในวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ซัมซุงได้ทำการเปิดตัวซอฟต์แวร์สำหรับองค์กร ภายใต้บริษัทซัมซุงแอปโพรฟฟอร์เอ็นเทอร์ไพรซ์ (Samsung Approved For Enterprise) หรือ เอสเอเอฟอี (SAFE) โดยมุ่งมั่นที่จะให้อุปกรณ์แอนดรอยด์สามารถใช้สำหรับพนักงานบริษัทในภาคเอกชนได้ หรือที่เรียกว่า Bring Your Own Device หรือการนำอุปกรณ์มาเอง[67] โดยเอส 3 รุ่นสำหรับองค์กรนี้สามารถรองรับ เออีเอส-256 (AES-256) ซึ่งเป็นการเข้ารหัส ชนิดหนึ่ง, เครือข่ายส่วนตัวเสมือน และ การจัดการโทรศัพท์มือถือ รวมไปถึง ไมโครซอฟท์ เอ็กซ์เชนจ์ แอคทีฟซิงก์[68] โดยมีกำหนดการวางขายในประเทศสหรัฐอเมริกาในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2555 ซึ่งเป็นรุ่นสำหรับองค์กรที่คิดว่าน่าจะโดดเด่นโดยรีเสิร์ชอินโมชัน บริษัทผู้ผลิต แบล็คเบอร์รี หลังจากการปล่อยรุ่นสำหรับองค์กรในรุ่นกาแลคซี โน้ต, กาแลคซีเอส 2 และ กาแลคซี แท็บ ซึ่งเป็นแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์[68][69]

และกาแลคซีเอส 3 รุ่นสำหรับนักพัฒนา โดยรุ่นนี้จะปลดล็อก บูตโหลดเดอร์ (bootloader) ที่จะสามารถให้ผู้ใช้อุปกรณ์นี้สามารถปรับแต่งซอฟต์แวร์ได้[70]

ฮาร์ดแวร์และดีไซน์ แก้

 
กาแลคซี เน็กซัส (ซ้าย) กับกาแลคซีเอส 3

กาแลคซีเอส 3 ใช้พลาสติกพอลิคาร์บอเนตเป็นตัวเครื่อง โดยมีความยาว 136.6 มิลลิเมตร, ความกว้าง 70.7 มิลลิเมตร และความหนา 8.6 มิลลิเมตร มีน้ำหนัก 133 กรัม โดยซัมซุงเปลี่ยนรูปแบบใหม่ทั้งหมด จากรูปทรงสี่เหลี่ยมของกาแลคซีเอส และ กาแลคซีเอส 2 แทนด้วยทรงโค้งและขอบที่มนคล้ายกับกาแลคซี เน็กซัส[71] โดยเอส 3 เริ่มแรกมีวางขายใน 2 สี คือ สีหินอ่อนขาว (Marble White) และ สีกรวดน้ำเงิน (Pebble Blue) อย่างไรก็ตามสีกรวดน้ำเงินนั้น มีรายงานว่าถูกเปลี่ยนเป็น สีโลหะน้ำเงิน (Metallic Blue)[72] ต่อมาได้วางขาย สีแดงโกเมน (Garnet Red) พิเศษสำหรับเครือข่ายเอทีแอนด์ที ในสหรัฐอเมริกา ในวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2555[73] และสีดำไพลิน (Sapphire Black), สีเทาไทเทเนียม (Titanium Gray) และสีน้ำตาลอำพัน (Amber Brown) จะวางขายในภายหลัง[74]

เอส 3 นั้นถูกวางขายในรูปแบบ 2 รูปแบบซึ่งแตกต่างกันด้วยฮาร์ดแวร์ โดยเอส 3 รุ่นที่วางขายทั่วโลก จะใช้หน่วยประมวลผลซัมซุง เอ็กซีนอส 4 ควอด 1.4 จิกะเฮิรตซ์ หน่วยประมวลผลกลาง ควอด-คอร์ เออาร์เอ็ม คอร์เท็กซ์-เอ 9 (ARM Cortex-A9) และ หน่วยประมวลผลกราฟิกส์ เออาร์เอ็ม มาลี-400 เอ็มพี (ARM Mali-400 MP)[75] โดยเอ็กซีนอส 4 ควอดนั้นเปรียบได้กับ เอ็กซีนอส 4 ดูอัล (บนกาแลคซีเอส 2) จำนวน 2 ตัวมารวมกัน โดยจะใช้พลังงานน้อยลง 20 เปอร์เซนต์[76] ซัมซุงก์ได้วางขายรุ่นที่รองรับ 4 จี แอลทีอี ด้วย โดย 4 จี สามารถอำนวยความสะดวกเพราะมีความรวดเร็วกว่า 3 จี โดยวางขายในประเทศที่มีโครงข่ายสัญญาณ 4 จี แล้ว[77] โดยส่วนใหญ่ของรุ่นนี้จะใช้ ควอล์คอมม์ สแนปดรากอน เอส 4 ซึ่งเป็นหน่วยประมวลผล ดูอัล-คอร์ ไครท์ (Krait) 1.5 จิกะเฮิรตซ์ และ หน่วยประมวลผลกราฟิกส์ อาดรีโน 255 (Adreno 225)[78] รุ่นสำหรับประเทศเกาหลีใต้ และ ประเทศออสเตรเลีย เป็นรุ่นที่รองรับ 4 จี และมีคุณสมบัติเหมือนรุ่นที่ขายทั่วโลก[7]

กาแลคซีเอส 3 มี แรม มกที่สุดอยู่ที่ 2 จิกะไบต์ ซึ่งขึ้นอยู่กับรุ่นนั้น ๆ [77] และมีหน่วยความจำภายใน 16 หรือ 32 จิกะไบต์ และ 64 จิกะไบต์ ในรุ่นสำหรับวางขายทั่วโลก และสามารถเพิ่มหน่วยความจำด้วย ไมโครเอสดีเอ็กซ์ซี (microSDXC) โดยสามารถเพิ่มได้มากที่สุด 64 จิกะไบต์ ทำให้จะสามารถเก็บข้อมูลได้มากที่สุด 128 จิกะไบต์[79] รวมไปถึงการใช้งานบริการดรอปบ็อกซ์ (Dropbox) ซึ่งเป็นบริการเก็บไฟล์แบบกลุ่มเมฆ (Cloud Storage) แบบออนไลน์ฟรีเป็นเวลา 2 ปี โดยมีความจุของพื้นที่เก็บข้อมูล 50 จิกะไบต์ โดยมากกว่าเอชทีซี ที่ให้ใช้บริการนี้ฟรี 2 ปีด้วยความจุ 25 จิกะไบต์[62]

เอส 3 มีจอแสดงผล เอชดี ซูเปอร์อโมเลด มีขนาดหน้าจอ 4.8 นิ้ว วัดตามแนวทแยง ทำให้รุ่นนี้เป็นอันดับที่ 3 ของโทรศัพท์มือถือซัมซุงที่มีจอแสดงผลใหญ่ที่สุด โดยเป็นรองเพียงซัมซุง กาแลคซี โน้ต ที่มีขนาดจอ 5.3 นิ้ว และซัมซุง กาแลคซี โน้ต 2 ที่มีขนาดจอ 5.55 นิ้ว[80] โดยหน้าจอของเอส 3 มีความละเอียด 1,280×720 พิกเซล (720p) โดยความละเอียดพิกเซลต่อนิ้ว มีความละเอียด 306 พิกเซลต่อนิ้ว (PPI)[79] โดยมีพิกเซลย่อย 3 สีคือ สีแดง, สีเขียว และ สีน้ำเงิน กระจกที่ใช้มาทำเป็นหน้าจอด้านนอกนั้น เปนกระจกป้องกันรอยขีดข่วน คอร์นิง กอริลลากลาส 2[71]

 
ด้านหลังของเอส 3 รุ่นประเทศญี่ปุ่น

กาแลคซีเอส 3 มีกล้อง ความละเอียด 8 ล้านพิกเซล ซึ่งมีความละเอียดเท่ากับรุ่นก่อนหน้าอย่างกาแลคซีเอส 2 โดยจะสามารถถ่ายภาพความละเอียด 3,264×2,448 พิกเซล และสามารถบันทึกวิดีโอความละเอียด 1,920×1,080 พิกเซล (1080p) โดยซัมซุงได้เพิ่มคุณภาพของซอฟต์แวร์กล้องนี้ใหม่จากกาแลคซีเอส 2 รุ่นก่อนหน้า เช่น ซีโรชัตเตอร์แล็ก (Zero Shutter Lag) ซึ่งจะสามารถถ่ายภาพได้เร็วขึ้นกว่าเดิม, เบริสต์โหมด (Burst Mode) และ เบสต์ช็อต (Best Shot) ซึ่งจะสามารถถ่ายภาพได้มีคุณภาพมากขึ้น[81] และสามารถที่จะถ่ายภาพในขณะที่กำลังบันทึกวิดีโออยู่ได้อีกด้วย[82] ส่วนกล้องหน้ามีความละเอียด 1.9 ล้านพิกเซลและสามรถบันทึกวิดีโอความละเอียด 720p[81]

