ซามูไร

(เปลี่ยนทางจาก ซะมุไร)


ซามูไร (ญี่ปุ่น: ) แปลเป็นภาษาไทยว่าทหาร คำว่า ซามูไร มีต้นกำเนิดจากคำว่า ซาบูราอู ซึ่งเป็นคำกริยาในภาษาญี่ปุ่นโบราณ ที่มีความหมายว่า รับใช้ ฉะนั้น ซามูไรก็คือคนรับใช้นั่นเอง

ภาพถ่ายซามูไรในชุดเกราะ ถ่ายในช่วงทศวรรษที่ 1860 โดย เฟรีเช บีอาโต

ประวัติ

แก้

จุดกำเนิด

แก้

เป็นที่เชื่อกันว่า รูปแบบของเหล่านักรบบนหลังม้า มือธนู และทหารเดินเท้าในช่วงศตวรรษที่ 6น่าจะเป็นตัวบทต้นแบบของซามูไรดั้งเดิม[1] ขณะที่จุดกำเนิดของซามูไรสมัยใหม่ยังเป็นปัญหาที่โต้เถียงกันอยู่

หลังจากการสู้รบในสงครามนองเลือดกับฝ่ายราชวงศ์ถังของจีน และอาณาจักรซิลลาของเกาหลี ญี่ปุ่นก็เข้าสู่ยุคแห่งการปฏิรูปไปทั่วทุกหัวระแหง โดยการปฏิรูปครั้งสำคัญที่สุดคือการปฏิรูปไทกะ ซึ่งกระทำโดยจักรพรรดิโคโตกุเมื่อ ค.ศ. 646 การปฏิรูปในครั้งนั้น ได้เริ่มนำเอาวัฒนธรรมการปฏิบัติและเทคนิคการบริหารต่าง ๆ ของจีนมาใช้กับกลุ่มชนชั้นสูงและระบบราชการของญี่ปุ่น[1]

ถึง ค.ศ. 702 ประมวลกฎหมายโยโรและประมวลกฎหมายไทโฮก็ถือกำเนิดขึ้น พร้อมกับคำสั่งที่ให้ประชาชนมารายงานตัวเป็นประจำกับทางการเพื่อเก็บข้อมูลมาสร้างสำมะโนประชากร ที่ต่อมาจะถูกนำมาใช้เป็นตัวชี้วัดสำหรับการเกณฑ์ทหาร หลังจากนั้น เมื่อการทำสำมะโนประชากรเสร็จสิ้นลงจนทำให้รู้ว่าประชากรในญี่ปุ่นมีการกระจายตัวกันอย่างไร จักรพรรดิคัมมุก็ได้ริเริ่มกฎหมายให้ประชากรเพศชายที่เป็นผู้ใหญ่ 1 ใน 3 ถึง 4 คนต้องถูกเกณฑ์เป็นทหารเพื่อรับใช้ชาติ โดยผู้ที่จะเข้ามาเป็นทหารเหล่านี้จะถูกขอความร่วมมือให้ส่งมอบอาวุธของตนแก่ทางการ แต่พวกเขาจะได้รับการยกเว้นในการเสียภาษีและการรับหน้าที่ต่างๆ เป็นสิ่งตอบแทน[1]

 
จักรพรรดิคัมมุ (ญี่ปุ่น: 桓武天皇โรมาจิKanmu Tennō)

ในช่วงต้นของยุคเฮอัง ประมาณปลายคริสต์ศตวรรษที่ 8 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 9 จักรพรรดิคัมมุ (ญี่ปุ่น: 桓武天皇โรมาจิKanmu Tennō) ได้หาทางทำให้อำนาจของตนทรงพลังและแผ่ขยายไปทั่วตอนเหนือของเกาะฮนชู (แผ่นดินใหญ่ของญี่ปุ่น) แต่กระนั้นเอง ความหวังดังกล่าวก็เริ่มเกิดปัญหา เมื่อกำลังทหารที่จักรพรรดิส่งไปเพื่อปราบกบฏเอมิชิกลับไร้ซึ่งแรงจูงใจและระเบียบวินัยจนต้องแพ้ทัพกลับมา จักรพรรดิคัมมุจึงต้องแก้เกมใหม่โดยการสถาปนาตำแหน่งเซอิไตโชงุง (ญี่ปุ่น: 征夷大将軍โรมาจิSeiitaishogun; "แม่ทัพใหญ่ผู้ปราบคนเถื่อน") หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า โชงุง (ภาษาไทยนิยมทับศัพท์ว่า โชกุน) ขึ้นมา เพื่อให้พวกเขาเหล่านี้ไปพิชิตกลุ่มกบฏเอมิชิ เป็นผลให้ทั้งหน่วยประจัญบานบนหลังม้าและนักแม่นธนู (คิวโดะ (ญี่ปุ่น: 弓道โรมาจิKyudo) ที่มีทักษะฝีมือ ต้องถูกเรียกเข้ามาเป็นเครื่องมือ สำคัญในการคว่ำกำลังกบฏทั้งหลาย ซึ่งถึงแม้ว่านักรบเหล่านี้จะเป็นผู้ที่มีการศึกษาก็ตาม แต่ในช่วงเวลาดังกล่าว (ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 7 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 9) ตามสายตาของทางการแล้ว พวกเขายังถูกมองว่าเป็นชนชั้นที่สูงกว่าคนเถื่อนขึ้นมานิดเดียว

แต่ในที่สุด จักรพรรดิคัมมุก็ยุติการบัญชาทัพของพระองค์ไป และอำนาจของพระองค์ก็อ่อนแอลงเรื่อยๆ ขณะเดียวกัน กลุ่มตระกูลที่ทรงอิทธิพลในนครเคียวโตะ ก็ได้เข้าครองตำแหน่งเสนาบดี และบางส่วนก็มีอำนาจเป็นผู้ปกครองหรือศาลแขวง กลุ่มผู้ปกครองเหล่านี้มักจะเรียกเก็บภาษีจากประชาชนอย่างหนักหน่วง เพื่อที่จะสะสมความมั่งคั่งและเป็นการคืนกำไรให้กับพวกตน จึงส่งผลสำคัญให้ชาวนาหลายต่อหลายคนไร้ที่ดินอยู่ อัตราการปล้นสดมภ์ก็เพิ่มขึ้น เหล่าผู้ปกครองจึงแก้ปัญหาโดยการรับสมัครผู้ถูกเนรเทศในเขตคันโตให้มาฝึกฝนศิลปะการต่อสู้อย่างเข้มงวด เพื่อที่จะใช้พวกเขาเป็นหน่วยรักษาความปลอดภัยที่ทรงประสิทธิภาพ บางครั้งก็ให้ไปช่วยเก็บภาษีและยับยั้งการทำงานของเหล่าหัวขโมยและโจรป่า พวกเขาเหล่านี้ได้ถูกเรียกว่า ซะบุไร (saburai) หรือผู้ที่ถวายตัวเป็นข้ารับใช้ให้แก่กองทัพ ซึ่งผู้ที่เป็นซะบุไรมักจะได้เปรียบกว่าคนอื่น เนื่องจากพวกเขาจะได้รับอำนาจทางการเมืองและมีชนชั้นที่สูงขึ้น

แต่ซะบุไรบางกลุ่มก็เป็นเพียงชาวนาและพันธมิตรที่จับอาวุธขึ้นปกป้องตนเองจากกลุ่มซาบุไรที่มีอำนาจสูงกว่า และผู้ปกครองที่จักรวรรดิส่งมาเพื่อเก็บภาษีและครอบครองที่ดินของพวกเขา ซึ่งต่อมา ในช่วงยุคเฮอังตอนกลาง ซะบุไรกลุ่มนี้เองได้นำเอาลักษณะพิเศษของชุดเกราะและอาวุธต่างๆ ของญี่ปุ่นมาวางไว้เป็นพื้นฐานของกฎแห่งบุชิโด ซึ่งเป็นกฎที่ประมวลรวมหลักจรรยาต่างๆ ของพวกเขา

หลังจากการผ่านพ้นของซามูไรพเนจรศตวรรษที่ 11 เป็นต้นมา ผู้ที่จะมาเป็นซามูไรต่างได้รับการคาดหวังว่าจะต้องเป็นผู้ที่มีวัฒนธรรมและอ่านออกเขียนได้ โดยพวกเขาจะต้องสามารถใช้ชีวิตให้กลมกลืนไปกับคำกล่าวโบราณที่ว่า บุง บุ เรียว โดะ (สว่าง, ศิลปะอักษร, ศิลปะการทหาร, วิถีทั้งสอง) หรือ ความกลมกลืนแห่งพู่กันและดาบ ให้ได้ โดยจะเห็นจากชื่อเฉพาะที่ใช้เรียกเหล่านักรบในช่วงแรกๆ ว่า อุรุวะชิ คำนี้ถูกเขียนขึ้นมาด้วยตัวอักษรคันจิที่มีการผสมรวมระหว่างลักษณะเฉพาะตัวของศิลปะอักษร (ญี่ปุ่น: โรมาจิbun ตรงกับภาษาจีน "บุ๋น") และศิลปะการทหาร (ญี่ปุ่น: โรมาจิbu ตรงกับภาษาจีน "บู๊") เข้าด้วยกัน และมโนทัศน์เช่นเดียวกันนี้ ยังถูกกล่าวไว้ในเรื่องเล่าแห่งเฮเกะ (เฮเกะ โมะโนะงะตะริ, สมัยปลายคริสต์ศตวรรษที่ 12) โดยมีการอ้างอิงไว้ในคำกล่าวของตัวละครที่มีต่อการตายของ ไทระ โนะ ทะดะโนริ นักดาบ-นักกวีผู้มีการศึกษาคนหนึ่งว่า:

“เหล่าเพื่อนและพวกศัตรูต่างก็มีน้ำตาชุ่มเปียกที่แขนเสื้อ และพากันกล่าวว่า ‘น่าเสียดายเหลือเกิน! ทะดะโนะริเป็นขุนพลผู้ยิ่งใหญ่ มีฝีมือทั้งศิลปะการใช้ดาบและการกวี’ ”

วิลเลียม สก็อตต์ วิลสัน ได้กล่าวเอาไว้ในหนังสือของเขาที่ชื่อ ไอเดียลส์ ออฟ เดอะ ซามูไร ว่า: “เหล่านักรบในเฮเกะ โมะโนะงะตะริ ถือได้ว่าเป็นตัวแบบสำหรับนักรบที่มีการศึกษาในรุ่นต่อๆ มา และอุดมการณ์ต่างๆ ที่ถูกอธิบายโดยนักรบแต่ละคนในเรื่องเล่า ก็ไม่ได้แสดงให้เห็นว่ามันเป็นสิ่งที่ยากที่จะทำตามหรือเอื้อมถึง ยิ่งกว่านั้น อุดมการณ์เหล่านี้ยังเป็นที่ต้องการอย่างมากในสังคมนักรบชั้นสูง และยังเป็นสิ่งที่ถูกแนะนำว่าเหมาะสมที่จะนำมาใช้เป็นรูปแบบของมนุษย์ติดอาวุธชาวญี่ปุ่นทุกคน ด้วยอิทธิพลของเฮเกะ โมะโนะงะตะริ นี่เอง ภาพลักษณ์ของนักรบญี่ปุ่นในงานวรรณกรรมต่างๆ จึงสุกงอมอย่างเต็มที่” ต่อมา วิลสันยังได้แปลงานเขียนของนักรบบางคนที่มีชื่อในเรื่องเล่าแห่งเฮเกะนี้ เพื่อเป็นตัวอย่างให้คนที่ได้อ่านปฏิบัติตนตามอีกด้วย

ยุคคะมะกุระ ความเฟื่องฟูของซามูไร

แก้

เดิมทีซามูไรเป็นเพียงนักรบรับจ้างให้กับองค์พระจักรพรรดิและกลุ่มชนชั้นสูง (คุเงะ (ญี่ปุ่น: 公家โรมาจิkuge) เท่านั้น แต่ต่อมาอำนาจของพวกเขาได้ก่อตัวขึ้นมาอย่างช้าๆ จนในที่สุดพวกเขาสามารถยึดอำนาจของผู้ปกครองชั้นสูงไว้ได้ และก่อร่างกลุ่มคณะที่ปกครองโดยซามูไรขึ้นมาแทน พวกเขาได้สร้างลำดับขั้นการบังคับบัญชาที่มีศูนย์กลางอยู่ที่ โทเรียว หรือหัวหน้าของพวกเขาขึ้นมา เพื่อทำการสะสมกำลังคนกับทรัพยากรต่างๆ และผูกพันธมิตรกับกลุ่มอื่นๆ ผู้ที่เป็นโทเรียวจะมีระยะห่างเฉพาะในความสัมพันธ์ที่มีต่อองค์จักรพรรดิ และต่อสมาชิกส่วนน้อยของหนึ่งในสามตระกูลมีระดับ (ตระกูลฟุจิวะระ ตระกูลมินะโมะโตะ และตระกูลไทระ) ในด้านระเบียบการปกครอง ตามหลักการแล้ว โทเรียวเหล่านี้จะถูกส่งไปรับตำแหน่งเป็นผู้ปกครองหรือผู้พิพากษาศาลแขวงตามจังหวัดต่างๆ เป็นเวลาสี่ปี แต่ในความเป็นจริง เมื่อพวกเขาหมดสมัยปกครองแล้ว ก็มักปฏิเสธที่จะกลับมาสู่เมืองหลวงอีกครั้ง และยังได้นำทายาทของตนมาสืบต่อตำแหน่งแทน เพื่อให้การทำงานต่อเนื่องไป และให้เป็นผู้นำทัพออกปราบกบฏทั่วทั้งญี่ปุ่น โดยเฉพาะในช่วงตอนกลางและตอนปลายของยุคเฮอัง

