ฉบับร่าง:ลูกบอลดับเพลิง
![]() | นี่คือบทความฉบับร่างซึ่งเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถแก้ไขได้ โปรดตรวจสอบว่าเนื้อหามีลักษณะเป็นสารานุกรมและมีความโดดเด่นควรแก่การรู้จักก่อนที่จะเผยแพร่เป็นบทความลงในวิกิพีเดีย กรุณาอดทนรอผู้เขียนคนอื่นมาช่วยตรวจให้ อย่าย้ายหน้าไปเป็นบทความเองโดยพลการ ค้นหาข้อมูล: Google (books · news · newspapers · scholar · free images · WP refs) · FENS · JSTOR · NYT · TWL สำคัญ: ถ้าลบป้ายนี้ออกจะทำให้บันทึกหน้าไม่ได้ ผู้แก้ไขหน้านี้คนล่าสุด คือ Ktp.poom (พูดคุย | เรื่องที่เขียน) เมื่อ 33 นาทีก่อน (ล้างแคช)
ฉบับร่างนี้ถูกส่งสำหรับการทบทวนแล้วและกำลังรอการทบทวน |
ลูกบอลดับเพลิง(อังกฤษ: Fire extinguishing ball) เป็นอุปกรณ์ดับเพลิงที่จะทำงานโดยอัตโนมัติเมื่อสัมผัสกับเปลวเพลิง เมื่อสัมผัสกับเปลวเพลิงจะทำลายปฏิกิริยาลูกโซ่ และตัดปฏิกิริยาต่อเนื่องของเพลิง อีกทั้งยังสามารถเฝ้าดับเพลิงอัตโนมัติ 24 ชั่วโมง ตลอดระยะเวลา 5 ปี ไม่มีค่าบำรุงรักษา ดับเพลิงอัตโนมัติภายในเวลา 3-10 วินาที
ประวัติแก้ไข
ลูกบอลดับเพลิงอัตโนมัติเกิดจากแนวคิดของนักประดิษฐ์ชาวไทย นายภณวัชร์นันท์ ไกรมาตย์ (ชื่อเดิม วรเดช) จากการที่เขาได้อยู่ในเหตุเพลิงไหม้โรงแรมรอยัล จอมเทียน รีสอร์ต พัทยา หาดจอมเทียน พัทยา ชลบุรี ที่มีผู้เสียชีวิต 91 คนและบาดเจ็บ 53 คน เมื่อวันที่ 11 กรกฏาคม 2540 ซึ่งเขารู้สึกสลดใจเป็นอย่างยิ่งจึงเกิดแรงบันดาลใจในการประดิษฐ์ ลูกบอลดับเพลิง ขึ้นมา
Fire Extinguishing Ball ได้ส่งเข้าประกวดสิ่งประดิษฐ์ในงาน Brussels Eureka 2001 50th Anniversary of The Exhibition Research and New Technology เมื่อวันที่ 13-19 พฤศจิกายน พ.ศ.2544[1] และพัฒนาสิ่งประดิษฐ์เข้าสู่เชิงพาณิชน์ โดย บริษัท สยามเซพตี้ พรีเมียร์ จำกัด (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น ELIDE FIRE BALL PRO CO., LTD) Fire Extinguishing Ball ได้มีการจดสิทธิบัตรของสหรัฐอเมริกาเลขที่ US 6796382B2[2] องค์กรทรัพย์สินทางปัญญาโลกเลขที่(WIPO) เลขที่ WO2004014489[3] และเลขที่ WO2008150265[4] ต่อมาได้จดเครื่องหมายการค้าเป็น ELIDE FIRE fire extinguishing ball ได้ทำการทดสอบทดลอง จนกระทั้งได้รับ คู่มือทดสอบจาก กรมวิทยาศาสตร์บริการในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2003 ต่อมากระทรวงอุตสหกรรมแห่งรัฐบาลราชอาณาจักรไทยได้ประกาศ มาตรฐานผลิตภัณฑ์ เลขที่ มอก. 3413-2565[5] ให้กับลูกบอลดับเพลิง เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ.2565
แบบและประเภทการใช้งานของลูกบอลดับเพลิงอัตโนมัติ (Automatic Fire Fighting Ball]แก้ไข
- ลูกบอลดับเพลิง แบ่งเป็น 2 แบบ คือ
1.)แบบใช้ภายในและภายนอก
2.)แบบใช้ในห้องเครื่องยนต์
- มีประเภทการใช้งาน 3 ประเภท คือ
1.)แบบใช้ภายใน หมายถึง ลูกบอลดับเพลิงที่ใช้ดับเพลิงในบ้านพักอาศัย อาคาร อพาร์ทเมนท์
2.)แบบใช้ภายนอก หมายถึง ลูกบอลดับเพลิงที่ใช้ดับเพลิงภายนอกเช่น ดับไฟที่เสาไฟฟ้า ดับไฟเครื่องจักรที่ติดตั้งอยู่ภายนอก ไม่รวมถึงการดับไฟป่า
3.)แบบใช้ในห้องเครื่องยนต์ หมายถึง ลูกบอลดับเพลิงที่ใช้ดับเพลิงในห้องเครื่่องยนต์ เรือยนต์ หรือเครื่่องยนต์ประเภทต่างๆ
วิธีการใช้งานแก้ไข
- ติดตั้งเฝ้าระวังและเตือนภัยตรงจุดเสี่ยงที่น่าจะเกิดเพลิงไหม้
- ใช้เขวี้ยง โยน ทอย ปา กลิ้ง ใส่กองเพลิง ให้ ลูกบอลดับเพลิงอัตโนมัติ (Automatic Fire Fighting Ball) สัมผัสเปลวไฟลูกบอลดับเพลิงจะทำงานโดยอัตโนมัติภายในระยะเวลา 3-5 วินาที
การทำงานของลูกบอลดับเพลิงอัตโนมัติแก้ไข
ลูกบอลดับเพลิงอัตโนมัติ ทำหน้าที่เฝ้าโดยเฝ้าดับเพลิงอัตโนมัติ 24 ชั่วโมง ตลอดระยะเวลา 5 ปี ไม่มีค่าบำรุงรักษา มีการทำงานสองขั้นตอนหลักคือ
- หยุดทำปฏิกิริยาต่อเนื่องของเพลิง (Inhibited Chain Reaction) เมื่อลูกบอลดับเพลิงอัตโนมัติ (Automatic fire fighting ball) สัมผัสเปลวไฟจะเกิดการสันดาป (Combustion ) ภายในแกนกลางของลูกบอลดับเพลิง และจะกำเนิดพลังงานเสียงโซนิกบูม (Sonic Boom) ซึ่งจะมีคลื่นกระแทก หรือช็อกเวฟคล้ายกับเสียงระเบิด (Impulsive Noise) เพียงครั้งเดียว และจะเกิดความดันทำงาน (Working Pressure) แปลงพลังงานเสียงเป็นพลังงานลมกระจาย มีรัศมี 360 องศา ผลักดันก๊าซของเชื้อเพลิงที่ผสมกับออกซิเจนในบรรยากาศที่อยู่บนผิวของเชื้อเพลิงที่มีความร้อนสระสมอยู่ ทำให้เกิดออกซิไดซ์ (Oxidized) ที่เรียกว่า ปฏิกิริยารีดอกซ์ (Redox Reactions) และพลังงานลมจะดันก๊าซเชื้อเพลิงที่มีรัศมี 360 องศา ออกจากฐานเพลิงที่มีความร้อนสระสมอยู่
- ตัดปฏิกิริยาลูกโซ่ของเพลิง (Cut off the chain reaction) พลังงานลมจะดันผงเคมีแห้ง (Elide Fire – ABC Dry Chemicals Powder) กระจายออกมามีรัศมี 360 องศา ทำหน้าที่เป็นเบส-กรด กลายเป็นละอองน้ำเข้ายับยั้งปฏิกิริยาเคมี ออกซิไดซ์ (oxidized) จุดติดไฟ (Fire Point) และตัดปฏิกิริยาลูกโซ่ของเพลิง (Cut off the chain reaction of the fire) ทำให้เพลิงดับลง กระบวนการดับเพลิงของ ลูกบอลดับเพลิงอัตโนมัติ (Automatic fire fighting ball) ทั้งสองขั้นตอน จะทำงาน ภายในเวลา 3-10 วินาที
เพลิงประเภทต่างๆตามมาตรฐานดังต่อไปนี้ [6]แก้ไข
- เพลิงประเภท A เพลิงไหม้ที่เกิดจากเชื้อเพลิงธรรมดาที่ติดไฟง่าย เช่น ไม้ ผ้า กระดาษ พลาสติก เพลิงที่ไหม้ในอาคาร
- เพลิงประเภท B เพลิงไหม้ที่เกิดจากเชื้อเพลิงที่เป็นของเหลวติดไฟ ก๊าซ ไข และน้ำมันต่าง ๆ
- เพลิงประเภท C เพลิงไหม้ที่เกิดจากอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน
- เพลิงประเภท F เพลิงไหม้ที่เพลิงอยู่ในช่วงขยายอย่างรวดเร็วและให้อุณหภูมิสูงสุด
- เพลิงประเภท G หมายถึง เพลิงไหม้ที่เกิดจากเพลิงประเภท B และ C และ F เพลิงที่เกิดในห้องเครื่องยนต์
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ "BRUSSELS EUREKA 2001 50th World Exhibition of Innovation, Research and New Technology". eurek. Belgian Chamber of Inventors. สืบค้นเมื่อ 14 March 2023.
- ↑ "Patent of Fire extinguishing ball". patents.google.com. Google Patents. สืบค้นเมื่อ 14 March 2023.
- ↑ "Patent of Fire extinguishing ball from WIPO". WIPO. WIPO. สืบค้นเมื่อ 14 March 2023.
- ↑ "Patent of Fire extinguishing ball2 from WIPO". WIPO. WIPO. สืบค้นเมื่อ 14 March 2023.
- ↑ "มาตรฐานกระทรวงอุตสาหกรรม". service.tisi.go.th. TISI. สืบค้นเมื่อ 14 March 2023.
- ↑ "Classifying fire". NFPA. NFPA. สืบค้นเมื่อ 14 March 2023.
บทความนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล หมายเหตุ: ขอแนะนำให้จัดหมวดหมู่โครงให้เข้ากับเนื้อหาของบทความ (ดูเพิ่มที่ วิกิพีเดีย:โครงการจัดหมวดหมู่โครงที่ยังไม่สมบูรณ์) |
โปรดรอสักครู่
หน้านี้อาจใช้ระยะเวลานานถึงหนึ่งสัปดาห์ เนื่องจากฉบับร่างจะได้รับการทบทวนตามลำดับ ขณะนี้มี 110 หน้าที่กำลังรอการทบทวน
ขอความช่วยเหลือ
วิธีปรับปรุงบทความของคุณ
คุณยังสามารถดู วิกิพีเดีย:บทความคัดสรร และ วิกิพีเดีย:บทความคุณภาพ เพื่อค้นหาตัวอย่างบทความที่ดีที่สุดของวิกิพีเดียในหัวข้อที่คล้ายกับบทความที่คุณแจ้งทบทวน ทรัพยากรการแก้ไข
|