ฉบับร่าง:ไพรัช เล้าประเสริฐ
ฉบับร่างนี้ถูกตีกลับ เมื่อ 23 มีนาคม 2565 โดย Kaoavi (คุย) แหล่งอ้างอิงในบทความที่ส่งไม่ได้แสดงให้เห็นว่าหัวข้อของบทความมีคุณสมบัติเพียงพอจะมีบทความในวิกิพีเดีย กล่าวคือ ไม่ได้มีการกล่าวถึงหัวเรื่องดังกล่าวอย่างมีนัยยะสำคัญ (คือไม่ได้กล่าวถึงอย่างลอย ๆ) ในแหล่งอ้างอิงที่มีการเผยแพร่ต่อสาธารณะ, เชื่อถือได้, เป็นแหล่งอ้างอิงทุติยภูมิ ซึ่งเป็นอิสระจากหัวเรื่อง (โปรดดูที่แนวทางว่าด้วยความโดดเด่นของบุคคล) ก่อนจะส่งบทความอีกครั้ง คุณควรใส่แหล่งอ้างอิงที่ตรงกับเงื่อนไขดังกล่าวเพิ่มเติม (โปรดดู ความช่วยเหลือทางเทคนิค และเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ ข้อผิดพลาดที่ควรเลี่ยง) หากไม่มีแหล่งอ้างอิงอื่นมาเพิ่มเติม หัวข้อดังกล่าวก็อาจไม่เหมาะสมสำหรับวิกิพีเดีย
ขอความช่วยเหลือ
วิธีปรับปรุงบทความของคุณ
คุณยังสามารถดู วิกิพีเดีย:บทความคัดสรร และ วิกิพีเดีย:บทความคุณภาพ เพื่อค้นหาตัวอย่างบทความที่ดีที่สุดของวิกิพีเดียในหัวข้อที่คล้ายกับบทความที่คุณแจ้งทบทวน ทรัพยากรการแก้ไข
ฉบับร่างนี้ไม่ได้ถูกแก้ไขมานานกว่าหกเดือน ซึ่งตรงกับเงื่อนไขสำหรับการลบทันที ข้อ ท10 ปฏิเสธโดย Kaoavi 10 เดือนก่อน แก้ไขล่าสุดโดย นคเรศ เมื่อ 7 เดือนก่อน ผู้ทบทวน: ส่งข้อความถึงเจ้าของ |
ความคิดเห็น: ไม่โดดเด่นแหล่งอ้างอิงที่ให้ไว้ยืนยันความโดดเด่นเพียงบางประโยคของบทความเท่านั้น กรุณานำแหล่งอ้างอิงทุติยภูมิมาเพิ่มเพื่อยืนยันความโดดเด่นของเนื้อหาด้วยครับ kaoavi ピンク (คุย) 17:44, 23 มีนาคม 2565 (+07)
บทความนี้คล้ายอัตชีวประวัติ ผู้เขียนหลักอาจมีความเกี่ยวข้องหรือเป็นคนเดียวกับผู้ที่ถูกกล่าวถึง กรุณาช่วยแก้ไขเพื่อให้สอดคล้องกับมุมมองที่เป็นกลาง โปรดศึกษาการเขียนชีวประวัติของบุคคลที่มีชีวิตอยู่ |
![]() | นี่คือบทความฉบับร่างซึ่งเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถแก้ไขได้ โปรดตรวจสอบว่าเนื้อหามีลักษณะเป็นสารานุกรมและมีความโดดเด่นควรแก่การรู้จักก่อนที่จะเผยแพร่เป็นบทความลงในวิกิพีเดีย กรุณาอดทนรอผู้เขียนคนอื่นมาช่วยตรวจให้ อย่าย้ายหน้าไปเป็นบทความเองโดยพลการ ค้นหาข้อมูล: Google (books · news · newspapers · scholar · free images · WP refs) · FENS · JSTOR · NYT · TWL สำคัญ: ถ้าลบป้ายนี้ออกจะทำให้บันทึกหน้าไม่ได้ ผู้แก้ไขหน้านี้คนล่าสุด คือ นคเรศ (พูดคุย | เรื่องที่เขียน) เมื่อ 7 เดือนก่อน (ล้างแคช) |
ไพรัช เล้าประเสริฐ ชื่อเล่นว่า ป๊อ (เกิด 20 พฤศจิกายน 2506) เป็นนักธุรกิจชาวไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นประธานกรรมการบริหารและรองประธานกรรมการ บริษัท สโตนเฮ้นจ์ อินเตอร์ จำกัด (มหาชน) เขามีบทบาทสำคัญในการก่อตั้งและผลักดันให้บริษัท สโตนเฮ้นจ์ อินเตอร์ จำกัด (มหาชน) เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์[1] นำพาธุรกิจจากบริษัทในระดับ SME ให้กลายมาเป็นองค์กรมหาชนที่มีมูลค่ารวมกว่า 3,000 ล้านบาทภายในเวลาเพียง 4 ปี[2]
ไพรัชเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการยกระดับงานอนุรักษ์โบราณสถานให้ได้มาตรฐานทางวิชาชีพและเป็นที่รู้จักภายใต้ชื่อบริษัท สโตนเฮ้นจ์ จำกัด จนส่งผลให้บริษัทฯ ได้รับรางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่นจากสมาคมสถาปนิกสยาม ในปี พ.ศ. 2552 และได้รับเชิญให้มีส่วนร่วมในโครงการอนุรักษ์โบราณสถานที่เป็นมรดกทางศิลปะวัฒนธรรมที่สำคัญในระดับประเทศของไทยหลายแห่ง[3]