ต่อมา เมื่อกำลังทหารและอำนาจทางเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้น กลุ่มซามูไรผู้ปกครองก็กลายเป็นศูนย์กลางอำนาจใหม่ทางการเมือง การเข้าไปมีส่วนร่วมในกบฏโฮเง็ง ช่วงยุคเฮอังตอนปลายก็ยิ่งทำให้อำนาจของพวกเขาแข็งแกร่งมากกว่าเดิมอีก จนในที่สุด ในช่วงกบฏเฮจิ ปี ค.ศ. 1160 พวกเขาก็สามารถยุยงตระกูลมินะโมะโตะ และตระกูลไทระให้ปะทะกันเองได้ หลังจากชัยชนะปรากฏออกมาอย่างเด่นชัดต่อกลุ่มซามูไร แม่ทัพไทระ โนะ คิโยะโมะริ ก็กลายเป็นผู้กุมอำนาจสูงสุดในราชสำนัก ซึ่งถือได้ว่าเป็นครั้งแรกที่ชนชั้นนักรบได้ขึ้นครองตำแหน่งชั้นสูงของญี่ปุ่น และสุดท้าย กลุ่มซามูไรก็เข้าไปควบคุมรัฐบาลได้อย่างเต็มตัว เกิดเป็นคณะรัฐบาลของญี่ปุ่นชุดแรกที่ถูกครอบงำโดยซามูไร ส่วนองค์จักรพรรดิก็ถูกลดทอนอำนาจให้มีสถานะเป็นเพียงประมุขของประเทศเท่านั้น แต่ไม่สามารถใช้อำนาจบริหารบ้านเมืองได้อย่างแต่ก่อน อย่างไรก็ตาม ตระกูลไทระก็ยังคงขับเคี่ยวกันกับตระกูลมินะโมะโตะอยู่เหมือนเดิม โดยแทนที่ตระกูลไทระจะใช้วิธีแผ่ขยายอำนาจโดยการเสริมความแข็งแกร่งให้กับกองทหารของตน พวกเขากลับใช้วิธีส่งผู้หญิงในตระกูลเข้าไปอภิเษกกับองค์จักรพรรดิ และพยายามเข้าไปใช้อำนาจผ่านทางจักรพรรดิเพื่อประโยชน์ของตระกูล

ตระกูลไทระและตระกูลมินะโมะโตะเข้าปะทะกันอีกครั้งในปี ค.ศ. 1180 เป็นการเริ่มต้นสงครามเก็มเปอย่างเป็นทางการ ซึ่งไปยุติลงในปี ค.ศ. 1185 หลังสงครามสิ้นสุดลง มินะโมะโตะ โนะ โยะริโตะโมะ ผู้ชนะในสงครามครั้งนั้น ได้ทำให้กลุ่มซามูไรมีความเหนือกว่ากลุ่มชนชั้นสูงมากขึ้นไปอีก โดยในปี ค.ศ. 1190 ตัวเขาได้ไปเยือนเมืองเคียวโตะ และใน ค.ศ. 1192 เขาก็กลายเป็นโชกุนในที่สุด [2] และเพื่อเป็นการแทนที่อำนาจซึ่งมาจากเมืองเคียวโตะ ตัวเขาจึงได้จัดตั้งคณะการปกครองตามระบอบโชกุนในเมืองคะมะกุระขึ้นมา เรียกว่า รัฐบาลโชกุนคะมะกุระ สาเหตุที่เลือกก่อตั้งที่เมืองคะมะกุระเป็นเพราะว่า เมืองนี้อยู่ใกล้กับแหล่งฐานอำนาจของตัวเขาเอง

หลังจากช่วงเวลาดังกล่าว กลุ่มซามูไรผู้ทรงอำนาจก็กลายเป็นนักรบชนชั้นนำ (บุเกะ) ผู้ซึ่งมีเพียงชื่อเท่านั้นที่ดำรงอยู่ภายใต้สำนักกลุ่มผู้ปกครองชนชั้นสูง หรือราชสำนัก เมื่อซามูไรเริ่มเข้าไปเป็นเจ้าของเครื่องจรรโลงใจต่างๆ ของกลุ่มชนชั้นสูง อย่างศิลปะลายมือ บทกวี และเพลง ในทางกลับกัน สำนักผู้ปกครองชนชั้นสูงบางสำนักก็เข้าไปเป็นเจ้าของธรรมเนียมต่างๆ ของซามูไรบ้าง แต่ถึงแม้ว่าจักรพรรดิหลายๆ พระองค์จะสร้างแผนการอันชั่วร้ายและกฎระยะสั้นต่างๆ ออกมาเพื่อลดบทบาทของกลุ่มซามูไร อำนาจที่แท้จริงในขณะนั้นก็ยังอยู่ในกำมือของโชกุนและซามูไรอยู่ดี

คริสต์ศตวรรษที่ 14

แก้

ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 13 ศาสนาพุทธนิกายเซนถูกเผยแพร่ไปทั่วกลุ่มซามูไร ลัทธินี้ช่วยก่อร่างสร้างมาตรฐานแห่งประพฤติกรรมของพวกเขาขึ้นมา โดยเฉพาะพฤติกรรมการเอาชนะความกลัวตายและการสังหาร แต่สำหรับผู้คนกลุ่มอื่นๆ แล้ว ศาสนาพุทธกระแสหลักก็ยังคงได้รับความนิยมอยู่

 
ภาพวาดแนวป้องกันหินขนาดใหญ่รอบอ่าวฮะกะตะที่สร้างขึ้นโดยซามูไรเพื่อป้องกันการบุกรุกของกองทหารมองโกล วาดโดยโมะโกะ ชุไร เอะโกะโตะบะ เมื่อปี พ.ศ. 1836

ในปี พ.ศ. 1817 (ค.ศ. 1274) กุบไลข่านแห่งจักรวรรดิมองโกล (ปกครองจีนในนามราชวงศ์หยวน) ได้ส่งกำลังทหารประมาณ 40,000 นาย และเรือ 900 ลำเพื่อมาตีญี่ปุ่นที่เกาะคีวชู [3] ทางฝ่ายญี่ปุ่นจึงได้รวบรวมกำลังซามูไรประมาณ 10,000 คนเพื่อเตรียมต่อต้านการบุกรุกครั้งนี้ แต่ตลอดการบุกเข้ามา กองทหารมองโกลทั้งหมดกลับโดนโจมตีโดยพายุขนาดใหญ่หลายลูก เป็นผลให้ฝ่ายตั้งรับปลอดภัยจากการสูญเสียกำลังพลครั้งใหญ่ จนในที่สุดกองทหารหยวนก็ถูกเรียกกลับจักรวรรดิไปและการบุกรุกก็สิ้นสุดลง แต่การกระทำของมองโกลในครั้งนั้นถือได้ว่าเป็นเหตุการณ์ที่น่าจดจำสำหรับญี่ปุ่น เนื่องจากว่ากองกำลังมองโกลกลุ่มนี้ใช้ระเบิดขนาดเล็กเป็นอาวุธด้วย ทำให้ญี่ปุ่นได้รู้จักกับระเบิดและดินปืนเป็นครั้งแรก

ฝ่ายญี่ปุ่นตระหนักดีว่ามีความเป็นไปได้ที่การถูกบุกรุกจะเกิดขึ้นอีก พวกเขาจึงต้องสร้างแนวป้องกันหินขนาดใหญ่รอบอ่าวฮะกะตะ โดยเริ่มลงมือสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 1819 (ค.ศ. 1276) จนถึงปี พ.ศ. 1820 (ค.ศ. 1277) แนวป้องกันนี้มีความยาว 20 กิโลเมตรทอดตัวไปตามแนวชายฝั่ง นี่ถือว่าเป็นจุดตั้งรับที่แข็งแรงที่จะต้านมองโกลไว้ได้ ทางฝ่ายมองโกลก็พยายามแก้ปัญหานี้ด้วยวิธีทางการทูต โดยเริ่มกระทำตั้งแต่ปี พ.ศ. 1818 (ค.ศ. 1275) ถึงปี พ.ศ. 1822 (ค.ศ. 1279) แต่ผู้ส่งสารของมองโกลแต่ละคนที่เดินทางไปญี่ปุ่นล้วนแล้วถูกจับประหารชีวิตทั้งสิ้น เป็นผลให้ต้องเกิดการต่อสู้ที่ยิ่งใหญ่อีกครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นในเวลาต่อมา

ในปี พ.ศ. 1824 (ค.ศ. 1281) กองทหาร 140,000 นายกับเรืออีก 4,400 ลำของราชวงศ์หยวน เดินทางมาที่ญี่ปุ่นอีกครั้งเพื่อมาทำสงครามครั้งใหม่ ทางด้านญี่ปุ่นก็จัดเตรียมซามูไร 40,000 คนเพื่อป้องกันตอนเหนือของเกาะคีวชูไว้ เมื่อทัพมองโกลเดินทางมาถึง ทหารมองโกลยังคงต้องอยู่บนเรือของพวกเขาเพื่อเตรียมตัวปฏิบัติการยกพลขึ้นบก แต่เมื่อถึงเวลายกพลขึ้นบกจริง พวกเขาต้องพบกับพายุไต้ฝุ่นที่เข้าปะทะเกาะคีวชูตอนเหนือพอดี ตามมาด้วยการพบกับกำลังป้องกันของญี่ปุ่นที่แนวป้องกันบนอ่าวฮะกะตะอีก ทำให้ทัพมองโกลรับความเสียหายและต้องสูญเสียกำลังพล ผลสุดท้าย ทัพมองโกลก็ต้องถูกเรียกกลับสู่จักรวรรดิอีกครั้ง

พายุฝนในปี พ.ศ. 1817 (ค.ศ. 1274) และพายุไต้ฝุ่นในปี พ.ศ. 1824 (ค.ศ. 1281) ช่วยให้กองกำลังซามูไรที่ทำหน้าที่ปกป้องญี่ปุ่นไล่ผู้บุกรุกชาวมองโกลกลับไปได้ แม้ว่าฝ่ายตรงข้ามจะมีกำลังพลที่มากกว่าอย่างมากก็ตาม ลมพายุทั้งสองนี้ได้กลายเป็นที่รู้จักกันในชื่อ คะมิ-โนะ-คะเซะ (หรือเรียกอย่างสั้นว่า "คะมิกะเซะ") ซึ่งมีความหมายตามตัวอักษรว่า ลมแห่งเทพเจ้า หรือที่แปลกันอย่างง่ายว่า ลมพระเจ้า ไต้ฝุ่นคะมิกะเซะได้สร้างความเชื่อให้แก่ชาวญี่ปุ่นว่าแผ่นดินต่างๆ ของพวกเขาอยู่ภายใต้การปกป้องของเทพเจ้าและสิ่งเหนือธรรมชาติ

ยุคมุโระมะชิ

แก้

ศตวรรษที่ 14

แก้

ช่างตีดาบที่ชื่อ มะซะมุเนะ ได้พัฒนาเหล็กกล้าที่มีโครงสร้างสองชั้นผสมกันระหว่างเหล็กอ่อนและเหล็กแข็งขึ้นเพื่อใช้ในการตีดาบ โครงสร้างนี้ได้สร้างความก้าวหน้าในพลังและคุณภาพการตัดอย่างมาก ซึ่งเทคนิคการผลิตดังกล่าวได้นำไปสู่การสร้างดาบญี่ปุ่น (ดาบคะตะนะ) ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในฐานะของหนึ่งในอาวุธคู่มือที่ทรงอานุภาพมากที่สุดในเอเชียตะวันออกช่วงยุคก่อนการพัฒนาอุตสาหกรรม ดาบหลาย ๆ เล่มที่สร้างขึ้นมาโดยเทคนิคดังกล่าวนี้ได้ถูกส่งออกข้ามทะเลจีนตะวันออกไป ซึ่งจุดที่ไกลที่สุดที่ดาบเดินทางไปถึงคือดินแดนอินเดีย

ประเด็นในเรื่องการสืบทอดตำแหน่งโดยทายาทเป็นเหตุให้การต่อสู้กันเพื่อแย่งชิงตำแหน่งโดยตระกูลต่าง ๆ เป็นเรื่องธรรมดา ถึงแม้ว่าจะเป็นวิธีการที่ขัดต่อระเบียบการสืบทอดอำนาจที่ตราเอาไว้ในกฎหมายของญี่ปุ่นก่อนศตวรรษที่ 14 ก็ตาม เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงการใช้วิธีชิงอำนาจดังกล่าว การบุกรุกเข้ามาของกลุ่มซามูไรที่อยู่ในเขตแดนติดกันจึงเป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง และการวิวาทระหว่างซามูไรด้วยกันเองก็เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมาตลอดเวลาสำหรับเมืองคะมะกุระและสมัยการปกครองของโชกุนอาชิกางะ

ยุคเซงโงะกุ (ยุคภาวะสงคราม) เป็นยุคที่ซามูไรสูญเสียวัฒนธรรมของตนเองให้กับกลุ่มคนที่เกิดในชนชั้นทางสังคมอื่น ๆ ที่บางครั้งได้อุปโลกน์ตัวเองว่าเป็นนักรบซามูไร โดยไม่ได้คำนึงถึงความถูกต้องตามครรลองแห่งการเป็นซามูไรหรือไม่ ดังนั้นในช่วงที่ไร้ความควบคุมเช่นนี้ หลักจรรรยาแบบบูชิโดจึงถูกนำมาใช้เป็นปัจจัยสำคัญในการควบคุมสังคมสาธารณะ