ในจอสัมผัส 4.8 นิ้วนั้น จะมีปุ่มหน้าหลัก (Home) อยู่ตรงกลางด้านล่างจอ, ปุ่มปรับเสียงที่ด้านซ้าย และปุ่มเปิด-ปิดเครื่อง/ปุ่มปิดหน้าจอ อยู่ที่ด้านขวาของคัวเครื่อง[58] ด้านบนเครื่องจะมีรูสำหรับเสียบหูฟัง ทีอาร์อาร์เอส (TRRS) 3.5 นิ้ว และไมโครโฟนตัวที่สอง โดยอีกตัวหนึ่งจะอยู่ด้านล่างของตัวเครื่อง[58] เอส 3 นั้นรองรับ เอ็มเอชแอล (MHL) ซึ่งเป็นการถ่ายโอนข้อมูลแบบความละเอียดสูง รวมไปถึงไมโครยูเอสบี ออนทูโก และระบบส่งสัญญาณมัลติมีเดียความละเอียดสูง (HDMI) โดยภายหลังพบว่าซัมซุงได้เปลี่ยนเพื่อรองรับการเชื่อมต่อต่าง ๆ โดยมีเพียงที่ชาร์จแบตเตอรีที่ทำมาเฉพาะสำหรับรุ่นนี้ที่สามารถนำมาใช้ได้เท่านั้น[83]

เอส 3 ใช้แบตเตอรีลิเทียมไออน ความจุ 2,100 มิลลิแอมแปร์ต่อชั่วโมง ซึ่งสามารถเปิดเครื่องรอรับสายได้นาน 790 ชั่วโมงบนเครือข่าย 3 จี หรือสนทนา 11 ชั่วโมง หรือการเปิดเครื่องรอรับสายนาน 900 ชั่วโมง หรือสนทนา 21 ชั่วโมง บนเครือข่าย 2 จี[57] โดยสามารถเชื่อมต่อ Near field communication ได้ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเชื่อมต่อเพื่อแบ่งปันแผนที่ หรือ วิดีโอบนยูทูบ ได้อย่างรวดเร็ว โดยใช้ วายฟายไดเร็กส์ (Wi-Fi Direct) ผ่าน แอนดรอยด์บีม (Android Beam) รวมไปถึงสามารถชำระเงินตามร้านค้าด้วยระบบ Near field communication หรือ NFC ได้ด้วย[84] เพื่อช่วยในการลดการใช้พลังงานจากแบตเตอรี ซัมซุงมีระบบ "สมาร์ตสเตย์" (Smart Stay) ที่จะสามารถรับรู้ว่าผู้ใช้มองอยู่หรือไม่และจะปิดหน้าจอเมื่อไม่มีใครมองมาที่หน้าจอ[49] แบตเตอรีนั้นสามารถชาร์จได้ด้วยระบบไร้สาย ผ่านแท่นชาร์จพิเศษ (ขายแยกจากเครื่อง) โดยจะใช้ คลื่นสนามแม่เหล็ก ในการถ่ายโอนประจุไฟฟ้า[85]

ซีเน็ตทีวี (CNET TV) ได้ทำการทดสอบด้วยการนำกาแลคซีเอส 3 ไปอยู่ที่อุณหภูมิเย็น –4 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิร้อน 88 องศาเซลเซียส รวมไปถึงการนำไปไว้ในน้ำด้วย โดยหลังจากเอส 3 ถูกทดสอบทั้ง 3 อย่างนั้นปรากฏว่าตัวเครื่องยังอยู่ในสภาพปกติดี หลังจากนั้นได้มีการทดสอบด้วยนำลูกกุญแจมาขูดที่หน้าจอ ปรากฏว่าก็ยังไม่เป็นรอย[86] อย่างไรก็ตาม แอนดรอยด์ออธอรีตี (Android Authority) ได้ทดสอบด้วยการนำ ซัมซุง กาแลคซีเอส 3 กับ ไอโฟน 5 มาเปรียบเทียบกันในเรื่องของการปล่อยตกลงมาจากที่สูง หลังจากการทดลองปรากฏว่าหน้าจอของเอส 3 แตกหลังจากการปล่อยครั้งที่ 2 ส่วนไอโฟนมีรอยขีดข่วนที่จอและเครื่องเพียงเล็กน้อย หลังจากการทดสอบ 3 ครั้ง[87]

ปัญหาของฮาร์ดแวร์ แก้

วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2555 มีการวิจัยและทดลองในด้านความปลอดภัยระหว่างงานพีดับเบิลยูเอ็นทูโอน (Pwn2Own) ซึ่งเป็นการแข่งขันการแฮ็กระบบ โดยจัดขึ้นที่ อัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยเอส 3 นั้นสามารถถูกแฮ็กได้ด้วย เอ็นเอฟซี (NFC) ซึ่งจะสามารถทำให้แฮ็กเกอร์ดาวน์โหลดข้อมูลทั้งหมดจากโทรศัพท์ได้[88]

ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2555 ปัญหาฮาร์ดแวร์ 2 เรื่องถูกรายงานโดยผู้ใช้ซัมซุง กาแลคซีเอส 3 ด้วยความไม่ทนทานของ เอ็กซีนอส ชิพประมวลผลของเครื่อง อนุญาตให้โปรแกรมที่เป็นอันตรายที่จะสามารถรูต (Root) บนเครื่องที่ยังไม่ได้รูต รวมไปถึงการเกิดอาการบริก (Brick) หลังจากการใช้งานไป 6 เดือน หลังจากนั้นซัมซุงจึงเปลี่ยนแผงวงจรหลักให้ใหม่ เนื่องจากยังอยู่ในระยะรับประกัน[89][90] ต่อมาในเดือนมกราคม พ.ศ. 2556 ซัมซุงได้ทำการปล่อยเฟิร์มแวร์ระบบใหม่ให้อัปเดต เพื่อแก้ปัญหาทั้ง 2 ปัญหาที่เกิดก่อนหน้านี้[91]

รุ่น แก้

วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 เอ็นทีที โดโคโม ได้ยืนยันว่าจะทำการวางขายเอส 3 รุ่นที่รองรับแอลทีอี โดยใช้ควอล์คอมม์ สแนปดรากอน เอ็มเอสเอ็ม 8960[92] วันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 ผู้ให้บริการในประเทศแคนาดา ได้ยืนยันว่าจะทำการวางขายเอส 3 รุ่นรองรับแอลทีอี โดยจะมีหมายเลขรุ่น SGH-i747 ส่วนคุณสมบัติจะเหมือนกับรุ่นของเอ็นทีที โดโคโม[93] ภายในสัปดาห์เดียวกัน ในวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2555 ทีโมบายล์ และ เอทีแอนด์ที[94] ได้ยืนยันในการวางขายเอส 3 รุ่นเดียวกันกับผู้ให้บริการในแคนาดาที่ยืนยันเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม ต่อมา เวอไรซอน, สปรินต์ และ ยูเอสเซลลูลาร์ จะทำการวางขายรุ่นเหมือนกันแต่จะรองรับเพียง ซีดีเอ็มเอ (3 จี) ดังนั้นคุณสมบัติและชื่อรุ่นของกาแลคซีเอส 3 ในทวีปอเมริกาเหนือ จะต่างจากรุ่นที่ขายทั่วโลก ซึ่งเหมือนกับกาแลคซีเอส ในรุ่นก่อน ๆ ที่รุ่นที่มีผู้ให้บริการเครือข่ายวางขาย จะแตกต่างจากเครื่องรุ่นที่ขายทั่วโลก[95]

รุ่นที่รองรับแอลทีอี ในประเทศเกาหลีใต้ เป็นรุ่นที่ดีที่สุดของกาแลคซีเอส 3[96] ซึ่งสามารถรองรับ 4 จี แอลทีอี และมีแรม 2 จิกะไบต์ ซึ่งวางขายในทวีปอเมริกาเหนือและในประเทศญี่ปุ่น แต่จะแตกต่างที่รุ่นของเกาหลีใต้จะใช้ ซัมซุง เอ็กซีนอส 4 ควอด เหมือนกับรุ่นที่ขายทั่วโลก โดยจะมี ดิจิตัลมัลติมีเดียบรอดคาสติงด้วย จึงทำให้รุ่นนี้จำเป็นที่จะต้องเพิ่มความหนาเป็น 9 มิลลิเมตร[7] และรุ่นที่คล้ายกันสำหรับ ควอด-คอร์ และรองรับ 4 จี แอลทีอี ถูกวางขายในประเทศออสเตรเลียด้วย[97]

ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2555 ซัมซุงได้ทำการยืนยันว่าจะทำการเปิดตัวและวางขายกาแลคซีเอส 3 ในรุ่น 4 จี (พร้อมกับรุ่น 4 จี ของ กาแลคซี โน้ต 2 และ กาแลคซี โน้ต 10.1) ในกลุ่มประเทศนอร์ดิก ในไตรมาสที่ 4 ของปี พ.ศ. 2555[98]

รุ่น GT-I9300 และ GT-I9305 รองรับมิราคาสต์ซอร์ส (Miracast Sources) ด้วย[99]

ซัมซุง กาแลคซีเอส 3 มินิ เป็นรุ่นที่มีรูปแบบและซอฟต์แวร์เหมือนกับเอส 3 แต่มีตัวเครื่องเล็กกว่าและฮาร์แวร์ที่ต่างกัน

รุ่น GT-I9300[T][100] GT-I9305[N/T][101][102] SHV-E210K/L/S[7][103][104] SGH-T999[v][93] SGH-I747[m][93] SGH-N064 (SC-06D) SGH-N035 (SC-03E) SCH-J021 (SCL21) SCH-R530 SCH-I535 SPH-L710 GT-I9308[105] SCH-I939[106]
ประเทศ ทั่วโลก   เกาหลีใต้   แคนาดา,
  สหรัฐ[107]
  ญี่ปุ่น   สหรัฐ   จีน
ผู้ให้บริการเครือข่าย ทั่วโลก ทั่วโลก (แอลทีอี) เคที, แอลจียู+, เอสเคเทเลคอม โมบีลีซิตี, ทีโมบายล์, วินด์, วิดีโอตรอน เอทีแอนด์ที, เบลล์, โรเจอส์, เทลุส, ซาสก์เทล, เวอร์จิน เอ็นทีที โดโคโม เอยู คริกเก็ตไวร์เลส, ยูเอสเซลลูลาร์, เมโทรพีซีเอส เวอไรซอน สปรินต์ ไชนาโมบายล์ ไชนาเทเลคอม
2 จี 850, 900, 1800, 1900 เมกะเฮิรตซ์
จีเอสเอ็ม / จีพีอาร์เอส / เอดจ์
850, 1900 เมกะเฮิรตซ์
ซีดีเอ็มเอ
800,[N 1] 850, 1900 เมกะเฮิรตซ์
ซีดีเอ็มเอ
900, 1800, 1900 เมกะเฮิรตซ์
จีเอสเอ็ม / จีพีอาร์เอส / เอดจ์
800, 1900 เมกะเฮิรตซ์
ซีดีเอ็มเอ 900, 1800, 1,900 เมกะเฮิรตซ์
จีเอสเอ็ม / จีพีอาร์เอส / เอดจ์
3 จี 850, 900, 1900, 2100 เมกะเฮิรตซ์
ยูเอ็มทีเอส / เอชเอสพีเอ+
ซีดีเอ็มเอ/อีวีดีโอ[108][109]
ดับเบิลยูซีดีเอ็มเอ 850, 900, 2100 เมกะเฮิรตซ์
ยูเอ็มทีเอส / เอชเอสพีเอ+
850, 900, 1800, 1900, 2100 เมกะเฮิรตซ์
ยูเอ็มทีเอส / เอชเอสพีเอ+
ซีดีเอ็มเอ/อีวีดีโอ[108][109]
850, เอดับเบิลยูเอส (แบนด์ 4), 1900, 2100 เมกะเฮิรตซ์
ยูเอ็มทีเอส / เอชเอสพีเอ+ / ดีซี-เอชเอสพีเอ+
850, 1900, 2100 เมกะเฮิรตซ์
ยูเอ็มทีเอส / เอชเอสพีเอ+
800, 1700 (แบนด์ 9), 2100 เมกะเฮิรตซ์
ยูเอ็มทีเอส / เอชเอสพีเอ+
ซีดีเอ็มเอ 2000 1 เอ็กซ์อีวีดีโอ 1880, 2010 เมกะเฮิรตซ์
ทีดี เอชเอสดีพีเอ
ซีดีเอ็มเอ 2000 1 เอ็กซ์อีวีดีโอ
2100 เมกะเฮิรตซ์
ดับเบิลยูซีดีเอ็มเอ
4 จี
แอลทีอี
ไม่มี GT-I9305: 800, 1800, 2600 เมกะเฮิรตซ์[110]
GT-I9305N: 900, 1800, 2600 เมกะเฮิรตซ์[111]
GT-I9305T: 1800, 2600 เมกะเฮิรตซ์[112]
SHV-E210K: 900, 1800 เมกะเฮิรตซ์ [113]
SHV-E210L: 850, 2100 เมกะเฮิรตซ์[108]
SHV-E210S: 800 เมกะเฮิรตซ์[114]
ไม่มี 700 (แบนด์ 17), 1700/2100 (เอดับเบิลยูเอส) เมกะเฮิรตซ์ 2100 เมกะเฮิรตซ์ 1500(แบนด์ 11), 800(Band 28) 700 (แบนด์ 12), 1700/2100 (เอดับเบิลยูเอส) เมกะเฮิรตซ์ 700 (แบนด์ 13) เมกะเฮิรตซ์ 1900 เมกะเฮิรตซ์ ไม่มี
ความเร็วการเชื่อมต่อสูงสุด 21 เมกะบิตต่อวินาที เอชเอสพีเอ+ 100 เมกะบิตต่อวินาที แอลทีอี 42 เมกะบิตต่อวินาที ดีซี-เอชเอสพีเอ+ 100 เมกะบิตต่อวินาที แอลทีอี 75 เมกะบิตต่อวินาที แอลทีอี 100 เมกะบิตต่อวินาที แอลทีอี 75 เมกะบิตต่อวินาที แอลทีอี 100 เมกะบิตต่อวินาที แอลทีอี 2.8 เมกะบิตต่อวินาที ทีดี เอชเอสดีพีเอ N/A
การรับสัญญาณออกอากาศ วิทยุ เอฟเอ็ม ดิจิตัลมัลติมีเดียบรอดคาสติง วันเซก (1seg)
ขนาด 136.6 x 70.7 x 8.6 มิลลิเมตร 136.6 x 70.6 x 9.0 มิลลิเมตร [7] 136.6 x 70.7 x 8.6 มิลลิเมตร 137 x 71 x 9 มิลลิเมตร 139 x 71 x 9.4 มิลลิเมตร 136.6 x 70.7 x 8.6 มิลลิเมตร 136.6 x 70.6 x 8.99 มิลลิเมตร
น้ำหนัก 133 กรัม 138.5 กรัม[7] 133 กรัม 133 กรัม 141 กรัม 133 กรัม 141 กรัม
ระบบปฏิบัติการ แอนดรอยด์ 4.0.4 "ไอศกรีมแซนด์วิช" พร้อมส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ ทัชวิซ "เนเจอร์ ยูเอ็กซ์" แอนดรอยด์ 4.1.1 "เจลลีบีน" พร้อมส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ ทัชวิซ "เนเจอร์ ยูเอ็กซ์"[97] แอนดรอยด์ 4.1.1 "เจลลีบีน" พร้อมส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ ทัชวิซ "เนเจอร์ ยูเอ็กซ์" แอนดรอยด์ 4.0.4 "ไอศกรีมแซนด์วิช" พร้อมส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ ทัชวิซ "เนเจอร์ ยูเอ็กซ์" แอนดรอยด์ 4.1.1 "เจลลีบีน" พร้อมส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ ทัชวิซ "เนเจอร์ ยูเอ็กซ์" แอนดรอยด์ 4.0.4 "ไอศกรีมแซนด์วิช" พร้อมส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ ทัชวิซ "เนเจอร์ ยูเอ็กซ์" แอนดรอยด์ 4.0.4 "ไอศกรีมแซนด์วิช" พร้อมส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ ทัชวิซ "เนเจอร์ ยูเอ็กซ์" (สามารถอัปเดตเป็น 4.1.1 ได้) แอนดรอยด์ 4.0.4 "ไอศกรีมแซนด์วิช" พร้อมส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ ทัชวิซ "เนเจอร์ ยูเอ็กซ์"
ชิพ ซัมซุง เอ็กซีนอส 4 ควอด[115] ควอล์คอมม์ สแนปดรากอน S4 เอ็มเอสเอ็ม 8960 ซัมซุง เอ็กซีนอส 4 ควอด 4412 ควอล์คอมม์ สแนปดรากอน S4 เอ็มเอสเอ็ม 8960 ซัมซุง เอ็กซีนอส 4 ควอด
หน่วยประมวลผลกลาง 1.4 จิกะเฮิรตซ์ ควอด-คอร์ เออาร์เอ็ม คอร์เท็กซ์ เอ-9 1.5 จิกะเฮิรตซ์ ดูอัล-คอร์ ควอล์คอมม์ ไครท์ 1.6 จิกะเฮิรตซ์ ควอด-คอร์ เออาร์เอ็ม คอร์เท็กซ์ เอ-9 1.5 จิกะเฮิรตซ์ ดูอัล-คอร์ ควอล์คอมม์ ไครท์ 1.4 จิกะเฮิรตซ์ ควอด-คอร์ เออาร์เอ็ม คอร์เท็กซ์ เอ-9[116]
หน่วยประมวลผลกราฟิกส์ เออาร์เอ็ม มาลี-400 เอ็มพี 4 ควอล์คอมม์ อาดรีโน 225 เออาร์เอ็ม มาลี-400 เอ็มพี 4 ควอล์คอมม์ อาดรีโน 225 เออาร์เอ็ม มาลี-400 เอ็มพี 4
แรม จิกะไบต์ 2 จิกะไบต์ 1 จิกะไบต์
หน่วยความจำภายใน 16/32/64 จิกะไบต์[79] 16/32 จิกะไบต์ 16/32/64 จิกะไบต์[79] 16/32 จิกะไบต์[117] 16/32 จิกะไบต์ 32 จิกะไบต์ 16/32 จิกะไบต์ 16 จิกะไบต์

หลังการวางขาย แก้

 
กาแลคซีเอส 2 (ซ้าย) กับ กาแลคซีเอส 3

การขายเชิงพาณิชย์ แก้

จากการที่พนักงานของซัมซุงที่ไม่ระบุชื่อ พูดกับ "โคเรีย อีโคโนมิกเดลี" (Korea Economic Daily) ว่า "เอส 3 นั้นมีการสั่งซื้อมากกว่า 9 ล้านเครื่อง จาก 100 เครือข่ายผู้ให้บริการ ภายใน 2 สัปดาห์จากการเปิดตัวในลอนดอน" ทำให้เป็นอุปกรณ์ที่มีการสั่งซื้อเร็วและมากที่สุดในประวัติศาสตร์[118] โดยเมื่อเปรียบเทียบกับ ไอโฟน 4เอส ซึ่งมีการสั่งซื้อเพียง 4 ล้านเครื่องเท่านั้น[119] สำหรับรุ่นเรือธงรุ่นก่อนของซัมซุง อย่างกาแลคซีเอส 2 มีการนำส่งอุปกรณ์ 10 ล้านเครื่องภายใน 5 เดือน ในเดือนเดียวกันกับการเปิดตัวที่ลอนดอน การประมูลและซื้อขายสินค้าใน อีเบย์ เพิ่มขึ้น 119 เปอร์เซนต์ในการขายโทรศัพท์มือสอง ซึ่งอีเบย์ได้ออกมาแถลงว่า "เป็นครั้งแรกสำหรับอุปกรณ์ยี่ห้ออื่นนอกเหนือจากแอปเปิลที่ผู้ใช้ตื่นตัวในการซื้อ-ขายสินค้า"[120]

เอส 3 ถูกวางขายใน 28 ประเทศในแถบทวีปยุโรป และ ตะวันออกกลาง ในวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2555[121] เพื่อเป็นการโฆษณาสมาร์ตโฟนเรือธงรุ่นใหม่ของซัมซุง จึงจัดการทัวร์ใน 9 เมือง คือ ซิดนีย์, นิวเดลี และเมืองใน ประเทศจีน, ประเทศญี่ปุ่น, ประเทศเกาหลีใต้ และ สหรัฐอเมริกา[122]

เอส 3 นั้นช่วยให้ส่วนแบ่งทางการตลาดดีขึ้นในหลายประเทศ เช่น ประเทศอินเดีย ซึ่งคาดว่าซัมซุงจะมีส่วนแบ่งทางการตลาดร้อยละ 60 ของประเทศ ซึ่งก่อนหน้านี้อยู่ที่ร้อยละ 46[123] หลังจากการวางขาย 1 เดือน ส่วนแบ่งทางการตลาดในประเทศฝรั่งเศส มีมากขึ้นเป็น 60 เปอร์เซนต์ รวมไปถึงส่วนแบ่งทางการตลาดสมาร์ตโฟนเกินร้อยละ 50 ในประเทศเยอรมนี และ ประเทศอิตาลี[124] และส่วนแบ่งทางการตลาดในสหราชอาณาจักร มีมากขึ้นถึงร้อยละ 40 ขณะที่ไอโฟน 4เอส นั้นลดจากร้อยละ 25 เหลือเพียงร้อยละ 20[125] เอส 3 ถูกวางแผนในการวางขายในทวีปอเมริกาเหนือ ในวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2555 แต่ด้วยความต้องการ ที่สูง ทำให้ผู้ให้บริการเครือข่ายในสหรัฐอเมริกาและแคนาดาได้รับเครื่องช้า และวางขายช้าหลายวัน ในขณะที่บางผู้ให้บริการที่จำกัดจำนวนเครื่องในการขาย[126] เอส 3 ในสหรัฐอเมริกา ถูกเปิดตัวที่ นิวยอร์ก โดย แอชลีย์ กรีเน นักแสดงจากภาพยนตร์แวมไพร์ ทไวไลท์ ร่วมด้วย สกริลเลกซ์ นักร้องแนว ดั๊บสเตป จากสกายไลต์สตูดิโอ[127]

ซัมซุงคาดว่า ปลายเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2555 เอส 3 จะถูกวางขายบน 296 ผู้ให้บริการเครือข่ายใน 145 ประเทศ[4] และมากกว่า 10 ล้านที่ถูกขายไปแล้ว[128] ชิน จอง-กยุน ประธานแผนกการสื่อสารของซัมซุง ได้ยืนยันว่าในวันที่ 22 กรกฎาคม เอส 3 ถูกขายไปแล้ว 10 ล้านเครื่อง[129] ตามการประเมินโดย ยูบีเอส (UBS) บริษัททางการเงินของสวิตเซอร์แลนด์ ซัมซุงวางขายเอส 3 จำนวน 5–6 ล้านเครื่อง ในไตรมาสที่ 2 ของปี พ.ศ. 2555 และ 10–12 ล้านเครื่อง ต่อไตรมาส ในช่วงเวลาที่เหลือของปี และยิ่งกว่านั้น บีเอ็นพี ปารีบาส (BNP Paribas) บริษัททางการเงินในปารีส กล่าวว่าเอส 3 นั้นจะถูกขาย 15 ล้านเครื่องในไตรมาสที่ 3 ของปี พ.ศ. 2555[130] ส่วน โนมุระ (Nomura) บริษัทที่ปรึกษาทางการเงินในประเทศญี่ปุ่น คิดว่าน่าจะถูกวางขายมากถึง 18 ล้านเครื่อง[131] และเอส 3 จะถูกขาย 40 ล้านเครื่องภายในสิ้นปี[132] เพื่อความต้องการสูง ซัมซุงจำเป็นที่ต้องจ้างพนักงาน 75,000 คน และโรงงานในประเทศเกาหลีใต้นั้นสามารถผลิตได้สูงสุด 5 ล้านเครื่องต่อเดือน[118][133]

ปัญหาในการผลิต ทำให้เกิดการผิดปกติและบกพร่องในกระบวนการ "ไฮเปอร์กลาซิง" (hyper-glazing) ข้อบกพร่องนี้ส่งผลให้การขาดแคลนพลาสติกสีน้ำเงิน สำหรับการผลิตตัวเครื่องสีน้ำเงิน[16] โดยปัญหานี้ได้ถูกแก้ไขแล้วในภายหลัง อย่างไรก็ตาม รอยเตอร์ส คาดว่าจะมีปัญหาในการขาดตลาดของ กาแลคซีเอส 3 จำนวน 2 ล้านเครื่องในระหว่างการเปิดตัวในเดือนแรก[134]

วันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2555 ซัมซุงได้เปิดเผยว่ากาแลคซีเอส 3 นั้นถูกขายแล้ว 20 ล้านเครื่องใน 100 วัน และทำให้ขายได้เป็น 3 และ 6 เท่ามากกว่า กาแลคซีเอส 2 และกาแลคซีเอส ตามลำดับ โดยการวางขายในทวีปยุโรป มากถึงร้อยละ 25 โดยมียอดขาย 6 ล้านเครื่อง ตามมาด้วย ทวีปเอเชีย 4.5 ล้านเครื่อง และ สหรัฐอเมริกา 4 ล้านเครื่อง ส่วนการขายในประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งเป็นบ้านเกิดของกาแลคซีเอส 3 สามารถขายได้ 2.5 ล้านเครื่อง[14] และในเวลาเดียวกันซัมซุงได้ยืนยันว่า การขายเอส 3 นั้น ยอดขายดีกว่า ไอโฟน 4เอส ในสหรัฐอเมริกา[135]

