ชุมชนแออัดคลองเตย

ชุมชนแออัดในกรุงเทพมหานคร

ชุมชนแออัดคลองเตย เป็นชุมชนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เขตคลองเตย ทั้งที่อยู่ในบริเวณท่าเรือคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นพื้นที่ของการท่าเรือแห่งประเทศไทย ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 432 ไร่ และพื้นที่ของหน่วยงานอื่น หรือพื้นที่เอกชน โดยเป็นชุมชนแออัดที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย[1]

ชุมชนแออัดคลองเตย
ชุมชนแออัดคลองเตย
ชุมชนแออัดคลองเตย
ชุมชนแออัดคลองเตยตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร
ชุมชนแออัดคลองเตย
ชุมชนแออัดคลองเตย
พิกัด: 13°43′17″N 100°33′46″E / 13.72139°N 100.56278°E / 13.72139; 100.56278
ประเทศ ไทย
เขตปกครองพิเศษ กรุงเทพมหานคร
เขตคลองเตย
แขวงคลองเตย
พื้นที่(432 ไร่)
 • ทั้งหมด0.6912 ตร.กม. (0.2669 ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+7 (อินโดจีน)
รหัสไปรษณีย์10110
รหัสภูมิศาสตร์103301

ประวัติ แก้

 
ท่าเรือคลองเตย พ.ศ. 2499

นโยบายของรัฐบาลเน้นในการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ มีการสร้างสาธารณูปโภค ถนน ไฟฟ้า ประปา ออกโฉนดกรรมสิทธิ์ที่ดินหลายพื้นที่ มีการจัดสรรที่ดินเกิดขึ้น เริ่มมีคนจนปลูกบ้านในที่ดินเช่า มีการอพยพจากชนบทเข้าสู่กรุงเทพ มีการเกิดธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ มีการเก็บกำไรที่ดิน ส่งผลให้ที่ดินแพง ผู้อพยพมาไม่สามารถซื้อที่ดินได้ สร้างที่พักชั่วคราวหรือไม่ก็ปักหลักสร้างบ้านในที่ดินเปล่าของราชการ

ระหว่าง พ.ศ. 2481–2490 ช่วงที่การท่าเรือแห่งประเทศไทยก่อสร้างท่าเรือกรุงเทพ ทำให้มีความต้องการแรงงานจำนวนมาก จึงดึงแรงงานมาจากต่างจังหวัด และสร้างแคมป์ให้คนงานพัก[2] บริเวณท่าเรือคลองเตยซึ่งเริ่มมีการเข้ามาอยู่อาศัยของชาวบ้านตั้งแต่ พ.ศ. 2505 เดิมทีมีประชาชนอาศัยอยู่ราว 200 ครอบครัว ทำมาหากินเลี้ยงหมู เลี้ยงเป็ดและปลูกผัก

การท่าเรือแห่งประเทศไทยยังไม่ได้สนใจที่จะควบคุมพื้นที่ เพราะบริเวณดังกล่าวเป็นที่ราบน้ำท่วมขัง ไม่มีไฟฟ้าประปาใช้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ได้เข้ามาดูแล ทำให้เริ่มมีการตั้งชุมชนแออัดทีละเล็กทีละน้อย เช่น ชุมชนวัดคลองเตย ชุมชนริมคลองสามัคคี ชุมชนอโยธา ชุมชนหลังอาคารทวิช เป็นต้น จน พ.ศ. 2507 การท่าเรือแห่งประเทศไทยเริ่มมีการขับไล่ชาวบ้านประมาณ 1,000 ครอบครัว เพื่อขยายท่าเทียบเรือไปทางทิศตะวันออก พ.ศ. 2511 ได้มีการขับไล่อีก 200 ครอบครัว เพื่อสร้างทางเข้าท่าเทียบเรือฝั่งตะวันออก

พ.ศ. 2515 ได้มีการจัดตั้งการเคหะแห่งชาติ กรุงเทพมหานครได้เข้าดำเนินการพัฒนาชุมชนแออัดและชุมชนบุกรุกเขตคลองเตยร่วมกับการเคหะแห่งชาติ เมื่อ พ.ศ. 2518

การท่าเรือพยายามแก้ปัญหาด้วยการรับเอาคนงานบางส่วนเข้าทำงานเป็นพนักงานการท่าเรือ และจัดสร้างบ้านพักเป็นห้องแถวริมถนนอาจณรงค์ แบ่งออกเป็นล็อก ๆ ละ 8 ห้อง รวม 12 ล็อก แต่ปรากฏว่าพนักงานเหล่านี้ได้ชักชวนแรงงานที่อพยพเข้ามาหางานทำกับฐานทัพอเมริกัน ให้เข้ามาปลูกสร้างบ้านพักชั่วคราวบริเวณหลังบ้านพนักงานการท่าเรือ เรียกที่อยู่อาศัยเหล่านี้ว่า ล็อก ตามล็อกห้องแถวบ้านพักพนักงานการท่าเรือ คือตั้งแต่ล็อก 1 ถึง ล็อก 12 การท่าเรือเริ่มใช้วิธีรุนแรงในการผลักดันชุมชนแออัดออกไปจากพื้นที่ เช่น นำเอาเลนที่เรือขุดดูดขึ้นมาจากสันดอน มาพ่นใส่พื้นที่ตั้งชุมชน ทำให้ชาวบ้านได้ย้ายออกไปในบริเวณใกล้เคียง อย่าง หลังบ้านพักพนักงานการท่าเรือ หรือชุมชนแออัดรอบ ๆ