ศตวรรษที่ 15

แก้

กลยุทธ์และเทคโนโลยีการสงครามของญี่ปุ่นก้าวหน้าอย่างรวดเร็วในช่วงศตวรรษที่ 15 และศตวรรษที่ 16 มีการใช้กองทหารราบที่เรียกกันว่า อะชิงะรุ (หรือ เท้าเบา สืบเนื่องมาจากชุดเกราะเบาที่ใช้ ซึ่งที่จริงก็คือนักรบชั้นที่ต่ำลงไปและประชาชนธรรมดาที่ถูกจัดให้ใช้อาวุธนะงะยะริ (หอกยาว) หรือนะงินะตะ (ง้าว) จำนวนมากร่วมกับกองทหารม้าที่เตรียมเอาไว้ตามแผนการรบอยู่แล้ว ทำให้จำนวนคนที่เข้าไปรับใช้กองทัพเพิ่มขึ้นจากหลักพันกลายเป็นหลักแสนทันที

อาวุธปืนเล็กยาวได้เข้ามาสู่ญี่ปุ่นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2086 (ค.ศ. 1543) โดยชาวโปรตุเกสผ่านทางเรือโจรสลัดของจีน (ในทศวรรษนี้ ชาวญี่ปุ่นทุกคนได้ชื่อว่าเป็นพลเมืองของประเทศญี่ปุ่นอย่างเต็มตัว) กลุ่มของทหารรับจ้างหลาย กลุ่มกับปืนเล็กยาวที่ถูกผลิตออกมาจำนวนมากจึงเล่นบทบาทสำคัญในญี่ปุ่นช่วงนั้น

เมื่อสิ้นสุดยุคศักดินา ญี่ปุ่นมีปืนชนิดต่างๆ ประมาณหนึ่งแสนกระบอก และมีกองทหารจำนวน 100,000 กว่าคนที่ทำหน้าที่ร่วมรบในสมรภูมิ ซึ่งถ้าเทียบกับกองทหารสเปนที่มีขนาดใหญ่และทรงพลังมากที่สุดในทวีปยุโรปแล้ว พวกเขาก็มีอาวุธปืนเพียงแค่หนึ่งหมื่นกระบอก และกำลังทหารก็มีแค่ 30,000 คนเท่านั้น

ยุคอะซุชิโมะโมะยะมะ

แก้

ในปี พ.ศ. 2135 (ค.ศ. 1592) และอีกครั้งในปี พ.ศ. 2141 (ค.ศ. 1598) ไดเมียว โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ ตัดสินใจที่จะบุกจีน (ญี่ปุ่น: 唐入り) และอีกทางหนึ่งก็ส่งกำลังซามูไรจำนวน 160,000 คนไปบุกเกาหลี โดยใช้ความได้เปรียบในด้านความชำนาญในการใช้อาวุธปืนเล็กยาว และการบริหารกองทัพของฝ่ายเกาหลีที่แย่กว่าเป็นหนทางสู่ชัยชนะ ซามูไรที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในสงครามครั้งนี้ได้แก่ คะโต คิโยะมะซะ และ ชิมะซุ โยะชิฮิโระ

หลังจากนั้น การเปลี่ยนแปลงทางสังคมในด้านทรัพยากรมนุษย์ก็เป็นไปอย่างยืดหยุ่น เหมือนกับระบบโบราณที่ล่มสลายไปแล้วได้กลับมามีชีวิตใหม่อีกครั้ง เนื่องจากซามูไรต้องการที่จะคงกำลังทหารขนาดใหญ่และองค์กรที่พวกตนบริหารเอาไว้ในเขตอิทธิพลของพวกเขาเอง ตระกูลซามูไรหลาย ๆ ตระกูลที่ดำรงอยู่จนถึงศตวรรษที่ 19 ก็ออกมาประกาศว่า พวกตนเป็นสายเลือดของหนึ่งในสี่ตระกูลชั้นนำโบราณ ซึ่งได้แก่ตระกูลมินะโมะโตะ ตระกูลไทระ ตระกูลฟุจิวะระ และตระกูลทะจิมะนะ แต่อย่างไรก็ตาม ในหลาย ๆ กรณี ก็เป็นเรื่องยากที่จะพิสูจน์ว่าต้นตระกูลของพวกเขาเป็นใครกันแน่

ปลายยุคอะซุชิโมะโมะยะมะ

แก้

โอะดะ โนะบุนะงะ คือไดเมียวที่มีชื่อเสียงของเขตนะโงะยะ (ครั้งหนึ่งเคยถูกเรียกว่าแคว้นโอะวะริ) และยังเป็นตัวอย่างของซามูไรที่โดดเด่นต่างจากผู้อื่นในยุคเซงโงะกุ เขาเข้ามามีบทบาทและได้วางหนทางเพื่อความสำเร็จของเขา ไม่กี่ปีหลังจากการรวมญี่ปุ่นอีกครั้งภายใต้ “ค่ายรัฐบาล” หรือ “บะคุฟุ” (คณะปกครองในระบอบโชกุน) ใหม่

โอะดะ โนะบุนะงะ ได้สร้างนวัตกรรมทางด้านการบริหารและกลยุทธ์การสงครามเอาไว้มากมาย ได้แก่ การใช้ประโยชน์จากปืนเล็กยาวอย่างหนัก พัฒนาการพาณิชย์และอุตสาหกรรม และสร้างนวัตกรรมใหม่ในด้านการคลัง ชัยชนะของเขาที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้ตัวเขาเข้าใจถึงการสิ้นสุดลงของค่ายรัฐบาลอะชิคะงะ และการปลดอาวุธจากกำลังทหารของพระในศาสนาพุทธ ซึ่งนำไปสู่ความโกรธเกรี้ยวและการต่อสู้ที่ไร้ประโยชน์ระหว่างประชาชนธรรมดาด้วยกันเป็นเวลาหลายศตวรรษ เขารู้ว่าการโจมตีที่มาจาก "สถานที่ศักดิ์สิทธิ์” ของวัดชาวพุทธ เกิดจากแรงกดดันที่มีมาจากการกระทำของขุนศึกและแม้แต่จักรพรรดิซึ่งพยายามจะควบคุมการกระทำของพวกเขา

โอะดะถึงแก่กรรมในปี พ.ศ. 2125 (ค.ศ. 1582) เมื่ออะเคะจิ มิสึฮิเดะ แม่ทัพคนหนึ่งในสังกัดของเขา หักหลังเขากับทหารของเขาด้วย

หลังจากนั้น โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ และโทะกุงะวะ อิเอะยะซุ (ผู้ซึ่งก่อตั้ง คณะการปกครองโชกุนโทะกุงะวะ) ที่ต่างก็เป็นผู้ติดตามที่จงรักภักดีของโนบุนางะก็ได้หาทางกำจัดมิสึฮิเดะ ฮิเดะโยะชิเป็นผู้ที่เติบโตมาจากชาวนาไร้ชื่อเสียง ซึ่งเริ่มมาจากทหารราบ อะชิงะรุ ไต่เต้ามาจนเป็นนายทหารสู่หนึ่งในแม่ทัพที่มีฝีมือของโนะบุนะงะ ส่วนอิะเอะยะซุนั้นก็เติบโตมาด้วยกันกับโนะบุนะงะตั้งแต่เด็ก โดยตอนะเด็ก อิเอะยะซุเคยเป็นตัวประกันของผู้ครองแคว้นมิคุวะมาก่อน

ในปี พ.ศ. 2125 (ค.ศ. 1582) ฮิเดะโยะชิเอาชนะมิสึฮิเดะได้ภายในหนึ่งเดือน และถือเป็นผู้ที่สืบทอดอำนาจต่อจากโนะบุนะงะโดยชอบธรรมจากการยึดทรัพย์สินของมิตสึฮิเดะ

แม่ทัพทั้งสองได้มอบความสำเร็จที่ผ่านมาของโนะบุนะงะเป็นของขวัญในการรวมญี่ปุ่นเข้าด้วยกัน พวกเขาได้กล่าวคำสำคัญเอาไว้ในเหตุการณ์นี้ว่า: “การรวมแผ่นดินครั้งนี้ก็เหมือนกับข้าวปั้น โอดะทำมันขึ้นมา ฮาชิบะแต่งรูปร่างให้มัน และสุดท้าย มีเพียงอิเอะยะซุเท่านั้นที่จะเป็นคนลิ้มรสมัน” (ฮาชิบะ คือชื่อตระกูลที่โทโยโตมิ ฮิเดโยชิ ใช้ในขณะที่เขายังเป็นผู้ติดตามของโนบุนางะ)

โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ ผู้เป็นบุตรของตระกูลชาวนาที่ยากจน ได้รับตำแหน่งเป็นเสนาบดีในปี พ.ศ. 2129 เขาได้ตรากฎหมายให้ชนชั้นซามูไรมีความเป็นถาวรและสามารถตกทอดไปสู่ทายาทได้ ส่วนผู้ที่มิใช่ซามูไรนั้น ไม่สามารถพกพาอาวุธติดตัวได้ ด้วยเหตุนี้เอง จึงทำให้กลุ่มซามูไรที่อุปโลกน์ตัวเองขึ้นมาเป็นอันต้องสิ้นสุดลง

หลังจากที่เกิดกฎหมายดังกล่าวขึ้นมา ความคลุมเครือระหว่างซามูไรจริงกับซามูไรปลอมก็เริ่มลดลง ชายวัยผู้ใหญ่ของทุก ๆ ระดับชั้นทางสังคม (แม้แต่ชาวนา) ส่วนมากแล้วจะไปขึ้นตรงต่อองค์กรทางการทหารอย่างน้อยหนึ่งองค์กร เพื่อรับใช้องค์กรนั้นๆ ในการทำสงคราม จึงสามารถกล่าวได้ว่า สถานการณ์ “มวลชนปะทะมวลชน” กำลังจะดำเนินต่อไปอีกศตวรรษ

ตระกูลซามูไรที่มีอำนาจในช่วงหลังคริสต์ศตวรรษที่ 17 จะได้รับเลือกให้ติดตามโนะบุนะงะ, ฮิเดะโยะชิ, และอิเอะยะซุ สงครามขนาดใหญ่หลายๆ ครั้งเกิดขึ้นในช่วงการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง ซามูไรที่พ่ายแพ้และถูกสังหารมีจำนวนมาก ซามูไรที่รอดกลับมาหลายต่อหลายคนก็ต้องกลายเป็นโรนิง หรือไม่ก็กลายเป็นประชาชนธรรมดา

ยุคเอะโดะ

แก้
 
โชกุนโทะกุงะวะ อิเอะยะซุ

ตลอดสมัยการปกครองของตระกูลโทะกุงะวะ (ที่มักจะเรียกกันว่ายุคเอะโดะ) นับตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ก็เป็นช่วงเวลาที่ไม่มีสงครามปะทุขึ้นอีกเลย ในยุคนี้ซามูไรหลายๆ คนจึงสูญเสียหน้าที่ทางการทหารไปทีละน้อย เป็นเหตุให้พวกเขาต้องหันมาทำงานเป็นข้าราชสำนัก ข้าราชการ และนักบริหารมากกว่าที่จะเป็นนักรบอย่างเคย

เมื่อสิ้นยุคของโทะกุงะวะ ซามูไรก็กลายเป็นข้าราชการชนชั้นสูงรับใช้ผู้ที่เป็นไดเมียว ในยุคนี้ไดโชะของซามูไร (ดาบยาวและสั้นที่ซามูไรพกพาไว้คู่กัน หรือที่เรียกว่าคะตะนะ และวะกิซะชิ[4]) ได้กลายมาเป็นตราสัญลักษณ์ที่แสดงถึงอำนาจมากกว่าจะเป็นอาวุธที่ใช้ในชีวิตประจำวัน พวกเขายังคงได้อำนาจตามกฎหมายที่จะฆ่าใครก็ได้ที่ไม่แสดงความเคารพอย่างเหมาะสมต่อตัวเขาอีกด้วย

ต่อมาเมื่อรัฐบาลกลางบังคับให้ไดเมียวต้องลดจำนวนซามูไรในสังกัดลง ปัญหาสังคมที่ตามมาคือจำนวนโรนิงที่เพิ่มมากขึ้น

ตามหลักการแล้ว พันธะที่เกิดขึ้นระหว่างซามูไรกับเจ้านายของพวกเขา (ส่วนใหญ่ก็คือไดเมียว) มีจำนวนเพิ่มขึ้นมากจากสมัยเก็มเปสู่สมัยเอโดะ ในช่วงนี้ ซามูไรจะให้ความสำคัญต่อคำสอนของปราชญ์ขงจื๊อและเม่งจื๊ออย่างมาก ตำราของปราชญ์ทั้งสองเป็นที่ต้องการของชนชั้นซามูไรที่มีการศึกษา

ตลอดสมัยเอโดะ หลังจากการต่อสู้สิ้นสุดลง การประมวลหลักบุชิโดก็เกิดขึ้นอย่างเป็นทางการ สิ่งสำคัญคือ หลักบุชิโดเป็นเรื่องของอุดมคติ แต่ก็เป็นหลักที่ยังคงรูปแบบเดิมได้ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 13 จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19 – อุดมการณ์บุชิโดเป็นอุดมการณ์ของชนชั้นนักรบที่อยู่เหนือบริบทชนชั้นทางสังคม เวลา และภูมิสถาน