ในไตรมาสที่ 3 ของปี พ.ศ. 2555 กาแลคซีเอส 3 มากกว่า 18 ล้านเครื่อง ถูกวางขาย และทำให้เป็นสมาร์ตโฟนที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เหนือไอโฟน 4เอส ที่สามารถขายได้ 16.2 ล้านเครื่อง นักวิเคราะห์คิดว่าสาเหตุที่ไอโฟน 4เอส มียอดขายตกต่ำ เป็นเพราะการยืนยันการเปิดตัวของ ไอโฟน 5[136]

การวิพากษ์วิจารณ์ แก้

 
เดวิด โปค นักวิจารณ์เทคโนโลยี วิจารณ์กาแลคซีเอส 3[137]

การวิจารณ์กาแลคซีเอส 3 ในเชิงบวก นักวิจารณ์ระบุถึงการผสมผสานของคุณสมบัติต่าง ๆ เช่น เอสวอยซ์, หน้าจอ, ความเร็วการประมวลผล และ รูปร่างที่มีดีกว่า ไอโฟน 4เอส และ เอชทีซี วันเอ็กซ์[71][82] วลาด ซาโวฟ นักข่าว เดอะเวิร์จ (The Verge) ได้ระบุว่ามันคือ "ชัยชนะแห่งเทคโนโลยี"[138] ขณะเดียวกัน นาตาชา ลอมาส นักข่าวซีเน็ต (CNET) ได้ยกย่องว่า "มันบางและเบาอีกทั้งยังเป็นสมาร์ตโฟนควอด-คอร์ด้วย" และเธอเรียกมันว่า "เฟอร์รารีแห่งโทรศัพท์แอนดรอยด์" (Ferrari of Android phones)[82] รวมไปถึงฉายา "เจ้าชายในมวลหมู่โทรศัพท์" (a prince among Android phones) โดย เดฟ โอลีเวอร์ นักข่าวจากไวร์ (Wired) และ ราชาแห่งแอนดรอยด์ (king of Android) จากอีแซต เดเดเซด จากนิตยสารสตัฟฟ์ (Stuff)[139][140] แกเรธ เบวิส นักข่าวเทคเรดาร์ (TechRadar) ระบุว่า "เอส 3 เป็นเทคโนโลยีที่เร็ว, ชาญฉลาด และสเปคดีที่สุดของเทคโนโลยีนี้"[141] แมตต์ วอร์แมน จาก เดอะเดลีเทเลกราฟ (The Daily Telegraph) กล่าวว่า "ได้ใช้เวลาสั้น ๆ กับเอส 3 ขอบอกเลยว่าเป็นรุ่นต่อของเอส 2 ที่จะประสบความสำเร็จ"[142]

นักวิจารณ์ได้วิจารณ์มากมายในรุ่นเรือธงของซัมซุง ในปี พ.ศ. 2555 นี้[143] ว่าเป็น "นักฆ่าไอโฟน"[17] ทำให้ผู้ใช้ที่ชื่นชอบแอปเปิลบางส่วนเปลี่ยนมาใช้เอส 3[144] โดยเอส 3 ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ส่วนไอโฟนนั้นใช้ไอโอเอส ด้วยการออกแบบและคุณสมบัติที่ดีกว่า ทั้งสมาร์ตสเตย์, จอที่ใหญ่กว่า, หน่วยประมวลผลควอด-คอร์ รวมไปถึงการเชื่อมต่อต่าง ๆ [145]

เอส 3 เป็นสมาร์ตโฟน แอนดรอยด์เครื่องแรกที่มีราคาเปิดตัวสูงกว่า ไอโฟน 4เอส ที่แอปเปิลเปิดตัวเมื่อปี พ.ศ. 2554[146] ทิม เวเบอร์ นักข่าวธุรกิจของ บีบีซี ได้กล่าวว่า "กาแลคซีเอส 3 รุ่นใหม่ของซัมซุง เขาดูมุ่งมั่นที่จะขยับไปอยู่เหนือคู่แข่งอย่างแอปเปิล"[121]

ตรงกันข้าม ในการวิจารณ์ในเรื่องการออกแบบและความรู้สึกของโทรศัพท์ บ้างก็ว่าโพลีคาร์บอเนตนั้นมีราคา "ถูก"[147] และทำให้ "รู้สึกลื่น"[141] เอสวอยซ์ "แย่" กว่า ซีรี รวมไปถึงการรับฟังเสียงผู้ใช้,ที่ไม่ตอบสนองในหลาย ๆ คำ[141][148] รวมไปถึงปัญหาในการสนทนาโทรศัพท์[149] โดยความคิดเห็นต่าง ๆ จากผู้ใช้ได้ระบุว่า การปรับแสงหน้าจออัตโนมัตินั้น ค่อนข้างที่จะข้ามขั้นเกินไป (เช่น สว่างเป็นมืด)[N 2] อย่างไรก็ตาม เอส 3 มีอายุการใช้งานแบตเตอรีมากกว่าอุปกรณ์ของเอชทีซี 2 เท่า[151][N 3] อย่างไรก็ตามผู้ใช้บางคนได้ออกมาวิจารณ์ว่า "เมื่อเอส 3 ลงโปรแกรมเยอะ เครื่องจะเกิดอาการช้า"[152][N 4]

ในช่วงปลายเดือนกันยายน พ.ศ. 2555 เทคเรดาร์ (TechRadar) ได้จัดอันดับว่า เอส 3 เป็นอันดับที 1 ของ 20 อันดับโทรศัพท์มือถือยอดเยี่ยม[18] นิตยสาร "สตัฟฟ์" ได้จัดอันดับให้เอส 3 เป็นอันดับที 1 ของ 10 อันดับสมาร์ตโฟนยอดเยี่ยม ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2555[19] นอกจากนั้นกาแลคซีเอส 3 ยังได้รับรางวัล "ยูโรเปียน โมบายล์โฟน ออฟ 2012–13" (European Mobile Phone of 2012–13) จาก สมาคมภาพและเสียงแห่งยุโรป[20] ในปี พ.ศ. 2555 กาแลคซีเอส 3 ยังได้รับรางวัล "มือถือแห่งปี" (Phone of the Year) จากนิตยสาร ที 3 โดสามารถเอาชนะไอโฟน 4เอส, โนเกีย ลูเมีย 900 และ โซนี่ เอ็กซ์พีเรีย เอส และอื่น ๆ [21] รวมไปถึงการโหวตให้เป็นมือถือแห่งปี จาก เอส 21[153] ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 กาแลคซีเอส 3 ได้รางวัล "สมาร์ตโฟนยอดเยี่ยม" (Best Smartphone) จากจีเอสเอ็มเอ ในงานโมบายล์เวิลด์คองเกรส[154]

ดูเพิ่ม แก้

หมายเหตุ แก้

  1. รุ่นของสปรินต์จะรองรับซีดีเอ็มเอ บน อีเอสเอ็มอาร์ 800, โดยคลื่นความถี่นี้ เดิมสปรินต์ใช้สำหรับเน็กซ์เทล
  2. ซัมซุงได้ทำการปล่อยอัปเดต รวมถึงเรื่องการปรับแสงหน้าจออัตโนมัติด้วยแล้ว[150]
  3. การทดสอบนี้ ทดสอบโดยสมาร์ตโฟนควอด-คอร์ 2 เครื่องด้วยการเล่นวิดีโอจนกว่าแบตเตอรีจะหมด[151]
  4. เกิดได้จากการใช้งานรวมไปถึงการลงโปรแกรมต่าง ๆ นานา[152]

