ชาตียสังสัทภพัน

ชาตียสังสัทภพัน (เบงกอล: জাতীয় সংসদ ভবন) หรือ อาคารรัฐสภาแห่งชาติ (อังกฤษ: National Parliament House) เป็นที่ทำการของรัฐสภาบังกลาเทศ ตั้งอยู่ในเขตเชเรบังลานอกอร์ ธากา ประเทศบังกลาเทศ สร้างขึ้นใช้งานมาตั้งแต่สมัยบังกลาเทศยังเป็นส่วนหนึ่งของปากีสถาน ผลงานออกแบบโดยหลุยส์ คาห์น ชาตียสังสัทภพันเป็นหนึ่งในกลุ่มอาคารนิติบัญญัติที่กินพื้นที่มากที่สุดในโลก ด้วยขนาดพื้นที่ 200 เอเคอร์ (810,000 m2)[1]

ชาตียสังสัทภพัน
জাতীয় সংসদ ভবন
ชาตียสังสัทภพัน
ชาตียสังสัทภพันตั้งอยู่ในธากา
ชาตียสังสัทภพัน
ข้อมูลทั่วไป
สถานะใช้งานอยู่
สถาปัตยกรรมมอเดิร์น, บรูทัลลิสต์
ที่อยู่เชเรบังลานอกอร์ ธากา ประเทศบังกลาเทศ
เมืองธากา
ประเทศ บังกลาเทศ
พิกัด23°45′44″N 90°22′43″E / 23.76222°N 90.37861°E / 23.76222; 90.37861
เริ่มสร้าง1961
เปิดใช้งาน1982
ค่าก่อสร้างUS$32 million[1]
เจ้าของรัฐบาลบังกลาเทศ (1982-ปัจจุบัน)
ข้อมูลทางเทคนิค
พื้นที่แต่ละชั้น200 เอเคอร์ (810,000 m2)
การออกแบบและการก่อสร้าง
สถาปนิกหลุยส์ คาห์น
มุจารุล อิสลาม
อาลัม เซเยด ซาฮูร์
ข้อมูลอื่น
ความจุ350

อาคารปรากฏตัวในภาพยนตร์ปี 2003 เรื่อง My Architect ซึ่งเล่าเรื่องชีวิตของหลุยส์ คาห์น รอเบิร์ต แม็กคาร์เตอร์ (Robert McCarter) ผู้เขียนหนังสือเรื่อง Louis I. Kahn บรรยายถึงอาคารหลังนี้ว่าเป็นหนึ่งในอาคารที่สำคัญที่สุดของศตวรรษที่ 21[2]

ประวัติศาสตร์ แก้

ที่ทำการของรัฐสภาแห่งเดิมคือ สังสัทภพันเก่า (Old Sangsad Bhaban) ที่ซึ่งปัจจุบันใช้งานเป็นสำนักนายกรัฐมนตรี[3] การก่อสร้างเริ่มต้นขึ้นเมื่อตุลาคม 1964 ในสมัยที่บังกลาเทศยังคงเป็นปากีสถานตะวันออกอยู่ สร้างขึ้นภายใต้คำสั่งของจอมพล อายุบ ข่าน จากอิสลามาบาด เมืองหลวงของปากีสถานตะวันตก อายุบเชื่อว่าการก่อสร้างอาคารนิติบัญญัติที่มลักษณะสถาปัตยกรรมสมัยใหม่จะทำให้ชาวเบงกอลสงบลงได้[4]

ชาตียสังสัทภพันออกแบบขึ้นโดยหลุยส์ คาห์น ภายใต้คำแนะนำของสถาปนิกมุจารุล อิสลาม ซึ่งเสนอให้รัฐบาลว่าจ้างสถาปนิกระดับโลกมาออกแบบ แรกเริ่ม เขาตั้งใจจะติดต่อให้อัลวาร์ อาลโต และเลอกอร์บูซีเย มาเป็นผู้ออกแบบ แต่ทั้งสองล้วนไม่สะดวกในเวลานั้น ก่อนที่จะมาตกลงงานให้กับหลุยส์ คาห์น ซึ่งเป็นอดีตอาจารย์ของเขาที่เยล[4]

การก่อสร้างดำเนินเรื่อยมาถึงปี 1971 ที่ซึ่งการก่อสร้างชะงักไปชั่วคราวจากสงครามปลดปล่อยบังกลาเทศ ก่อนจะกลับมาก่อสร้างจนแล้วเสร็จในวันที่ 28 มกราคม 1982 หลุยส์ คาห์น เสียชีวิตขณะที่โครงการก่อสร้างไปได้ราวสามในสี่ เดวิด วิสดอม (David Wisdom) ซึ่งทำงานให้แก่หลุยส์ คาห์น เป็นผู้รับช่วงต่อจนอาคารแล้วเสร็จ[4]

สถาปัตยกรรม แก้

คาห์นออกแบบหมู่อาคารทั้งหมดของชาตียสังสัทภพัน ซึ่งรวมถึงสนามหญ้า บ่อน้ำ และที่พำนักสำหรับสมาชิกรัฐสภา แนวคิดการออกแบบหลักคือการนำเสนอวัฒนธรรมและมรดกของชาวเบงกอล ในขณะเดียวกันก็ใช้พื้นที่ที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า อาคารหลักซึ่งอยู่ใจกลางของหมู่อาคารทั้งหมดแบ่งออกเป็นสามส่วน คือ ลานกลาง ลานทิศใต้ และลานประธานาธิบดี สระน้ำที่ล้อมรอบสามด้านของอาคารหลักเป็นภาพแทนถึงสายน้ำที่งดงามของเบงกอล[5]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "Jatiya Sangsad Bhaban". banglapedia.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 August 2017. สืบค้นเมื่อ 1 July 2015.
  2. McCarter, Robert (2005). Louis I. Kahn. London: Phaidon Press. p. 258,270. ISBN 0-7148-4045-9.
  3. "History and Building". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 May 2016. สืบค้นเมื่อ 15 May 2016.
  4. 4.0 4.1 4.2 "Jatiyo Sangsad Bhaban (National Parliament House), Bangladesh". londoni.co. 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 28 December 2015.
  5. "The Grand Architecture of Jatiyo Sangsad Bhaban – Bangladesh Blog – By Bangladesh Channel". bangladesh.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 April 2012. สืบค้นเมื่อ 18 April 2012.

บรรณานุกรม แก้

  • McCarter, Robert [2004]. Louis I. Kahn. Phaidon Press Ltd, p. 512. ISBN 0-7148-4045-9.
  • Wiseman, Carter [2007]. Louis I. Kahn: Beyond Time and Style: A Life in Architecture, New York: W.W. Norton. ISBN 0-393-73165-0.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้