หลักบุชิโดถูกทำให้เป็นทางการโดยซามูไรหลายๆ คน หลังจากที่บ้านเมืองอยู่ในความสงบ ไร้สงคราม คล้ายกันกับหลัก ชิวัลรี (Chivalry - หลักอัศวิน) ที่ถูกทำให้เป็นทางการเช่นกัน หลังจากที่อัศวินซึ่งเป็นชนชั้นนักรบในทวีปยุโรปล่มสลายไป

หลักความประพฤติของซามูไรได้กลายเป็นตัวแบบที่เป็นที่ชื่นชอบของประชาชนในสมัยเอโดะ ซึ่งเป็นสมัยที่เน้นความเป็นทางการอย่างมาก นอกจากนั้น ในช่วงเวลาดังกล่าว ซามูไรหลายๆ คนยังได้ใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการไล่ตามสิ่งที่น่าสนใจอื่นๆ ด้วย เช่น การได้เป็นบัณฑิตผู้มีความรู้อย่างลึกซึ้ง เป็นต้น

หลักบุชิโด และหลักเกณฑ์อื่นๆ ที่เป็นวิถีชีวิตของซามูไร ปัจจุบันนี้ก็ยังคงมีชิวิตอยู่ในสังคมแบบญี่ปุ่น

ยุคเมจิ ความเสื่อมถอยของซามูไร

แก้

ในช่วงเวลานี้ วิถีทางแห่งความตายและเต็มไปด้วยอันตราย ได้ถูกทำให้ลดลงโดยการ "ปลุกให้ตื่นขึ้น" อย่างหยาบคายในปี พ.ศ. 2396 (ค.ศ. 1853) เมื่อพลเรือจัตวาแมทธิว เพอร์รี ได้นำเรือกลไฟจำนวนมากจากกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา มาทำการค้ากับญี่ปุ่น ซึ่งเป็นชาติที่ถูกครอบงำโดยนโยบายโดดเดี่ยวตัวเองอยู่ช่วงหนึ่ง ในช่วงแรก เนื่องจากการควบคุมอย่างเข้มงวดจากโชกุน จึงมีเพียงแต่เมืองท่าบางเมืองเท่านั้นที่สามารถทำการค้ากับตะวันตกได้

การเข้ามาทำการค้าในญี่ปุ่นของชาติตะวันตกครั้งนั้นมีพื้นฐานมาจากความคิดที่จะแข่งขันกันระหว่างกลุ่มศาสนาคริสต์โรมันคาทอลิกนิกายฟรานซิสกันและโดมินิกันกับกลุ่มอื่น ๆ (เพื่อการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีปืนเล็กยาว ซึ่งเป็นเหตุผลหลักที่ทำให้ซามูไรแบบดั้งเดิมต้องล่มสลายไป)

ปฏิบัติการครั้งสุดท้ายของทัพซามูไรต้นตำรับเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2410 (ค.ศ. 1867) เมื่อซามูไรจากแคว้นโชชูและแคว้นซะสึมะสามารถเอาชนะกองกำลังของโชกุนที่ได้รับการสนับสนุนจากคำสั่งขององค์จักรพรรดิได้ ก่อนหน้านี้ไดเมียวของทั้งสองแคว้นได้ไปสวามิภักดิ์กับอิเอะยะซุหลังจากสงครามทุ่งเซกิงะฮะระสิ้นสุดลง พ.ศ. 2143 (ค.ศ. 1600)

 
ซามูไรของแคว้นซะสึมะ ในช่วงสงครามโบะชิง ถ่ายโดย เฟลีเซ บีอาโต

แต่ก็มีแหล่งข้อมูลอื่นอีกที่อ้างว่า ปฏิบัติการครั้งสุดท้ายของซามูไรเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2420 (ค.ศ. 1877) ในช่วงที่เกิดกบฏซะสึมะในยุทธการแห่งชิโระยะมะ ความขัดแย้งซึ่งเป็นที่มาของปฏิบัติการครั้งนั้นเริ่มมาจากการลุกฮือขึ้นก่อกบฏในครั้งที่ผ่านมาเพื่อที่จะเอาชนะโชกุนโทะกุงะวะ

เหตุการณ์ดังกล่าวข้างต้นได้นำไปสู่การปฏิรูปครั้งสำคัญ ที่เรียกว่าการปฏิรูปสมัยเมจิ

คณะรัฐบาลชุดใหม่ที่มีบทบาทในช่วงนั้น ได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงสิ่งต่าง ๆ อย่างถอนรากถอนโคน โดยได้ตั้งเป้าหมายไปที่การลดอำนาจของระบบศักดินาและการยุบเลิกสถานะความเป็นซามูไรลงไป ซึ่งรวมทั้งในแคว้นซะสึมะด้วย ในที่สุดแล้วการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ได้นำไปสู่การก่อกบฏที่เกิดขึ้นมาก่อนกำหนด โดยมีแกนนำคือ ไซโง ทะกะโมะริ

จักรพรรดิเมจิได้สั่งให้ยุติสิทธิของซามูไรในเรื่องของการเป็นชนกลุ่มเดียวที่สามารถเป็นกองกำลังทหารได้ เพื่อสนับสนุนให้เกิดกองทัพทหารเกณฑ์ที่เป็นแบบตะวันตก และมีความทันสมัยมากขึ้น ซามูไรได้กลายเป็น “ชิโซกุ” (ญี่ปุ่น: 士族) ผู้ซึ่งยังได้รับเงินเดือนเป็นค่าตอบแทนอยู่ แต่สิทธิในการพกพาดาบคะตะนะในพื้นที่สาธารณะได้นั้น ต้องถูกยกเลิกไปพร้อมๆ กับสิทธิในการฆ่าใครก็ได้ที่ไม่ให้ความเคารพต่อตน ในที่สุด กลุ่มคนที่เรียกตนเองว่าซามูไรก็เดินทางมาถึงจุดสิ้นสุด หลังจากที่ผ่านเวลากว่าร้อยปีแห่งความสุขที่มีต่อสถานะของพวกตน อำนาจของพวกตน และความสามารถของพวกตนในการก่อร่างสร้างคณะรัฐบาลแห่งดินแดนญี่ปุ่นได้ แต่อย่างไรก็ตาม กฎของรัฐที่ออกมาจากชนชั้นทหารก็ยังไม่ได้สิ้นสุดลงไปด้วย

ภายหลังการปฏิรูปสมัยเมจิ

แก้

เพื่อเป็นการแสดงว่าญี่ปุ่นมีความทันสมัย สมาชิกในคณะรัฐบาลเมจิจึงตัดสินใจที่จะเดินตามรอยเท้าของสหราชอาณาจักรและเยอรมนี โดยให้อยู่บนฐานคติที่ว่า “สิทธิพิเศษย่อมมีข้อผูกมัด” (“noblesse obligé”) ส่วนซามูไรนั้น ก็ถูกลดอำนาจทางการเมืองไปเหมือนกับของปรัสเซีย

เมื่อการปฏิรูปสมัยเมจิเกิดขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ชนชั้นซามูไรก็ล่มสลายไป และกองทัพประจำชาติแบบตะวันตกก็เกิดขึ้นแทน ทหารในกองทัพสมัยใหม่ขององค์พระจักรพรรดิแห่งประเทศญี่ปุ่นล้วนแล้วแต่เป็นทหารที่ถูกเกณฑ์เข้ามาทั้งสิ้น แต่ก็มีซามูไร (เก่า) หลายคนที่อาสาไปเป็นทหารให้ และอีกหลายคนก็เข้าไปฝึกเพื่อที่จะเป็นเจ้าหน้าที่อยู่ในกองทัพ ผู้ที่เป็นเจ้าหน้าที่ในกองทัพนี้ ส่วนใหญ่แล้วจะมีจุดเริ่มต้นมาจากซามูไรแทบทั้งสิ้น ทำให้พวกเขาเข้ามาทำงานพร้อมกับแรงจูงใจและวินัยขั้นสูง ประกอบกับการหมั่นฝึกฝนที่โดดเด่นผิดธรรมดา

นักเรียนแลกเปลี่ยนชาวญี่ปุ่นหลายต่อหลายคนในช่วงหลังก็ล้วนเป็นซามูไรมาก่อนเช่นกัน ที่เป็นเช่นนั้นไม่ใช่เพราะว่าซามูไรเท่านั้นถึงจะเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนได้ แต่เป็นเพราะว่า ซามูไรหลายๆ คนอ่านออกเขียนได้และมีการศึกษาที่ดี นักเรียนแลกเปลี่ยนบางคนเริ่มต้นเรียนที่โรงเรียนเอกชนก่อนเพื่อโอกาสทางการศึกษาที่สูงขึ้น

ในขณะเดียวกัน ซามูไรเก่าอีกหลายคนก็หันมาจับปากกาแทนปืน และได้กลายเป็นนักข่าวและนักประพันธ์ และยังได้ตั้งสำนักหนังสือพิมพ์ของตนเองอีกด้วย ส่วนอดีตซามูไรคนอื่นๆ ก็เข้าไปรับใช้คณะรัฐบาล เนื่องจากพวกเขาอ่านออกเขียนได้และมีการศึกษานั่นเอง

ซามูไรชาวตะวันตก

แก้
 
ภาพวาดของเออแฌน กอลัช นายทหารเรือชาวฝรั่งเศสที่ทำศึกเพื่อโชกุนในฐานะของซามูไร ในช่วงสงครามโบะชิง (พ.ศ. 2412)

ชาวต่างประเทศคนแรกที่ได้รับเกียรติให้เป็นซามูไร น่าจะเป็นทหารและนักผจญภัยชาวอังกฤษที่มีนามว่า วิลเลียม แอดัมส์ (พ.ศ. 2107พ.ศ. 2163) โชกุนโทะกุงะวะ อิเอะยะซุได้มอบดาบคู่ให้แก่เขาเพื่อเป็นตัวแทนแห่งอำนาจของซามูไร พร้อมกับมีบัญชาออกมาว่า นักเดินเรือวิลเลียม แอดัมส์ ได้ตายไปแล้ว และซามูไร มิอุระ อันจิง (ญี่ปุ่น: 三浦按針) ได้ถือกำเนิดขึ้นมาแทน นอกจากการได้เป็นซามูไร แอดัมส์ยังได้รับตำแหน่ง ฮะตะโมะโตะ ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ได้รับความเคารพอย่างสูง มีหน้าที่เป็นข้ารับใช้โดยตรงในสำนักของโชกุน นอกจากนั้น เขายังได้รับที่ดินในเฮมิ (ญี่ปุ่น: 逸見) ซึ่งเป็นที่ดินที่มีเขตแดนอยู่ในเมืองโยะโกะซุกะในปัจจุบัน เป็นส่วนแบ่งจากท่านโชกุน พร้อมกับข้าทาสบริวารอีกส่วนหนึ่ง โดยมีหลักฐานปรากฏในจดหมายของเขาว่า “ด้วยชาวนาแปดสิบหรือเก้าสิบคนนี่แหละ ที่จะมาเป็นข้าทาสและบริวารของข้าพเจ้า” ทรัพย์สมบัติในรูปแบบของที่ดินของเขามีค่ามากเท่ากับ 250 โกกุ (หน่วยวัดรายได้ที่มาจากผืนนาบนที่ดินของญี่ปุ่น มีค่าประมาณห้าบูเชล)

ในท้ายที่สุด เขาได้เขียนในจดหมายของเขาว่า “พระเจ้าได้บันดาลพรให้ข้าพเจ้า หลังจากที่ข้าพเจ้าต้องพบกับความทุกข์ระทม” เนื้อความดังกล่าวหมายความว่า ความหายนะ (จากการเดินทาง) ได้นำเส้นทางของเขาให้มาพบกับชีวิตที่ดีในญี่ปุ่น

นอกจากวิลเลียม แอดัมส์ แล้ว ในช่วงที่เกิดสงครามโบะชิง พ.ศ. 2411 (ค.ศ. 1868) – พ.ศ. 2412 (ค.ศ. 1869) ก็ยังมีทหารชาวฝรั่งเศสหลายคนที่เข้ามาร่วมกับกองกำลังของโชกุนต่อสู้กับกลุ่มไดเมียวฝ่ายใต้ที่เห็นชอบกับการปฏิรูปสมัยเมจิ โดยได้มีการบันทึกไว้ว่า นายทหารเรือฝรั่งเศสคนหนึ่งที่ชื่อ เออแฌน กอลัช (Eugène Collache) ได้ต่อสู้ในสงครามครั้งนี้ภายใต้เครื่องแบบของซามูไร เคียงบ่าเคียงใหล่ไปกับเพื่อนร่วมรบชาวญี่ปุ่นคนอื่น ๆ ด้วย

วัฒนธรรมซามูไร

แก้

ซามูไรได้พัฒนาวัฒนธรรมของพวกเขาเองในหลาย ๆ ด้าน ซึ่งวัฒนธรรมเหล่านี้ยังได้ส่งอิทธิพลต่อรูปแบบวัฒนธรรมของประเทศญี่ปุ่นโดยรวมอีกด้วย

