ชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต
ชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต อดีตโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ และอดีตเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายกษิต ภิรมย์) ผู้ดำเนินรายการโทรทัศน์ รายการสายล่อฟ้า หนึ่งในผู้ดำเนินรายการ 3 คน คือ นายศิริโชค โสภา, นายเทพไท เสนพงศ์ และนายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต ทางสถานีโทรทัศน์บลูสกายแชนแนล อีกด้วย [1] (ปัจจุบันได้เปลี่ยนสถานีเป็นฟ้าวันใหม่)
ชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต | |
---|---|
![]() ชวนนท์ ในปี พ.ศ. 2553 | |
โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ | |
ดำรงตำแหน่ง 6 สิงหาคม พ.ศ. 2554 – 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 | |
ก่อนหน้า | บุรณัชย์ สมุทรักษ์ |
ถัดไป | ธนา ชีรวินิจ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 6 ตุลาคม พ.ศ. 2517 อำเภอบุญฑริก จังหวัดอุบลราชธานี ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2545–ปัจจุบัน) |
ประวัติ
แก้นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต เกิดเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2517 มีศักดิ์เป็นหลานปู่ของนายยศ อินทรโกมาลย์สุต อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสหกรณ์ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม อดีต ส.ส.จังหวัดนครราชสีมา 4 สมัย และเป็นบุตรชายของนายมานะศักดิ์ อินทรโกมาลย์สุต อดีต ส.ส.กรุงเทพมหานครและนครราชสีมา[2] โดยตระกูลอินทรโกมาลย์สุต มีถิ่นฐานเดิมอยู่ที่อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา[3]
การศึกษาจากโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเตรียมอุดมศึกษา (รุ่นเดียวกับ ศุภกิจ ตังทัตสวัสดิ์[4]), ปริญญาตรีด้านการบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อปี พ.ศ. 2540 และปริญญาโท 3 ใบ จากวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2542 ด้านเศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต และ วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต การจัดการสิ่งแวดล้อม จาก มหาวิทยาลัยเยล ปี พ.ศ. 2546
ชีวิตส่วนตัว มีชื่อเล่นว่า "อ๊อบ" “ชวนนท์” มีบุตรชาย 2 คน ชื่อ ด.ช.พลิศอินท์ อินทรโกมาลย์สุต และ ด.ช.กันต์ชยุตม์ อินทรโกมาลย์สุต โดยมีสโมสรฟุตบอลที่ชื่นชอบ คือ แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด และทีมชาติเยอรมนี[5] มีกิจกรรมยามว่างที่ชื่นชอบ คือ ทำอาหารรับประทานกันเองในครอบครัว โดยสิ่งที่ชอบทำมากที่สุด คือ ไข่เจียว[6]
วันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 ตำรวจได้นำกำลังเข้าจับกุมในความผิด พ.ร.บ.เช็ค
การทำงาน
แก้นายชวนนท์ เข้ารับราชการประจำสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จากนั้นได้เข้าสู่วงการการเมืองโดยการเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคประชาธิปัตย์ในเขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2548 แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง[2] ต่อมาในช่วงต้นปี พ.ศ. 2552 ภายหลังการจัดตั้งรัฐบาลโดยการนำของพรรคประชาธิปัตย์ นายชวนนท์ ได้เข้ามารับหน้าที่เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2552[7] และมีบทบาทสำคัญในการแถลงข่าวเกี่ยวกับความขัดแย้งไทย-กัมพูชา[8]
ต่อมาได้เป็นผู้สมัคร ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อของพรรคประชาธิปัตย์ ลำดับที่ 49[9] ในการเลือกตั้งทั่วไปในปี พ.ศ. 2554 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง เนื่องจากพรรคฯ ได้ที่นั่ง ส.ส.บัญชีรายชื่อ จำนวน 44 คน แต่ในการประชุมใหญ่วิสามัญฯ ของพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2554 นายชวนนท์ได้รับเลือกให้เป็นโฆษกพรรค โดย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นผู้เสนอชื่อ[10][11]
ในปี พ.ศ. 2556 นายชวนนท์ได้รับคาดหมายว่าอาจจะได้ดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร[12] หากหม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครอีกครั้ง แต่แล้วในที่สุด ในวันที่ 1 เมษายน ปีเดียวกัน ได้มีการประกาศลาออกอย่างเป็นทางการในรัฐสภาของ ดร.ผุสดี ตามไท ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อของพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อไปเป็นรองผู้ว่าฯ ทำให้นายชวนนท์ซึ่งอยู่ลำดับถัดไป ได้รับเลื่อนขึ้นมาเป็น ส.ส.แทน[13]
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ลำดับที่ 58 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[14]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2556 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[15]
- พ.ศ. 2553 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[16]
อ้างอิง
แก้- ↑ เว็บไซต์สถานีบลูสกาย
- ↑ 2.0 2.1 [1]เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน “ชวนนท์”หัวหอกชน“ทักษิณ-ฮุนเซน” ทายาทการเมืองรุ่น 3 “อินทรโกมาลย์สุต” จากผู้จัดการออนไลน์
- ↑ "วิเคราะห์คอลัมนิสต์ 23 10 58" (Press release). ฟ้าวันใหม่. 23 ตุลาคม 2558. สืบค้นเมื่อ 24 ตุลาคม 2558.
{{cite press release}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "OB's Road 10 02 58 เบรก1" (Press release). ฟ้าวันใหม่. 10 กุมภาพันธ์ 2558. สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2558.
{{cite press release}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ยูโร 2016 ใครชนะ ใครแชมป์ 12 06 59 เบรก2". ฟ้าวันใหม่. 12 June 2016. สืบค้นเมื่อ 13 June 2016.
- ↑ บ้านนี้สีฟ้า (รีรัน) รายการ, บลูสกายแชนแนล: เสาร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2556
- ↑ "การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (นางสาวชมพูนุท นาครทรรพ และนายชวนนท์ อินทรโกมาลย์)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2021-09-09.
- ↑ ชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุตเก็บถาวร 2011-02-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากกรุงเทพธุรกิจ
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคประชาธิปัตย์)
- ↑ "ชวนนท์"รับตำแหน่งโฆษกพรรคปชป.หลังตรวจคุณสมบัติหวิดวืด
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ (จำนวน ๑๙ คน), เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๑๕๑ง หน้า ๕๓ วันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๔
- ↑ "เปิด4ชื่อ!นั่งเก้าอี้'รองผู้ว่าฯกทม.' จากคมชัดลึก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-01. สืบค้นเมื่อ 2013-04-01.
- ↑ "ผุสดี"ลาออกจาก ส.ส.เลื่อน "ชวนนท์"เป็นส.ส.แทน จากเนชั่นแชนแนล[ลิงก์เสีย]
- ↑ เปิด 150 รายชื่อผู้สมัครส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์พรรคประชาธิปัตย์
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๙๙, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๑๗๘, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