ซอยล์มอยซ์เจอร์แอคทีฟพาสซีฟ

ซอยล์มอยซ์เจอร์แอคทีฟพาสซีฟ (อังกฤษ: Soil Moisture Active Passive, SMAP) เป็นดาวเทียมตรวจสอบสิ่งแวดล้อมของนาซาปล่อยเมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2558 เป็นหนึ่งในดาวเทียมสังเกตการณ์โลกดวงแรกที่พัฒนาโดยนาซาเพื่อตอบสนองต่อการสำรวจรายทศวรรศของสภาวิจัยแห่งชาติ[4][5]

Soil Moisture Active Passive
ภาพโดยศิลปินของยานอวกาศซอยล์มอยซ์เจอร์แอคทีฟพาสซีฟ
ประเภทภารกิจการสังเกตโลก
ผู้ดำเนินการนาซา
COSPAR ID2015-003A
SATCAT no.40376
เว็บไซต์smap.jpl.nasa.gov
ระยะภารกิจ3 ปี (อย่างน้อย) [1]
Elapsed: 9 ปี 2 เดือน 6 วัน
ข้อมูลยานอวกาศ
ผู้ผลิตJet Propulsion Laboratory
มวลขณะส่งยาน944 kg
มวลบรรทุก79 kg
ขนาด1.5 x 0.9 x 0.9 m
กำลังไฟฟ้า1450 watts
เริ่มต้นภารกิจ
วันที่ส่งขึ้น31 January 2015, 14:22 (2015-01-31UTC14:22) UTC [2]
จรวดนำส่งDelta II 7320-10C [3]
ฐานส่งVandenberg, SLC-2W
ผู้ดำเนินงานUnited Launch Alliance
เริ่มปฎิบัติงานสิงหาคม 2015
 
Aภาพเคลื่อนไหวของวิถี SMAP รอบโลกตั้งแต่วันที่ 31 มกราคม 2558 ถึง 19 สิงหาคม 2558:
      SMAP ·       โลก

นาซาทำการลงทุนทั้งหมด 916 ล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับ ออกแบบ พัฒนา ปล่อย และการดำเนินงาน[6]

ภาพรวมภารกิจ แก้

SMAP ใช้เพื่อวัดความชื้นในพื้นดินและสถานะการละลายน้ำแข็ง การวัดพื้นผิวของ SMAP จะทำงานร่วมกับแบบจำลองทางอุทกวิทยาเพื่อสรุปสภาพความชื้นในดินในแถบราก การวัดเหล่านี้ทำให้ผู้ใช้สามารถนำไป:

  1. ทำความเข้าใจกระบวนการที่เชื่อมต่อกันระหว่างน้ำบนพื้นดิน พลังงาน และวัฏจักรคาร์บอน
  2. คาดเดาการไหลของน้ำและพลังงานบนพื้นดิน
  3. หาปริมาณการไหบของคาร์บอนสุทธิในภูมิประเทศเหนือ
  4. พัฒนาฝีมือในการพยากรณ์อากาศและสภาพภูมิอากาศ
  5. พัฒนาความสามารถในการพยากรณ์น้ำท่วมและการตรวจสอบภัยแล้งให้ดีขึ้น

การสำรวจของ SMAP ต้องใช้เวลาอย่างน้อยสามปีหลังจากการปล่อยในการเก็บข้อมูล เชื้อเพลิงจรวด 81 กิโลกรัมที่ขนไปด้วยน่าจะทำให้ภารกิจนี้ทำงานได้ยาวนานกว่าอายุที่ออกแบบไว้ ได้มีการนำข้อมูลไปใช้ในการตรวจสอบ วิทยาศาสตร์ และโครงการประยุกต์อย่างครอบคลุมแล้ว และข้อมูลทั้งหมดถูกเปิดให้เป็นสาธารณะทางศูนย์เก็บข้อมูลของนาซา

อ้างอิง แก้

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-08-29. สืบค้นเมื่อ 2020-09-28.
  2. "NASA SMAP "Here I go!!!!"". NASA/Jet Propulsion Laboratory. 31 January 2015. สืบค้นเมื่อ 31 January 2015.
  3. Ray, Justin (16 July 2012). "NASA gives the Delta 2 rocket a new lease on life". Spaceflight Now. สืบค้นเมื่อ 17 July 2012.
  4. O'Neill, Peggy; และคณะ (2010). The NASA Soil Moisture Active Passive (SMAP) Mission: Overview. 30th IEEE International Geoscience and Remote Sensing Symposium. 25-30 July 2010. Honolulu, Hawaii. NASA. hdl:2060/20110015242.
  5. "Decadal Survey". NASA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 August 2009.
  6. "Soil Moisture Active Passive Launch" (PDF). January 2015. สืบค้นเมื่อ 20 February 2020.   บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