ฉันผู้ชายนะยะ
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ฉันผู้ชายนะยะ เป็นภาพยนตร์ไทยในปี พ.ศ. 2530 กำกับโดย หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล
ฉันผู้ชายนะยะ | |
---|---|
หน้าปกวีซีดี | |
กำกับ | หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล |
เขียนบท | ดร.เสรี วงษ์มณฑา |
บทภาพยนตร์ | ดร.เสรี วงษ์มณฑา |
เนื้อเรื่อง | ดร.เสรี วงษ์มณฑา |
อำนวยการสร้าง | วิศิษฐ์ มิ่งวัฒนกุล |
นักแสดงนำ | ดร.เสรี วงษ์มณฑา ลิขิต เอกมงคล วสันต์ อุตตมะโยธิน มารุต สาโรวาท สุรศักดิ์ วงษ์ไทย นึกคิด บุญทอง สินจัย หงษ์ไทย ชลิต เฟื่องอารมย์ ชลประคัลภ์ จันทร์เรือง แดนนี่ ศรีภิญโญ |
กำกับภาพ | พิพัฒน์ พยัคฆะ |
ดนตรีประกอบ | จำรัส เศวตาภรณ์ |
ผู้จัดจำหน่าย | พูนทรัพย์ โปรดักชั่น |
วันฉาย | 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2530 |
ประเทศ | ประเทศไทย |
ภาษา | ไทย |
ข้อมูลจากฐานข้อมูลภาพยนตร์ไทย |
คำโปรย
แก้พวกเขา...อยากจะบอกอะไร กับคุณผู้หญิงทั้งหลาย
เนื้อเรื่อง
แก้ในงานเลี้ยงวันเกิดของเต้ย เป็นวันรวมตัวกะเทยเพื่อนยากทั้งหลาย ได้แก่ มด กะเทยแอ๊บแมน, นัท, รักกับแดง เกย์ที่ยึดมั่นในรักกับกะเทยที่มีหลายรัก, เอ็ม กะเทยควาย และก็เป็นวันเดียวกับที่ อั้น-อนากร พิพัฒน์ หนุ่มรูปหล่อฐานะร่ำรวยทะเลาะกับภรรยาจนหนีเข้ากรุงเทพ และได้มาหาเพื่อนเก่าอย่างมด กะเทยที่ต้องคอยแอ๊บแมนเพราะทั้งตระกูลของอั้นเกลียดกะเทยเข้ากระดูกดำ ทางเดียวที่มดจะได้อยู่ใกล้อั้นคือทำตัวเป็นผู้ชาย แล้วงานเลี้ยงหฤหรรษ์ของเหล่ากะเทยจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อทุกคนต้องช่วยกันปิดบังความลับโดยทำตัวเป็นผู้ชายนะยะ แต่มดก็จับได้ว่าอั้นอาจจะเป็นพวกแอบจิต ก็เลยจะแปลงให้อั้นมาเป็นพวกเดียวกับตนซะเลย
นักแสดง
แก้- ลิขิต เอกมงคล - อั้น อนากร พิพัฒน์
- ดร.เสรี วงษ์มณฑา - เต้ย
- ชลิต เฟื่องอารมย์ - มด
- สุรศักดิ์ วงษ์ไทย - นัท
- วสันต์ อุตตมะโยธิน - เอ็ม
- มารุต สาโรวาท - แดง
นักแสดงประกอบ
แก้เบื้องหลัง
แก้ฉันผู้ชายนะยะ นับว่าเป็นภาพยนยตร์ไทยเรื่องแรก ๆ ที่ถือได้ว่าแหวกแนวในเนื้อหา ด้วยการเป็นเสนอเรื่องราวของกลุ่มกะเทยและเพศที่สามในสังคมไทย[1] บทภาพยนตร์ดัดแปลงมาจากบทละครเวทีบรอดเวย์เรื่อง The Boys in the Band ของ มาร์ท ครอว์ลีย์ โดย ดร.เสรี วงษ์มณฑา หนึ่งในนักแสดงในเรื่อง[2]
เป็นภาพยนตร์ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก โดยเฉพาะในกลุ่มเพศที่สาม ซึ่งต่อมาได้มีการสร้างเป็นละครเวทีและแสดงซ้ำกันถึง 200 รอบ ภายในเวลา 6 เดือน โดยเฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์ แสดงถึง 2 รอบ และออกไปแสดงยังต่างจังหวัดอีกด้วย[3] [4]
อ้างอิง
แก้- ↑ มองผ่านโลกเกย์ยุคใหม่จาก “ภาพยนตร์”
- ↑ ข่าวประชาสัมพันธ์ ละครเวที 'ฉันผู้ชายนะยะ' โดย ดร.เสรี วงค์มณฑา
- ↑ [ลิงก์เสีย] "ฉันผู้ชาย..นะยะ" ละครเวทีที่ผู้ชายดูได้ และผู้หญิงต้องดู? จากผู้จัดการออนไลน์
- ↑ ข่าวแสนกล, รายการทางบลูสกายแชนแนล โดย ดร.เสรี วงษ์มณฑา และปิยเกียรติ บุญเรือง: อาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม 2556