ฉบับร่าง:โรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล

โรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล
Sakonrajwittayanukul School
ตราโรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล.png
ที่ตั้ง
74/26 ถนนใสสว่าง ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร 47000
ข้อมูล
ชื่ออื่นส.ก.ร./SKR.
ประเภทโรงเรียนสังกัด สพฐ.
โรงเรียนประจำจังหวัด
โรงเรียนประเภทสหศึกษา
โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ
คำขวัญรักการอ่าน วิชาการเป็นเลิศ
ก่อตั้ง23 มกราคม พ.ศ. 2454
(112 ปี)
รหัส1047540626
ผู้อำนวยการโรงเรียนนายยงค์ยุทธ เขื่อนขันธ์
ครู/อาจารย์199 คน[1]
ระดับปีที่จัดการศึกษามัธยมศึกษาตอนต้น - มัธยมศึกษาตอนปลาย
จำนวนนักเรียน3,636 คน
ปีการศึกษา 2564[2]
ภาษาภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน
ไทย ภาษาไทย
สหราชอาณาจักร ภาษาอังกฤษ
ฝรั่งเศส ภาษาฝรั่งเศส
จีน ภาษาจีน
เกาหลีใต้ ภาษาเกาหลี
ห้องเรียน95 ห้อง
สี   ขาว - แดง
เพลงมาร์ชโรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล
คติพจน์นตฺถิปญฺญา สมาอาภา
(แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี)
ต้นไม้ประจำโรงเรียนพิกุล
สหวิทยาเขตสกลราช
เว็บไซต์www.sakolraj.ac.th

โรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล (อังกฤษ : Sakonrajwittayanukul School) เป็นโรงเรียนประจำจังหวัดสกลนคร เปิดสอนแบบโรงเรียนสหศึกษาระดับมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ มีชื่อเรียกอย่างย่อว่า สกลราช อักษรย่อ ส.ก.ร.

ประวัติโรงเรียนแก้ไข

โรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล เป็นโรงเรียนประจำจังหวัดสกลนคร ตั้งขึ้นครั้งแรกเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานเพียงแต่พอทราบจากการบอกเล่าสืบต่อกันมาว่า ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงขยายการศึกษาออกสู่หัวเมืองต่างๆ การเรียนการสอน ในจังหวัดสกลนครได้มีขึ้นในช่วงรัชสมัยของพระองค์ท่านด้วย

โดย มีโรงเรียนเดิมตั้งอยู่วัดกลาง (บริเวณตลาดศรีคูณเมืองปัจจุบัน) มีชื่อเรียกว่า “โรงเรียนวัดกลางรามวิทยา” โดยมีพระครูคำ เป็นผู้ดำเนินการสอน บางครั้งก็ย้ายไปสอนตามบ้านข้าราชการในสมัยนั้นบ้าง นักเรียนในสมัยนั้นเมื่อจบหลักสูตรก็ต้องออกไปรับราชการเป็นเสมียน เท่าที่ทราบจากการบอกเล่าโดยย่อมีเพียงเท่านี้ ต่อมาโรงเรียนได้รับการพัฒนาด้านอาคารสถานที่ และปรับปรุงหลักสูตรสรุปได้ ดังนี้

พ.ศ. 2454 ได้ย้ายมาจากวัดกลาง มาตั้งที่โรงเรียนเชิงชุมราษฎร์นุกูลในปัจจุบัน มีอาคารเรียนเป็นเรือนไม้ ยกพื้นสูง มีหน้ามุขหนึ่งมุขสี่หน้องเรียน

พ.ศ. 2455 ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนในเมืองสกลนครร่วมกันบริจาคทรัพย์ สร้างอาคารใหม่เพิ่ม เป็นอาคารไม้หลังคามุงกระเบื้อง ได้รับการสถาปนาชื่อเป็น “ โรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล ” ทำบุญฉลองและเปิดทำการเรียนการสอน เมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2455 จึงถือเอาวันที่ 23 มกราคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสถาปนาโรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล[3]

พ.ศ. 2461 ได้รื้ออาคารเรียนหลังเดิมสร้างใหม่เป็นเรือนไม้ใต้ถุนเตี้ย มีแปดห้องเรียน หันหน้าออกสู่ถนนด้านทิศใต้ สร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2463

พ.ศ. 2467 ได้ขยายการเรียนการสอนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

พ.ศ. 2475 ได้มีการสร้างอาคารเรียนหลังใหม่เป็นเรือนไม้สูงเสาอิฐถือปูน มี 9 ห้องเรียน

พ.ศ. 2480 การเรียนการสอนชั้นเรียนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

พ.ศ. 2503 ขยายชั้นเรียนถึงชั้นเตรียมวิทยาศาสตร์ (ตว.1) ม.7 - ม.8 นายแก้ว อุปพงษ์ เป็นอาจารย์ใหญ่ ขณะนั้นได้เชิญชวนคหบดีเมืองสกลนคร นายเขียน-นางบัวแถว มาลัยกรอง บริจาคเงินสร้างอาคารเรียนให้โรงเรียน ชื่อ “ตึกมาลัยกรอง”

