ทาเระ (ญี่ปุ่น: タレโรมาจิtare) เป็นเครื่องปรุงรสเหลวชนิดหนึ่งที่ใช้ในการปรุงอาหาร มักใช้ในอาหารญี่ปุ่น

ทาเระงา

ภาพรวม แก้

เป็นเครื่องปรุงรสผสมที่มีลักษณะเป็นของเหลวข้นหนืด หากมีเครื่องปรุงรสเพียงชนิดเดียว เช่น เมื่อใช้แค่โชยุ โดยทั่วไปจะไม่เรียกว่าทาเระ คำว่า "ทาเระ" นั้นมีที่มาจาก "ทาเระมิโซะ'' (垂れ味噌, แปลว่า "มิโซะย้อย") คือ มิโซะละลายน้ำแล้วเคี่ยวในถุงผ้าแล้วห้อยให้ย้อยลงมาข้างล่าง ซึ่งใช้เป็นเครื่องปรุงรสเมื่อไม่มีโชยุ

ทาเระทำโดยการต้มเครื่องปรุงรส เช่น โชยุ มิโซะ และ มิริง มีลักษณะเด่นตรงที่ความหวานและกลมกล่อม ยกเว้นทาเระเกลือในอาหารบางประเภท เช่น ชาบูชาบู ในผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ อาจมีการเติมเครื่องปรุงรส เช่น โปรตีนไฮโดรไลเสต สารเพิ่มความเป็นกรด และ น้ำเชื่อมข้าวโพดฟรักโทสสูง และสารเพิ่มความข้น เช่น แป้งที่ผ่านกระบวนการ

ทาเระยังถูกใช้ราเม็งชนิดต่าง ๆ ด้วย เช่นโชยุราเม็งจะใช้น้ำซุปที่ปรุงรสด้วยทาเระโชยุใส่ในดาชิ ส่วนชิโอราเม็งจะใช้ทาเระเกลือ และมิโซราเม็งจะใส่ทาเระมิโซะเป็นส่วนประกอบหลัก

ทาเระอาจเทอลงไปในดมบูริ เช่นอูนาดง โดยใช้อุปกรณ์พิเศษที่มีพวยกาแบบท่อ เรียกว่า "อุนางิทาเรกาเกะ" (うなぎたれかけ) นอกจากนี้ เมื่อใช้สำหรับ ยากิโตริ จะใช้แปรงทา สำหรับคาบายากิปลาไหลอาจปรุงปลาไหลย่างโดยการแช่ในภาชนะที่ใส่ทาเระ

ซอสบางชนิดในอาหารจีนและอาหารเกาหลี นั้นก็มีลักษณะคล้ายกับทาเระ มักใช้น้ำมันพืช เป็นหนึ่งในส่วนผสม และยังมีน้ำมันงาผสมเกลือ หรือขิง และต้นหอม แต่ละภูมิภาคมีทาเระเฉพาะของตนเอง เช่น อาหารกุ้ยโจว ใช้น้ำจิ้มหลายชนิดที่เรียกว่า "จ้านสุ่ย" (蘸水)