ชตุทการ์ท

เมืองหลักและเมืองที่ใหญ่ที่สุดในรัฐบาเดิน-เวือร์ทเทิมแบร์ค ประเทศเยอรมนี

ชตุทการ์ท (เยอรมัน: Stuttgart, ภาษาเยอรมัน: [ˈʃtʊtɡaʁt] ( ฟังเสียง); สเวเบีย: Schduagert [ˈʒ̊d̥ua̯ɡ̊ɛʕd̥]) เป็นเมืองหลักและเมืองที่ใหญ่ที่สุดในรัฐบาเดิน-เวือร์ทเทิมแบร์ค ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเน็คคาร์ พื้นที่นี้มีประชากร 635,911 คน[5] ทำให้เป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับ 6 ของประเทศเยอรมนี[6] โดย 2.8 ล้านคนอาศัยอยู่ในเขตเมือง[3] และ 5.3 ล้านคนอาศัยอยู่ในเขตปริมณฑล[2] ทำให้เป็นเขตปริมณฑลที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 4 ของประเทศ ตัวเมืองและเขตปริมณฑลมักอยู่ใน 20 อันดับเขตปริมณฑลแรกของยุโรปตามจีดีพี เมอร์เซอร์จัดให้ชตุทการ์ทอยู่ในอันดับที่ 21 ตามคุณภาพชีวิตใน ค.ศ. 2015[a][7] หน่วยงานนวัตกรรม 2thinknow จัดให้เมืองนี้อยู่ในอันดับที่ 24 จาก 442 เมืองทั่วโลก[b][8] และสำมะโน ค.ศ. 2014 ของGlobalization and World Cities Research Networkจัดให้เมืองนี้อยู่ในเมืองระดับโลกสถานะเบตา[9] ชตุทการ์ทเป็นหนึ่งในเมืองเจ้าภาพในการแข่งขันฟุตบอลโลก 1974 และ2006

ชตุทการ์ท
ตามเข็มนาฬิกาจากบนซ้าย: โรงละครแห่งรัฐ, พิพิธภัณฑ์เมอร์เซเดส-เบนซ์, Schloss Solitude, พิพิธภัณฑ์ศิลปะ, พระราชวังใหม่, Marquardtbau, Königsbau, ห้องสมุดประชาชน
ธงของชตุทการ์ท
ธง
ตราราชการของชตุทการ์ท
ตราอาร์ม
ที่ตั้งในรัฐบาเดิน-เวือร์ทเทิมแบร์ค
ชตุทการ์ท ตั้งอยู่ในเยอรมนี
ชตุทการ์ท
ชตุทการ์ท
ชตุทการ์ท ตั้งอยู่ในรัฐบาเดิน-เวือร์ทเทิมแบร์ค
ชตุทการ์ท
ชตุทการ์ท
พิกัด: 48°46′55″N 9°11′02″E / 48.782°N 9.184°E / 48.782; 9.184
ประเทศเยอรมนี
รัฐบาเดิน-เวือร์ทเทิมแบร์ค
จังหวัดชตุทการ์ท
อำเภอนครนอกอำเภอ
ก่อตั้งคริสต์ศตวรรษที่ 10
เขตการปกครอง23 เขต
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรี (2020–28) Frank Nopper[1] (CDU)
พื้นที่
 • นคร207.33 ตร.กม. (80.05 ตร.ไมล์)
ความสูง245 เมตร (804 ฟุต)
ประชากร
 (2020-12-31)[4]
 • นคร630,305 คน
 • ความหนาแน่น3,000 คน/ตร.กม. (7,900 คน/ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง2,787,724 (31 Dec 2018)[3] คน
 • รวมปริมณฑล5,300,000 (2015)[2] คน
เขตเวลาUTC+01:00 (CET)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC+02:00 (CEST)
รหัสไปรษณีย์70173–70619
รหัสโทรศัพท์0711
ทะเบียนพาหนะS
เว็บไซต์www.stuttgart-tourist.de แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ

ชตุทการ์ทยังเป็นทางแยกขนส่ง และมีท่าอากาศยานที่ใหญ่เป็นอันดับ 6 ของประเทศเยอรมนี บริษัทใหญ่ ๆ บางส่วนมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ชตุทการ์ท เช่นพอร์เชอ,[10] บ๊อช,[11] เมอร์เซเดส-เบนซ์[12] และไดม์เลอร์ อาเก[13]

ชตุทการ์ทเป็นเมืองเยอรมนีที่มีผังเมืองแปลก[14] โดยตัวเมืองขยายไปทั่วเนินเขา (บางส่วนปกคลุมด้วยไร่องุ่น)[15] หุบเขา (โดยเฉพาะรอบ ๆ แม่น้ำเน็คคาร์และแอ่งชตุทการ์ท) และสวน ซึ่งมักสร้างความประหลาดใจแก่ผู้เยี่ยมชมเมืองที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับชื่อเสียงในฐานะ "แหล่งกำเนิดรถยนต์"[16][17] ในอดีต สโลแกนการท่องเที่ยวของเมืองคือ "ชตุทการ์ทเสนอได้มากกว่า"[18] ต่อมามีการเปลี่ยนโลโก้และสโลแกนใหม่ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2008 ไปเป็น "Das neue Herz Europas" ("หัวใจใหม่ของยุโรป")[19] ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2010 เมืองนี้ได้เปลี่ยนโลโก้ใหม่เพื่อให้นักธุรกิจอาศัยอยู่ในเมืองมากกว่าเดิมและให้มาพักผ่อนในบริเวณนี้[20]

ชตุทการ์ทเป็นเมืองที่มีผู้อพยพจำนวนมาก รายงานจากEyewitness Travel Guide to Germanyของสำนักพิมพ์ดอร์ลิงคินเดอสเลย์ "ในเมืองชตุทการ์ท ทุก ๆ หนึ่งในสามเป็นชาวต่างชาติ"[21] ร้อยละ 40 ของประชากรชตุทการ์ท และร้อยละ 64 ของประชากรที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี เป็นผู้มีภูมิหลังเป็นผู้อพยพ[22]

ภูมิอากาศ

แก้
ข้อมูลภูมิอากาศของชตุทการ์ท (ค.ศ. 1981–2010)
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 18.1
(64.6)
21.0
(69.8)
25.6
(78.1)
30.8
(87.4)
34.5
(94.1)
39.5
(103.1)
40.8
(105.4)
39.7
(103.5)
35.6
(96.1)
30.8
(87.4)
23.3
(73.9)
19.5
(67.1)
40.9
(105.6)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 3.7
(38.7)
5.6
(42.1)
10.8
(51.4)
16.8
(62.2)
22.0
(71.6)
24.8
(76.6)
26.8
(80.2)
26.6
(79.9)
21.7
(71.1)
15.6
(60.1)
8.3
(46.9)
4.4
(39.9)
14.0
(57.2)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 0.5
(32.9)
2.6
(36.7)
6.2
(43.2)
12.2
(54)
16.6
(61.9)
19.7
(67.5)
21.8
(71.2)
21.3
(70.3)
16.1
(61)
11.9
(53.4)
5.6
(42.1)
1.4
(34.5)
11.4
(52.5)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) -1.5
(29.3)
0.5
(32.9)
3.6
(38.5)
7.8
(46)
12.2
(54)
15.3
(59.5)
16.8
(62.2)
16.6
(61.9)
12.8
(55)
7.9
(46.2)
3.0
(37.4)
0.6
(33.1)
8.0
(46.4)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) -25.5
(-13.9)
-20.3
(-4.5)
-15.0
(5)
-4.2
(24.4)
-1.6
(29.1)
3.3
(37.9)
6.0
(42.8)
5.1
(41.2)
0.2
(32.4)
-6.3
(20.7)
-14.9
(5.2)
-18.5
(-1.3)
−25.5
(−13.9)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 46.2
(1.819)
35.5
(1.398)
38.6
(1.52)
49.6
(1.953)
85.7
(3.374)
86.8
(3.417)
86.1
(3.39)
69.1
(2.72)
57.1
(2.248)
58.8
(2.315)
49.8
(1.961)
50.4
(1.984)
718.7
(28.295)
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 79.8 96.4 137.9 177.0 236.5 255.8 272.4 258.1 190.4 144.6 74.1 60.4 1,807.2
แหล่งที่มา: Data derived from Deutscher Wetterdienst, note: sunshine hours are from 1990–2012 [23]

ประชากร

แก้
กลุ่มประชากรต่างชาติที่มีจำนวนมากที่สุด[24]
สัญชาติ ประชากร (31.12.2018)
  ตุรกี 17,900
  โครเอเชีย 15,268
  อิตาลี 14,021
  กรีซ 13,757
  โรมาเนีย 6,121
  เซอร์เบีย 5,844
  บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา 4,963
  ซีเรีย 4,585
  โปรตุเกส 4,172
  โปแลนด์ 4,162
  อินเดีย 3,624
  คอซอวอ 3,363
  สเปน 3,233
  ฝรั่งเศส 3,212
  จีน 3,134
  อิรัก 3,099
  บัลแกเรีย 3,041
  ฮังการี 2,738
  ออสเตรีย 2,643
  แอลจีเรีย 2,584
  รัสเซีย 2,495
  ยูเครน 2,038
  อัฟกานิสถาน 2,008

ประชากรในชตุทการ์ทลดลงอย่างมากในช่วง ค.ศ. 1960 (637,539) ถึง ค.ศ. 2000 (586,978) การว่างงานในระดับต่ำและโอกาสทางการศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่น่าดึงดูดในเวลานั้นนำไปสู่การเติบโตของประชากรใหม่ ซึ่งเติมเต็มโดยคนหนุ่มสาวจากเยอรมนีตะวันออก[25] ใน ค.ศ. 2006 เป็นครั้งแรกในรอบทศวรรษที่มีอัตราการเกิดมากกว่าอัตราการเสียชีวิต ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2008 เมืองนี้มีประชากร 590,720 คน[26]

ประวัติจำนวนประชากร
ปีประชากร±%
14004,000—    
170716,000+300.0%
183736,041+125.3%
1900166,699+362.5%
1920315,796+89.4%
1930377,461+19.5%
1940454,600+20.4%
1950497,677+9.5%
1956601,115+20.8%
1961637,539+6.1%
1966624,202−2.1%
1971632,947+1.4%
1976590,135−6.8%
1981583,001−1.2%
1986565,486−3.0%
1991591,946+4.7%
1996585,540−1.1%
2001587,152+0.3%
2006593,923+1.2%
2011591,015−0.5%
2015623,738+5.5%
2018634,830+1.8%
source:[27]

ศาสนา

แก้

ศาสนาในชตุทการ์ทเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงใน ค.ศ. 1534 จากผลกระทบทางตรงของการปฏิรูปศาสนา[28] ทำให้ประชากรส่วนใหญ่นับถือนิกายโปรเตสแตนต์ อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่ ค.ศ. 1975 จำนวนผู้นับถือนิกายโปรเตสแตนต์ลดลงจากประมาณ 300,000 ถึง 200,000 ใน ค.ศ. 2014 ร้อยละ 26.2 นับถือนิกายโปรเตสแตนต์และร้อยละ 24.0 นับถือโรมันคาทอลิก ส่วนร้อยละ 49.8 ตกอยู่ในกลุ่มอื่น ๆ: มุสลิม, ยิว และผู้ที่ไม่นับถือศาสนาใด ๆ หรือไม่ได้นับในสถิติทางการ[29]

เศรษฐกิจ

แก้

ชตุทการ์ทเป็นเมืองศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ มีบริษัทมากกว่า 150,000 บริษัทมีสำนักงานอยู่ในชตุทการ์ท ส่วนมากเป็นอุตสาหกรรมสมัยใหม่ บริษัทที่มีชื่อเสียงได้แก่ เดมเลอร์ พอร์เช่ ฮิวเลตต์-แพคการ์ด และไอบีเอ็ม โดยเฉพาะพอร์เช่นั้นได้ใช้ตราประจำเมืองชตุทการ์ทมาเป็นส่วนหนึ่งของสัญลักษณ์เครื่องหมายการค้าด้วย

ชตุทการ์ทเป็นต้นกำเนิดของรถยนต์ในยุคแรก ๆ มีบริษัทรถยนต์ที่มีชื่อเสียงเช่น เมอร์เซเดส-เบนซ์ พอร์เช่ มายบัค รวมถึงรถต้นแบบคันแรกของโฟล์คสวาเกน เช่นกัน

อ้างอิง

แก้

หมายเหตุ

แก้
  1. อันดับ 6 ในเยอรมนี โดยเป็นรองจากมิวนิก, ดึสเซิลดอร์ฟ, แฟรงก์เฟิร์ต, เบอร์ลิน และฮัมบวร์ค[7]
  2. อันดับ 10 ในยุโรปและอันดับสามในเยอรมนี โดยเป็นรองแค่มิวนิกและเบอร์ลิน[8]

อ้างอิง

แก้
  1. Aktuelle Wahlergebnisse, Staatsanzeiger, accessed 11 September 2021.
  2. 2.0 2.1 "Stuttgart". Initiativkreis Europäische Metropolregionen (ภาษาเยอรมัน). สืบค้นเมื่อ August 7, 2019.
  3. 3.0 3.1 "Bevölkerung nach Nationalität – vierteljährlich". statistik-bw.de (ภาษาเยอรมัน). สืบค้นเมื่อ August 7, 2019.
  4. "Bevölkerung nach Nationalität und Geschlecht am 31. Dezember 2020" [Population by nationality and sex as of December 31, 2020] (CSV). Statistisches Landesamt Baden-Württemberg (ภาษาเยอรมัน). มิถุนายน 2021. สืบค้นเมื่อ 17 ตุลาคม 2021.
  5. "Bevölkerung nach Nationalität – vierteljährlich". Statistisches Landesamt BW (ภาษาเยอรมัน). สืบค้นเมื่อ June 9, 2021.
  6. "The State and its people". State of Baden-Württemberg. สืบค้นเมื่อ 14 October 2018.
  7. 7.0 7.1 "Mercer's 2015 Quality of Living City Rankings". Mercer. สืบค้นเมื่อ 14 October 2018.
  8. 8.0 8.1 "Innovation Cities™ Index 2015 : Global". Innovation-Cities.com. 30 July 2009. สืบค้นเมื่อ 14 October 2018.
  9. "The World According to GaWC 2012". Globalization and World Cities Research Network. สืบค้นเมื่อ 14 October 2018.
  10. "Historie". Porsche Engineering. Porsche. สืบค้นเมื่อ 14 October 2018.,
  11. "Bosch". สืบค้นเมื่อ 13 October 2013.
  12. "About Mercedes-Benz". Mercedes-Benz. สืบค้นเมื่อ 13 October 2013.
  13. "Contact". Daimler AG. สืบค้นเมื่อ 13 October 2013.
  14. "Introduction to Stuttgart". The New York Times. 20 November 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 September 2012. สืบค้นเมื่อ 14 October 2018.[แหล่งอ้างอิงอาจไม่น่าเชื่อถือ]
  15. "Stuttgart, Germany". Lonely Planet. สืบค้นเมื่อ 14 October 2018.
  16. "Things to Do in Germany". TripSavvy.com. สืบค้นเมื่อ 14 October 2018.
  17. "Top Ten facts on Stuttgart, Slide 8". Global Blue. สืบค้นเมื่อ 14 October 2018.
  18. "About Stuttgart". StudyInStuttgart.com. Study in Stuttgart. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 October 2018. สืบค้นเมื่อ 14 October 2018.
  19. "Statistisches Landesamt Baden-Württemberg". City of Stuttgart. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 April 2017. สืบค้นเมื่อ 14 October 2018.
  20. ""Will Jemand Eis?" Da Isses: Neues Logo für Stuttgart". Kessel.tv. 27 July 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 October 2018. สืบค้นเมื่อ 14 October 2018.
  21. Dorling 2001, p. 15.
  22. "Neue Daten zur Migration in Deutschland verfügbar". Destatis.de. 20 October 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 July 2011. สืบค้นเมื่อ 14 October 2018.
  23. "Ausgabe der Klimadaten: Monatswerte".
  24. "Stuttgart in Zahlen" (PDF). Landeshauptstadt Stuttgart. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 6 April 2019. สืบค้นเมื่อ 14 October 2018.
  25. Statistiches Amt, Stuttgart, July 2007. PDF source: stuttgart.de
  26. "Stuttgart in Zahlen". Official website of Stuttgart. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-29. สืบค้นเมื่อ 14 October 2018.
  27. Regionaldaten
  28. Schlaich, Heckel & Heun 1997, p. 28.
  29. "Religiöse Vielfalt in einer wachsenden Stadt – Kirche und Religion in Stuttgart im Zeitverlauf" (PDF). สืบค้นเมื่อ 14 October 2018.[ลิงก์เสีย]

บรรณานุกรม

แก้

อ่านเพิ่ม

แก้
ตีพิมพ์ในคริสต์ศตวรรษที่ 19
  • "Stuttgart", Southern Germany and Austria (2nd ed.), Coblenz: Karl Baedeker, 1871, OCLC 4090237, OL 20619468M, สืบค้นเมื่อ 10 February 2016
  • W. Pembroke Fetridge (1881), "Stuttgart", Harper's Hand-book for Travellers in Europe and the East, New York: Harper & Brothers, สืบค้นเมื่อ 10 February 2016
ตีพิมพ์ในคริสต์ศตวรรษที่ 20
  • "Stuttgart", Guide through Germany, Austria-Hungary, Switzerland, Italy, France, Belgium, Holland, the United Kingdom, Spain, Portugal, &c (9th ed.), Berlin: J.H. Herz, 1908, OCLC 36795367, สืบค้นเมื่อ 10 February 2016
  • Hagel, Jürgen: Mensch und Natur im Stuttgarter Raum. Silberburg-Verlag, Tübingen 2001, ISBN 3-87407-385-8.
  • Hagel, Jürgen: Das Paradies des Neckars Bad Cannstatt. In: Wolfgang Niess, Sönke Lorenz (Hrsg.): Kult-Bäder und Bäderkultur in Baden-Württemberg. Markstein-Verlag, Filderstadt 2004, ISBN 3-935129-16-5.
  • Kreh, Ulrike: Naturdenkmale Stuttgart. Naturschätze vor der Haustüre. Hrsg. v. Amt für Umweltschutz der Landeshauptstadt Stuttgart. verlag regionalkultur Ubstadt-Weiher, 2005, ISBN 3-89735-405-5.
  • Hermann Lenz: Stuttgart. Portrait einer Stadt. Insel Verlag, Frankfurt am Main/Leipzig 2003, ISBN 3-458-17158-4.
  • Ostertag, Roland (Hrsg.): Das Bosch-Areal. Verlag Karl Krämer, Stuttgart 2004, ISBN 3-7828-1613-7.
  • Ostertag, Roland (Hrsg.): Stuttgart… wohin? Band 2, mit Beiträgen von Max Bächer, Helmut Böhme, Otto Borst, Hermann Hesse, Timo John, Wolfgang Kil, Arno Lederer, Roland Ostertag, Frei Otto, Hannelore Schlaffer, Walter Siebel, Klaus Töpfer. Karl Krämer Verlag, Stuttgart 2004, ISBN 3-7828-4042-9.
  • Schaefer, Albert T.: Stuttgart Panorama. Mit Texten von Manfred Rommel. edition braus, Heidelberg 2006, ISBN 3-89904-224-7 (Fotoband).
  • Schäfer, Hartmut: Befunde aus der "Archäologischen Wüste:" Die Stiftskirche und das Alte Schloss in Stuttgart. Denkmalpflege in Baden-Württemberg 31, 2002, S. 249–258.
  • Zelzer, Maria (Hrsg.): Stuttgart unterm Hakenkreuz. Chronik 1933–1945. Cordeliers, Stuttgart 1983, ISBN 3-608-91931-7.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้