อ้างอิง แก้

  1. "Samsung Galaxy S III". Samsung Electronics. สืบค้นเมื่อ 15 June 2012.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 "Samsung Introduces the GALAXY S III, the Smartphone Designed for Humans and Inspired by Nature" (Press release). Samsung Electronics. 3 May 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-25. สืบค้นเมื่อ 6 May 2012.
  3. 3.0 3.1 3.2 Jager, Chris (4 May 2012). "Samsung Galaxy S3: full specifications list". PC & Tech Authority. Haymarket Media Group. สืบค้นเมื่อ 1 July 2012.
  4. 4.0 4.1 4.2 Kim, Miyoung; Sandle, Paul (May 29, 2012). "Samsung Galaxy S3 gets head start on rival iPhone". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-05. สืบค้นเมื่อ 30 June 2012.{{cite news}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  5. "Q&A With Samsung's Mobile Chief". The Wall Street Journal. 14 March 2013.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 6.5 6.6 "Samsung I9300 Galaxy S III". GSMArena.com. สืบค้นเมื่อ 1 July 2012.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 7.5 "SHW-E210S GALAXY S III". Samsung Electronics. สืบค้นเมื่อ 9 July 2012.
  8. "Samsung retries botched update to Galaxy S3 smartphone". BBC. BBC News. 6 December 2013.
  9. Burns, Chris (26 April 2012). "Samsung picks Pentile for Galaxy S III". SlashGear. R3 Media. สืบค้นเมื่อ 4 May 2012.
  10. 10.0 10.1 "Samsung Galaxy S III". PhoneArena. สืบค้นเมื่อ 14 July 2012.
  11. Trew, James (3 May 2012). "Samsung Galaxy S III is official: 4.8-inch HD Super AMOLED display, quad-core Exynos processor and gesture functions". Engadget. AOL. สืบค้นเมื่อ 5 May 2012.
  12. 12.0 12.1 Orantia, Jenneth (4 June 2012). "Samsung reignites smartphone wars with Galaxy S III". The Sydney Morning Herald. Fairfax Media. สืบค้นเมื่อ 25 June 2012.
  13. Warman, Matt (18 May 2012). "Samsung S3: 9 million pre-order new Galaxy phone". The Daily Telegraph. Telegraph Media Group. สืบค้นเมื่อ 14 June 2012.
  14. 14.0 14.1 "Samsung's Galaxy S3 sales top 20 mil". The Korea Times. The Hankook Ilbo Media Group. 9 September 2012. สืบค้นเมื่อ 6 September 2012.
  15. Blagdon, Jeff (14 January 2013). "Samsung sells over 100 million Galaxy S devices". The Verge. Vox Media. สืบค้นเมื่อ 14 January 2013.
  16. 16.0 16.1 Walters, Ray (1 June 2012). "Pebble Blue Galaxy S3 delayed due to hyper-glazing issue". Geek.com. Ziff Davis. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-05. สืบค้นเมื่อ 14 June 2012.
  17. 17.0 17.1 Shapshak, Toby (7 June 2012). "'iPhone killer' launches". The Times. Avusa. สืบค้นเมื่อ 11 July 2012.
  18. 18.0 18.1 Beavis, Gareth (25 September 2012). "20 best mobile phones in the world today: Number 1: Samsung Galaxy S3". TechRadar. Future Publishing. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-01. สืบค้นเมื่อ 27 September 2012.
  19. 19.0 19.1 "Top 10 Smartphones". Stuff. Haymarket Media Group. 24 May 2012. สืบค้นเมื่อ 28 July 2012.
  20. 20.0 20.1 "Mobile Devices Awards History". European Imaging and Sound Association. สืบค้นเมื่อ 31 August 2012.
  21. 21.0 21.1 "Samsung Galaxy S3 - Phone of the Year". T3. Future Publishing. สืบค้นเมื่อ 9 October 2012.
  22. "Samsung profit soars on Android smartphones, Galaxy S3 sales". The Australian. News Limited. Associated Press. 27 July 2012. สืบค้นเมื่อ 27 July 2012.
  23. Nate Raymond (16 November 2012). "Apple, Samsung allowed to add products in U.S. patent lawsuit". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-16. สืบค้นเมื่อ 16 November 2012.
  24. "Samsung Galaxy S3 Overtakes Apple iPhone 4S to Become World's Best-Selling Smartphone Model in Q3 2012". Strategy Analytics. สืบค้นเมื่อ 6 December 2012.
  25. "Samsung Galaxy S3 Scoops Best Smartphone Award At MWC 2013". 3G.co.uk. สืบค้นเมื่อ 12 March 2013.
  26. 26.0 26.1 26.2 "Samsung reveals design story behind Galaxy S III". Samsung Electronics. 29 May 2012. สืบค้นเมื่อ 14 June 2012.
  27. Smith, Chris (14 June 2012). "Samsung Galaxy S3 had three 'final' designs to avoid leaks". TechRadar. Future Publishing. สืบค้นเมื่อ 14 June 2012.
  28. 28.0 28.1 Page, Carly (14 June 2012). "Samsung admits it was tough keeping the Galaxy S3 a secret". The Inquirer. AOP. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-16. สืบค้นเมื่อ 15 June 2012.
  29. Trenholm, Rich (14 June 2012). "Samsung Galaxy S3 production 'frustrating' for creators". CNET. CBS Interactive. สืบค้นเมื่อ 14 June 2012.
  30. "Don't Bring Your Work Home..Ever!". Samsung Tomorrow. Samsung Electronics. 14 June 2012. สืบค้นเมื่อ 9 July 2012.
  31. Waugh, Rob (20 April 2012). "Is this the finished Samsung Galaxy S3? New iPhone's biggest rival 'previewed' in video by cult Vietnamese gadget site". Mail Online. Associated Newspapers. สืบค้นเมื่อ 9 July 2012.
  32. Brian, Matt (20 April 2012). "Samsung Galaxy S III test unit appears on video, comes with impressive specifications". The Next Web. TheNextWeb.com. สืบค้นเมื่อ 15 June 2012.
  33. 33.0 33.1 Lomas, Natasha (19 March 2012). "Samsung Galaxy S3 leaked photo and specs hint at dual boot". CNET. CBS Interactive. สืบค้นเมื่อ 15 June 2012.
  34. 34.0 34.1 "Samsung Galaxy S3: New Specs Revealed Ahead of MWC 2012". International Business Times. The International Business Times Inc. 27 February 2012. สืบค้นเมื่อ 15 June 2012.
  35. Waugh, Rob (5 March 2012). "Ready for this, Apple? Samsung confirms successor to its 20-million-selling Galaxy S2 will be on sale early in 2012". Mail Online. Associated Newspapers. สืบค้นเมื่อ 9 July 2012.
  36. Mukherjee, Sangeeta (27 April 2012). "Galaxy S3 Name Is Official And Strong Sales Expected, Says Samsung Executive". International Business Times. The International Business Times Inc. สืบค้นเมื่อ 16 June 2012.
  37. "Samsung Galaxy S3 Launch: Invites issued to May 3rd event". T3. Future Publishing. 17 April 2012. สืบค้นเมื่อ 25 June 2012.
  38. Ionescu, Daniel (1 February 2012). "Samsung Galaxy S III Won't be Unveiled at Mobile World Congress". PCWorld. IDG. สืบค้นเมื่อ 15 June 2012.
  39. "Samsung unveil new Galaxy S3 smartphone at London launch". The Daily Telegraph. Telegraph Media Group. 3 May 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-17. สืบค้นเมื่อ 14 June 2012.
  40. "TECH WARS: Apple wants to ban the Samsung Galaxy SIII". Herald Sun. The Herald and Weekly Times. 8 June 2012. สืบค้นเมื่อ 24 June 2012.
  41. 41.0 41.1 "Samsung, Apple patent war heats up over Galaxy S3". Deutsche Welle. DW. 7 June 2012. สืบค้นเมื่อ 23 June 2012.
  42. Levine, Dan (12 June 2012). "Analysis: Apple's big enemy in smartphone wars: delay". Thomson Reuters. Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-23. สืบค้นเมื่อ 24 June 2012.
  43. Bohn, Dieter (16 July 2012). "Samsung Galaxy S III OTA updates removing universal search are a 'precautionary measure'". The Verge. Vox Media. สืบค้นเมื่อ 26 July 2012.
  44. Mello, John P. (30 August 2012). "Galaxy S III Sales Spike After Patent Verdict". PCWorld. IDG. สืบค้นเมื่อ 1 September 2012.
  45. Ramstad, Evan (31 August 2012). "Apple Patent Suit Targets Samsung's Galaxy S III". The Wall Street Journal. Dow Jones & Company. สืบค้นเมื่อ 2 September 2012.
  46. Thorn, Thomas (14 February 2013). "Samsung Galaxy S3 Mini review". TechRadar. Future Publishing. สืบค้นเมื่อ 28 February 2012.
  47. Ziegler, Chris (7 December 2011). "Android: A visual history". The Verge. Vox Media. สืบค้นเมื่อ 16 June 2012.
  48. "Samsung Galaxy S3 Released in Korea". The Chosun Ilbo. Chosun Ilbo Company. 26 June 2012. สืบค้นเมื่อ 28 June 2012.
  49. 49.0 49.1 Beavis 2012, part 5.
