ชะนีมือขาว

(เปลี่ยนทางจาก ชะนีธรรมดา)
ชะนีมือขาว
เสียงร้อง
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Primates
วงศ์: Hylobatidae
สกุล: Hylobates
สปีชีส์: H.  lar
ชื่อทวินาม
Hylobates lar
(Linnaeus, 1771)
ชนิดย่อย
  • H. l. lar
  • H. l. carpenteri
  • H. l. entelloides
  • H. l. vestitus
  • H. l. yunnanensis
แผนที่การกระจายพันธุ์
แม่และลูกชะนีมือขาวในสวนสัตว์

ชะนีมือขาว หรือ ชะนีธรรมดา (อังกฤษ: common gibbon, white-handed gibbon; ชื่อวิทยาศาสตร์: Hylobates lar) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมอันดับวานร (Primates) ชนิดหนึ่ง จัดเป็นลิงไม่มีหางชนิดหนึ่ง จำพวกชะนี (Hylobatidae)

ลักษณะ

แก้

มีแขนยาว ขาหลังสั้น นิ้วหัวแม่มือแยกออกจากนิ้วชี้เป็นล่ามลึกลงในฝ่ามือ ทำให้มือมีรูปร่างยาวและแคบใช้ในการกำหรือจับต้นไม้ได้แน่นเหมือนตะขอ ฝ่ามือ ใบหน้าและใบหูมีสีดำ มีขน 2 สี คือ สีน้ำตาลอ่อน และสีดำ โดยสีของขนไม่เกี่ยวกับอายุหรือเพศ ขนบริเวณหลังมือ เท้าและรอบใบหน้ามีสีขาวอันเป็นที่มาของชื่อ

มีความยาวลำตัวและหัว 45-60 เซนติเมตร น้ำหนัก 3.9-7 กิโลกรัม

ถิ่นที่อยู่

แก้

มีการกระจายพันธุ์อยู่ทางภาคใต้ของจีน, พม่า, ภาคตะวันตกของไทย, ภาคเหนือของลาว, มาเลเซียและเกาะสุมาตรา

ชะนีมือขาวสามารถอาศัยได้ในป่าหลายประเภท เช่น ป่าเบญจพรรณ, ป่าดิบทั้งชื้นและแล้ง มักเลือกอาศัยบนต้นไม้ที่มีใบรกชัฏ ออกหากินในเวลาเช้าถึงเย็น อาศัยหลับนอนบนต้นไม้ โดยจะใช้ต้นไม้ที่เป็นรังนอนหลายตัวภายในอาณาเขตครอบครองของแต่ละครอบครัว ต้นไม้ที่ใช้หลับนอนมักอยู่ใกล้แหล่งอาหาร อาหารหลักได้แก่ ยอดไม้อ่อน, ใบไม้, ผลไม้ รวมทั้งแมลงบางชนิด แต่จะกินผลไม้มากกว่าอาหรชนิดอื่น ๆ ดื่มน้ำด้วยการเลียตามใบไม้หรือล้วงเข้าไปวักในโพรงไม้ ครอบครัวของชะนีมือขาวครอบครัวหนึ่งจะประกอบไปด้วย พ่อ แม่ และลูก ปกติออกลูกครั้งละ 1 ตัว มีเวลาตั้งท้องนาน 210 วัน และให้ลูกกินนมเป็นเวลา 18 เดือน ลูกชะนีจะเกาะอยู่ที่หน้าอกแม่นานถึง 2 ปี เมื่ออายุได้ 8-9 ปี ก็จะแยกออกไปตั้งครอบครัวใหม่[2]

ชะนีมือขาวในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ มีการผสมข้ามพันธุ์กับชะนีมงกุฎ (H. pileatus) จนเกิดเป็นชะนีลูกผสมซึ่งมีลักษณะรูปร่างที่แตกต่างออกไป รวมถึงเสียงร้องด้วย อันเนื่องจากอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่นับเป็นสถานที่แห่งเดียวในโลก ที่มีชะนีทั้ง 2 ชนิดนี้อาศัยอยู่ในพื้นที่เดียวกัน[3] [4]

อ้างอิง

แก้
  1. Eudey et al (2000). Hylobates lar. 2006 IUCN Red List of Threatened Species. IUCN 2006. Retrieved on 11 May 2006.
  2. "ชะนี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-23. สืบค้นเมื่อ 2009-01-02.
  3. ชุ่มฉ่ำกับชีวิต เสือ....ชะนี.... พิศวง เขาใหญ่[ลิงก์เสีย]
  4. วิถีวานร, "พินัยกรรมธรรมชาติ". สารคดีทางทีวีไทย: ศุกร์ที่ 18 มกราคม 2556

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

  ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Hylobates lar ที่วิกิสปีชีส์