การศึกษา

แก้

ผู้ที่เป็นซามูไรต่างได้รับการคาดหวังว่าจะต้องเป็นคนที่สามารถอ่านออกเขียนได้ พร้อมกับต้องมีความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ด้วย นอกจากนั้น ยังได้รับความคาดหวังว่าจะต้องเป็นผู้ที่มีความสนใจในศิลปะด้านอื่น ๆ อย่างเช่น การเต้นรำ การเล่นโกะ งานวรรณกรรม บทกวี และชา เป็นต้น ถึงแม้ว่าศิลปะเหล่านี้ไม่ได้จำเป็นต่อพวกเขาเลยก็ตาม

แต่ในประวัติศาสตร์ ซามูไรผู้ที่มีชื่อเสียงหลายคนก็ไม่ได้มีคุณสมบัติตามวุฒิการศึกษาที่กล่าวไว้ข้างต้น ตัวอย่างเช่น โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ ซามูไรผู้ยิ่งใหญ่ที่มีพื้นเพเป็นชาวนา ก็มีอุปสรรคสำคัญอยู่ตรงที่เขาสามารถอ่านและเขียนได้แต่ภาษาญี่ปุ่นที่ใช้ตัวอักษรฮิรางานะเท่านั้น อีกผู้หนึ่งคือ โอดะ โดกัง บุคคลผู้ที่ปกครองเอะโดะเป็นคนแรก ก็เคยเขียนระบายความในใจของเขาว่า เขาละอายใจเหลือเกินที่ได้พบว่า แม้แต่ประชาชนธรรมดายังมีความรู้ทางด้านการกวีมากกว่าตัวเขาเอง ทำให้เขารู้สึกอัปยศจนต้องยอมสละสมบัติและตำแหน่งของเขาไปในที่สุด

ประเพณีชุโด

แก้
 
ภาพวาดแสดงประเพณีชุโดของญี่ปุ่นโบราณ ที่ผู้ชายเกิดความสัมพันธ์รักกับผู้ชายที่อ่อนวัยกว่า ผลงานของมิยะงะวะ อิสโช (พ.ศ. 2293)

ชุโด (ญี่ปุ่น: 衆道) คือ ประเพณีแห่งสายใยรักที่เกิดขึ้นระหว่างซามูไรผู้แก่กล้าวิชากับซามูไรที่ยังไร้ประสบการณ์ ที่เปรียบได้ดัง “ดอกไม้แห่งจิตวิญญาณของซามูไร” ที่ได้ก่อร่างสร้างพื้นฐานที่แท้จริงของลัทธิความงามของผู้ที่เป็นซามูไรขึ้นมา ประเพณีนี้มีความคล้ายคลึงกับประเพณีของกรีกโบราณที่ชายวัยผู้ใหญ่มักจะมีความสัมพันธ์ทางเพศกับเด็กผู้ชาย

สำหรับสังคมซามูไร นี่ถือว่าเป็นประเพณีที่มีเกียรติ เป็นการปฏิบัติที่สำคัญ และเป็นเส้นทางสายหลักที่จะสืบทอดความคิด คุณค่า จิตวิญญาณ และทักษะแห่งประเพณีซามูไร จากรุ่นหนึ่งไปสู่รุ่นต่อ ๆ ไปได้

อีกชื่อหนึ่งของประเพณีนี้คือ บิโด (ญี่ปุ่น: 美道) (วิถีแห่งความงาม) เป็นประเพณีที่เชื่อว่า ความรักอันหนักแน่นที่ซามูไรสองคนมีให้แก่กันนั้น เป็นสิ่งที่เกือบจะยิ่งใหญ่เท่ากับความรักแบบเดียวกันที่มีให้แก่ไดเมียว จากข้อมูลในบทบันทึกร่วมสมัยฉบับหนึ่งได้กล่าวไว้ว่า ทางเลือกระหว่างความรักที่มีต่อซามูไรอีกคน กับ เจ้านายของเขาเอง สามารถกลายมาเป็นปัญหาทางปรัชญาสำหรับซามูไรได้

ในตำราฮะงะกุเระและคู่มือสำหรับซามูไรฉบับอื่น ๆ ได้ให้คำสอนที่เจาะจงไปที่วิถีของประเพณีเช่นนี้ว่า เป็นสิ่งที่ซามูไรควรจะต้องทำตามและให้ความเคารพ

หลังจากที่เกิดการปฏิรูปสมัยเมจิและการเข้ามาของแบบแผนการดำเนินชีวิตของตะวันตก การหลงใหลในความงามของผู้ชายก็ถูกแทนที่โดยความหลงใหลในเพศหญิงตามแบบยุโรปแทน นี่จึงเป็นจุดจบของประเพณีชุโดไปในที่สุด

การตั้งชื่อ

แก้

ชื่อเต็มของซามูไร มักจะตั้งขึ้นมาโดยการนำเอาชื่อที่อ่านตามตัวอักษรคันจิของพ่อหรือปู่ของเขา มารวมกับชื่อใหม่อีกหนึ่งชื่อที่อ่านตามตัวอักษรคันจิเหมือนกัน ซึ่งตามธรรมดาแล้ว ซามูไรจะใช้ชื่อบางส่วนจากชื่อเต็มทั้งหมดเท่านั้น

ตัวอย่างเช่น โอะดะ คะซุซะโนะซุเกะ ซะบุโระ โนะบุนะงะ (ญี่ปุ่น: 織田上総介三郎信長) ก็คือชื่อเต็มของโอะดะ โนะบุนะงะ โดยคำว่า โอะดะ ก็คือชื่อของตระกูลหรือสังกัด คำว่า คะซุซะโนซุเกะ ก็คือชื่อตำแหน่งรองข้าหลวงประจำแคว้นคะซุซะ คำว่า ซะบุโระ ก็คือชื่อที่มีมาก่อนเข้าพิธีเก็มปุกุ (พิธีฉลองการเจริญวัย) และคำว่า โนะบุนะงะ ก็คือชื่อที่ตั้งขึ้นใหม่ต่อที่เป็นผู้ใหญ่

การสมรส

แก้

การแต่งงานของซามูไรจะถูกจัดขึ้นมาโดยผู้ที่แต่งงานแล้วและมียศศักดิ์เท่ากับหรือเหนือว่าซามูไรผู้เป็นเจ้าบ่าวเท่านั้น (นี่เป็นพิธีสำคัญสำหรับซามูไรที่มียศศักดิ์ต่ำกว่า และเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับซามูไรที่มียศศักดิ์สูงกว่า) ซามูไรส่วนมากมักจะแต่งงานกับผู้หญิงที่มาจากตระกูลซามูไรเหมือนกัน แต่สำหรับซามูไรที่มียศต่ำลงมา การแต่งงานกับหญิงสามัญชนถือเป็นเรื่องที่อนุโลมได้ ส่วนเรื่องของสินสมรส (สินเดิม) ฝ่ายเจ้าสาวจะเป็นผู้ที่นำมาให้เอง เพื่อใช้เริ่มต้นชีวิตใหม่ของพวกเขา

ก่อนการแต่งงาน ซามูไรจะส่งค่าสินสอดหรือเอกสารยกเว้นการเก็บภาษีไปให้กับครอบครัวของฝ่ายหญิงผ่านทางผู้ส่งข่าว เพื่อที่จะขออนุญาตบิดาและมารดาแต่งงานกับฝ่ายหญิง ซึ่งบิดามารดาส่วนใหญ่ก็ยอมรับข้อเสนอด้วยความยินดี พ่อค้าฐานะดีหลายคนส่งลูกสาวของพวกเขาไปแต่งงานกับซามูไรเพื่อจะได้หักลบหนี้สินของซามูไรและจะได้ทำให้ตำแหน่งหน้าที่ของตนก้าวหน้าขึ้น

ถ้าหากว่าภรรยาของซามูไรให้กำเนิดบุตรชาย บุตรชายผู้นั้นก็สามารถที่จะเป็นซามูไรได้

ซามูไรสามารถมีภรรยาน้อยได้ แต่พื้นหลังชีวิตของผู้ที่จะมาเป็นภรรยาน้อยจะต้องถูกตรวจสอบอย่างเข้มงวดโดยซามูไรระดับสูงเหมือนที่ทำในการแต่งงานจริง การลักพาตัวภรรยาน้อยถือว่าเป็นการกระทำที่น่าละอาย ถึงแม้ว่าการกระทำเช่นนี้ในนิยายหลาย ๆ เรื่องจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ทั่วไปก็ตาม

ซามูไรสามารถหย่าขาดจากภรรยาของเขาได้ด้วยเหตุผลหลาย ๆ อย่าง แต่จะต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้มีตำแหน่งสูงกว่าก่อน ซึ่งในความเป็นจริงการหย่าของซามูไรเกิดขึ้นมาน้อยมาก เหตุผลในการหย่าอาจจะเป็นเพราะว่า ภรรยาของเขาไม่สามารถให้บุตรชายแก่เขาได้ แต่วิธีการรับเด็กชายมาเลี้ยงก็สามารถใช้เป็นแนวทางแทนการหย่าได้เช่นกัน ซามูไรสามารถหย่าโดยใช้เหตุผลส่วนตัวที่ว่าเขาไม่ชอบภรรยาของเขาได้ แต่โดยทั่วไปเหตุผลนี้มักจะไม่ยกมาอ้างกัน เพราะมันจะสร้างความอับอายให้แก่ซามูไรระดับสูงที่จัดการแต่งงานให้ได้ แต่แม้ว่าโดยทั่วไปผู้ที่เป็นฝ่ายหย่าก่อนจะเป็นฝ่ายของซามูไร ฝ่ายหญิงก็สามารถเป็นฝ่ายที่เริ่มการหย่าก่อนได้เหมือนกัน หลังจากการหย่าแล้ว ฝ่ายซามูไรจะได้รับเงินค่าสินสอด ซึ่งมีไว้ป้องกันการหย่า กลับคืนมา

ภรรยาของซามูไรที่ไม่ซื่อสัตย์แล้วปฏิเสธในความผิดของเธอ จะได้รับอนุญาตให้ทำการจิไง (การคว้านท้องฆ่าตัวตาย (เซ็ปปุกุ) ของผู้ชาย)

ปรัชญา

แก้

หลักปรัชญาของศาสนาพุทธนิกายเซน บวกกับบางส่วนของลัทธิขงจื๊อ มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมซามูไรได้ดีพอ ๆ กับลัทธิชินโต

นิกายเซนได้กลายเป็นหลักคำสอนสำคัญในเรื่องของวิธีการที่ทำให้จิตสงบ

ฐานคติของพุทธในเรื่องการกลับชาติมาเกิด ก็นำซามูไรไปสู่การละเลิกการทรมานและการฆ่าฟันอย่างไร้เหตุผล ฐานคตินี้มีอิทธิพลมากจนซามูไรบางคนถึงกับยอมเลิกใช้ความรุนแรง และบวชเป็นพระสงฆ์หลังจากที่ตระหนักว่าการฆ่าฟันไม่ได้ส่งผลดีอย่างไร ขณะที่ซามูไรบางคนตระหนักถึงเรื่องเช่นนี้ได้ตอนที่อยูในสมรภูมิจริง จนเป็นเหตุให้เขาต้องถูกฆ่าตาย ณ ที่นั้นก็มี

ส่วนบทบาทของลัทธิขงจื๊อที่มีผลต่อวัฒนธรรมซามูไรก็คือ การเน้นความสำคัญในการรักษาความสัมพันธ์ที่มีต่อผู้ปกครองให้ได้ ซึ่งนี่คือความจงรักภักดีที่ซามูไรต้องการจะแสดงต่อเจ้านายของเขา

บูชิโดคือ “ประมวลหลักการปฏิบัติ” ที่ติดตัวซามูไรทุก ๆ คน หลักนี้เริ่มบังคับใช้ในสมัยเอโดะ โดยรัฐบาลโชกุนโทกึงาวะ เพื่อพวกเขาจะได้ควบคุมเหล่าซามูไรได้ง่ายขึ้น [5]

แต่เหตุการณ์ของ “กลุ่มโรนิงทั้ง 47” ก็ทำให้เกิดการโต้เถียงกันเกี่ยวกับประเด็นความถูกต้องของหลักปฏิบัติของซามูไร และประเด็นที่ว่าหลักบูชิโดควรจะประยุกต์ใช้ได้อย่างไร เนื่องจากซามูไรซึ่งกลายเป็นโรนิงทั้ง 47 คนนี้ไม่ได้ให้ความเคารพต่อโชกุนซึ่งเป็นผู้ปกครองของพวกเขา แต่ที่ทำเช่นนี้ก็เพราะความภักดีและความซื่อสัตย์ที่มีต่อนายเก่าของพวกเขาเอง ผลสุดท้าย การกระทำของพวกเขาถูกตัดสินว่าเป็นการกระทำที่แสดงออกถึงความซื่อสัตย์ แต่ไม่เป็นการแสดงถึงความจงรักภักดีต่อโชกุน นี่จึงเป็นเหตุให้พวกเขาทั้ง 47 คนต้องถูกฆาตกรรมด้วยการสำนึกผิดและสิทธิในการคว้านท้องฆ่าตัวตาย

สตรี

แก้

หน้าที่ของผู้หญิงในฐานะภรรยาของซามูไรคือ แม่บ้าน บทบาทนี้สำคัญมากในยุคศักดินาของญี่ปุ่น ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่นักรบผู้เป็นสามีมักจะเดินทางไปดินแดนอื่น หรือไปทำสงครามร่วมกับสังกัดของตนเอง ภรรยา หรือ “โอกุซัง” (แปลว่า ผู้ที่อยู่แต่ในบ้าน) จะเป็นผู้ที่จัดการกิจธุระทุกอย่างของครอบครัว ดูแลลูก ๆ และบางโอกาสยังต้องป้องกันบ้านจากการรุกรานด้วย ภรรยาของชนชั้นซามูไรหลาย ๆ คนต้องฝึกฝนการใช้ง้าว หรือที่เรียกว่านะงินะตะ มือเดียวให้ได้ เพื่อจะได้สามารถปกป้องคนในครอบครัว บ้าน และเกียรติยศเอาไว้

