ชบา
ชบา | |
---|---|
![]() | |
Hibiscus rosa-sinensis 'Brilliant' | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Eudicots |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Rosids |
อันดับ: | Malvales |
วงศ์: | Malvaceae |
สกุล: | Hibiscus |
สปีชีส์: | H. rosa-sinensis |
ชื่อทวินาม | |
Hibiscus rosa-sinensis L. | |
ชื่อพ้อง[1] | |
|
ชบา (ชื่อวิทยาศาสตร์: Hibiscus rosa-sinensis) เป็นพืชมีดอกในสกุล Hibiscus วงศ์ Malvaceae เป็นพืชพื้นเมืองในเอเชียตะวันออก ชาวโอรังอัซลีในรัฐเปรัก มาเลเซีย ใช้เปลือกรากแช่ในน้ำข้ามคืนและดื่มขณะท้องว่างเพื่อรักษาฝี[2]
ลักษณะแก้ไข
ชบาเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง ใบค่อนข้างมนรี มีปลายแหลม ขอบของใบเป็นจักเล็กน้อย และมีสีเขียวเข้มอ่อน เมื่อขยี้ใบจะเป็นเมือกเหนียว ดอกมีทั้งกลีบชั้นเดียวและหลายชั้น หากเป็นชั้นเดียวปกติจะมีกลีบดอก 5 กลีบ มีก้านเกสรอยู่ตรงกลางดอกหนึ่งก้าน ลักษณะของกลีบดอกชบาจะมีขนาดใหญ่ มีหลายสีไม่ว่าจะเป็น ขาว แดง แสด เหลือง ม่วง ชมพู และสีอื่น ๆ โดยดอกชบาแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะคือ ดอกบานเป็นรูปถ้วย ดอกบานเป็นรูปแผ่แบน และกลีบดอกบานแบบแผ่โค้ง และขยายพันธุ์ด้วยการปักชำ การต่อตา การติดตา และการเสียบยอด
ในวรรณกรรมแก้ไข
ชบาปรากฏในวรรณกรรมเรื่อง รามเกียรติ์ ตอนพระรามลาสระภังคฤๅษ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
พุทธชาดรักซ้อนซ่อนกลิ่น | อินทนิลช้องนางนางคลี่ |
นางแย้มกล้วยไม้มะลุลี | ยี่สุ่นโยทะกาชบาบาน |
กรรณิการ์เกดแก้วกาหลง | ประยงค์พะยอมหอมหวาน |
ชมพลางเด็ดดวงผกากาญจน์ | พระอวตารส่งให้วนิดา |
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ "The Plant List: A Working List of All Plant Species". สืบค้นเมื่อ June 13, 2014.
- ↑ Samuel, A.J.S.J., Kalusalingam, A., Chellappan, D.K., Gopinath, R., Radhamani, S., Husain, H. A., Muruganandham, V., Promwichit, P. 2010. Ethnomedical survey of plants used by the orang asli in kampong bawong, Perak, West Malaysia. Joutnal of Ethnobiology and Ethnomedicine. 6:5
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: ชบา |