ซะกาตฟิฏเราะฮ์

การให้ทานแก่ผู้ยากไร้ในช่วงการสิ้นสุดการถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอน
(เปลี่ยนทางจาก ซะกาตฟิฏเราะหฺ)

ซะกาตฟิฏเราะฮ์ เป็นการบริจาคแก่คนจนในไม่กี่วันก่อนสิ้นสุดเดือนเราะมะฎอน

การจัดหมวดหมู่ แก้

ซะกาตฟิฏเราะฮ์ เป็นหน้าที่ที่วาญิบ (บังคับ) ต่อมุสลิมทุกคน ทั้งชายและหญิง ตราบเท่าที่ยังมีความจำเป็นในการทำ

รายงานจากธรรมเนียมอิสลาม (ซุนนะฮ์) อิบน์ อุมัรกล่าวว่า ท่านศาสดามุฮัมมัดให้ ซะกาตฟิฏเราะฮ์ เป็นภาคบังคับต่อมุสลิมที่เป็นทาส, อิสระ, ชาย, หญิง, หนุ่ม และชราทุกคน ซึ่งจ่ายด้วยอินทผลัมแห้ง 1 ศออ์ หรือข้าวบาร์เลย์ 1 ศออ์[1]

จุดประสงค์ แก้

จุดประสงค์หลักของ ซะกาตฟิฏเราะฮ์ คือ ให้คนยากจนสามารถฉลองเทศกาลละศีลอด (อีดิลฟิฏร์) พร้อมกับมุสลิมที่เหลือ มุสลิมทุกคนต้องจ่าย ซะกาตฟิฏเราะฮ์ ในช่วงปลายเราะมะฎอน เสมือนเป็นเครื่องหมายคำขอบคุณจากอัลลอฮ์ จุดระสงค์คือ:

  1. เป็นการจัดเก็บของผู้ถือศีลอด ตามฮะดีษที่ว่า: ศาสนทูตของอัลลอฮ์กล่าวว่า "การถือศีลอดในเดือนแห่งการถือศีลอดจะถูกแขวนระหว่างโลกกับสวรรค์ และมันจะไม่ถูกยกขึ้นตราบที่ยังไม่ได้จ่าย ซะกาตฟิฏเราะฮ์"
  2. ทำให้ผู้ถือศีลอดบริสุทธิ์จากการกระทำหรือคำพูดที่ไม่ดี และช่วยคนยากจนและผู้ที่ต้องการ ตามรายงานจากฮะดีษของ อิบน์ อับบาส ว่า “ท่านศาสนทูตของอัลลอฮ์กล่าวว่า ซะกาตฟิฏเราะฮ์ จะเป็นเรื่องดีต่อผู้ที่ถือศีลอดไว้กันตนเองจากการกระทำหรือคำพูดที่ไม่ดี และจุดประสงค์คือให้แก่ผู้ที่ต้องการ ถ้าจ่ายก่อนละหมาดอีด ถือเป็น ซะกาต และถ้าจ่ายหลังจากนั้น จะถือว่าเป็นเศาะดะเกาะฮ์[2]

เงื่อนไข แก้

ซะกาตฟิฏเราะฮ์ เป็นเรื่องวาญิบและต้องทำในระยะเวลาที่กำหนด ถ้าใครไม่ทำโดยไม่มีเหตุอันควร พวกเขาก็ได้รับบาป การกระทำนี้เป็นสิ่งจำเป็นตั้งแต่ดวงอาทิตย์ตกในวันสุดท้ายของการถือศีลอดจนถึงเวลาเริ่มละหมาดอีด อย่างไรก็ตาม ช่วงเวลาอาจยาวกว่านี้ ตามที่เศาะฮาบะฮ์ (สหายของศาสดา) จ่าย เศาะดะเกาะฮ์ อัลฟิฏร์ หลายวันก่อนอีด[3]

นาฟีอ์รายงานว่า อิบน์ อุมัร เศาะฮาบะฮ์ของท่านศาสดาเคยจ่ายซะกาตก่อนวันอีดไปหนึ่งถึงสองวัน[4]

อัตรา แก้

จำนวน ซะกาต เท่ากันทุกคน โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างของรายได้ จำนวนขั้นต่ำสุดคือ อาหาร, เมล็ดข้าว หรือผลไม้แห้ง 1 ศออ์ (ทะนาน) ต่อครอบครัว ซึ่งเป็นไปตามรายงานของอิบน์ อุมัร