ลักษณะพิเศษที่ไม่เหมือนใครของผู้ที่เป็นภรรยาซามูไรคือ ถ่อมตัว เชื่อฟัง ควบคุมตนเอง และจงรักภักดี ภรรยาในอุดมคติของซามูไรจะต้องมีทักษะในการจัดการกับทรัพย์สิน หมั่นจดบันทึก ดูแลการเงิน ให้การศึกษาแก่ลูกๆ (และบางทีก็ต้องให้การศึกษาแก่ผู้รับใช้ด้วย) และบำรุงบิดามารดายามแก่เฒ่าทั้งของตนและของสามี ซึ่งอาจจะอาศัยอยู่ใต้ชายคาเดียวกัน กฎของขงจื๊อได้ช่วยนิยามความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและประมวลรวมหลักจรรยาของชนชั้นนักรบในเรื่องนี้ไว้ว่า ภรรยาจะต้องแสดงความเคารพอย่างสูงแก่สามี ต้องกตัญญูและบูชาบิดามารดา และต้องดูแลเอาใจใส่แก่ลูก ๆ แต่ถ้าให้ความรักต่อลูกมากจนเกินไป ก็จะทำให้ลูกเป็นผู้ที่เอาแต่ใจตนเองได้ ดังนั้น ผู้เป็นแม่จึงต้องฝึกให้ลูกมีวินัยควบคู่ไปด้วย

แม้ว่าภรรยาของตระกูลซามูไรที่มั่งคั่งจะได้เสวยสุขจากทรัพย์สินเงินทองและตำแหน่งอันเลิศหรูในสังคม และยังมีสิทธิหลีกเลี่ยงการถูกใช้แรงงานทางกายด้วยก็ตาม พวกเธอก็ยังมีสถานะทางสังคมที่ต่ำกว่าเพศชายอยู่หลายระดับ ผู้หญิงจะถูกห้ามไม่ให้ข้องเกี่ยวกับกิจกรรมทางการเมือง และโดยมากก็จะไม่ได้มีตำแหน่งเป็นหัวหน้าของครอบครัวด้วย

เมื่อการศึกษาเริ่มมีคุณค่ามากขึ้นในยุคของโทะกุงะวะ ผู้หญิงที่ได้รับการศึกษาตั้งแต่เด็กจึงกลายเป็นสิ่งสำคัญสำหรับครอบครัวและสังคมโดยรวม หลักเกณฑ์ในการเลือกสตรีมาแต่งงานด้วยจึงเริ่มถ่ายน้ำหนักไปที่ความฉลาดและระดับการศึกษา บวกกับความดึงดูดใจทางกายภาพของผู้ที่จะมาเป็นภรรยามากขึ้น ทำให้นอกจากจะต้องมีทักษะของการเป็นภรรยาและผู้จัดการครอบครัวที่ดี ผู้หญิงในยุคนั้นยังต้องพบกับความท้าทายในการเรียนการอ่านภาษาจีน และยังจะต้องมีความรู้ในวิชาทางด้านปรัชญาและอักษรศาสตร์เบื้องต้นอีกด้วย เพราะฉะนั้น จนถึงสิ้นสุดยุคโทะกุงะวะ ภรรยาของซามูไรเกือบทุกคนจึงสามารถอ่านออกเขียนได้หมด

อาวุธ

แก้
 
ดาบคะตะนะ (ญี่ปุ่น: โรมาจิkatana) อาวุธหลักของซามูไร

อาวุธที่ซามูไรใช้มีอยู่หลายชนิด แต่ดาบคะตะนะก็ไม่ได้เป็นอาวุธที่สำคัญที่สุดของซามูไร เพราะว่าซามูไรไม่สามารถนำคะตะนะติดตัวเข้าไปในบางสถานที่ได้ วะกิซะชิ คือ อาวุธติดตัวซามูไรที่สำคัญที่สุด หลักบูชิโดได้สอนว่าจิตวิญญาณของซามูไรก็คือคะตะนะของพวกเขาแต่ละคน และบางครั้งซามูไรก็ถูกจินตนาการให้ต้องพึ่งพาคะตะนะเพื่อการต่อสู้ด้วย แนวคิดนี้เป็นแนวคิดที่ขัดแย้งกับหน้าไม้ของยุโรป หรือดาบของอัศวินที่ส่วนใหญ่ใช้เป็นแค่เครื่องมือในการต่อสู้เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ดาบคะตะนะมักจะไม่ถูกนำมาใช้เป็นอาวุธในสมรภูมิกัน จนกระทั่งยุคคะมะกุระ ตัวดาบคะตะนะเองก็ยังไม่ได้เป็นอาวุธหลักจนกระทั่งเกิดยุคเอโดะขึ้นมา

หลังจากที่บุตรชายของซามูไรได้ถือกำเนิดขึ้น เขาจะได้รับดาบเล่มแรกของเขาในพิธีฉลองที่เรียกว่า มะโมะริ-คะตะนะ อย่างไรก็ตาม ดาบที่ให้ไปเป็นเพียงแค่ดาบเครื่องรางเท่านั้น โดยจะห่อหุ้มด้วยไหมยกดอกเงินหรือทองเพื่อที่จะให้เด็กอายุไม่เกินห้าขวบพกเอาไว้ในกระเป๋าสตางค์ได้ เมื่อถึงอายุสิบสามปี ในพิธีฉลองที่เรียกว่า เก็มบุกุ (ญี่ปุ่น: 元服โรมาจิGembuku) บุตรชายจะได้รับดาบจริงเล่มแรกพร้อมกับชุดเกราะ ชื่อในวัยผู้ใหญ่ และกลายเป็นซามูไรในที่สุด ดาบคะตะนะและวะกิซะชิเมื่อใช้ร่วมกันแล้วจะเรียกว่าไดโช (แปลตามตัวอักษรว่า “ใหญ่กับเล็ก”)

วะกิซะชิ คือ “ดาบแห่งเกียรติยศ” ของซามูไร ซามูไรจะไม่ยอมให้มันหลุดจากข้างกายโดยเด็ดขาด มันจะต้องติดตัวพวกเขาไปตอนที่พวกเขาเข้าบ้านคนอื่น (แต่ต้องทิ้งอาวุธหลักเอาไว้ข้างนอก) ยามนอนก็ต้องมีมันอยู่ใต้หมอนด้วย

 
ดาบสั้น

ทันโตะ คือ ดาบสั้นเล่มเล็กที่มักจะใส่คู่กับวะกิซะชิในไดโช ทันโตะหรือไม่ก็วะกิซะชินี่เองที่จะถูกนำมาใช้ในพิธีกรรมการฆ่าตัวตาย หรือที่เรียกว่าเซ็ปปุกุ

 
ธนูยาว (ยุมิ) (ญี่ปุ่น: โรมาจิYumi)

นอกจากดาบ ซามูไรยังเน้นการฝึกทักษะในการใช้ธนูยุมิ (ธนูยาวญี่ปุ่น) เพื่อสะท้อนศิลปะแห่งคิวโด (แปลตามตัวอักษรว่า วิถีแห่งธนู) อีกด้วย ในช่วงยุคเซงโงะกุ ธนูยังคงเป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับทหารชาวญี่ปุ่น ถึงแม้ว่าในช่วงนั้นพวกเขาจะรู้จักกับอาวุธปืนกันแล้วก็ตาม ยุมิเป็นธนูที่มีรูปร่างไม่รับส่วนกัน โดยประกอบขึ้นมาจากไม้ไผ่ ไม้ และหนัง ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับธนูแบบประกอบขึ้นเหมือนกันแต่ยืดหยุ่นกว่าของชาวยูเรเซียแล้ว ความทรงพลังของยุมิยังต่ำกว่า ยุมิมีระยะการโจมตีที่แม่นยำและมีประสิทธิภาพอยู่ที่ 50 เมตรหรือน้อยกว่านั้น (ระยะโจมตีเต็มที่คือ 100 เมตร) ยุมิมักจะใช้กันหลัง “เทะดะเทะ” (ญี่ปุ่น: 手盾โรมาจิtedate) หรือกำแพงไม้ไผ่ขนาดใหญ่ที่เคลื่อนที่ได้ ส่วนธนูที่มีขนาดสั้นกว่า (ฮังกิว) มักจะใช้บนหลังม้ากัน (ต่อมา การฝึกฝนการยิงธนูบนหลังม้าได้กลายเป็นพิธีกรรมชินโตที่ชื่อ ยะบุซะเมะ (ญี่ปุ่น: 流鏑馬โรมาจิYabusame)

ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ยะริ (หอก) ได้กลายเป็นอาวุธที่ได้รับความนิยมพร้อมๆ กับนะงินะตะ (ง้าว) ยะริมักจะถูกนำมาใช้ในสมรภูมิ ที่ซึ่งการบริหารกองทหารเดินเท้าราคาถูกจำนวนมากเป็นปัจจัยที่สำคัญความกล้าหาญส่วนบุคคล การจู่โจมของทั้งทหารราบและทหารม้าจะมีประสิทธิภาพมากกว่าเมื่อใช้หอกแทนดาบคะตะนะ และเมื่อปะทะกับซามูไรที่ใช้ดาบคะตะนะเป็นอาวุธ ผู้ที่ใช้หอกก็มีมักจะได้เปรียบกว่าเสมอ

ในยุทธการชิซุงะตะเกะ ที่ซึ่งฝ่ายของชิบะตะ คะสึอิเอะ แพ้ให้กับฝ่ายฮะชิบะ ฮิเดะโยะชิ (ต่อมารู้จักกันในนามโทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ) ผู้ที่มีบทบาทสำคัญที่ทำให้เกิดชัยชนะครั้งนั้นก็คือมือหอกทั้งเจ็ดแห่งชิซุงะตะเกะ (ญี่ปุ่น: 賤ヶ岳七本槍โรมาจิShizugatake)

ในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 16 ปืนเล็กยาวได้เดินทางเข้ามาในญี่ปุ่นผ่านทางพ่อค้าชาวโปรตุเกส อาวุธชนิดใหม่นี้ทำให้ขุนศึกหลาย ๆ คนสามารถสร้างกองกำลังที่มีประสิทธิภาพขึ้นมาจากมวลชนชาวนาได้ แต่ตัวมันก็กลายเป็นที่ถกเถียงกันอย่างมากในสมัยนั้น คนจำนวนมากแลเห็นว่า การที่มันเป็นอาวุธที่ใช้ได้ง่ายและมีประสิทธิภาพการสังหารสูง เป็นการหมิ่นประเพณีบะชิโดอย่างไร้เกียรติยศ

โอะดะ โนะบุนะงะ ได้ใช้ปืนเล็กยาวจำนวนมากในยุทธการนะงะชิโนะ เมื่อปี พ.ศ. 2118 (ค.ศ. 1575) จนนำไปสู่การสูญสิ้นของตระกูลทะเกะดะในที่สุด

หลังจากที่ชาวโปรตุเกสและชาวฮอลันดาได้นำปืนเล็กยาวแบบบรรจุดินปืน หรือที่เรียกกันว่าเท็ปโปะ เข้ามาในญี่ปุ่นในครั้งแรก ช่างสร้างปืนชาวญี่ปุ่นก็ได้ผลิตมันออกมาเองในปริมาณมาก จนกระทั่งสิ้นสุดศตวรรษที่ 16 จำนวนปืนในญี่ปุ่นก็เพิ่มขึ้นมามากกว่าประเทศใด ๆ ในทวีปยุโรป ปืนทั้งหมดถูกสร้างขึ้นมาอย่างประณีตและสะท้อนถึงความมีฝีมือของช่างที่สร้างได้เป็นอย่างดี

เมื่อมาถึงสมัยการปกครองโดยโชกุนโทะกุงะวะ และการสิ้นสุดลงของสงครามกลางเมือง ยอดการผลิตปืนก็ลดลงอย่างรวดเร็วพร้อมกับการออกคำสั่งห้ามไม่ให้ถือครองเป็นเจ้าของอาวุธปืน ในสมัยการปกครองนี้ อาวุธที่มีพื้นฐานมาจากหอกได้ถูกเลิกใช้ไปบางส่วน เนื่องจากอาวุธเหล่านี้มีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการต่อสู้ระยะประชิด (ที่เกิดขึ้นบ่อยๆ ในสมัยเอโดะ) น้อย ส่วนกฎข้อห้ามเกี่ยวกับปืนที่ได้กล่าวไว้แล้วข้างต้น ก็มีผลให้ไดโชเป็นอาวุธชนิดเดียวเท่านั้นที่ซามูไรสามารถพกพาได้

ส่วนอาวุธอื่นๆ ที่ซามูไรนำมาใช้เป็นอาวุธก็ได้แก่ ไม้พลอง (โจะ), กระบองยาว (โบะ), ระเบิดมือ, เครื่องยิงหินแบบจีน (มักจะใช้ในการจู่โจมตัวบุคคลมากกว่าใช้เพื่อการล้อมโจมตี) และปืนใหญ่

นิรุกติศาสตร์ของคำว่า “ซามูไร” และคำอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

