ช่องรูปกลม[1] (อังกฤษ: Round window) เป็นช่องหนึ่งในสองช่องจากหูชั้นกลางเข้าไปยังหูชั้นใน ปิดโดยเยื่อที่เรียกว่า secondary tympanic membrane หรือ round window membrane ซึ่งสั่นตามเฟสตรงกันข้ามของแรงสั่นที่เข้ามาในหูชั้นในผ่านช่องรูปไข่ (oval window) ซึ่งช่วยให้น้ำในคอเคลียสามารถเคลื่อนได้ แล้วทำให้เซลล์ขนบนเยื่อกั้นหูชั้นใน (basilar membrane) ได้รับแรงเร้าและทำให้ได้ยินได้

ช่องรูปกลม
(Round window)
หูชั้นกลาง ช่องรูปกลมอยู่ด้านขวา
ด้านในของกระดูกหูชั้นใน (osseous labyrinth) ข้างขวา ช่องรูปกลมติดป้ายว่า cochlear fenestra ที่ด้านล่างตรงกลาง
รายละเอียด
ตัวระบุ
ภาษาละตินFenestra cochleae, fenestra rotunda
MeSHD012405
TA98A15.3.02.015
TA26904
FMA56932
อภิธานศัพท์กายวิภาคศาสตร์

โครงสร้าง แก้

ช่องรูปกลมอยู่ใต้และหลังช่องรูปไข่เล็กน้อย โดยมีเนินกลมสูงที่แบ่งช่องทั้งสอง มันอยู่ที่ก้นของหลุมรูปกรวย (ซึ่งเรียกว่า round window niche) ซึ่งเปิดเข้าไปในคอเคลียของหูชั้นใน ในสภาพปกติ ช่องจะปิดด้วยเยื่อที่เรียกว่า secondary tympanic membrane หรือ round window membrane ซึ่งมีรูปร่างซับซ้อนเหมือนอานม้า ส่วนตรงกลางที่มองเห็นได้บุ๋มเข้าไปทางด้านช่องแก้วหู และนูนออกทางด้านคอเคลีย แต่ที่ริม ๆ ซึ่งซ่อนอยู่ใน round window niche มันจะโค้งไปอีกทางหนึ่ง เยื่อนี้มี 3 ชั้น คือ

  • ด้านนอกคอเคลีย เป็นเมือกคล้ายกับที่บุช่องแก้วหู
  • ด้านใน เป็นเยื่อบุของคอเคลีย
  • ตรงกลาง เป็นชั้นที่มีลักษณะเป็นใย (fibrous)

ทั้งช่องรูปไข่และช่องรูปกลมมีเนื้อที่ประมาณเท่ากัน คือ 2.5 มม2 แต่ว่า ทางเข้า round window niche บ่อยครั้งเล็กกว่านี้มาก

หน้าที่ แก้

กระดูกโกลนเป็นตัวส่งแรงสั่นเสียงไปให้ช่องรูปไข่ เมื่อฐานของกระดูกขยับเข้าไปยังช่องรูปไข่ เยื่อที่ช่องรูปกลมก็จะนูนออก การเคลื่อนไหวเช่นนี้ทำให้น้ำในคอเคลียสามารถเคลื่อนได้ แล้วทำให้เซลล์ขนด้านใน (inner hair cell, IHC) ของคอเคลียเคลื่อนได้ และดังนั้น จึงจะสามารถได้ยินได้ ถ้าช่องรูปกลมไม่มีหรือว่าแข็งทื่อ (ซึ่งสามารถเกิดได้จากความผิดปกติแต่กำเนิด) ฐานกระดูกโกลนก็เท่ากับดันน้ำที่บีบอัดไม่ได้กับกำแพงของคอเคลียซึ่งเป็นกระดูกขยับไม่ได้ และดังนั้น ก็จะไม่เคลื่อนน้ำมากพอ ทำให้สูญการได้ยินประมาณ 60 เดซิเบล ซึ่งคล้ายกับอาการที่ตัวกระดูกโกลนเองเคลื่อนไม่ได้ คือ otosclerosis

ความสำคัญทางคลินิก แก้

ช่องรูปกลมบางครั้งมีพัฒนาการผิดพลาดทำให้เสียการได้ยินดังที่กล่าวแล้วด้านบน แต่ความพิการเยี่ยงนี้บ่อยครั้งเกิดขึ้นพร้อมกับความพิการของหูอย่างอื่น ๆ จึงทำให้เสียการได้ยินยิ่งกว่านั้นอีก เคยมีการผ่าตัดหูบางชนิด (ซึ่งปัจจุบันไม่ค่อยทำแล้ว) ที่เปิดช่องรูปกลมให้ต่อกับโลกภายนอก ในขณะที่ปิดช่องรูปไข่ไว้ ดังนั้น แรงเสียงก็จะกระทบกับช่องรูปกลม โดยที่ไม่กระทบช่องรูปไข่ แล้วคลื่นเสียงก็จะวิ่ง "กลับทาง" แต่ก็ยังสามารถให้ได้ยินเสียงเป็นบางส่วนเพราะว่าขนของเซลล์ขนก็ยังจะเบนในลักษณะเหมือนกัน

ช่องรูปกลมบ่อยครั้งใช้เป็นช่องเพื่อผ่าตัดใส่คอเคลียเทียม (cochlear implant) และเร็ว ๆ นี้ก็เพิ่งใช้เพื่อใส่ตัวแปรสัญญาณ (transducer) เสียงในหูชั้นกลาง ดังที่พบในงานศึกษาปี 2549[2]

รูปภาพอื่น ๆ แก้

ดูเพิ่ม แก้

เชิงอรรถและอ้างอิง แก้

  1. "window, round", ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑ ฉบับ ๒๕๔๕, (แพทยศาสตร์) ช่องรูปกลม
  2. Colletti, V; Soli, SD; Carner, M; Colletti, L (2006). "Treatment of mixed hearing losses via implantation of a vibratory transducer on the round window". International journal of audiology. 45 (10): 600–8. doi:10.1080/14992020600840903. PMID 17062502.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้