รายงานจากซะอีด อัลคุดรี "ในสมัยของท่านศาสดา เราเคยจ่ายมัน (ซะกาตฟิฏเราะฮ์) ด้วยอาหาร, อินทผลัมแห้ง, ข้าวบาร์เลย์, ลูกเกด หรือชีสแห้ง 1 ศออ์ "[5]

ข้อแม้ของผู้ให้ แก้

  1. ต้องเป็นมุสลิม
  2. ต้องมีอายุ 20 ปีบริบูรณ์
  3. ต้องมีสติสัมปชัญญะ
  4. ไม่ยากจน จนไม่สามารถที่จะหาทานมาให้
  5. เป็นไทไม่ใช่ทาส
  6. ต้องจ่ายให้ตนเอง และผู้คนในครอบครัว บุคคลละ 1 ศออฺ (ประมาณ 1 ทะนาน หรือ 3 กิโลกรัม)
  7. ให้สิ่งที่เป็นอาหารหลัก เช่น เมล็ดข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ ข้าวสาร อินทผาลัม ลูกเกด ข้าวโพด เป็นต้น หากให้เป็นเงินค่าซื้อสิ่งของดังกล่าว ถือว่าใช้ได้

เงื่อนไขของ ซะกาตฟิฏเราะฮ์ เหมือนกันกับซะกาต และเพิ่มขอบเขตอีกว่า ผู้ได้รีบ ซะกาตฟิฏเราะฮ์ ต้องอยู่ใน 8 จำพวกที่ถูกกล่าวใน ซูเราะฮ์ อัตเตาาบะฮ์ [9: 60] ไว้ว่า:

  1. ฟะกีร คนยากจนที่ไม่มีรายได้เฉลี่ยรายปี ไม่เพียงพอกับความต้องการของตนและครอบครัว
  2. มิสกีน คนขัดสนที่ไม่มีรายได้เลย หรือมีรายได้น้อยมาก ไม่พอกับความต้องการของตนและครอบครัว
  3. อามิล เจ้าหน้าที่ผู้ได้รับการแต่งตั้งจากผู้นำศาสนาให้เป็นผู้เก็บ ดูแล ทำบัญชี และแจกจ่ายซะกาต,
  4. มุอัลลัฟ อันได้แก่กาฟิรที่มีความสนใจในศาสนาอิสลาม หรือปกป้องศาสนาอิสลาม หรือ มุสลิมที่มีความศรัทธาที่อ่อนแอ
  5. ริกอบ เพื่อไถ่ทาส
  6. ฆอริม ผู้ติดหนี้จนไม่สามารถจะจ่ายหนี้สินของตนได้
  7. เพื่อกิจกรรมในหนทางของอัลลอฮ์ (ฟีซะบีลิลลาฮ์) ในการปกป้องพิทักษ์ หรือทำนุบำรุงศาสนา เช่น เปิดโรงเรียนสอนศาสนา สร้างมัสยิด[6] หรือญิฮาดในหนทางของอัลลอฮ์[7][8][9]
  8. อิบนุสสะบีล ผู้เดินทางที่ขาดเสบียง หรือทรัพย์สิน จนไม่สามารถจะเดินทางกลับบ้านได้

อ้างอิง แก้

  1. Sahih al-Bukhari, 2:25:579
  2. [Abu Dawood - Eng. transl. vol. 2, p. 421, no. 1605 - rated Sahih]
  3. Muhammed Salih Al-Munajjid (2009). "Paying the Fitr". islamhouse.com.
  4. [Bukhari - Arabic/English, Vol. 2, p.339, no. 579]
  5. [Bukhari - Arabic/English vol. 2, p. 340, no. 582]
  6. M.A. Mohamed Salih (2004). Alexander De Waal (บ.ก.). Islamism and its enemies in the Horn of Africa. Indiana University Press. pp. 148–149. ISBN 978-0-253-34403-8.
  7. David J. Jonsson (May 2006). Islamic Economics and the Final Jihad. Xulon Press. p. 245. ISBN 978-1-59781-980-0.
  8. Benda-Beckmann, Franz von (2007). Social security between past and future: Ambonese networks of care and support. LIT Verlag, Münster. p. 167. ISBN 978-3-8258-0718-4. Quote: Zakat literally means that which purifies. It is a form of sacrifice which purifies worldly goods from their worldly and sometimes impure means of acquisition, and which, according to God's wish, must be channelled towards the community.
  9. T.W. Juynboll, Handleiding tot de Kennis van de Mohaamedaansche Wet volgens de Leer der Sjafiitische School, 3rd Edition, Brill Academic, pp. 85–88

แหล่งข้อมูลอื่น แก้