แก้
 
ตัวอักษรคันจิของภาษาญี่ปุ่น ของคำว่า ซามูไร

คำว่า ซามูไร ซึ่งถูกเขียนด้วยอักษรจีน (หรือคันจิ) มีความหมายที่แท้จริงว่า “ผู้ที่ให้การรับใช้อย่างใกล้ชิดแก่เหล่าขุนนาง หรือผู้ที่มีตำแหน่งสูง” ในช่วงก่อนยุคเฮอัง ชาวญี่ปุ่นเรียกคำนี้ว่า ซะบุระปิ ต่อมาก็เปลี่ยนมาเรียกว่า ซะบุไร จนกระทั่งยุคเอโดะ ถึงจะเรียกว่า ซามูไร เหมือนในปัจจุบัน

ในงานวรรณกรรมของญี่ปุ่น ช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 10 ที่ชื่อโคะกินชู (ญี่ปุ่น: 古今集โรมาจิKokinshū) ก็ได้มีการอ้างอิงถึง ซามูไร ไว้ว่า:

"ให้การรับใช้แก่ขุนนางของท่าน
ถามหาร่มของเจ้านายท่าน
เหล่าน้ำค้างใต้ต้นมิยะงิโนะ
ย่อมหนากว่าฝน"
(บทกลอน 1091)

คำว่า บุชิ หรือ บูชิ (ญี่ปุ่น: 武士โรมาจิbushi อ่านแบบญี่ปุ่นจะออกว่า บุ๊ฉิ แปลตามตัวอักษรว่า "นักรบ" หรือ "ทหาร") ปรากฏขึ้นครั้งแรกในช่วงต้นของประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นที่เรียกว่า โชกุ นิฮงงิ (ญี่ปุ่น: 続日本記โรมาจิShoku Nihongi) (พ.ศ. 1340) คำว่า “บึชิ” มีรากฐานมาจากภาษาจีน ต่อมาได้ถูกนำมาเพิ่มไว้ในภาษาญี่ปุ่นดั้งเดิมสำหรับคำว่า นักรบ: สึวะโมะโนะ และ โมะโนะโนะฟุ คำว่า "บุชิ" และคำว่า "ซามูไร” ได้กลายมาเป็นความหมายเดียวกันในช่วงใกล้จะสิ้นสุดศตวรรษที่ 12

ในหนังสือชื่อ ไอดีลส์ ออฟ เดอะ ซามูไร—ไรติงส์ ออฟ เจแปนนิส วอรริเออรส์ ของวิลเลียม สกอทท์ วิลสัน ที่ได้รวบรวมงานสำรวจเกี่ยวกับรากเง้าของคำว่า นักรบ ในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น ได้กล่าวไว้ว่า คำว่า บุชิ ที่จริงแล้วสามารถแปลออกมาได้ว่า “ชายผู้ที่มีความสามารถในการรักษาสันติภาพ โดยใช้วิธีทางวรรณกรรณหรือวิธีทางการทหารก็ได้ แต่ส่วนใหญ่แล้วมักจะใช้วิธีหลังกันมากกว่า”

เมื่อมาถึงตอนต้นยุคสมัยใหม่ของญี่ปุ่น โดยเฉพาะยุคอะซุชิโมะโมะยะมะและต้นยุคเอโดะ เมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 ความหมายของคำว่า ซามูไร (ซึ่งนำมาใช้แทนคำว่า ซะบุไร ในตอนนั้น) ก็เริ่มเปลี่ยนแปลงไป

ในช่วงยุคสมัยแห่งกฎของซามูไร คำว่า ยุมิโตะริ (ญี่ปุ่น: 弓取โรมาจิYumitori) ที่จริงๆ แล้วแปลว่า “มือธนู” ได้ถูกนำมาใช้เป็นชื่อตำแหน่งอันทรงเกียรติสำหรับนักรบที่ประสบความสำเร็จ ถึงแม้ว่าในขณะนั้น ทักษะการใช้ดาบจะเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากกว่าทักษะการใช้ธนูก็ตาม (เชื่อกันว่านักแม่นธนูของญี่ปุ่น (คิวจุสึ) มีสายสัมพันธ์ที่แข็งแรงและมั่นคงกับเทพเจ้าแห่งสงครามฮะจิมัง)

ซามูไรที่ไม่มีความสัมพันธ์กับตระกูลหรือไดเมียว (ญี่ปุ่น: 大名โรมาจิdaimyo) คนใดเลย จะถูกเรียกว่า โรนิง (ญี่ปุ่น: 浪人โรมาจิrōnin) ในภาษาญี่ปุ่น โรนิง มีความหมายว่า “คนคลื่น” หรือผู้ที่มีอนาคตอยู่ที่การเร่ร่อนอย่างไร้จุดหมายไปตลอดกาลเหมือนกับคลื่นในทะเล คำๆ นี้หมายถึงซามูไรที่ไม่ได้รับใช้เจ้านายของเขาอีกแล้ว เนื่องจากเจ้านายของเขาถึงแก่กรรม หรือเป็นเพราะตัวซามูไรเองถูกเนรเทศออกจากกลุ่ม หรืออาจจะเป็นเพราะซามูไรผู้นั้นเลือกที่จะเป็นโรนิงเองก็ได้

ค่าใช้จ่ายของซามูไรวัดเป็นข้าวทีละ 1 โคกุ (หรือประมาณ 180 ลิตร ซึ่งเป็นปริมาณที่เพียงพอที่จะใช้ยังชีพคนหนึ่งคนเป็นเวลาหนึ่งปี) ซามูไรที่อยู่ในการรับใช้ของฮังจะถูกเรียกวา ฮันชิ

นอกจากคำทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้น ก็ยังมีคำอื่น ๆ ที่สัมพันธ์กับประเพณีซามูไรอีก ซึ่งได้แก่:

อึรึวะชี

นักรบที่มีความสนใจในศิลปะ ซึ่งถูกนำมาทำเป็นสัญลักษณ์ตัวอักษรคันจิที่อ่านว่า “บุง” (บุ๋น - การศึกษาทางด้านการอักษร) และ “บุ” (บู๊ - การศึกษาด้านการทหารและศิลปะ)

บุเกะ

(ญี่ปุ่น: 武家โรมาจิbuke) : องค์กรที่เกี่ยวข้องกับการทำสงคราม หรือสมาชิกที่อยู่ในองค์กรดังกล่าว

โมะโนะโนะฟุ

(ญี่ปุ่น: もののふโรมาจิmononofu) : คำโบราณแปลว่านักรบ

มุชะ

(ญี่ปุ่น: 武者โรมาจิmusha) : คำย่อจากคำว่า บุเงชะ (ญี่ปุ่น: 武芸者โรมาจิbugeisha) ซึ่งแปลตามตัวอักษรว่า มนุษย์ผู้มีศิลปะแห่งสงคราม หรือมนุษย์ผู้มีศิลปะการต่อสู้

ชิ

(ญี่ปุ่น: โรมาจิshi) : มีความหมายในทำนองว่า “สุภาพบุรุษ” คำๆ นี้ถูกใช้สำหรับซามูไรอย่างเช่นในคำว่า บุชิ (ญี่ปุ่น: 武士โรมาจิbushi) ซึ่งแปลว่า นักรบ หรือ ซามูไร เป็นต้น

สึวะโมะโนะ

(ญี่ปุ่น: โรมาจิTsuwamono) : คำโบราณที่กล่าวถึงทหาร คนส่วนใหญ่รู้จักคำนี้จากบทกวีไฮกุที่โด่งดังของมะสึโอะ บะโช ถ้าแปลตามตัวอักษร คำนี้มีความหมายว่าคนแข็งแรง

ภาษาญี่ปุ่น (โรมะจิ) คำอ่าน คำแปลโดย ลูเชียน สไตรก์
(กวีชาวอเมริกัน)
ความหมายในภาษาไทย
natsukusa ya
tsuwamono domo ga
yume no ato

Matsuo Bashō
นะสึกุซะ ยะ
สึวะโมโนะ โดะโมะ กะ
ยุเมะ โนะ อะโตะ"

(มะสึโอะ บะโช)
Summer grasses,
All that remains
Of soldiers’ dreams

Matsuo Bashō
เหล่ากอหญ้าฤดูร้อน
ทั้งหมดที่ยังคง
ความฝันของเหล่าทหาร

(มะสึโอะ บะโช)

ซามูไรในวัฒนธรรมสมัยนิยม

แก้

ละครโทรทัศน์

แก้
ไฟล์:โปสเตอร์มิโตะ โคมง.jpeg
รูปจากโปสเตอร์ละครญี่ปุ่นแนวจิไดเงกิเรื่อง มิโตะ โคะมง (ญี่ปุ่น: 水戸黄門โรมาจิMito Komon)

ในทุกวันนี้ จิไดเงะกิ (หรือละครอิงประวัติศาสตร์) ก็ยังคงเป็นรายการหลักที่ฉายในโรงภาพยนตร์และโทรทัศน์ของญี่ปุ่นอยู่ รายการประเภทนี้มักจะมีเนื้อเรื่องที่เกี่ยวข้องกับซามูไร รวมไปถึงเค็นจุสึ (วิชาดาบ) ที่ลุกขึ้นมาต่อสู้กับเหล่าพ่อค้าและซามูไรคนอื่นๆ ที่ชั่วร้าย

มิโตะ โคะมง (ญี่ปุ่น: 水戸黄門โรมาจิMito Komon) เป็นตัวอย่างของละครชุดทางโทรทัศน์แนวจิไดเงกิ ที่โด่งดังเรื่องหนึ่งของญี่ปุ่น เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการเดินทางของโทะกุงะวะ มิสึกึนิ ที่ปลอมตัวเป็นพ่อค้าเศรษฐีเก่า พร้อมด้วยซามูไรไร้อาวุธอีกสองคนที่ปลอมตัวเป็นผู้ติดตามของเขา เขาจะต้องพบกับปัญหาในทุกๆ ที่ที่เขาไป และเขาจะต้องเป็นผู้แก้ปัญหาและรวบรวมหลักฐานต่างๆ หลังจากได้หลักฐานครบถ้วน เขาจะให้ซามูไรของเขาเข้าไปปราบซามูไรและพ่อค้าที่เป็นคนร้ายอย่างเลือดเย็น ก่อนที่จะเปิดเผยอัตลักษณ์ที่แท้จริงของเขาออกมา สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นประจำในเรื่องนี้คือ เหล่าร้ายที่มิสึกึนิสามารถเข้าไปฆ่าล้างตระกูลได้ มักจะออกมายอมแพ้เสียก่อน เพื่อหวังว่าการลงโทษของเขาจะไม่ลามไปถึงสมาชิกในครอบครัวคนอื่นๆ ด้วย

ละครชุดทางโทรทัศน์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับซามูไรอีกเรื่องหนึ่งคือ อะบะเร็มโบะ โชงุง ละครเรื่องนี้ประกอบไปด้วยตัวละครที่เป็นซามูไรทุกระดับชั้นไล่ตั้งแต่โชกุนลงมาถึงซามูไรระดับล่างที่สุด รวมไปถึงโรนิง ที่ถือได้ว่าเป็นส่วนประกอบสำคัญของเรื่องนี้ด้วย

ภาพยนตร์

แก้

งานภาพยนตร์แนวซามูไรของผู้กำกับอะกิระ คุโระซะวะ ได้สร้างความรุ่งเรืองให้กับงานบันเทิงประเภทนี้อย่างมาก เทคนิคและวิธีการเล่าเรื่องในงานของเขาได้ส่งอิทธิพลไปสู่นักสร้างภาพยนตร์หลาย ๆ คนทั่วโลก ผลงานที่สร้างชื่อของเขาได้แก่

  • เดอะ เซเว็น ซามูไร (เจ็ดเซียนซามูไร)]] เรื่องของหมู่บ้านเกษตรกรรมหมู่บ้านหนึ่งที่ได้ว่าจ้างซามูไรพเนจรกลุ่มหนึ่งเพื่อมาปกป้องพวกตนจากโจรป่า
  • โยจิมโบ หนังที่เล่าเรื่องราวของอดีตซามูไรคนหนึ่งที่เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับสงครามระหว่างกลุ่มอิทธิพลสองกลุ่มที่อยู่ในเมืองเดียวกัน ด้วยการเข้าไปทำงานรับใช้ทั้งสองฝ่าย
  • เดอะ ฮิดเด็น ฟอร์เทรซ ภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับชาวนาผู้โง่เขลาสองคนที่เข้าไปช่วยนายพลผู้เป็นตำนานคนหนึ่งในการอารักขาเจ้าหญิง

ในช่วงนั้น ภาพยนตร์แนวซามูไรและภาพยนตร์สไตล์ตะวันตกต่างก็แบ่งปันบางสิ่งที่คล้ายคลึงกันให้แก่กัน และยังส่งอิทธิพลต่อกันเป็นเวลาหลายปี จะเห็นได้จากผลงานของผู้กำกับคุโระซะวะหลายเรื่องก็ได้รับแรงบันดาลใจมาจากงานของผู้กำกับชาวอเมริกันที่ชื่อจอห์น ฟอร์ด ในทางกลับกัน ผู้กำกับชาวตะวันตกหลายคนก็นำผลงานของคุโระซะวะไปสร้างใหม่เป็นภาพยนตร์แนวตะวันตกด้วย ตัวอย่างเช่น เดอะ เซเว็น ซามูไร ก็ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์เรื่อง เดอะ แม็กนิฟิเซ็นท์ เซเว็น (7 สิงห์แดนเสือ)]] ส่วน โยจิมโบ ก็ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์เรื่อง อะ ฟิสท์ฟูล ออฟ ดอลลารส์ เป็นต้น

