เฟลม (วงดนตรี)
บทความนี้ได้รับแจ้งให้ปรับปรุงหลายข้อ กรุณาช่วยปรับปรุงบทความ หรืออภิปรายปัญหาที่หน้าอภิปราย
|
เฟลม (อังกฤษ: Flame) เป็นวงดนตรีแนวร็อค สัญชาติไทย
เฟลม (Flame) | |
---|---|
ข้อมูลพื้นฐาน | |
ที่เกิด | อุบลราชธานี ประเทศไทย |
แนวเพลง | ป็อปร็อก,ออลเทอร์นาทิฟร็อก |
ช่วงปี | พ.ศ. 2550 - ปัจจุบัน |
ค่ายเพลง | เพาเวอร์ มิวสิค (2550) เพลงดอดคอม ในเครือ อาร์เอส (2551) ซองฟาร์ม เร็คคอร์ด ในเครือ อาร์เอส (2552) อาร์เอส มิวสิค ในเครือ อาร์เอส (2552 - 2556) เยส มิวสิค ในเครือ อาร์เอส (2556 - 2560) อาร์สยาม ในเครือ อาร์เอส (2560 - 2564) อิสระ (2564 - ปัจจุบัน) |
สมาชิก | อภิมงคล คูณทาการ วัชรศักดิ์ คำแสน สาริษฐ์ จรัสวิโรจน์ ศศิกานต์ พิริยะวณิชย์ |
อดีตสมาชิก | อนุพงศ์ สรพิมพ์ โชคอนันต์ อินทร์แปลง ฐิตากรณ์ จามรโชติ ชาติวฤทธิ์ ยงใจยุทธ ศิขรินทร์ ศิริฉาย |
ประวัติ
แก้เริ่มจาก อภิมงคล คูณธาการ เก่ง นักร้องนำ ที่รวมตัวกับเพื่อนในโรงเรียนเดชอุดม ลื่นวิทยุในอุบลราชธานีจัดขึ้น และนึกสนุกช่วยกันแต่งเพลงของตนเองเพื่อไว้ใช้ในการประกวด แล้วเอาไปฝากให้คลื่นวิทยุช่วยเผยแผร่ เพลงของพวกเขาเริ่มเป็นที่รู้จัก จากอุบลราชธานี ไปถึงศรีสะเกษ อำนาจเจริญ ยโสธร และขยายวงกว้างจนเป็นที่รู้จักของชาวไซเบอร์มากมาย จากการที่มีคนบางกลุ่มเอาไปโพสในอินเทอร์เน็ต ต่อมาหลังจากจบชั้นมัธยมต้นแล้ว ต่างคน ต่างแยกย้ายกันไปเรียนต่อ นานๆจะมารวมตัวกันสักครั้ง จนกระทั่ง มือกีตาร์(คนแรก) ได้ขอแยกย้าย ทำให้เก่งหยุดพักการทำงานไปช่วงหนึ่ง แต่ด้วยความที่มีใจรักดนตรี และยังเพลงที่เคยแต่งเอาไว้และเป็นที่พอรู้จักพอสมควร เขาจึงเริ่มต้นออกตามหาเพื่อนใหม่ จนมาถูกใจกับเพื่อนกลุ่มนี้ จนได้ ฐิตากรณ์ จามรโชติ(อาร์ม) เป็นมือกลอง ซึ่งเก่งเคยชวนให้มาเล่นดนตรีด้วยกัน เพื่อไปรับงานประจำที่ผับแห่งหนึ่งในอุบลราชธานี ก่อนที่จะมาพบกับ อนุพงศ์ สรพิมพ์ (โอเล่) ที่เคยพบกันมาก่อนหน้านี้ในงานกิจกรรมของสถานีวิทยุ อสมท อุบลราชธานี FM 107 MHz. รู้สึกว่าถูกชะตากัน จึงได้ชักชวนให้มารวมตัวกันในเวลาต่อมา ขณะนั้นวัชรศักดิ์ คำแสน(เจน) มือกีตาร์ในวง ก็ยังไม่มีวงใหม่ หลังจากผ่านไประยะเวลาหนึ่ง ซึ่ง เก่ง ต้องเตรียมวงเพื่อไปร่วมกิจกรรม ของ อสมท จึงได้ลองชวน เจน ให้มาเล่นดนตรี ด้วยกัน และเจน ก็ตอบตกลง ด้วยใจตรงกันคืออยากจะสานฝัน และหาโอกาสถ่ายทอดความรู้สึกแทนเพื่อนคนนั้นผู้จากไป...ทำให้เกิดเป็น วงเฟลม อีกครั้งที่มีเก่งเป็นตัวตั้งตัวตี และมีเพื่อนใหม่สามคน ที่มีใจรักในงานดนตรีเหมือนกัน ชอบอะไรคล้ายๆกัน นั่นเองที่ทำให้พวกเขาสื่อสารกันง่าย และทำงานร่วมกันได้ง่ายขึ้นด้วยเช่นกัน [1]
ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2548 เฟลม ได้แจ้งเกิดเพลงแรก อย่างแผ่วปลาย ปี 2550 เฟลมได้มีอัลบั้มแรกชื่อชุดว่า ส่อแวว มีเพลงดังอย่าง ส่อแวว และ จำไว้ (คนเลว) โดยเฉพาะเพลง จำไว้ (คนเลว) ที่ติดชาร์ตอันดับ 1 ใน คลื่น Music ATM ที่สามารถแซงขึ้นชาร์ตอย่างเพลงรักแท้...ดูแลไม่ได้ ของวงโปเตโต้ ทำให้ค่ายเพลงอย่างอาร์เอส เรียกเข้ามาเซ็นสัญญาในเวลาต่อมา ปี 2551 เฟลมก็มีชุดแรกกับสังกัด Pleng.COM ในเครืออาร์เอส ชื่อว่า Fire Force ภายหลังย้ายไปสังกัดซองฟาร์ม เร็คคอร์ด ในเครือของอาร์เอส มีเพลงเด่นๆอย่าง คนโสดมีบ้างไหม , 14 เมษาน้ำตาสาดใจ และ รักสนุก ทำให้วงเฟลมประสบความสำเร็จและเป็นที่รู้จักมากขึ้น มีผลงานเพลงอย่างต่อเนื่อง ต่อมาปี 2560 อาร์เอสมีการปรับโครงสร้าง ทำให้ค่ายเพลงอย่าง เยส มิวสิค , การ์เดน มิวสิค , กามิเกเซ่ (ปิดตัวชั่วคราว) ถูกยุบ ทำให้เหลือแค่ค่ายอาร์สยามที่เป็นค่ายหลักของอาร์เอส ทำให้วงเฟลมได้เข้าไปอยู่อาร์สยาม โดยมีเพลง คนโดนเท เป็นเพลงแรกในสังกัด ตามมาด้วยเพลง เคียว , กูไม่ได้รักมึงแล้ว , แฟนคืนเดียว ต่อมาปี 2564 วงเฟลมตัดสินใจไม่ต่อสัญญากับอาร์เอส ทำให้วงเฟลมเป็นศิลปินอิสระจนถึงปัจจุบัน
สมาชิก
แก้- อภิมงคล คูณทาการ (เก่ง) - ร้องนำ
- วัชรศักดิ์ คำแสน (เจน) - กีตาร์
- สาริษฐ์ จรัสวิโรจน์ (โจ้) - กลอง
- Mickii Lady'Bass (มิกซ์ : ศศิกานต์ พิริยะวณิชย์) - เบส ในซิงเกิ้ล เคียว (2561-2 ก.พ.2562) และกลับมา 27 ส.ค.2562
อดีตสมาชิก
แก้- ฐิตากรณ์ จามรโชติ (อาร์ม) - กลอง
- อนุพงศ์ สรพิมพ์ (โอเล่) - เบส
- โชคอนันต์ อินทร์แปลง (เอ็ม) - กลอง
- ชาติวฤทธิ์ ยงใจยุทธ (เก้) - กลอง
- ศิขรินทร์ ศิริฉาย (ใบหม่อน) - เบส กลับมาอีกครั้งในซิงเกิ้ล กูไม่ได้รักมึงแล้ว ( 2 ก.พ. 2562 - ส.ค.2562)
ผลงานอัลบั้ม
แก้ส่อแวว
แก้รายละเอียดอัลบั้ม | รายชื่อเพลง |
---|---|
|
|
Fire Force
แก้รายละเอียดอัลบั้ม | รายชื่อเพลง |
---|---|
|
|
จุดเดือด
แก้รายละเอียดอัลบั้ม | รายชื่อเพลง |
---|---|
|
|
ของมันแรง
แก้รายละเอียดอัลบั้ม | รายชื่อเพลง |
---|---|
|
|
ซิงเกิล
แก้รายละเอียดอัลบั้ม | รายชื่อเพลง |
---|---|
|
|
เพลงประกอบละคร
แก้- มหาเทพสยบมาร (Ost. พิฆเนศ ศึกมหาเทพอวตาร)
- สาบาน (Ost. ศึกเสน่หาไกรทอง-ชาละวัน)
อ้างอิง
แก้- ↑ "ประวัติวงเฟลม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-11. สืบค้นเมื่อ 2013-10-10.