  50. Latif, Lawrence (29 March 2012). "Google announces Android 4.0.4 for GSM Nexus S and Galaxy Nexus phones". The Inquirer. AOP. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-30. สืบค้นเมื่อ 21 July 2012.
  51. "Introducing Android 4.0". Google. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-29. สืบค้นเมื่อ 25 June 2012.
  52. Ziegler, Chris (27 June 2012). "Galaxy S III variants got last-minute RAM upgrade 'to be future-proof' for Jelly Bean". The Verge. Vox Media. สืบค้นเมื่อ 28 June 2012.
  53. "Samsung Galaxy S3 Android 4.1.1, JellyBean Update Rolls Out for T-Mobile Users". The Christian Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 May 2013. สืบค้นเมื่อ 14 November 2012.
  54. Reisinger, DON (24 September 2012). "Android 4.1 makes its way to Samsung's Galaxy S3". CNET. CBS Interactive. สืบค้นเมื่อ 25 September 2012.
  55. Whitney, Lance (17 October 2012). "Galaxy S3 Android 4.1 update continues trek through Europe". CNET. CBS Interactive. สืบค้นเมื่อ 17 October 2012.
  56. Gardner, Jim (20 July 2012). "CyanogenMod 10 for Samsung Galaxy". The Christian Post. The Christian Post Company. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-26. สืบค้นเมื่อ 25 September 2012.
  57. 57.0 57.1 "GALAXY S III – Tech Specs". Samsung Hong Kong. สืบค้นเมื่อ 5 July 2012.
  58. 58.0 58.1 58.2 "GT-I9300 User Manual" (PDF). Samsung Electronics. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-09-16. สืบค้นเมื่อ 3 July 2012.
  59. McCann, John (22 June 2012). "iTunes syncing comes to Samsung Galaxy range". TechRadar. Future Publishing. สืบค้นเมื่อ 5 July 2012.
  60. "Play everywhere you go". Google. สืบค้นเมื่อ 6 July 2012.
  61. 61.0 61.1 61.2 Warman, Matt (3 May 2012). "Samsung Galaxy S3 features at a glance". The Daily Telegraph. Telegraph Media Group. สืบค้นเมื่อ 14 July 2012.
  62. 62.0 62.1 Beavis 2012, part 12.
  63. Sandle, Paul (29 May 2012). "Samsung boosts Galaxy appeal with Music Hub". Thomson Reuters. Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-07. สืบค้นเมื่อ 8 August 2012.
  64. Mariano, Kristin Dian (10 August 2012). "Samsung Galaxy S3: First Smartphone to Support HD Voice Over LTE". International Business Times. The International Business Times Inc. สืบค้นเมื่อ 16 September 2012.[ลิงก์เสีย]
  65. Beavis 2012, part 6.
  66. Beavis 2012, part 7.
  67. Fingas, Jon (18 June 2012). "Samsung Galaxy S III gets enterprise-friendly version in the US, wears a Pebble Blue business suit". Engadget. AOL. สืบค้นเมื่อ 10 July 2012.
  68. 68.0 68.1 Mariano, Kristin Dian (19 June 2012). "Samsung Galaxy S3 to Release Enterprise Version to Compete Against Blackberry RIM?". International Business Times. The International Business Times Inc. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-29. สืบค้นเมื่อ 10 July 2012.
  69. Robertson, Adi (18 June 2012). "Samsung launching enterprise-ready Galaxy S III in July". The Verge. Vox Media. สืบค้นเมื่อ 10 July 2012.
  70. Bora, Kukil (11 July 2012). "Samsung Galaxy S3 'Developer Edition' Coming To Verizon At $599 With Unlockable Bootloader". International Business Times. The International Business Times Inc. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 July 2012. สืบค้นเมื่อ 27 July 2012.
  71. 71.0 71.1 71.2 Beavis 2012.
  72. Smith, Mat (4 June 2012). "A different shades Galaxy S III spotted in Germany (video)". Engadget. AOL. สืบค้นเมื่อ 6 July 2012.
  73. Funaro, Vincent (12 July 2012). "Samsung Galaxy S3 to Launch in Garnet Red on AT&T July 15". The Christian Post. The Christian Post Company. สืบค้นเมื่อ 13 July 2012.
  74. Fingas, Jon (28 August 2012). "Samsung expands Galaxy S III colors: yes, you can get brown". Engadget. AOL. สืบค้นเมื่อ 28 August 2012.
  75. Buckley, Sean (25 April 2012). "Samsung announces 1.4GHz Exynos 4 Quad as basis for Galaxy S3". Engadget. AOL. สืบค้นเมื่อ 15 June 2012.
  76. Davies, Chris (26 April 2012). "Samsung Exynos 4 Quad confirmed for Galaxy S3". SlashGear. R3 Media. สืบค้นเมื่อ 28 June 2012.
  77. 77.0 77.1 Tofel, Kevin C. (20 June 2012). "Samsung Galaxy S III reviewed: The defining Android phone". GigaOm. สืบค้นเมื่อ 1 July 2012.
  78. Dolcourt, Jessica (6 June 2012). "Why Samsung's U.S. Galaxy S III has a dual-core processor (and why you shouldn't care)". CNET. CBS Interactive. สืบค้นเมื่อ 7 August 2012.
  79. 79.0 79.1 79.2 79.3 "Samsung Galaxy S III – Specifications". Samsung UAE. สืบค้นเมื่อ 30 June 2012.
  80. Newman, Jared (9 May 2012). "Why Samsung's Galaxy S III Is Friggin' Huge". TIME. Time Warner. สืบค้นเมื่อ 30 June 2012.
  81. 81.0 81.1 Beavis 2012, part 9.
  82. 82.0 82.1 82.2 Lomas, Natasha (24 May 2012). "Samsung Galaxy S3 review". CNET. CBS Interactive. สืบค้นเมื่อ 17 June 2012.      
  83. Davies, Chris (8 June 2012). "Samsung Galaxy S III demands special MHL-HDMI adapter". SlashGear. R3 Media. สืบค้นเมื่อ 14 June 2012.
  84. Rich Trenholm (28 June 2012). "Samsung Galaxy S3 contactless NFC payment tested in UK shops". CNET. CBS Interactive. สืบค้นเมื่อ 14 July 2012.
  85. "Samsung Galaxy S3 & wireless charging: How it works". The Times of India. Bennett, Coleman and Co. 5 May 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-25. สืบค้นเมื่อ 11 July 2012.
  86. Wood, Molly (10 July 2012). "Episode 4: Torture-testing the Samsung Galaxy S3". CNET TV. CBS Interactive. สืบค้นเมื่อ 21 August 2012.
  87. Rodriguez, Salvador (21 September 2012). "Is iPhone 5 the most durable iPhone ever? [Videos]". LA Times. สืบค้นเมื่อ 15 October 2012.
  88. Mills, Elinor (20 September 2012). "iPhone 4S, Samsung Galaxy S3 hacked in contest". CNET. CBS Interactive. สืบค้นเมื่อ 22 September 2012.
  89. Bora, Kukil (22 December 2012). Samsung Galaxy S3 ‘Sudden Death’ Problem: Device Getting Bricked Without Warning, Corrupted NAND To Blame?. International Business Times. สืบค้นเมื่อ 28 December 2012.
  90. Walczak, Robert (27 December 2012). Samsung Galaxy S3 ‘Sudden Death’ Could Be Significant Issue. Gadget Insiders. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-31. สืบค้นเมื่อ 28 December 2012.
  91. "Samsung Fixes Galaxy S III Exynos Vulnerability And Sudden Death Issue". NextPowerup. 7 January 2013. สืบค้นเมื่อ 28 February 2013.
  92. Buckley, Sean (16 May 2012). "NTT DoCoMo launching 19 new devices this summer, brings Galaxy S III to Japan". Engadget. AOL. สืบค้นเมื่อ 31 May 2012.
  93. 93.0 93.1 93.2 Fingas, Jon (30 May 2012). "Canadian carriers put Galaxy S III launch on June 20th, back dual-core 1.5 GHz chip for LTE models (update: Snapdragon, 2GB RAM official)". Engadget. AOL. สืบค้นเมื่อ 31 May 2012.
  94. "SAMSUNG Galaxy S III Coming To Five Major Carriers Beginning in June" (Press release). Samsung Electronics. 4 June 2012. สืบค้นเมื่อ 14 June 2012.
  95. van Camp, Jeffrey (3 June 2012). "Samsung's huge victory: Galaxy S3 launching on all major US carriers, including Verizon". Digital Trends. Digital Trends, Inc. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-16. สืบค้นเมื่อ 8 August 2012.
  96. "Samsung Galaxy S3 With LTE Hits Korea on July 9". Eastern Morning Herald. 6 July 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-22. สืบค้นเมื่อ 8 July 2012.
  97. 97.0 97.1 Blagdon, Jeff (4 September 2012). "Quad-core Galaxy S III 4G arriving on Optus and Telstra with Android 4.1". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 September 2012. สืบค้นเมื่อ 8 September 2012.
  98. Ricknäs, Mikael (10 September 2012). "Quad-core Galaxy S III with LTE coming to Europe in Q4". PCWorld. IDG. สืบค้นเมื่อ 25 September 2012.
  99. "Certified Products". WiFi Alliance. December 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-25. สืบค้นเมื่อ 2013-03-22.
