ปลาฉลามวาฬ

(เปลี่ยนทางจาก ฉลามวาฬ)
ฉลามวาฬ
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 60–0Ma
ฉลามวาฬจากไต้หวันในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำจอร์เจีย
เปรียบเทียบขนาดกับมนุษย์
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Chondrichthyes
ชั้นย่อย: Elasmobranchii
อันดับ: Orectolobiformes
วงศ์: Rhincodontidae
(Müller and Henle, 1839)
สกุล: Rhincodon
Smith, 1829
สปีชีส์: R.  typus
ชื่อทวินาม
Rhincodon typus
(Smith, 1828)
พิสัยของฉลามวาฬ
ชื่อพ้อง[2]
  • Rhiniodontidae Müller and Henle, 1839 (วงศ์)
  • Rhiniodon Smith, 1828 (สกุล)
  • Rhiniodon typus Smith, 1828

ปลาฉลามวาฬ (อังกฤษ: whale shark) เป็นฉลามเคลื่อนที่ช้าที่กินอาหารแบบกรองกิน เป็นปลาที่ขนาดใหญ่ที่สุด โดยยาวได้ถึง 8-17.5 ม. และหนัก 21-35 ตัน แต่มีรายงานที่ไม่ได้รับการยืนยันว่ายังมีฉลามวาฬที่ใหญ่กว่านี้ เป็นสัตว์ทะเลชนิดเดียวชนิดเดียวในสกุล Rhincodon ที่ยังคงดำรงเผ่าพันธุ์ถึงปัจจุบัน และวงศ์ Rhincodontidae (ก่อนปี ค.ศ. 1984 ถูกเรียกว่า Rhinodontes) ซึ่งเป็นสมาชิกในชั้นย่อย Elasmobranchii ในชั้นปลากระดูกอ่อน ฉลามวาฬพบได้ในทะเลเขตร้อนและอบอุ่น อาศัยอยู่ในทะเลเปิด มีช่วงอายุประมาณ 70 ปี[3] ฉลามชนิดนี้กำเนิดเมื่อประมาณ 60 ล้านปีมาแล้ว อาหารหลักของฉลามวาฬคือแพลงก์ตอน ถึงแม้ว่ารายการแพลนเน็ตเอิร์ธของบีบีซีจะถ่ายภาพยนตร์ขณะที่ฉลามวาฬกำลังกินฝูงปลาขนาดเล็กไว้ได้[4]

ศัพทมูลวิทยาและความผูกพันกับมนุษย์

แก้

ฉลามวาฬมีชื่อเสียงในเดือนเมษายน ปี ค.ศ. 1828 ตามตัวอย่างยาว 4.6 ม.ที่จับได้ด้วยฉมวกในอ่าวเทเบิล ประเทศแอฟริกาใต้ หมอทหารที่ชื่อ แอนดริว สมิท (Andrew Smith) ได้ร่วมกับค่ายทหารของอังกฤษในเคปทาวน์บรรยายและจำแนกฉลามวาฬในปีถัดมา[5] เขาตีพิมพ์ลักษณะรายละเอียดมากขึ้นในปี ค.ศ. 1849 ชื่อ "ฉลามวาฬ" มากจากลักษณะของสัตว์ทะเลที่มีขนาดใหญ่เหมือนวาฬและยังกินอาหารแบบกรอกกินเหมือนกันอีกด้วย

ในความเชื่อในศาสนาของชาวเวียดนาม นับถือปลาฉลามวาฬเป็นเทพเจ้า โดยเรียกว่า "Ca Ong" ซึ่งแปลว่า "ท่านปลา"

ในประเทศเม็กซิโกและละตินอเมริกาส่วนมาก ปลาฉลามวาฬถูกรู้จักกันในชื่อ "pez dama" หรือ "domino" มาจากจุดที่เด่นชัดบนตัวมัน ในประเทศเบลีซ รู้จักกันในนาม "Sapodilla Tom" เพราะมักจะพบปลาฉลามวาฬอย่างสม่ำเสมอ ใกล้กับ Sapodilla Cayes ในกำแพงโขดหินแห่งเบลีซ (Belize Barrier Reef)

ในทวีปแอฟริกา ชื่อของฉลามวาฬถูกเรียกกันหลากหลาย: ประเทศเคนยาเรียกว่า "papa shillingi" มาจากตำนานที่ว่าเทพเจ้าได้ขว้างเหรียญเงินลงไปบนตัวฉลามซึ่งได้กลายเป็นจุดของมันในปัจจุบัน ประเทศมาดากัสการ์เรียกว่า "marokintana" หมายถึง "ดาวหลายดวง"

ชาวชวาก็อ้างอิงถึงดวงดาวด้วยเช่นกัน จึงเรียกฉลามวาฬว่า "geger lintang" แปลว่า "มีดาวอยู่บนหลัง" ในประเทศฟิลิปปินส์เรียกว่า "butanding"

ฉลามวาฬ นับเป็นหนึ่งในชนิดของฉลามที่ใกล้สูญพันธุ์แล้วของโลก เนื่องจากถูกจับทำเป็นหูฉลาม[6] และยังไม่เคยมีการพบลูกปลาฉลามวาฬขนาดเล็ก จนกระทั่งเมื่อต้นปี ค.ศ. 2009 จึงมีการค้นพบลูกฉลามวาฬขนาดเล็กความยาว 15 นิ้ว ที่ดอนซอล ในฟิลิปปินส์ และถูกนำเรื่องราวและภาพถ่ายลงในอินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษาต่อไป[7]

ฉลามวาฬ จัดเป็นสัตว์ทะเลขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งที่นักดำน้ำต้องการจะพบเห็นตัวและถ่ายรูปมากที่สุด จัดเป็น 1 ใน 5 ผู้ยิ่งใหญ่แห่งท้องทะเล แต่ทว่าไม่ใช่เป็นสัตว์ทะเลที่จะพบเห็นได้ง่าย ๆ แม้กระทั่งนักดำน้ำในทริปเดียวกัน แต่ดำในคนละจุด จุดหนึ่งจะเห็น แต่อีกจุดก็จะไม่เห็น จนเป็นที่กล่าวขานกันในหมู่นักดำน้ำว่า หากใครเคยพบเห็น ก็จะพบตลอด แต่ใครที่ไม่เคยพบ ก็จะไม่พบเลย[8]

การกระจายพันธุ์และถิ่นอาศัย

แก้

ฉลามวาฬอาศัยอยู่ในทะเลเขตร้อนและเขตอบอุ่น ตามผิวทะเล นอกจากนี้ในฤดูที่มีปรากฏการณ์การรวมตัวกันของแหล่งอาหารใกล้แนวชายฝั่งสามารถพบฉลามวาฬได้เช่นกัน เช่น

ถึงแม้ว่าโดยปกติแล้วจะพบอยู่ห่างจากชายฝั่ง แต่ก็มีการพบฉลามวาฬใกล้แผ่นดินเช่นกัน อย่างในทะเลสาบหรือเกาะรูปวงแหวนที่เกิดจากหินปะการัง และใกล้กับปากแม่น้ำ โดยมีพิสัยจำกัดอยู่ในเส้นรุ้งประมาณ ±30° ความลึกไม่เกิน 700 ม. และท่องเที่ยวเร่ร่อนไปทั่ว[3]

ลักษณะ

แก้

ลักษณะของฉลามวาฬที่แตกต่างจากฉลามส่วนใหญ่ คือ หัวที่ใหญ่โตมากเมื่อเทียบกับขนาดลำตัว และปากที่อยู่ด้านหน้าแทนที่จะอยู่ด้านล่าง ฉลามวาฬ เกือบทั้งหมดที่พบมีขนาดใหญ่กว่า 3.5 เมตร ใช้เหงือกในการหายใจ มีช่องเหงือก 5 ช่อง มีครีบอก 2 อัน ครีบหาง 2 อัน และ ครีบก้น(หาง) 1 อัน หางของปลาฉลามวาฬอยู่ในแนวตั้งฉาก และโบกไปมาในแนวซ้าย-ขวา แตกต่างจากสัตว์เลือดอุ่นในทะเลที่หางอยู่ในแนวขนานและหายใจด้วยปอด อาทิ วาฬ, โลมา หรือพะยูน เป็นต้น

ในการระบุตัวของฉลามวาฬนั้น พิจารณาจากด้านข้างลำตัว ตั้งแต่ช่องเหงือกช่องที่ 5 จนถึงสิ้นสุดครีบอก โดยแต่ละตัวจะมีจุดที่แตกต่างกันออกไปเป็นอัตลักษณ์ประจำตัว[9]

อาหาร

แก้

กินแพลงก์ตอนเป็นอาหาร โดยใช้วิธีกรองกิน แต่ลักษณะการกินอาหารไม่ใช่ปัจจัยที่นักวิทยาศาสตร์ใช้แบ่งฉลามวาฬออกจากฉลามชนิดอื่น ๆ เนื่องจากยังมีปลาฉลามอีก 2 ชนิดที่กินแพลงก์ตอนเป็นอาหารแต่อยู่คนละอันดับกับฉลามวาฬ

ฉลามวาฬปกติเป็นปลาที่อาศัยอยู่ในน้ำลึก และจะขึ้นมากินแพลงก์ตอนในเวลากลางคืนบริเวณผิวน้ำ โดยใช้การดูดน้ำเข้าปากแล้วผ่านช่องกรอง โดยจะทิ่งตัวเป็นแนวดิ่งกับพื้นน้ำ ที่ออสลอบ ในจังหวัดเซบู ของฟิลิปปินส์ ชาวพื้นเมืองที่นั่นซึ่งดั้งเดิมมีอาชีพประมงจับปลาทั่วไป ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2010 เป็นต้นมา ได้เปลี่ยนวิถีชีวิตด้วยการโปรยอาหารเลี้ยงฉลามวาฬ เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวจนกลายเป็นไฮไลต์ของการท่องเที่ยวดำน้ำของที่นี่ โดยอาหารที่ป้อนนั้น คือ เคย และจะมีช่วงเวลาที่ป้อนตั้งแต่ 05.00 หรือ 06.00 น.-13.00 น. ในแต่ละวัน จากนั้นฉลามวาฬก็จะว่ายออกไปทะเลลึกเพื่อหากินเอง ซึ่งเชื่อว่าวิธีการแบบนี้จะไม่ทำให้พฤติกรรมของฉลามวาฬเปลี่ยนไป[10]

การอนุรักษ์

แก้

สถานภาพในประเทศไทย ปัจจุบันเป็นสัตว์ป่าสงวนตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ พุทธศักราช 2562

อ้างอิง

แก้
  1. Norman, Brad (2000). Rhincodon typus. 2006 IUCN Red List of Threatened Species. IUCN 2006. Retrieved on 11 May 2006. Database entry includes justification for why this species is vulnerable.
  2. จาก itis.gov
  3. 3.0 3.1 Ed. Ranier Froese and Daniel Pauly. "Rhincodon typus". FishBase. สืบค้นเมื่อ 17 September 2006. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |dateformat= ถูกละเว้น (help)
  4. Jurassic Shark (2000) documentary by Jacinth O'Donnell; broadcast on Discovery Channel, August 5, 2006
  5. Martin, R. Aidan. "Rhincodon or Rhiniodon? A Whale Shark by any Other Name". ReefQuest Centre for Shark Research. สืบค้นเมื่อ 2009-09-12.
  6. "ฉลามทะเลลึกใกล้สูญพันธุ์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2013-04-03. {{cite web}}: ระบุ |accessdate= และ |access-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  7. Smallest Whale Shark Discovered -- On a Leash จากเนชั่นแนลจีโอกราฟิก
  8. มหัศจรรย์, "มหัศจรรย์พันธุ์ลึก" .สารคดีทางไทยพีบีเอส: ศุกร์ที่ 1 มีนาคม 2556
  9. ความหวัง, "มหัศจรรย์พันธุ์ลึก" .สารคดีทางไทยพีบีเอส: ศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2556
  10. ฉลามวาฬ, "มหัศจรรย์พันธุ์ลึก" สารคดีทางไทยพีบีเอส: ศุกร์ที่ 29 มีนาคม 2556
  • J. G. Colman (1997). A review of the biology and ecology of the whale shark. Journal of Fish Biology 51 (6), 1219–1234.
  • FAO web page on Whale shark

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

  ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Rhincodon typus ที่วิกิสปีชีส์