ช้างตระกูลวิษณุพงศ์

ช้างที่พระนารายณ์เป็นผู้สร้าง

ช้างตระกูลวิษณุพงศ์ สร้างขึ้นโดย พระวิษณุหรือที่รู้จักในอีกพระนามคือ พระนารายณ์ โดยช้างตระกูลวิษณุพงศ์[1] เป็นหนึ่งช้างเผือกสี่ตระกูลซึ่งสร้างโดยมหาเทพ พระวิษณุในวิชาไตรเทพของศาสนาพราหมณ์ โดยตำราพระคชศาสตร์ และตำรานารายณ์ประทมสินธุ์ ได้กล่าวถึงการกำเนิดช้างมงคลว่า พระนารายณ์บรรทมบนเกษียรสมุทร บังเกิดดอกบัวจากพระอุทรมี 8 กลีบ 173 เกสร จึงนำไปถวายพระอิศวร ที่เขาไกรลาศ พระอิศวรแบ่งเกสรดอกบัวนั้นประทานแก่พระองค์เอง พระอิศวร รับเกสรไว้ 8 เกสร ประทานแก่ พระพรหม จำนวน 24 เกสร ประทานแก่ พระวิษณุ หรือพระนารายณ์ จำนวน 8 เกสร และประทานแก่พระอัคคีหรือพระเพลิง จำนวน 135 เกสร \อันพระนารายณ์ให้บังเกิดด้วยเกสรประทุมชาติ์ ช้างตระกูลนี้เมื่อมาสู่พระบารมีย่อมมีชัยชนะแก่ศัตรู ฝนจะตกต้องตามฤดูกาล ผลาหารธัญญาหารจะบริบูรณ์ เป็นช้างในวรรณะ พระนารายณ์ได้สร้างช้าง 8 ตระกูลด้วยเกสร 8 เกสร จาก 173 เกสร คือ สังขทันต์, พะหัสดิน, ชมลบ,ลบชม, ครบกระจอก, พลุกสดำ, สังขทันต์ (อีกจำพวกหนึ่ง) และช้างโคบุตร

ลักษณะพิเศษ แก้

ช้างในตระกูลนี้จะมีผิวหนา  ขนหนาเกรียน  สีทองแดง อก คอ คางใหญ่ หางยาว งวงยาว หน้าใหญ่ นัยน์ตาขุ่น หลังราบ แยกเป็น 6 หมู่  ที่โดดเด่นที่สุด  คือ  สังขทันต์  มีงาอวบเรียวเหมือนสังข์ร้องได้ 2 เสียง  ตอนเช้าเป็นเสียงเสือ  ตกเย็ยเป็นเสียงไก่ขัน  และดามหัสดินทร์  มีกายสีทองแดง  เป็นช้างแห่งชัยชนะ  พลาหาร  ธัญญาหาร  และน้ำฝนจะอุดมสมบูรณ์[2][3]

ช้างทั้ง 8 ในตระกูล แก้

  • 1. สังขทันต์ ช้างหนึ่งชื่อ สังขทันต์ มีลักษณ 4 ประการ สีดังสีทอง งา น้อยงอนเสมอ เวลาเช้าเสียงดังเสียงเสือ เสียงดังเสียงไก่เมื่อเวลาสายัณห ยืนอยู่กลางทิศมีลักษณ 4 ประการ
  • 2. พะหัสดิน หรือ ตามพหัษดินทร์ หรือ ดามหัสดินทร์ ช้างหนึ่งชื่อ ตามพหัษดินทร์ สีกายดุจทองแดงอันหม่น
  • 3. ชมลบ ช้างหนึ่งชื่อว่า ชมลบ หูปรบเบื้องหน้าพอจรดกัน
  • 4. ลบชม ช้างหนึ่งชื่อว่า ลบชม หูปรบเบื้องหลังถึงกัน
  • 5. ครบกระจอก ช้างหนึ่งชื่อว่า ครบกระจอก มีเล็บเท้าละ 5 เล็บ
  • 6. พลุกสดำ ช้างหนึ่งชื่อว่า พลุกสดำ งางอนขึ้นขวา
  • 7. สังขทันต์ (อีกจำพวกหนึ่ง) ช้างหนึ่งชื่อว่า สังขทันต์ งาขาวดังสีสังข์ สีกายดำบริสุทธิ์ ไม่มีขาวระคน
  • 8. ช้างโคบุตร ช้างหนึ่งชื่อ โคบุตร มีพรรณผิวเหลืองดังหนังโค เป็นบุตรนางโค เสียงดุจเสียงโค ขนหางขึ้นรอบดุจหางโค งางอนน้อย คุ้มโทษอันตรายทั้งปวงได้

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-07. สืบค้นเมื่อ 2019-06-07.
  2. https://www.thairath.co.th/content/340968
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-07. สืบค้นเมื่อ 2019-06-07.