  100. "Samsung GALAXY S III - TECH SPECS - Samsung Australia". สืบค้นเมื่อ 7 October 2012.
  101. Tann, Phil (4 September 2012). "Samsung officially announce Galaxy S III 4G for Telstra, Optus". Ausdroid. สืบค้นเมื่อ 8 September 2012.
  102. Samsung Hong Kong (28 September 2012). "Samsung Galaxy S3 LTE GT-i9305 Specifications". Samsung. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-02. สืบค้นเมื่อ 29 September 2012.
  103. "SHW-E210K GALAXY S III". Samsung Electronics. สืบค้นเมื่อ 16 August 2012.
  104. "SHW-E210L GALAXY S III". Samsung Electronics. สืบค้นเมื่อ 16 August 2012.
  105. "I9308 Specification". สืบค้นเมื่อ 27 September 2012.
  106. "I939 Specification". สืบค้นเมื่อ 27 September 2012.
  107. Fingas, Jon (18 May 2012). "Samsung Galaxy S III for T-Mobile hits FCC, brings future-proofed HSPA+ for good measure". Engadget. AOL. สืบค้นเมื่อ 31 May 2012.
  108. 108.0 108.1 108.2 "SHV-E210L User Manual" (PDF). Samsung. สืบค้นเมื่อ 25 November 2012.
  109. 109.0 109.1 "Gobi product specs chart" (PDF). Qualcomm. สืบค้นเมื่อ 25 November 2012.
  110. "GT-I9305 specifications page". Samsung. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-02. สืบค้นเมื่อ 4 January 2013.
  111. "GT-I9305N specifications page". Samsung. สืบค้นเมื่อ 4 January 2013.
  112. "GT-I9305T specifications page". Samsung. สืบค้นเมื่อ 4 January 2013.
  113. [1]
  114. "SHV-E210S User Manual page 340" (PDF). Samsung. สืบค้นเมื่อ 25 November 2012.
  115. Kersey, Ben (25 June 2012). "Korean Galaxy S III pairs LTE and quadcore Exynos in twin-chip compromise". SlashGear. R3 Media. สืบค้นเมื่อ 1 July 2012.
  116. "Samsung GALAXY S III 4G". สืบค้นเมื่อ 8 September 2012.
  117. "Samsung Galaxy S III: Specs". T-Mobile USA. สืบค้นเมื่อ 22 June 2012.
  118. 118.0 118.1 Kim, Miyoung (17 May 2012). "Samsung gets 9 million preorders for new Galaxy phone: report". Thomson Reuters. Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-07. สืบค้นเมื่อ 31 May 2012.
  119. Wrenn, Eddie (22 May 2012). "Samsung Galaxy S3 is now the most pre-ordered gadget in history at nine million - beating the iPhone 4S's four million". Mail Online. Associated Newspapers. สืบค้นเมื่อ 24 June 2012.
  120. Entwistle, Dan (29 May 2012). "Samsung Galaxy S3 boosts secondhand phone sales". The Daily Telegraph. Telegraph Media Group. สืบค้นเมื่อ 24 June 2012.
  121. 121.0 121.1 "Samsung Galaxy S3 faces shipping delays for some models". BBC News Online. BBC. 29 May 2012. สืบค้นเมื่อ 24 June 2012.
  122. Cho, Ji-hyun (29 May 2012). "Galaxy S3 launched in 28 countries". The Korea Herald. Herald Media. สืบค้นเมื่อ 12 July 2012.
  123. "Samsung Galaxy S3 launched in India at Rs 43,180; eyes 60% of Indian smartphone market". The Economic Times. Bennett, Coleman & Co. 31 May 2012. สืบค้นเมื่อ 2 June 2012.
  124. "Galaxy S3 Garners Top Consumer Reviews". The Chosun Ilbo. Chosun Ilbo Company. 25 June 2012. สืบค้นเมื่อ 28 June 2012.
  125. page, Carly (3 July 2012). "Samsung Galaxy S3 hits Iphone sales in the UK". The Inquirer. AOP. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-06. สืบค้นเมื่อ 4 July 2012.
  126. Ziegler, Chris (19 June 2012). "Sprint says it's 'a little behind' on Galaxy S III shipments, T-Mobile limits launch markets". The Verge. Vox Media. สืบค้นเมื่อ 24 June 2012.
  127. "Samsung Galaxy S3 'Release Date' Kicked Off With 5 Features 'No Other Phone Has' And Red Carpet Launch Party". International Business Times. The International Business Times Inc. 23 June 2012. สืบค้นเมื่อ 5 July 2012.
  128. "Samsung eyes 10 mln mark for Galaxy S3 by end of July". Agence France-Presse. 25 June 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-17. สืบค้นเมื่อ 27 June 2012.
  129. "Galaxy S3 smartphone sales top 10 mln mark: executive". Yonhap News Agency. 22 July 2012. สืบค้นเมื่อ 23 July 2012.
  130. "Samsung's Galaxy S3 worthy successor to iPhone: analysts". The Korea Times. The Hankook Ilbo Media Group. 8 June 2012. สืบค้นเมื่อ 5 July 2012.
  131. "Smartphone sales boost Samsung profits". Dow Jones Newswires. Dow Jones & Company. Agence France-Presse. 6 July 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-17. สืบค้นเมื่อ 7 July 2012.
  132. Cho, Mu-hyun (17 June 2012). "Samsung may topple Apple". The Korea Times. The Hankook Ilbo Media Group. สืบค้นเมื่อ 5 July 2012.
  133. Wrenn, Eddie (28 May 2012). "Has the year's most eagerly awaited phone been delayed? Leaks claim that Samsung's Galaxy S3 will not arrive on time". Mail Online. Associated Newspapers. สืบค้นเมื่อ 9 July 2012.
  134. Kim, Miyoung (26 June 2012). "For Samsung, Galaxy halo effect comes with supply crunch". Thomson Reuters. Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-28. สืบค้นเมื่อ 28 June 2012.
  135. Cheng, Roger (4 September 2012). "Upset! iPhone 4S surrenders U.S. crown to Galaxy S3". CNET. CBS Interactive. สืบค้นเมื่อ 5 September 2012.
  136. http://bits.blogs.nytimes.com/2012/11/08/samsung-galaxy-surpasses-iphone/?ref=technology
  137. Pogue, David (20 June 2012). "A Phone Bristling With Extras". The New York Times. The New York Times Company. สืบค้นเมื่อ 31 August 2012.
  138. Savov, Vlad (20 June 2012). "Samsung Galaxy S III review". The Verge. Vox Media. สืบค้นเมื่อ 28 June 2012.           
  139. Oliver, Dave (8 June 2012). "Samsung Galaxy S III (S3) review". Wired UK. Condé Nast Publications. สืบค้นเมื่อ 26 July 2012.           
  140. Dedezade, Esat (May 2012). "Samsung Galaxy S3 Review". Stuff. Haymarket Media Group. สืบค้นเมื่อ 28 July 2012.      
  141. 141.0 141.1 141.2 Beavis 2012, part 18.
  142. Warman, Matt (3 May 2012). "Samsung Galaxy S3 review". The Daily Telegraph. Telegraph Media Group. สืบค้นเมื่อ 18 June 2012.      
  143. Eadicicco, Lisa (3 July 2012). "Samsung Galaxy S3 Release In UK Impacts iPhone 4S Sales, 'It's Much Swifter Than The 4S' Analyst Says". International Business Times. The International Business Times Inc. สืบค้นเมื่อ 4 July 2012.
  144. "Amidst Stable of Prizewinners, Apple's Own Brand Still Perceived as Best". Forbes. Forbes Publishing. 2 December 2011. สืบค้นเมื่อ 11 July 2012.
  145. Oliveira, Michael (26 June 2012). "Review: Is Samsung Galaxy S3 an Apple iPhone killer?". Financial Post. Postmedia Network. สืบค้นเมื่อ 11 July 2012.
  146. Paine, Chris (1 June 2012). "Samsung Galaxy SIII vs iPhone: how they stack up". News.com.au. News Limited. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-26. สืบค้นเมื่อ 28 July 2012.
  147. Page, Carly (1 June 2012). "Samsung Galaxy S3 review". The Inquirer. AOP. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-04. สืบค้นเมื่อ 6 August 2012.
  148. Dolcourt, Jessica (19 June 2012). "Samsung Galaxy S III". CNET. CBS Interactive. สืบค้นเมื่อ 24 June 2012.      
  149. Caulfield, Brian (6 July 2012). "What Bugs iPhone 4S, Galaxy S III Users". Forbes. Forbes Publishing. สืบค้นเมื่อ 7 July 2012.
  150. Streams, Kimber (6 July 2012). "Samsung Galaxy S III update adds brightness slider to notifications menu". The Verge. Vox Media. สืบค้นเมื่อ 7 July 2012.
  151. 151.0 151.1 Dedezade, Esat (28 May 2012). "Samsung Galaxy S3 has twice the battery life of the HTC One X". PC & Tech Authority. Haymarket Media Group. สืบค้นเมื่อ 4 July 2012.
  152. 152.0 152.1 Warman, Matt (28 May 2012). "Samsung Galaxy S3: full review". The Daily Telegraph. Telegraph Media Group. สืบค้นเมื่อ 5 July 2012.
  153. "Android dominates the S21 Mobile phone of the Year, Galaxy S III ranks number 1". 3 December 2012. สืบค้นเมื่อ 25 January 2013.
  154. "Samsung Galaxy S3 Scoops Best Smartphone Award At MWC 2013". 3G.co.uk. สืบค้นเมื่อ 12 March 2013.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้