พ.ศ. 2521 มีการทดลองจัดตั้งผู้นำชุมชนขึ้น โดยการแยกออกเป็น 18 ชุมชน

ปี พ.ศ. 2563 มีโครงการพัฒนาพื้นที่ จะใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างทั้งสิ้น 10 ปี จะตั้งอยู่บนพื้นที่ 58 ไร่ ซอยตรีมิตร ติดถนนริมทางรถไฟสายเก่า ด้านหลังติดริมคลองพระโขนง ประกอบด้วยคอนโดมิเนียม 4 อาคาร ความสูง 25 ชั้น[3]

ชุมชน แก้

ชุมชนแออัดคลองเตย ประกอบด้วยชุมชนที่อยู่ในพื้นที่หลายส่วน

ขุมชนในเขตพื้นที่ของการท่าเรือแห่งประเทศไทย แก้

  • ชุมชนหมู่บ้านพัฒนา ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 70 ไร่ จากข้อมูล พ.ศ. 2548 มีประชากรอาศัย 1,113 ครัวเรือน จำนวนประชากร 8,493 คน ประชาชนเช่าที่ดินจากการท่าเรือ
  • ชุมชนแฟลต 1–10 ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 44 ไร่ จากข้อมูล พ.ศ. 2548 มีประชากรอาศัย 2,098 ครัวเรือน จำนวนประชากร 8,390 คน ประชาชนเช่าที่ดินจากการเคหะแห่งชาติ
  • ชุมชนแฟลต 11–18 ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 32 ไร่ จากข้อมูล พ.ศ. 2548 มีประชากรอาศัย 1,140 ครัวเรือน จำนวนประชากร 7,000 คน ประชาชนเช่าที่ดินจากการเคหะแห่งชาติ
  • ชุมชนแฟลต 19–22 ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 17.5 ไร่ จากข้อมูล พ.ศ. 2548 มีประชากรอาศัย 530 ครัวเรือน จำนวนประชากร 2,584 คน ประชาชนเช่าที่ดินจากการเคหะแห่งชาติ
  • ชุมชนแฟลต 23–24 ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 4.5 ไร่ จากข้อมูล พ.ศ. 2548 มีประชากรอาศัย 275 ครัวเรือน จำนวนประชากร 1,200 คน ประชาชนเช่าที่ดินจากการเคหะแห่งชาติ
  • ชุมชนคลองเตยล็อก 1–2–3 ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 41 ไร่ จากข้อมูล พ.ศ. 2548 มีประชากรอาศัย 1,800 ครัวเรือน จำนวนประชากร 7,126 คน ประชาชนบุกรุกพื้นที่จากการท่าเรือ
  • ชุมชนคลองเตยล็อก 4–5–6 ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 21 ไร่ จากข้อมูล พ.ศ. 2548 มีประชากรอาศัย 1,000 ครัวเรือน จำนวนประชากร 3,000 คน ประชาชนบุกรุกพื้นที่จากการท่าเรือ
  • ชุมชนคลองเตยล็อก 7–8–9–10–11–12 มีจำนวน 372 ครอบครัว ประชาชนบุกรุกพื้นที่จากการท่าเรือ[4]

นอกจากจะเป็นที่ตั้งของชุมชนแล้ว ยังเป็นที่ตั้งของหน่วยงานพัฒนาเอกชนและมูลนิธิต่าง ๆ เช่น ดวงประทีป เด็กอ่อนในสลัม ศูนย์ Merci ศูนย์บริการด้านสุขภาพ ฯลฯ ยังมีโรงเรียนเอกชน 2 แห่ง สอนระดับประถมและมัธยมต้น และโรงเรียนของกรุงเทพมหานคร รวมทั้งยังมีโรงรับจำนำของเอกชน 1 แห่ง[5]

ชุมชนที่อยู่นอกพื้นที่ของการท่าเรือแห่งประเทศไทย แก้

อ้างอิง แก้

  1. วัชรพล ตั้งกอบลาภ. "พัฒนาการของนโยบายการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยในชุมนนแออัดคลองเตย กรุงเทพมหานคร" (PDF). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์.
  2. วชิรวิชญ์ กิติชาติพรพัฒน์. ""คนจำนวนมากถูกสังคมปฏิเสธ" สบตา 'ชุมชนคลองเตย' ผ่านมุมมองของคนนอกและบันทึกของคนใน". becommon.co.
  3. ""คลองเตย" ชุมชนนี้มีที่มา แต่ "ชาวชุมชนคลองเตย" วันนี้ (ยัง) ไม่มีที่ไป". คมชัดลึก.
  4. "ชุมชนคลองเตยล็อค 7-12:กรุงเทพฯ". สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน).
  5. ""คนจนสร้างเมือง" และสิทธิที่จะอยู่ในเมือง !". ไทยโพสต์.