พ.ศ. 2510 นายสำเริง นิลประดิษฐ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนขณะนั้น ได้เสนอรวมโรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล โรงเรียนสตรีสกลรัตน์และโรงเรียนการช่างสตรีสกลนครเข้าด้วยกัน

พ.ศ. 2511 ได้รับอนุญาตจากกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2511 ให้รวม 3 โรงเรียนเข้าด้วยกันโดยใช้ชื่อโรงเรียนว่า “โรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล” ตามนโยบายของกรมสามัญศึกษา เพื่อใช้หลักสูตร คมส.( โครงการ โรงเรียนมัธยมแบบผสม) โดยความร่วมมือช่วยเหลือของ USOM เนื่องจากบริเวณโรงเรียนเดิมมีโรงเรียนเชิงชุมราษฎร์นุกูลกั้นอยู่ ทำให้ไม่สะดวกต่อการบริหารงานด้านการเรียนการสอน ดังนั้น ทางโรงเรียนและจังหวัดได้ทำเรื่องเสนอกระทรวงศึกษาธิการ ขอแลกเปลี่ยนบริเวณ โรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล กับ โรงเรียนเชิงชุมราษฎร์นุกูล กระทรวงศึกษาได้อนุมัติให้ดำเนินการตามประสงค์ ซึ่งมีที่ตั้งและอาณาเขตดังเช่นปัจจุบัน

พ.ศ. 2554 โรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล ได้ทำการเฉลิมฉลองครบรอบการก่อตั้ง 100 ปี

ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียนแก้ไข

ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล[4]
ลำดับ รายนาม วุฒิการศึกษา ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง
1 พระครูคำ - ก่อน - พ.ศ. 2454
2 ขุนบริรักษ์สิกขาการ - พ.ศ. 2454 - พ.ศ. 2461
3 ราชบุรุษทัศน์ วีระกุล - พ.ศ. 2461 - พ.ศ. 2463
4 ขุนภูมิภักดิ์ศึกษาการ(สอน ภูมิภักดิ์) - พ.ศ. 2463 - พ.ศ. 2472
5 นายสนิท สุวรรณทัต ป.ม. พ.ศ. 2472 - พ.ศ. 2482
6 นายถวิล สุริยนต์ ป.ม.,อ.บ.,ธ.บ. พ.ศ. 2482 - พ.ศ. 2483
7 นายสนอง สุขสมาน ป.ม.,อ.บ. พ.ศ. 2483 - พ.ศ. 2485
8 นายพิษณุ ชัชวาลย์ปรีชา ป.ม. พ.ศ. 2482 - พ.ศ. 2487
9 นายเรวัต ชื่นสำราญ ป.ม. พ.ศ. 2487 - พ.ศ. 2490
10 นายเหลือ คำพิทักษ์ ป.ม. พ.ศ. 2490 - พ.ศ. 2494
11 นายแก้ว อุปพงษ์ ป.ม. พ.ศ. 2494 - พ.ศ. 2503
12 นายสุวิต โรจนชีวะ ป.ม.,ธ.บ. พ.ศ. 2503 - พ.ศ. 2511
13 นายสำเริง นิลประดิษฐ์ ป.ม.,กศ.ม. พ.ศ. 2511 - พ.ศ. 2517
14 นายมงคล สุวรรณพงษ์ ป.ม.,นบ.ท. พ.ศ. 2517 - พ.ศ. 2529
15 นายนิรัตน์ วิภาวิน ป.ม.,ศศ.บ. พ.ศ. 2529 - พ.ศ. 2533
16 นายบุญธรรม กัลยาบาล กศ.ม.,ศษ.ม. พ.ศ. 2533 - พ.ศ. 2535
17 นายล้วน วรนุช พ.ม.,กศ.ม. พ.ศ. 2535 - พ.ศ. 2538
18 นางสุมาลี บุณยารมย์ อ.บ.,M.E d พ.ศ. 2538 - พ.ศ. 2541
19 นายแสง ชานัย กศ.ม.,ศศ.บ. พ.ศ. 2541 - พ.ศ. 2544
20 นายเบญจกูล ศิริพรรณ กศ.บ.,น.บ.,กศ.ม. พ.ศ. 2544 - พ.ศ. 2549
21 นายสมชาย โสมรักษ์ กศ.ม.,วท.ม. พ.ศ. 2549 - พ.ศ. 2553
22 นายประทวน สมบูรณ์ กศ.ม.,ศษ.ม. พ.ศ. 2553 - พ.ศ. 2557
23 นายวราพจน์ บุตรราช กศ.ม. พ.ศ. 2557 - พ.ศ. 2558
24 นายประเสริฐ สวัสดิ์จิตร์ กศ.ม. พ.ศ. 2559 - พ.ศ. 2561
25 นายยงศ์ยุทธ์ เขื่อนขันธ์ ศษ.บ.,ค.ม. พ.ศ. 2561 - ปัจจุบัน

อ้างอิงแก้ไข

แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข

หมวดหมู่:โรงเรียนในจังหวัดสกลนคร หมวดหมู่:โรงเรียนที่มีอายุเกิน 100 ปีในประเทศไทย หมวดหมู่:โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร หมวดหมู่:โรงเรียนประจำจังหวัด หมวดหมู่:โรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูง