ฉบับร่าง:Win Win WAR Thailand สุดยอดนักธุรกิจแบ่งปัน

Win Win WAR Thailand สุดยอดนักธุรกิจแบ่งปัน
ประเภทเรียลลิตีโชว์นำเสนอธุรกิจ
สร้างโดยซี อาเซียน
พิธีกร
กรรมการ
บรรยายโดยปิยะ วิมุกตายน
ประเทศแหล่งกำเนิดประเทศไทย
ภาษาต้นฉบับภาษาไทย
จำนวนฤดูกาล6
จำนวนตอน57 (ณ วันที่ 22 กันยายน 2567 (2567-09-22))
การผลิต
ผู้อำนวยการผลิตกิติกร เพ็ญโรจน์
สถานที่ถ่ายทำ
กล้องหลายกล้อง
ความยาวตอน60 นาที
บริษัทผู้ผลิตเฮลิโคเนีย เอช กรุ๊ป
ออกอากาศ
เครือข่ายอมรินทร์ทีวี
ออกอากาศ29 กันยายน 2561 (2561-09-29) –
ปัจจุบัน
การแสดงที่เกี่ยวข้อง
Win Win WAR Thailand OTOP Junior สุดยอดนักธุรกิจแบ่งปันรุ่นเยาว์

Win Win WAR Thailand สุดยอดนักธุรกิจแบ่งปัน เป็นรายการโทรทัศน์ไทยประเภทเรียลลิตีโชว์การแข่งขันนำเสนอธุรกิจของผู้ประกอบการสังคม ที่สร้างการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้งตัวธุรกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม สร้างสรรค์รายการโดย ซี อาเซียน ผลิตโดย บริษัท เฮลิโคเนีย เอช กรุ๊ป จำกัด เริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2561 ทางช่องอมรินทร์ทีวี โดยออกอากาศมาแล้วทั้งหมด 9 ฤดูกาล แบ่งเป็นฤดูกาลปกติ 6 ฤดูกาล และรุ่นเด็ก (Win Win WAR Thailand OTOP Junior) อีก 3 ฤดูกาล

ที่มา

แก้

Win Win WAR Thailand สุดยอดนักธุรกิจแบ่งปัน เป็นรายการเรียลลิตีโชว์ที่ศูนย์ซี อาเซียน โดยบริษัท ซี เอ ซี จำกัด ในเครือไทยเบฟเวอเรจ สร้างขึ้น[1] และบริษัท เฮลิโคเนีย เอช กรุ๊ป จำกัด นำมาผลิตเป็นรายการโทรทัศน์ โดยมีที่มาจากการที่ซี อาเซียน นำกระแสนิยมเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) และแนวคิดของธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business) มาพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก โดยจัดตั้งวิสาหกิจเพื่อสังคมในทุกจังหวัด จึงต่อยอดเป็นรายการนี้ขึ้น[2] เพื่อเชื่อมโยงบุคลากรรุ่นใหม่ภายในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ให้เกิดการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนความรู้ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ[3]

รูปแบบรายการ

แก้

Win Win WAR Thailand สุดยอดนักธุรกิจแบ่งปัน เปิดรับสมัครเยาวชนและนักธุรกิจที่มีอายุไม่เกิน 35 ปี ที่เป็นผู้ประกอบการสังคม (Social Entrepreneur) ที่สนใจ หรือมีแนวคิดในการทำธุรกิจที่ช่วยแก้ไขปัญหาหรือยกระดับสังคม[4] เข้ามาแข่งขันในรายการ เพื่อนำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับธุรกิจ ผลิตภัณฑ์ หรือบริการของตน ที่มีลักษณะดังนี้

  • Win 1 มีความโดดเด่น สามารถสร้างโอกาสในการเติบโตได้อย่างเต็มที่ และมีประสิทธิภาพมากกว่าคู่แข่งในประเภทเดียวกัน
  • Win 2 ให้ประโยชน์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในด้านต่าง ๆ สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ของสหประชาชาติ[5]
  • WAR คือ นักธุรกิจที่สามารถปรับตัวและพร้อมแก้ไขปัญหาต่าง ๆ แบ่งเป็น
    • Willingness ความมุ่งมั่น
    • Ability ความสามารถ
    • Readiness ความพร้อม

ผู้ชนะในแต่ละฤดูกาลจะได้รับรางวัลเงินสดมูลค่า 2,000,000 บาท และได้รับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญสำหรับการพัฒนาธุรกิจต่อไป[2]