เขาเคยเป็นดำรงตำแหน่งอนุกรรมการ ในคณะกรรมการวิชาการสาขาวิศวกรรมโยธา วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ประจำปี 2563 อีกทั้งยังได้รับเลือกเป็นหนึ่งในคณะทำงานของโครงการอนุรักษ์หอพระไตรปิฎก วัดเทพธิดารามวรวิหาร ของสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ และได้รางวัลศิษย์เก่าดีเด่นจากมหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรีปี พ.ศ. 2562 ด้วย[4]
ชีวิตวัยเด็กแก้ไข
ไพรัช เล้าประเสริฐ เกิดเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2506 เกิดที่อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี เรียนหนังสือชั้นประถมที่จังหวัดชัยนาทและจังหวัดอยุธยา เข้าศึกษาในระดับชั้นมัธยมที่โรงเรียนวัดมกุฏกษัตริยาราม และระดับปริญญาตรีที่คณะวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี พ.ศ. 2525 ก่อนจะเดินทางไปศึกษาต่อระดับปริญญาโทด้านบริหารธุรกิจ (MBA) จากมหาวิทยาลัยควีนสแลนด์ (University of Queensland) ประเทศออสเตรเลีย พ.ศ. 2532
ประวัติแก้ไข
หลังจบการศึกษาระดับปริญญาโทด้านบริหารธุรกิจ (MBA) จากประเทศออสเตรเลีย ไพรัชเข้าทำงานที่ บริษัท แกรมม่าก่อสร้าง จำกัด ในตำแหน่งวิศวกรโครงการ ต่อมาในปี 2536 ไพรัชได้ร่วมก่อตั้ง บริษัท สโตนเฮ้นจ์ จำกัด ร่วมกับ สมจิตร์ เปี่ยมเปรมสุข เพื่อนร่วมรุ่นที่ มจธ. โดยให้บริการด้านงานออกแบบวิศวกรรม สถาปัตยกรรม และควบคุมงานก่อสร้าง ต่อมาในปี 2547 ได้ร่วมก่อตั้งบริษัท สโตนเฮ้นจ์ อินเตอร์ จำกัด ร่วมกับ สมเกียรติ ศิลวัฒนาวงศ์ เพื่อขยายธุรกิจรับงานควบคุมงานก่อสร้างสำหรับโครงการที่มีขนาดและความซับซ้นมากขึ้น จนกระทั่งสามารถผลักดันให้เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ในวันที่ 19 ธันวาคม 2561 ได้เป็นผลสำเร็จ โดยได้รับความไว้วางใจให้บริหารและควบคุมงานก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่พิเศษจากทั้งภาครัฐและเอกชน[5] เช่น ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์, โครงการ One Bangkok, สวนป่าเบญจกิติ[6], ศูนย์ราชการโซนซี แจ้งวัฒนะ และศูนย์ราชการกระทรวงมหาดไทย[7] เป็นต้น
เมื่อได้เข้าเรียนด้านวิศวกรรมโยธา ไพรัชจึงนำความรู้ด้านวิศวกรรมผสมผสานกับความชอบส่วนตัวจนเกิดเป็นความเชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมสำหรับการอนุรักษ์โบราณสถานในระดับประเทศ สั่งสมเป็นประสบการณ์อนุรักษ์อาคารอย่างต่อเนื่องมากว่า 20 ปี ทำให้เกิดความเชี่ยวชาญ อาทิ งานออกแบบปรับปรุงพิพิธภัณฑ์บ้านเชียง, งานบูรณะเจดีย์ภูเขาทอง พระนครศรีอยุธยา, ควบคุมงานมิวเซียมสยาม, พระราชวังสราญรมย์, งานบูรณะและปฏิสังขรณ์เจดีย์วัดบวรนิเวศวิหาร, งานบูรณะศาสนสถานในวัด รวมถึงควบคุมงานก่อสร้างพระเจดีย์วิสุทธิมงคลหลวงตามหาบัวญาณสัมปันโน จังหวัดอุดรธานี เป็นต้น
ไพรัชสนใจการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการอนุรักษ์ศิลปะวัฒนธรรมทางพุทธศาสนาและเป็นผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ thaiengineering.com เพื่อเป็นแหล่งรวมความรู้ ข้อมูลข่าวสารแก่ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกร
ด้านชีวิตส่วนตัว เขาสมรสกับนางวารุณี เล้าประเสริฐ ปัจจุบันมีธิดา 2 คน ได้แก่ นางสาววรัมพา เล้าประเสริฐ จบการศึกษาจากคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนางสาววรัมพร เล้าประเสริฐ จบการศึกษาจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประวัติการศึกษาแก้ไข
- จบการศึกษาในระดับชั้นมัธยมจากโรงเรียนวัดมกุฏกษัตริยาราม
- ปริญญาตรีจากคณะวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี
- ปริญญาโทด้านบริหารธุรกิจ (MBA) จากมหาวิทยาลัยควีนสแลนด์ (University of Queensland) ประเทศออสเตรเลีย
ตำแหน่งหน้าที่ปัจจุบันแก้ไข
- ประธานกรรมการบริหาร และรองประธานกรรมการ บริษัท สโตนเฮ้นจ์ อินเตอร์ จำกัด (มหาชน) บริษัทบริหารงานก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่
- ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สโตนเฮ้นจ์ จำกัด บริษัทออกแบบและทำงานด้านการอนุรักษ์โบราณสถาน
- ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอเชี่ยน เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแต้นส์ จำกัด บริษัทที่ปรึกษาออกแบบและควบคุมงานระบบสาธารณูปโภคภาครัฐขนาดใหญ่
ตำแหน่งหน้าที่สำคัญในอดีตแก้ไข
- คณะอนุกรรมการบริหารงานก่อสร้าง คณะกรรมการวิชาการสาขาวิศวกรรมโยธา วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ประจำปี 2563
- คณะทำงานโครงการอนุรักษ์หอพระไตรปิฎก วัดเทพธิดารามวรวิหาร คณะกรรมาธิการอนุรักษ์ ด้านสถาปัตยกรรมไทยประเพณี ประจำปี พ.ศ. 2551 – 2553 สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์
- คณะกรรมการและเลขานุการ โครงการบูรณปฏิสังขรณ์พระเจดีย์วัดบวรนิเวศวิหาร พ.ศ. 2550
- กรรมการ คณะอนุกรรมการโครงการ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย 2547-2550
- ↑ กรุงเทพธุรกิจ. (2561). STI ผนึก 'กลุ่มเจริญ' เปิดทางสร้าง 'ความมั่งคั่ง' จาก https://www.bangkokbiznews.com/business/820665
- ↑ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์. (2565), บริษัท สโตนเฮ้นจ์ อินเตอร์ จำกัด (มหาชน), จาก https://market.sec.or.th/public/idisc/th/CompanyProfile/Listed/STI
- ↑ สมาคมไทยรับสร้างบ้าน. (2555). ผู้รับเหมาแก้"วังสราญรมย์" รับซ่อมมั่นใจ4เดือนเสร็จ, จาก https://www.thba.or.th/detail_estate.php?news_id=00422
- ↑ สมาคมนักศึกษาเก่า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีในพระบรมราชูปถัมภ์. (2564). คณะกรรมการสมาคม, จาก https://www.kmutta.com/2021/organization/
- ↑ True ID. (2564). STIเซ็นรับงานรัฐ แบ็กล็อก4พันล. บิ๊กโปรเจ็กต์อื้อ, จาก https://news.trueid.net/detail/BAQgwOm85NWy
- ↑ หนังสือพิมพ์บ้านเมือง. (2563). “สโตนเฮ้นจ์ อินเตอร์” คว้าโปรเจ็กต์ใหญ่สวนป่า “เบญจกิติ” ระยะที่ 2–3, จากhttps://www.banmuang.co.th/news/finance/210557
- ↑ ทันหุ้น. (2564). STI เซ็นรับงานที่ปรึกษา "ศูนย์ราชการ ก.มหาดไทย" หนุน Backlog กว่า 4 พันลบ., จาก https://www.thunhoon.com/article/242983
หมวดหมู่:นักธุรกิจ แม่แบบ:ไพรัช เล้าประเสริฐ หมวดหมู่:นักธุรกิจชาวไทย หมวดหมู่:บุคคลจากกรุงเทพมหานคร หมวดหมู่:บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์ หมวดหมู่:บุคคลจากมหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี