ฉบับร่าง:วัดมงคลทับคล้อ

รายงานละเมิดลิขสิทธิ์

วัดมงคลทับคล้อ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ[1] สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในตำบลทับคล้อ อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร

วัดมงคลทับคล้อ
วัดมงคลทับคล้อ พิจิตร.jpg
ที่ตั้ง400 หมู่ 2 ถนนตะพานหิน - เพชรบูรณ์ ตำบลทับคล้อ อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร
ประเภทพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ
นิกายเถรวาท มหานิกาย
พระประธานพระพุทธมงคล
เจ้าอาวาสพระปิฎกคุณาภรณ์ (สวี กิตฺติวณฺโณ ป.ธ. 7)
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

ประวัติ[2]แก้ไข

วัดมงคลทับคล้อ ได้เริ่มก่อสร้างขึ้นเมื่อใดไม่ปรากฏชัด แต่คาดว่านายไหมแพง และนายเม้ง หนูพิน ได้ยกที่ดินให้สร้างวัดก่อน พ.ศ.2485 เดิมชื่อ “วัดท่ามงคล” ต่อมาได้รับการประกาศตั้งเป็นวัดเมื่อ พ.ศ. 2482

ในระยะแรกมีเจ้าอธิการสุวรรณ ซึ่งย้ายมาจากวัดหนองนาดำ อำเภอเมืองพิจิตร เป็นผู้นำในการก่อสร้างและดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส และเจ้าคณะตำบลทับคล้อ ครั้น พ.ศ. 2487 เจ้าอธิการสุวรรณได้ลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาส และเจ้าคณะตำบลทับคล้อ ดังนั้นพระครูพิบูลศีลสุนทร เจ้าคณะอำเภอตะพานหินในขณะนั้น จึงนิมนต์พระมหาบุญมา ญาณวิมโล ป.ธ.4 (ภายหลังดำรงสมณศักดิ์ คือ พระครูนิพัทธธรรมโกศล พระวิมลญาณเมธี พระราชวิมลเมธี และพระเทพญาณเวที ตามลำดับ) ซึ่งย้ายมาจากวัดราชบุรณะราชวรวิหาร (วัดเลียบ) กรุงเทพมหานคร มาเป็นครูสอนพระปริยัติธรรมอยู่ ณ วัดทรงธรรม ตำบลทับคล้อ อำเภอตะพานหิน (ต่อมาแยกเป็นอำเภอทับคล้อ เมื่อ พ.ศ. 2430) มาเป็นเจ้าอาวาสวัด และเจ้าคณะตำบลทับคล้อแทน ในขณะนั้นวัดมงคลทับคล้อ มีเพียงกุฏิเล็ก 4 หลัง หลังคามุงแฝก 1 หลัง มุงด้วยกระเบื้องไม้ 1 หลัง และมุงสังกะสี 2 หลัง นอกจากนี้ยังมีหอสวดมนต์ กว้าง 3 วา ยาว 4 วา 2 ศอก ศาลาการเปรียญกว้าง 6 วา ยาว 9 วา และพระอุโบสถซึ่งทำด้วยไม้ทั้งหลังมีเสา พื้น กระดานฝาเป็นไม้แดง หลังคามุงสังกะสี กว้าง 10 ศอก ยาว 5 วา 2 ศอก พระมหาบุญมา ได้ปรารภว่า “ถ้าประสงค์จะดำรงค์สมณเพศให้ยาวนาน เพียงศึกษาพระธรรมอย่างเดียว ไม่ชื่อว่าศึกษาพระศาสนาได้กว้างขวาง หากแต่ได้มีการศึกษาบาลีด้วย ก็จะเป็นหนทางนำความเจริญก้าวหน้าในชีวิตแห่งสมณะและคณะสงฆ์” ดังนั้นท่านจึงได้ประกาศตั้งการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีขึ้น ในปี พ.ศ. 2488 โดยนิมนต์พระมหาแทน นุสิทธิ์ ป.ธ.6 จากวัดอนงคารามวรวิหาร ธนบุรี มาเป็นครูสอน และมีนักเรียนจำนวน 12 รูปในปีแรก ปีต่อมามีนักเรียนเพิ่มมากขึ้นจึงได้นิมนต์พระมหาเจียร นักธรรม ป.ธ.๖ จากวัดราชบุรณะราชวรวิหาร (วัดเลียบ) กรุงเทพมหานคร มาเป็นครูสอนเพิ่ม ครั้น พ.ศ. 2591 มีนักเรียนสอบเป็นเปรียญได้จำนวน 2 รูป พระมหาบุญมา ได้พยายามสนับสนุนการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีเป็นอย่างมาก โดยสนับสนุนหาครูและอุปกรณ์การศึกษาเพิ่มเติมตลอดมา และได้เปลี่ยนชื่อวัดท่ามงคล เป็นวัดมงคลทับคล้อ ในช่วงนี้

พ.ศ. 2490 มีพระภิกษุสามเณรเพิ่มมากขึ้น จึงได้ก่อสร้างกุฏิสงฆ์เพิ่มขึ้นอีก 4 หลัง ได้ปรับผังวัดให้เป็นระเบียบมากขึ้น และสร้างโรงครัวเพื่อจัดภัตตาหารถวายพระภิกษุสามเณรตลอดมา

พ.ศ. 2491 นายอำ นางกิมหลั่น โพธิ์นคร พร้อมด้วยนางสมภวิล กังสดาลย์ ภริยา ศ.นายแพทย์ประเสริฐ กังสดาลย์ ได้บริจาคทุนทรัพย์สร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรมเป็นอาคารไม้ 2 ชั้น กว้าง 4 วา ยาว 10 วาขึ้น พร้อมทั้งอุปกรณ์การศึกษา เช่นโต๊ะ กระดานดำ แต่นักเรียนได้เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก จึงขัดสนเรื่องที่พักอาศัยและภัตตาหาร ในปี พ.ศ. 2493 พระครูนิพัทธธรรมโกศล ได้ก่อสร้างศาลาการเปรียญ เป็นอาคารยกพื้นชั้นเดียว กว้าง 8 วา ยาว 16 วา หลังคามุงกระเบื้องสถาปัตยกรรมทรงไทยขึ้นหลังหนึ่ง ต่อมาในปี พ.ศ. 2493 ได้รื้อศาลาหลังเก่าแล้วนำไม้และอุปกรณ์อื่นมาประกอบขยายศาลาหลังใหม่ให้ใหญ่และยาวขึ้นเป็นกว้าง 11 วา  ยาว 21 วา และได้ปรับปรุงให้เป็นศาลา 2 ชั้น เมื่อ พ.ศ. 2536

พ.ศ. 2500 มีการฉลอง 25 พุทธศตวรรษ พระราชวิมลเมธี ได้ก่อสร้างอาคารเรียนพระปริยัติธรรมหลังใหม่ขึ้น เป็นอาคาร 3 ชั้น จำนวน 21 ห้อง สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก กว้าง 15.15 เมตร ยาว 44.5 เมตร หลังคามุงกระเบื้องสถาปัตยกรรมไทยประยุกต์ พระราชวิมลเมธีได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้การศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของวัดมงคลทับคล้อ จนมีผู้ที่สามารถสอบได้สูงมากขึ้น วัดมงคลทับคล้อจึงได้รับยกย่องเป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรมดีเด่น (สำนักเรียนตัวอย่าง) ปี พ.ศ. 2526 และได้พัฒนาวัดให้เจริญทุกด้าน จนกระทั่งกรมการศาสนาได้ประกาศให้เป็น วัดพัฒนาตัวอย่าง และวัดพัฒนาดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2528

สิ่งปลูกสร้างที่สำคัญภายในวัดแก้ไข

พระอุโบสถแก้ไข

 
พระพุทธมงคล พระประธานในพระอุโบสถ

เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ลักษณะสถาปัตยกรรมไทย กว้าง 8 เมตร ยาว 22 เมตร ภายในประดิษฐานพระพุทธมงคล เป็นพระประธานในอุโบสถ อัญเชิญมาจากวัดราชบุรณะราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร เมื่อ พ.ศ. 2486

พิพิธภัณฑ์พระเทพญาณเวทีแก้ไข

 
พิพิธภัณฑ์พระเทพญาณเวที

เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก มี 3 ชั้น ทรงกลมจตุรมุข เป็นพิพิธภัณฑ์ประดิษฐานพระพุทธรูป และหอสมุด

ศาลาการเปรียญแก้ไข

เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กทรงไทยประยุกต์ กว้าง 23 เมตร ยาว 50 เมตร

กุฏิสงฆ์แก้ไข

เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก จำนวน 15 หลัง

โรงครัวแก้ไข

เป็นอาคารชั้นเดียว สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก กว้าง 15 เมตร ยาว 22 เมตร

เมรุ ฌาปนสถานแก้ไข

จำนวน 1 หลัง

โรงเรียนพระปริยัติธรรมแก้ไข

เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก มี 3 ชั้น จำนวน 21 ห้อง สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก กว้าง 15.15 เมตร ยาว 44.5 เมตร หลังคามุงกระเบื้อง สถาปัตยกรรมไทยประยุกต์ จำนวน 1 หลัง

ลำดับเจ้าอาวาส[3]แก้ไข

วัดมงคลทับคล้อ มีอดีตเจ้าอาวาสปกครอง ดังนี้

ลำดับที่ รายนาม เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ
1 เจ้าอธิการสุวรรณ พ.ศ. 2482 พ.ศ. 2487
2 พระเทพญาณเวที (บุญมา ญาณวิมโล ป.ธ. 4) พ.ศ. 2487 พ.ศ. 2534
3 พระวิสุทธิวราภรณ์ (สมชาย จนฺทสาโร ป.ธ. 7) พ.ศ. 2534 พ.ศ. 2556
4 พระปิฎกคุณาภรณ์ (สวี กิตฺติวณฺโณ ป.ธ. 7) พ.ศ. 2556 ปัจจุบัน
  1. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ยกวัดราษฎร์เป็นพระอารามหลวง (วัดมงคลทับคล้อ)[1]
  2. admin.secreta. "ประวัติความเป็นมาวัดมงคลทับคล้อ – สำนักงานเลขานุการกรม".
  3. admin.secreta. "ประวัติเจ้าอาวาสวัดมงคลทับคล้อ – สำนักงานเลขานุการกรม".