การแข่งขันในแต่ละฤดูกาลมีรูปแบบดังนี้

ฤดูกาลที่ 1 และ 2

แก้

ใน 2 ฤดูกาลแรก แบ่งการแข่งขันออกเป็น 3 รอบ ดังนี้

รอบ Audition

แก้

ผู้เข้าแข่งขันที่ผ่านการคัดเลือกจำนวน 100 ธุรกิจ (ในฤดูกาลที่ 2 มีจำนวน 60 ธุรกิจ) จะต้องนำเสนอแนวคิด รูปแบบ และกลยุทธ์แผนธุรกิจ ให้คณะกรรมการฟัง และตอบคำถามจากคณะกรรมการเกี่ยวกับธุรกิจของตนให้ชัดเจน (ในฤดูกาลที่ 2 มีการจับเวลาทั้งการนำเสนอและตอบคำถาม ส่วนละ 3 นาที) จากนั้นคณะกรรมการจะพิจารณาธุรกิจ โดยใช้เกณฑ์การพิจารณาทั้งความเป็นไปได้เกี่ยวกับการเติบโตทางธุรกิจ และผลกระทบต่อสังคม จากนั้นจะกดปุ่มไฟเพื่อตัดสิน โดยหากเห็นว่ามีประโยชน์และผ่านเกณฑ์ข้างต้น จะกดปุ่มไฟสีเขียวเพื่อให้ผ่านเข้ารอบ แต่หากไม่ผ่านเกณฑ์ จะกดปุ่มไฟสีแดง ในรอบนี้จะคัดเลือกผู้เข้าแข่งขันให้เหลือจำนวน 20 ธุรกิจที่จะเข้าสู่รอบ Market Test โดย

  • ในฤดูกาลที่ 1 ผู้เข้าแข่งขันจะต้องได้รับการกดปุ่มไฟสีเขียวจากคณะกรรมการตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป จาก 5 คน จึงจะผ่านเข้ารอบ จากนั้นเมื่อสิ้นสุดการแข่งขันในรอบนี้แล้ว กรรมการจะพิจารณาคัดเลือกผู้เข้าแข่งขันเข้าทีม ทีมละ 4 ธุรกิจ
  • ในฤดูกาลที่ 2 การกดปุ่มไฟสีเขียวของคณะกรรมการจะเป็นการรับธุรกิจเข้าทีม โดยสามารถรับธุรกิจได้สูงสุดทีมละ 5 ธุรกิจ โดยแบ่งเป็นกรณีดังนี้
    • กรณีมีกรรมการกดปุ่มไฟสีเขียวเพียงคนเดียว ผู้เข้าแข่งขันจะเข้าสู่ทีมของกรรมการคนนั้นทันที
    • กรณีมีกรรมการกดปุ่มไฟสีเขียวมากกว่า 1 คน สิทธิในการเลือกร่วมทีมจะเป็นของผู้เข้าแข่งขัน

รอบ Market Test

แก้

ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 20 ธุรกิจ จะแบ่งออกเป็นทีมต่าง ๆ (ฤดูกาลที่ 1 แบ่งตามกรรมการที่ปรึกษา จำนวน 5 ทีม ทีมละ 4 ธุรกิจ, ฤดูกาลที่ 2 แบ่งตามหมวดธุรกิจ จำนวน 4 ทีม ทีมละ 5 ธุรกิจ) โดยจะต้องนำเสนอผลิตภัณฑ์ต้นแบบ (Prototype) ที่พัฒนาขึ้นภายใต้การให้คำปรึกษาของกรรมการที่ปรึกษา เพื่อทดลองตลาด โดยมีคณะกรรมการร่วม ซึ่งเป็นนักศึกษาและอาจารย์จากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ จำนวน 100 คน มาร่วมทดลองใช้ผลิตภัณฑ์จริง และตอบคำถามจากทั้งคณะกรรมการหลักและคณะกรรมการร่วม จากนั้นจะพิจารณาให้คะแนน โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้

  • คณะกรรมการร่วม คนละ 1 คะแนน รวม 100 คะแนน
  • คณะกรรมการหลัก คนละ 25 คะแนน แต่กรรมการที่ปรึกษาไม่สามารถให้คะแนนกับผู้เข้าแข่งขันในทีมของตนได้
    • ฤดูกาลที่ 1 รวมคะแนนสูงสุด 100 คะแนน
    • ฤดูกาลที่ 2 รวมคะแนนสูงสุด 75 คะแนน
  • รวมคะแนนจากกรรมการ 2 ส่วน
    • ฤดูกาลที่ 1 รวมคะแนนสูงสุด 200 คะแนน
    • ฤดูกาลที่ 2 รวมคะแนนสูงสุด 175 คะแนน

ทีมที่ได้คะแนนรวมมากที่สุดในของแต่ละสัปดาห์ จะผ่านเข้าสู่รอบ Market Launch โดยในรอบนี้จะคัดเลือกให้เหลือจำนวน 5 ธุรกิจ

รอบ Market Launch

แก้

รอบนี้เป็นการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ผู้เข้าแข่งขัน 5 ธุรกิจสุดท้าย จะต้องเปิดตัวผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปของตน ซึ่งผ่านการพัฒนาอย่างครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว ให้คณะกรรมการหลัก คณะกรรมการร่วม และผู้ชมได้รับชม โดยคะแนนจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนละ 50% ดังนี้

  • คะแนนจากคณะกรรมการหลัก
  • คะแนนโหวตจากผู้ชมผ่านเอสเอ็มเอส ซึ่งเปิดรับคะแนนในช่วงระยะเวลา 1 สัปดาห์ก่อนการแข่งขัน

ทีมที่ได้คะแนนรวมมากที่สุดในรอบนี้ จะเป็นผู้ชนะเลิศประจำฤดูกาล

ฤดูกาลที่ 3

แก้

ในฤดูกาลนี้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบเป็นการแข่งขันทางออนไลน์ โดยใช้ชื่อว่า Win Win WAR Thailand Special Online Edition เนื่องจากจัดขึ้นในช่วงการระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทย และเพื่อให้เข้าถึงกลุ่มอื่น ๆ เช่น กลุ่มคนรุ่นใหม่ และกลุ่มเป้าหมายในวงกว้าง โดยมีการคัดเลือกผู้เข้าแข่งขันให้เหลือจำนวน 40 ธุรกิจ ที่จะได้นำเสนอแนวคิด รูปแบบ และกลยุทธ์แผนธุรกิจ และตอบคำถามจากคณะกรรมการ เพื่อคัดเลือกเหลือจำนวน 12 ธุรกิจ จากนั้นจะนำเสนอทั้ง 12 ธุรกิจลงบนสื่อสังคมช่องทางต่าง ๆ และเปิดให้ผู้ชมโหวตผ่านช่องทางเฟซบุ๊กของรายการ โดยคะแนนโหวตจากผู้ชมจะเป็น 60% และนำมารวมกับคะแนนจากคณะกรรมการในรอบชิงชนะเลิศอีก 40% ทีมที่ได้คะแนนรวมมากที่สุดจะเป็นผู้ชนะเลิศ[6] โดยมีการเผยแพร่การแข่งขันรอบชิงชนะเลิศและประกาศผลเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2564

ฤดูกาลที่ 4 – ปัจจุบัน

แก้

ตั้งแต่ฤดูกาลที่ 4 ได้ปรับรูปแบบรายการใหม่ทั้งหมด โดยแบ่งเป็น 2 รอบ ดังนี้

รอบคัดเลือก

แก้

ผู้เข้าแข่งขันที่ผ่านการคัดเลือกจำนวน 45 ธุรกิจ (ตั้งแต่ฤดูกาลที่ 5 ลดเหลือจำนวน 36 ธุรกิจ) จะได้รับคะแนนตั้งต้น 2,000,000 คะแนน ตามจำนวนมูลค่าเงินรางวัลสำหรับผู้ชนะเลิศ มีเวลา 3 นาที ในการนำเสนอแผนธุรกิจ หลังจากนำเสนอจบแล้ว จะจับเวลา 10 วินาทีให้คณะกรรมการร่วมพิจารณากดลดคะแนน คนละ 5,000 คะแนน หากเห็นว่าธุรกิจดังกล่าวไม่น่าสนใจ รวมคะแนนที่สามารถถูกลดลงจากคณะกรรมการร่วมได้มากที่สุด 500,000 คะแนน จากนั้น คณะกรรมการหลักทั้ง 3 คน จะถามคำถาม ผู้เข้าแข่งขันมีเวลาตอบคำถามละ 1 นาที (ตั้งแต่ฤดูกาลที่ 5 เพิ่มเวลาเป็นคำถามละ 1 นาที 30 วินาที) หลังจากนั้นคณะกรรมการหลักทั้ง 3 คน จะพิจารณาให้คะแนนในคำถามนั้น ๆ โดยพิจารณาจากคำตอบ ดังนี้

  • หากคำตอบน่าพอใจ จะกดปุ่มไฟสีเขียว ธุรกิจนั้นจะไม่ถูกลดคะแนนลง
  • หากคำตอบพอใช้ จะกดปุ่มไฟสีเหลือง ธุรกิจนั้นจะถูกลดคะแนน 100,000 คะแนน/คน/คำถาม
  • หากคำตอบไม่น่าพอใจ จะกดปุ่มไฟสีแดง ธุรกิจนั้นจะถูกลดคะแนน 200,000 คะแนน/คน/คำถาม

ในรอบนี้แบ่งการแข่งขันออกเป็น 9 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 4 ธุรกิจ และทีมที่รักษาคะแนนได้สูงที่สุดจำนวน 5 ธุรกิจ จะผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ

รอบชิงชนะเลิศ

แก้

ในรอบนี้ ผู้เข้าแข่งขันที่ผ่านเข้ารอบจะต้องตอบคำถามจากคณะกรรมการ คำถามละ 2 นาที โดยคะแนนที่สะสมก่อนหน้าจะไม่นำมาคำนวณในรอบนี้ จากนั้นคณะกรรมการจะตัดสินผู้ชนะเลิศ โดยรูปแบบการตอบคำถามในแต่ละฤดูกาล เป็นดังนี้

  • ฤดูกาลที่ 4 ผู้เข้าแข่งขันที่รักษาคะแนนได้สูงที่สุดจำนวน 5 ธุรกิจ รวมถึงธุรกิจที่ผ่านการเลือกจากคณะกรรมการอีกคนละ 1 ธุรกิจ รวมเป็น 8 ธุรกิจ จะต้องตอบคำถามจากคณะกรรมการทั้ง 3 คน คนละ 1 ข้อ รวมถึงคำถามเรื่องวัตถุประสงค์ในการใช้เงินรางวัล 2,000,000 บาทหากได้รับ
  • ฤดูกาลที่ 5 ผู้เข้าแข่งขันที่รักษาคะแนนได้สูงที่สุดจำนวน 5 ธุรกิจ จะต้องตอบคำถาม 2 คำถาม โดยคำถามที่ 1 จะเป็นคำถามที่ผู้เข้าแข่งขันสุ่มเลือกมาจาก 10 คำถาม และคำถามที่ 2 จะเป็นคำถามจากคณะกรรมการ

พิธีกรและกรรมการ

แก้
พิธีกร ฤดูกาล
1 2 3 4 5 6
วิลลี่ แมคอินทอช
ไดอาน่า จงจินตนาการ
กรรมการ ฤดูกาล
1 2 3 4 5 6
ต้องใจ ธนะชานันท์
เจรมัย พิทักษ์วงศ์
สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์
ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ
กฤษติกา คงสมพงษ์
กุลพงษ์ บุนนาค
หม่อมหลวงดิศปนัดดา ดิศกุล

ภาพรวมแต่ละฤดูกาล

แก้
ฤดูกาล ตอนแรก รอบชิงชนะเลิศ จำนวนตอน ธุรกิจในรอบชิงชนะเลิศ
ผู้ชนะเลิศ รางวัลพิเศษ ธุรกิจอื่น ๆ
ฤดูกาลที่ 1 29 กันยายน พ.ศ. 2561 15 ธันวาคม พ.ศ. 2561 12 W1 – Able innovation
  • The Creative Innovation Award
    • W4 – แสนดี Application
  • W2 – Art for cancer
  • W3 – Terra capsule
  • W5 – Banana land
ฤดูกาลที่ 2 19 มกราคม พ.ศ. 2563 5 เมษายน พ.ศ. 2563 12 W2 – Buddy Home Care
  • โมเดลธุรกิจเศรษฐกิจพอเพียงรุ่นใหม่
    • W4 – เครื่องทำน้ำดิบจากอากาศ
  • W1 – Aidery
  • W3 – วิสาหกิจพรมเช็ดเท้าจากสุรินทร์ RAG ARTS
  • W5 – The Nose Thailand
ฤดูกาลที่ 3
(Special Online Edition)
6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 30 มิถุนายน พ.ศ. 2564 3 W009 – แนวร่วมปฏิวัติขยะสุพรรณบุรี
  • The Creative Innovation Award
    • W005 – Hmong Cyber
  • Popular Vote
    • W011 – The Man That Rescues Dogs
  • W001 – KORKOK
  • W002 – STRESS OUT Cafe
  • W003 – ULTRA
  • W004 – Bangkok Rooftop Farming
  • W006 – แม่คงคาวาเล่ย์ การท่องเที่ยวชุมชน
  • W007 – Local Alike
  • W008 – Me Meal
  • W010 – GREEN GUARD
  • W012 – Novy Drone
ฤดูกาลที่ 4 13 สิงหาคม พ.ศ. 2565 22 ตุลาคม พ.ศ. 2565 11 Defire
  • Vulcan
  • แบ่ง-ปัน-ให้
  • Eden agritech
  • AVAUTIS
  • MORE MEAT
  • Thaihand Massage
  • iQuan
ฤดูกาลที่ 5 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 1 ตุลาคม พ.ศ. 2566 10 SATI App
  • สยามโนวาส
  • MUTHA ขาเทียม
  • AGNOS
  • Exofood Thailand
ฤดูกาลที่ 6 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 29 กันยายน พ.ศ. 2567 10 JAIKLA
  • Hill Koff
  • Germ Guard
  • RECYCOEX
  • LOCO Pack

Win Win WAR Thailand OTOP Junior

แก้
Win Win WAR Thailand OTOP Junior สุดยอดนักธุรกิจแบ่งปันรุ่นเยาว์
ประเภทเรียลลิตีโชว์นำเสนอธุรกิจสำหรับเด็ก
สร้างโดยซี อาเซียน
พัฒนาโดยกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย
พิธีกร
กรรมการ
บรรยายโดยณัฐพงษ์ สมรรคเสวี
ประเทศแหล่งกำเนิดประเทศไทย
ภาษาต้นฉบับภาษาไทย
จำนวนฤดูกาล3
จำนวนตอน20
การผลิต
ผู้อำนวยการผลิตกิติกร เพ็ญโรจน์
สถานที่ถ่ายทำ
  • TVT Green Park Studio
  • เติมสุขสตูดิโอ
  • SRP5 Studio
กล้องหลายกล้อง
ความยาวตอน60 นาที
บริษัทผู้ผลิตเฮลิโคเนีย เอช กรุ๊ป
ออกอากาศ
เครือข่ายอมรินทร์ทีวี
ออกอากาศ20 พฤศจิกายน 2565 (2565-11-20) –
ปัจจุบัน
การแสดงที่เกี่ยวข้อง
Win Win WAR Thailand สุดยอดนักธุรกิจแบ่งปัน

Win Win WAR Thailand OTOP Junior สุดยอดนักธุรกิจแบ่งปันรุ่นเยาว์ เป็นรายการโทรทัศน์ไทยประเภทเรียลลิตีโชว์การแข่งขันนำเสนอธุรกิจเพื่อสังคมสำหรับเด็ก จัดขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างศูนย์ ซี อาเซียน และกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย เป็นการต่อยอดความสำเร็จจากรายการ Win Win WAR Thailand สุดยอดนักธุรกิจแบ่งปัน รวมถึงโครงการ OTOP Junior ที่จัดขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างกรมการพัฒนาชุมชนและไทยเบฟเวอเรจอยู่แล้วแต่เดิม[7] ผลิตโดย บริษัท เฮลิโคเนีย เอช กรุ๊ป จำกัด เริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 ทางช่องอมรินทร์ทีวี โดยออกอากาศมาแล้วทั้งหมด 3 ฤดูกาล

รูปแบบรายการ

แก้

การแข่งขันแบ่งเป็น 2 รอบ ดังนี้

  • รอบทดสอบความมุ่งมั่น – ผู้เข้าแข่งขันที่ผ่านการคัดเลือกจำนวน 45 ธุรกิจ มีเวลา 3 นาที ในการนำเสนอแผนธุรกิจ สินค้า หรือบริการ ที่เกิดจากการใช้ความรู้ในห้องเรียนผสมกับภูมิปัญญาและวัสดุท้องถิ่น และเอื้อประโยชน์ให้กับสังคม หลังจากนำเสนอจบแล้ว คณะกรรมการทั้ง 3 คน จะถามคำถาม ผู้เข้าแข่งขันมีเวลาตอบคำถามละ 1 นาที หลังจากตอบคำถามครบทุกคำถามแล้ว คณะกรรมการจะพิจารณาให้คะแนนเป็นหัวใจจำนวน 10–20–30–40–50 ดวง/คน รวมจำนวนหัวใจที่แต่ละธุรกิจจะได้รับมากที่สุดคือ 150 ดวง โดยแบ่งการแข่งขันออกเป็น 9 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 5 ธุรกิจ และทีมที่ได้รับหัวใจจำนวนมากที่สุดอย่างน้อย 10 ธุรกิจ จะผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ
  • รอบชิงชนะเลิศ – ผู้เข้าแข่งขันที่ผ่านเข้ารอบจะต้องตอบคำถามที่รายการกำหนดจำนวน 3 หมวด จำนวน 14 ข้อ แบ่งเป็นหมวดที่ 1 จำนวน 5 ข้อ, หมวดที่ 2 จำนวน 5 ข้อ และหมวดที่ 3 จำนวน 4 ข้อ หลังจากพิธีกรอ่านคำถามจบแล้ว ทีมที่ได้คำตอบสามารถกดปุ่มได้ทันที หลังจากกดปุ่มแล้วจะมีเวลา 5 วินาทีในการตอบคำถาม หากตอบผิดจะหมดสิทธิ์ตอบคำถามข้อนั้น ๆ แต่ทีมอื่นยังสามารถตอบได้ แต่หากตอบผิดครบ 3 ครั้ง ทุกทีมจะหมดสิทธิ์ตอบและไม่ได้รับคะแนนในข้อนั้น ๆ แต่หากตอบถูก จะได้รับหัวใจที่มีจำนวนแตกต่างกันในแต่ละหมวด คือ หมวดที่ 1 จำนวน 20 ดวง, หมวดที่ 2 จำนวน 30 ดวง และหมวดที่ 3 จำนวน 50 ดวง เมื่อสิ้นสุดการแข่งขันในรอบนี้แล้ว ทีมที่มีจำนวนหัวใจจากรอบนี้ รวมกับจำนวนหัวใจที่มีอยู่เดิมจากรอบก่อนหน้ามากที่สุด จะเป็นผู้ชนะในฤดูกาลนั้น ๆ ได้รับทุนการศึกษามูลค่า 200,000 บาท และได้เดินทางไปทัศนศึกษาเกี่ยวกับนวัตกรรมเพื่อสังคมทั้งในและต่างประเทศ

พิธีกรและกรรมการ

แก้
พิธีกร ฤดูกาล
1 2 3
วิลลี่ แมคอินทอช
เกียรติศักดิ์ อุดมนาค
กรรมการ ฤดูกาล
1 2 3
ต้องใจ ธนะชานันท์
เจรมัย พิทักษ์วงศ์
กฤษติกา คงสมพงษ์

ภาพรวมแต่ละฤดูกาล

แก้
ฤดูกาล ตอนแรก รอบชิงชนะเลิศ จำนวนตอน ธุรกิจในรอบชิงชนะเลิศ
จำนวนธุรกิจ ผู้ชนะเลิศ ธุรกิจอื่น ๆ
1 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 22 มกราคม พ.ศ. 2566 10 11 เกลือเมืองบ่อ
  • หอมฉุยกะปิผงท่าฉาง
  • ไกไกสาหร่ายสายใยชาติพันธุ์
  • Kid's Proud ใช้เมื่อไหร่ก็ภูมิใจ
  • ออนซอนเด้ กล้วยทอดพาเพลิน
  • D craft by sot ผ้าเด็กหูหนวก
  • ทองม้วนจูเนียร์
  • ผ้ากะเหรี่ยงปักเม็ดเดือยเลอค่าสวยสง่าพารวย
  • ฮักนักฮักหนาน้ำยาฮักขนาดเจ้า
  • คักอีหลี Gorgeous Shampoo
  • ดุกยิ้มอิ่มอร่อย
2 8 ตุลาคม พ.ศ. 2566 10 ธันวาคม พ.ศ. 2566 10 13 สานรัก สานใจ
  • วัยใสหัวใจลำแขก
  • คนเอาถ่าน
  • เด็กสร้างการดี คุกกี้พาเพลิน
  • อวบอิ่ม
  • สานใจรัก นลอ.
  • Master เห็ด
  • อีหล่าน้อย
  • PPS Milk More
  • Kid's Proud
  • ปลากระบอกน้อยคอยรัก
  • ลองชิมเล
  • ข้าวเกรียบโบราณอีสานบ้านเฮา
3 รอประกาศ

รางวัล

แก้
ปี รางวัล สาขา รายการ/ฤดูกาล ผล อ้างอิง
พ.ศ. 2562 รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 33 รายการเกมโชว์ดีเด่น Win Win WAR Thailand ฤดูกาลที่ 1 ได้รับรางวัล [8]
พ.ศ. 2564 รางวัลทีวีสีขาว ครั้งที่ 2 รายการส่งเสริมการศึกษาหรือเทคโนโลยีดีเด่น Win Win WAR Thailand ฤดูกาลที่ 2 ได้รับรางวัล [9]
พ.ศ. 2566 รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 37 รายการส่งเสริมเยาวชนดีเด่น Win Win WAR Thailand OTOP Junior ฤดูกาลที่ 1 ได้รับรางวัล [10]
พ.ศ. 2567 Pantip Television Awards ครั้งที่ 3 รายการเยาวชนยอดเยี่ยม Win Win WAR Thailand OTOP Junior ฤดูกาลที่ 2 เสนอชื่อเข้าชิง [11]

อ้างอิง

แก้
  1. "'C asean' ตอกย้ำการเป็นผู้นำการพัฒนาที่ยั่งยืน จัดเสวนา "C asean Sustainable Development Talk"". ประชาชาติธุรกิจ. 14 มีนาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. 2.0 2.1 "Win Win WAR Season 4 จุดประกายธุรกิจแบ่งปัน". ไทยโพสต์. 31 พฤษภาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 11 กันยายน 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. ""C asean" ลั่น! มั่นใจเสิร์ฟรายการใหม่ "Win-Win WAR Thailand สุดยอดนักธุรกิจแบ่งปัน" ชิงเงินกว่า 2 ล้านบาท !!!". โพสต์ทูเดย์. 22 มิถุนายน 2018. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. "บทบาท "C asean" ผลักคนรุ่นใหม่เปลี่ยนแปลงสังคม". ประชาชาติธุรกิจ. 17 เมษายน 2018. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. Techsauce Team (4 กันยายน 2018). "รวมรายการ Startup Game Show เรามีเยอะไปไหม? และรายการใหม่ที่เตรียมแจ้งเกิด". TECHSAUCE. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. "WIN WIN WAR THAILAND SPECIAL ONLINE EDITION การค้นหาสุดยอดไอเดียธุรกิจ ที่พร้อมคืนประโยชน์ให้กับสังคม". Marketeer. 5 ตุลาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 11 กันยายน 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. ""Win Win WAR Thailand OTOP Junior" รายการส่งเสริมเยาวชนดีเด่น ต่อยอดการเรียนรู้นอกห้องเรียน ทักษะชีวิตไม่ติดกรอบ". ผู้จัดการออนไลน์. 16 มิถุนายน 2023. สืบค้นเมื่อ 14 กันยายน 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. "โทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 33 "เบลล่า-ณเดชน์" คว้ารางวัล บุพเพสันนิวาส ละครดีเด่นแห่งปี". สนุก.คอม. 17 กุมภาพันธ์ 2019. สืบค้นเมื่อ 22 กันยายน 2024. 21. รางวัลรายการเกมโชว์ดีเด่น ได้แก่ "รายการ Win Win War Thailand สุดยอดธุรกิจแบ่งปัน สถานีโทรทัศน์อมรินทร์ทีวี"
  9. "อมรินทร์ ทีวี คว้า 2 รางวัล จากโครงการ รางวัลทีวีสีขาว". อมรินทร์ทีวี. 28 กันยายน 2021. สืบค้นเมื่อ 22 กันยายน 2024. รายการส่งเสริมการศึกษาหรือเทคโนโลยีดีเด่น จากรายการ Win Win WAR Thailand Season 2
  10. "Win Win WAR Thailand OTOP Junior คว้ารางวัลโทรทัศน์ทองคำ 2565 "ส่งเสริมเยาวชนดีเด่น"". บ้านเมือง. 13 มิถุนายน 2023. สืบค้นเมื่อ 22 กันยายน 2024.
  11. "== เปิดรายชื่อผู้เข้าชิงรางวัล Pantip Television Awards ประจำปี 2024 ==". พันทิป.คอม. 2024-02-04. สืบค้นเมื่อ 2024-09-22.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้