ส่วนเรื่อง เดอะ ฮิดเด็น ฟอร์เทรซ ก็ได้กลายเป็นแรงบันดาลใจสำคัญให้ผู้กำกับจอร์จ ลูคัส นำเนื้อเรื่องไปดัดแปลงและสร้างเป็นภาพยนตร์อวกาศระดับตำนานอย่าง สตาร์ วอรส์ ขึ้นมา และนอกจากนั้นเขายังได้หยิบยืมเอาลักษณะเฉพาะที่สำคัญหลายๆ อย่างของซามูไรมาใช้เป็นแรงบันดาลใจเบื้องต้นในการสร้างตัวละครอัศวินเจไดด้วย

นอกจากการนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ตะวันตกแล้ว ยังมีอนิเมะที่ดัดแปลงมาจาก เดอะ เซเว็น ซามูไร ด้วย โดยใช้ชื่อว่า ซามูไร 7 อนิเมะเรื่องนี้ได้ขยายเนื้อเรื่องออกเป็นตอนต่างๆ หลายตอน

แต่อย่างไรก็ตาม ฐานคติเกี่ยวกับซามูไรที่สื่อออกมาผ่านภาพยนตร์ ในฐานะที่มีความแตกต่างกับอัศวินของยุโรป ได้นำไปสู่ช่องว่างขนาดใหญ่ระหว่างนักรบหรือวีรบุรุษของญี่ปุ่นกับของส่วนอื่นๆ ในโลก เนื่องจากซามูไรนั้น ไม่จำเป็นจะต้องสูงหรือมีกล้ามเป็นมัดเพื่อให้ดูแข็งแรง พวกเขาสามารถที่จะเป็นซามูไรทั้งที่มีความสูงเพียง 150 เซนติเมตร หรืออ่อนแอ หรือว่าพิการก็ได้ เรื่องของขนาดและพลังจึงไม่ใช่ปัจจัยทางด้านความงามที่ยั่วยวนใจชาวญี่ปุ่นเท่าไรนัก ตัวอย่างที่เห็นได้ง่ายที่สุดสามารถพบได้ในเรื่อง ซาโตอิจิ (ไอ้บอดซามูไร) ซามูไรตาบอดผู้มีฝีมือ ซึ่งถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์และภาพยนตร์ทางจอเงินอยู่หลายตอน

ในยุคต่อมา เป็นที่สังเกตได้ว่าภาพยนตร์แนวซามูไร หรือที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมของซามูไร เริ่มที่จะปรากฏตัวในวงการภาพยนตร์ของฮอลีวูดมากขึ้น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดได้แก่

 
โปสเตอร์ภาพยนตร์เรื่อง เดอะ ลาสท์ ซามูไร (มหาบุรุษซามูไร)

วรรณกรรม

แก้

โชกุน ถือเป็นตัวอย่างวรรณกรรมซามูไรที่เป็นที่รู้จักในระดับสากลมากที่สุดชิ้นหนึ่ง ผลงานชิ้นนี้คือนวนิยายเรื่องแรกในงานชุดเอเชียน ซากา ของเจมส์ คลาเวลล์ (แปลเป็นไทยโดย ธนิต ธรรมสุคติ) นวนิยายเรื่องนี้มีท้องเรื่องอยู่ในช่วงปี พ.ศ. 2143 ซึ่งเป็นเวลาที่ญี่ปุ่นถูกปกครองด้วยระบบศักดินา เนื้อเรื่องเกี่ยวข้องกับการรุ่งโรจน์ของโทะกุงะวะ อิเอะยะสึ จนสามารถตั้งคณะการปกครองในระบอบโชกุนของตนเองได้ เรื่องราวทั้งหมดในเรื่องนี้จะถูกเล่าผ่านสายตาของทหารชาวอังกฤษคนหนึ่ง ซึ่งเป็นตัวละครที่มีพื้นฐานอย่างหลวมๆ มาจากวิลเลียม อดัมส์ ชาวตะวันตกที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นซามูไร เนื้อหาส่วนใหญ่ของนวนิยายชิ้นนี้ได้ถูกแต่งขึ้นมาใหม่โดยผู้เขียนเอง

การ์ตูน

แก้

นอกจากวรรณกรรม ซามูไรยังได้ปรากฏตัวบนหนังสือการ์ตูนของญี่ปุ่น (มังงะ) และภาพยนตร์การ์ตูน (อนิเมะ) อยู่บ่อยครั้ง โดยการ์ตูนเหล่านี้ส่วนใหญ่จะมีเนื้อเรื่องอิงประวัติศาสตร์ และตัวละครหลักก็มักจะเป็นซามูไรหรืออดีตซามูไร (หรือผู้ที่มีลำดับขั้นหรือตำแหน่งที่ต่างไปจากนั้น) ที่มีทักษะวิชาทางการสู้รบสูง โดยตัวอย่างของการ์ตูนญี่ปุ่นแนวนี้ที่ถือว่าโด่งดังที่สุดก็ได้แก่เรื่อง โลน วูล์ฟ แอนด์ คับ และ รุโรนิ เค็นชิง

โลน วูล์ฟ แอนด์ คับ (ซามูไรพ่อลูกอ่อน) เป็นการ์ตูนที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับอดีตตัวแทนเพชฌฆาตของโชกุน กับลูกน้อยของเขาอีกหนึ่งคน ที่ต้องกลายมาเป็นนักฆ่ารับจ้าง หลังจากที่ถูกกลุ่มชนชั้นสูงและซามูไรคนอื่น ร่วมกันทรยศ

ส่วน รุโรนิ เค็นชิง (ซามูไรพเนจร) เป็นเรื่องราวของอดีตนักฆ่า ผู้มีส่วนช่วยให้เกิดการสิ้นยุคบะคุมะซึจนนำไปสู่การเกิดขึ้นของยุคเมจิ เขาต้องมาปกป้องเพื่อนใหม่หลายๆ คน และต้องต่อสู้ขับไล่ศัตรูเก่าของเขาเอง โดยที่จะต้องรักษาคำสาบานที่เขาให้ไว้ก่อนหน้านั้นด้วยว่าเขาจะต้องไม่สังหารชีวิตใครอีก การ์ตูนเรื่องดังกล่าวนี้ยังได้นำเอามาสร้างในรูปแบบของอนิเมะอีกด้วย

แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีการ์ตูนญี่ปุ่นอีกหลายเรื่องที่ตัวละครหลักมีลักษณะต่างๆ เช่น การดำรงชีวิต การฝึกฝน และการต่อสู้คล้ายกับซามูไร โดยที่ตัวเรื่องหลักก็ไม่ได้ยึดติดอยู่กับเรื่องราวในประวัติศาสตร์สมัยซามูไรเหมือนสองเรื่องข้างต้น เนื้อเรื่องที่ประกอบไปด้วยตัวละครประเภทนี้มักจะดำเนินเรื่องในบริบทเวลาปัจจุบันหรือไม่ก็อนาคต ตัวอย่างที่รู้จักกันดีน่าจะเป็นโกะเอะมง อิชิกะวะ รุ่นที่ 13 จากเรื่อง ลูแปง III (การ์ตูนชุดที่สร้างออกมาทั้งในรูปแบบของหนังสือการ์ตูน ภาพยนตร์การ์ตูนทางโทรทัศน์ และภาพยนตร์) และมะโกะโตะ อะโอะยะมะ จากการ์ตูนแนวโรแมนติกคอมเมดีเรื่อง เลิฟฮินะ (บ้านพักอลเวง) เป็นต้น

ตัวละครประเภทนี้ยังมีปรากฏให้เห็นอีกในการ์ตูนเรื่องอื่นๆ เช่นในเรื่อง เบย์เบลด (ศึกลูกข่างมหัศจรรย์) ซึ่งเป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในยุคปัจจุบันเกี่ยวกับการแข่งขันลูกข่างอันล้ำสมัย ก็มีตัวละครที่ชื่อ "จิน จ้าวพายุ" ที่มีลักษณะผสมกันระหว่างซามูไรและนินจาอยู่ด้วย ส่วนอีกเรื่องหนึ่งก็คืออนิเมะแนวผู้ใหญ่ที่ชื่อ ซามูไร แชมพลู การ์ตูนญี่ปุ่นที่ปรากฏโฉมครั้งแรกในปี พ.ศ. 2547 ด้วยเนื้อเรื่องในยุคเอโดะที่นำมาผสมผสานให้เข้ากับวัฒนธรรมข้างถนนสมัยใหม่และเพลงแนวฮิพฮ็อพ ก็มีตัวละครที่ชื่อ จิน ซึ่งเป็นอดีตซามูไรฝีมือฉมังที่ต้องกลายมาเป็นโรนิงหลังจากที่เขาได้สังหารเจ้านายของเขาเอง

ขณะที่ซามูไรกำลังมีชีวิตโลดแล่นอยู่ในการ์ตูนเรื่องต่างๆ ของญี่ปุ่น หนังสือการ์ตูนสัญชาติอเมริกันหลายๆ เรื่องก็ได้หยิบเอาลักษณะเฉพาะของซามูไรไปปรับแต่งใหม่ให้เข้ากับตัวละครของพวกเขาเองเช่นเดียวกัน ที่เห็นได้ชัดก็คือ วูล์ฟเวอรีน หนึ่งในยอดมนุษย์แห่งมาร์เวล ยูนิเวอร์ส ที่ปรากฏตัวครั้งแรกในช่วงทศวรรษที่ 80 ก็มีความพยายามที่จะใช้อุดมการณ์และฐานคติของซามูไรเกี่ยวกับวิธีการในการควบคุมความอารมณ์รุนแรงที่เกิดขึ้นในของเขา นอกจากนั้น ลักษณะของโรนิง หรือซามูไรที่ไร้เจ้านาย ก็ยังถูกนำไปใช้เป็นตัวละครของการ์ตูนอเมริกาบางเรื่องด้วย เช่นเรื่อง โรนิน ของแฟรงค์ มิลเลอร์ และ อุซะงิ โยจิมโบ ของสแตน ซาไก

วิดีโอเกม

แก้

ในวิดีโอเกม ตัวละครที่เป็นซามูไรมักจะเป็นตัวผู้เล่นที่เป็นพระเอกหรือไม่ก็ศัตรูที่เป็นคอมพิวเตอร์ โดยที่ตัวละครประเภทนี้จะปรากฏตัวบนเกมหลายแนวด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นอาร์พีจี วางแผนกลยุทธ์ แอ็คชัน ผจญภัย หรือต่อสู้แบบสองคน ตัวอย่างเช่น เอจ ออฟ เอ็มไพรส์ เกมแนววางแผนกลยุทธ์ชื่อดังของอเมริกา, อัลทิมา ออนไลน์: ซามูไร เอ็มไพร์ เกมแนวเอ็มเอ็มโออาร์พีจี, และ โชกุน โททัล วอร์ เกมวางแผนกลยุทธ์ของอังกฤษ ที่ให้ผู้เล่นได้สัมผัสกับปรัชญาสงครามของซุนวู และภาพการรบในสมรภูมิที่เหมือนจริง

ส่วนของญี่ปุ่น ก็มีเกมที่ซามูไรเป็นส่วนประกอบหลักอยู่หลาย ๆ เกม อย่างเช่น เกมแนวไซไฟธิลเลอร์ที่ชื่อ Xenosaga Episode II: Jenseits von Gut und Böse ก็มีตัวละครตัวหนึ่งชื่อว่า จิน อูซูกิ (พี่ชายของชิอง อูซูกิ) ที่ผู้สร้างได้นำเอาภาพของซามูไรมาใส่ไว้ด้วย โดยจินจะเป็นตัวละครที่มีความทะยานอยากที่จะเป็นซามูไร เวลาต่อสู้เขาก็จะใช้ดาบเพียงเล่มเดียวเป็นอาวุธ

นอกจากนั้น เกมแนวต่อสู้แบบสองคนของญี่ปุ่นบางเกมก็มีตัวละครที่เป็นซามูไรให้ผู้เล่นได้เลือกใช้ด้วยเช่นกัน ตัวอย่างเช่น บิชามง จากเกม ดาร์คสตอล์เกอรส์ โซดอม จาก สตรีท ไฟเตอร์ อัลฟา และตัวละครแทบทุกตัวจากเกมชุด ซามูไร โชวดาวน์ (ในเกมนี้ ฮาโอมารุ และเก็นจูโร่ เป็นตัวละครที่มีความคล้ายคลึงกับซามูไรแบบดั้งเดิมมากที่สุด)

นอกจากเกมต่าง ๆ ข้างต้นแล้ว ก็ยังมีเกมอย่าง ทากาดะ ชิงเง็ง, เซ็งโงกุ มูโซว, เบรฟว์ เฟ็นเซอร์ มูซาชิ, โอนิมูชา, เวย์ ออฟ เดอะ ซามูไร, เก็นจิ และ เซเว็น ซามูไร 20XX HAKUOUKIที่มีซามูไรเป็นตัวเอกเช่นกัน

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 William Wayne Farris, Heavenly Warriors — The Evolution of Japan's Military, 500–1300, Harvard University Press, 1995.
  2. Kamakura Period (1192-1333) History:Samurai เว็บไซต์ japan-guide.com
  3. หัวข้อD.The Kamakura Shoguns เก็บถาวร 2007-05-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  4. "Samurai Swords". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-06. สืบค้นเมื่อ 2007-05-06.
  5. Jesse Horowitz, Bushido เก็บถาวร 2006-09-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้