ชลอ ศรีธนากร
พลตำรวจตรี ชลอ ศรีธนากร หรือ ขุนศรีศรากร (19 กุมภาพันธ์ 2444 - 11 กันยายน 2530) อดีตอธิบดีกรมรถไฟ อดีตอธิบดี กรมสรรพสามิต อดีตอธิบดี กรมราชทัณฑ์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 และหนึ่งในสมาชิก คณะราษฎร
ชลอ ศรีธนากร | |
---|---|
อธิบดี กรมสรรพสามิต | |
ดำรงตำแหน่ง 29 มีนาคม 2484 – 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2485 | |
ก่อนหน้า | หลวงอรรถสารประสิทธิ์ (ทองเย็น หลีละเมียร) |
ถัดไป | หลวงอรรถสารประสิทธิ์ (ทองเย็น หลีละเมียร) |
ดำรงตำแหน่ง 13 กุมภาพันธ์ 2486 – 31 ธันวาคม 2489 | |
ก่อนหน้า | หลวงอรรถสารประสิทธิ์ (ทองเย็น หลีละเมียร) |
ถัดไป | หลวงอรรถสารประสิทธิ์ (ทองเย็น หลีละเมียร) |
อธิบดี กรมราชทัณฑ์ | |
ดำรงตำแหน่ง 3 มิถุนายน 2482 – 28 มีนาคม 2484 | |
อธิบดี กรมรถไฟ | |
ดำรงตำแหน่ง 30 กรกฎาคม 2485 – 14 กันยายน 2486 | |
ก่อนหน้า | พลเอก จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ |
ถัดไป | พลตรี อุดมโยธา รัตนาวะดี |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2444 เมืองพิษณุโลก ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 11 กันยายน พ.ศ. 2530 (86 ปี) |
คู่สมรส | คุณหญิงเสงี่ยม ศรีศรากร |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
ยศ | พลตำรวจตรี |
ประวัติ
แก้พลตำรวจตรีชลอเกิดเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2444 บนเรือบรรทุกข้าวที่ จังหวัดพิษณุโลก บิดาชื่อ กัน และมารดาชื่อ สวาท
รับราชการและงานการเมือง
แก้พลตำรวจตรีชลอจบการศึกษาจาก โรงเรียนนายร้อยทหารบก หรือ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ในปัจจุบันและได้รับพระราชทานยศ ร้อยตรี เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2466 [1] และในวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2473 ท่านได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น ขุนศรีศรากร ศักดินา ๖๐๐ [2]
ใน การปฏิวัติสยาม เมื่อวันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 พลตำรวจตรีชลอซึ่งในขณะนั้นมียศเป็น ร้อยโท ได้รับภารกิจหน้าที่ในการคุมตัว พลตรี พระยาเสนาสงคราม มายัง พระที่นั่งอนันตสมาคม ซึ่งเป็นกองบัญชาการของคณะราษฎรแต่กลับเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้นเมื่อเกิดการต่อสู้กันขึ้นทำให้พระยาเสนาสงครามถูกยิงจนได้รับบาดเจ็บ
หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองท่านได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการกองร้อยปืนใหญ่ที่ 2 และได้เลื่อนยศเป็น ร้อยเอก เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476 [3] จากนั้นในวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2477 ท่านได้รับเลือกให้เป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 แทนตำแหน่งที่ว่าง [4]
จากนั้นท่านจึงได้โอนย้ายมารับราชการเป็นตำรวจรับตำแหน่ง สารวัตรตำรวจสันติบาล และได้รับพระราชทานยศ พันตำรวจตรี เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2478 [5] หลังจากนั้นท่านจึงได้รับพระราชทานยศ พันตำรวจเอก เมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2487[6] ต่อมาท่านจึงได้โอนย้ายมาเป็นข้าราชการพลเรือนชั้นพิเศษเป็นผู้บัญชาการเรือนจำมหันตโทษที่บางขวางเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2480 จากนั้นจึงได้รักษาการแทนอธิบดีกรมราชทัณฑ์และได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ท่านดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมราชทัณฑ์เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2482[7]
หลังจากนั้นอีก 2 ปีท่านได้โอนย้ายมารับตำแหน่งอธิบดีกรมสรรพสามิตแทน หลวงอรรถสารประสิทธิ์ (ทองเย็น หลีละเมียร) ที่ไปประจำกระทรวงการคลังเมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2484[8] กระทั่งวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2485 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ท่านโอนย้ายไปดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมรถไฟ [9] แทน พลโท จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ (ยศในขณะนั้น)
กระทั่งวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486 ท่านได้ควบตำแหน่งอธิบดีกรมสรรพสามิตอีกตำแหน่งหนึ่งแทน หลวงอรรถสารประสิทธิ์ ที่ขยับไปดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงการคลัง[10] ต่อมาในวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2486 ได้มีคำสั่ง ท. สนาม ที่ 113/86 ให้ท่านพ้นจากตำแหน่งอธิบดีกรมรถไฟเหลือตำแหน่งอธิบดีกรมสรรพสามิตเพียงตำแหน่งเดียว[11] จากนั้นในวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2487 ท่านได้รับโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศ พันตำรวจเอก [12] กระทั่งลาออกจากตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2489 [13] ก่อนจะออกจากราชการเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2489 ขณะอายุเพียง 45 ปีโดยมิได้กลับเข้ารับราชการหรือวงการเมืองอีกจนกระทั่งปี พ.ศ. 2510 จึงตัดสินใจออกบวชเป็นพระภิกษุ
ถึงแก่อสัญกรรม
แก้พลตำรวจตรีชลอถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2530 ขณะอายุได้ 86 ปี
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. ๒๔๗๗ – เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ (พ.ร.ธ.) [14]
- พ.ศ. ๒๔๘๑ – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 8 ชั้นที่ 3 (อ.ป.ร.3) [15]
อ้างอิง
แก้- ↑ พระราชทานยศทหารบก (หน้า ๒๗๘๘)
- ↑ พระราชทานบรรดาศักดิ์ (หน้า ๙๕๕)
- ↑ ประกาศพระราชทานยศทหาร (หน้า ๒๖๔)
- ↑ เรื่องตั้งซ่อมสมาชิกประเภทที่ 2 แห่งสภาผู้แทนราษฎร
- ↑ ประกาศพระราชทานยศตำรวจ (หน้า ๒๗๑)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารบก
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องตั้งอธิบดีกรมราชทัณฑ์
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องแต่งตั้งอธิบดีกรมสรรพสามิตต์
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องแต่งตั้งอธิบดี
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่ง
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนให้อธิบดี
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานยศตำรวจ
- ↑ ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง สมาชิกภาพแห่งสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง่
- ↑ แจ้งความ พระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ (แผนกที่ ๓ กรมจเรทหารบก หน้า ๒๐๘๓)
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ (หน้า ๓๖๐๙)
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- ขุนศรีศรากร:ผู้ก่อการฯ ทหารหนุ่ม เก็บถาวร 2020-08-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน