จังหวัดสุพรรณบุรี
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
14°30′49.69″N 100°07′50″E / 14.5138028°N 100.13056°E
จังหวัดสุพรรณบุรี | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Changwat Suphan Buri |
จากซ้ายไปขวา บนลงล่าง:
| |
คำขวัญ: เมืองยุทธหัตถี วรรณคดีขึ้นชื่อ เลื่องลือพระเครื่อง รุ่งเรืองเกษตรกรรม สูงล้ำประวัติศาสตร์ แหล่งปราชญ์ศิลปิน ภาษาถิ่นชวนฟัง | |
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดสุพรรณบุรีเน้นสีแดง | |
ประเทศ | ไทย |
การปกครอง | |
• ผู้ว่าราชการ | พิริยะ ฉันทดิลก (ตั้งแต่ พ.ศ. 2567) |
พื้นที่[1] | |
• ทั้งหมด | 5,358.008 ตร.กม. (2,068.738 ตร.ไมล์) |
อันดับพื้นที่ | อันดับที่ 39 |
ประชากร (พ.ศ. 2566)[2] | |
• ทั้งหมด | 826,391 คน |
• อันดับ | อันดับที่ 28 |
• ความหนาแน่น | 154.23 คน/ตร.กม. (399.5 คน/ตร.ไมล์) |
• อันดับความหนาแน่น | อันดับที่ 24 |
รหัส ISO 3166 | TH-72 |
ชื่อไทยอื่น ๆ | สุพรรณ / พันธุมบุรี / ทวารวดีศรีสุพรรณภูมิ / สองพันบุรี |
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด | |
• ต้นไม้ | มะเกลือ |
• ดอกไม้ | สุพรรณิการ์ |
• สัตว์น้ำ | ปลาม้า |
ศาลากลางจังหวัด | |
• ที่ตั้ง | ภายในศูนย์ราชการจังหวัดสุพรรณบุรี ถนนสุพรรณบุรี-ชัยนาท ตำบลสนามชัย อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี 72000 |
• โทรศัพท์ | 0 3540 8700, 0 3553 5376 |
เว็บไซต์ | http://www.suphanburi.go.th/ |
สุพรรณบุรี เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย ห่างจากกรุงเทพมหานคร 107 กิโลเมตร จังหวัดที่อยู่ติดกัน (จากทิศเหนือ วนตามเข็มนาฬิกา) ได้แก่ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา นครปฐม และกาญจนบุรี
ประวัติศาสตร์
แก้สุพรรณบุรีเป็นเมืองโบราณ พบหลักฐานทางโบราณคดีมีอายุไม่ต่ำกว่า 3,500-3,800 ปี โบราณวัตถุที่ขุดพบมีทั้งยุคหินใหม่ ยุคสำริด ยุคเหล็ก และสืบทอดวัฒนธรรมต่อเนื่องมาตั้งแต่สมัยสุวรรณภูมิ ฟูนัน อมราวดี ทวารวดี และศรีวิชัย สุพรรณบุรีเดิมมีชื่อว่า ทวารวดีศรีสุพรรณภูมิ หรือ พันธุมบุรี[3] ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำท่าจีน แถบ บริเวณตำบลรั้วใหญ่ไปจดตำบลพิหารแดง
ต่อมาพระเจ้ากาแตได้ย้ายเมืองมาตั้งอยู่ที่ฝั่งขวาของแม่น้ำ แล้วโปรดให้มอญน้อยไปสร้างวัดสนามชัย และบูรณะวัดป่าเลไลยก์ ชักชวนให้ข้าราชการจำนวน 2,000 คนบวช จึงขนานนามเมืองใหม่ว่า สองพันบุรี[3]
ครั้งถึงสมัยพระเจ้าอู่ทอง ได้สร้างเมืองมาทางฝั่งใต้หรือทางตะวันตกของแม่น้ำท่าจีน ชื่อเมืองเรียกว่า อู่ทอง จวบจนสมัยขุนหลวงพะงั่ว เมืองนี้จึงเรียกว่าชื่อว่า สุพรรณบุรี นับแต่นั้นมา[ต้องการอ้างอิง]
ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมืองสุพรรณบุรีเป็นเมืองหน้าด่านและเป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำที่สำคัญ ต้องผ่านศึกสงครามหลายต่อหลายครั้ง สภาพเมืองตลอดจนโบราณสถานถูกทำลายเหลือเพียงซากปรักหักพัง จนกระทั่งถึงสมัยรัตนโกสินทร์ เมืองสุพรรณบุรีได้ฟื้นตัวขึ้นใหม่ และตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำท่าจีน (ลำน้ำสุพรรณ) มาจนตราบทุกวันนี้
ความสำคัญของสุพรรณบุรีในด้านประวัติศาสตร์การกอบกู้เอกราชไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้แก่ ชัยชนะแห่งสงครามยุทธหัตถีที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงมีชัยชนะเหนือพระมหาอุปราชา ณ สมรภูมิดอนเจดีย์ เป็นมหาวีรกรรมคชยุทธอันยิ่งใหญ่ที่ได้ถูกจารึกไว้ และมีการจัดงานเพื่อเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ทุกปี เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ
ในด้านวรรณคดี เป็นเมืองต้นกำเนิดแห่งตำนาน "ขุนช้างขุนแผน" วรรณคดีไทยเรื่องราวและสถานที่ที่ปรากฏตามท้องเรื่องยังคงมีให้เห็นในปัจจุบัน อาทิ บ้านรั้วใหญ่ วัดเขาใหญ่ ท่าสิบเบี้ย ไร่ฝ้าย วัดป่าเลไลยก์ วัดแค อำเภออู่ทอง และอำเภอศรีประจันต์
สุพรรณบุรี ดินแดนแห่งความอุดมสมบูรณ์บนพื้นที่ราบภาคกลางสืบสานความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่อดีตเมื่อ พ.ศ. 1420 จากนามเดิมเมืองพันธุมบุรีในยุคทวารวดีตามหลักฐานทางโบราณคดีได้จารึกชื่อไว้ในพงศาวดารเหนือ และนาม "สุพรรณภูมิ" ปรากฏในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราชระบุว่าเป็นนครรัฐที่มีความสำคัญมาก่อนกรุงศรีอยุธยา เมื่อมีการสถาปนากรุงศรีอยุธยา เมืองสุพรรณบุรีจึงจัดอยู่ในฐานะเมืองลูกหลวงซึ่งเป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำที่สำคัญอีกด้วย
ภูมิศาสตร์
แก้แผนภูมิแสดงสภาพภูมิอากาศของ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
จังหวัดสุพรรณบุรี (วิธีอ่าน) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
ภูมิประเทศส่วนใหญ่ของสุพรรณบุรีเป็นที่ราบต่ำติดชายฝั่งแม่น้ำสุพรรณบุรี มีทิวเขาขนาดเล็กอยู่ทางเหนือและทางตะวันตกและทิศเหนือ มีอุทยานแห่งชาติพุเตย แหล่งนํ้าสำคัญคือเขื่อนกระเสียว ด้านตะวันออกเฉียงใต้เป็นที่ราบลุ่มของแม่น้ำสุพรรณบุรี (แม่น้ำท่าจีน) ใช้เป็นพื้นที่ปลูกข้าว
ข้อมูลภูมิอากาศของสุพรรณบุรี | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | 31.7 (89.1) |
33.9 (93) |
35.7 (96.3) |
36.9 (98.4) |
35.4 (95.7) |
34.2 (93.6) |
33.6 (92.5) |
33.3 (91.9) |
32.3 (90.1) |
31.5 (88.7) |
30.6 (87.1) |
30.3 (86.5) |
33.28 (91.91) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | 19.2 (66.6) |
21.7 (71.1) |
23.5 (74.3) |
25.1 (77.2) |
25.3 (77.5) |
25.0 (77) |
24.6 (76.3) |
24.6 (76.3) |
24.6 (76.3) |
24.4 (75.9) |
22.4 (72.3) |
19.4 (66.9) |
23.32 (73.97) |
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) | 6.7 (0.264) |
8.9 (0.35) |
18.0 (0.709) |
65.1 (2.563) |
143.4 (5.646) |
101.4 (3.992) |
113.9 (4.484) |
136.1 (5.358) |
275.5 (10.846) |
192.8 (7.591) |
39.8 (1.567) |
11.2 (0.441) |
1,112.8 (43.811) |
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย | 1 | 1 | 2 | 5 | 12 | 13 | 15 | 16 | 19 | 13 | 4 | 1 | 102 |
แหล่งที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา |
การเมืองการปกครอง
แก้หน่วยการปกครอง
แก้การปกครองแบ่งออกเป็น 10 อำเภอ 110 ตำบล 977 หมู่บ้าน โดยทั้ง 10 อำเภอมีดังนี้
ชั้น | หมายเลข | อำเภอ | ประชากร (พ.ศ. 2560) |
พื้นที่ (ตร.กม.) |
ความหนาแน่น (คน/ตร.กม.) |
รหัสไปรษณีย์ | ระยะทางจากตัวเมือง |
---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | 1 | อำเภอเมืองสุพรรณบุรี | 168,178 | 540.9 | 310.92 | 72000 | - |
1 | 2 | อำเภอเดิมบางนางบวช | 72,542 | 552.3 | 131.34 | 72120 | 51 |
2 | 3 | อำเภอด่านช้าง | 68,415 | 1,193.6 | 57.31 | 72180 | 74 |
2 | 4 | อำเภอบางปลาม้า | 77,966 | 481.3 | 161.99 | 72150 | 15 |
2 | 5 | อำเภอศรีประจันต์ | 62,895 | 181.0 | 347.48 | 72140 | 19 |
2 | 6 | อำเภอดอนเจดีย์ | 46,230 | 252.081 | 183.39 | 72170 | 33 |
1 | 7 | อำเภอสองพี่น้อง | 128,464 | 750.4 | 171.19 | 72110, 72190 | 38 |
2 | 8 | อำเภอสามชุก | 54,441 | 355.9 | 152.96 | 72130 | 36 |
1 | 9 | อำเภออู่ทอง | 123,510 | 630.29 | 195.95 | 72160, 72220 | 34 |
3 | 10 | อำเภอหนองหญ้าไซ | 49,362 | 420.2 | 117.47 | 72240 | 54 |
รวม | 852,003 | 5,358.008 | 159.01 |
จังหวัดสุพรรณบุรีมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรวม 127 แห่ง ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรี, เทศบาลเมือง 2 แห่ง ได้แก่ เทศบาลเมืองสุพรรณบุรี และเทศบาลเมืองสองพี่น้อง, เทศบาลตำบล 44 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 80 แห่ง[4]
|
|
|
รายชื่อผู้ว่าราชการจังหวัด
แก้
|
|
โครงสร้างพื้นฐาน
แก้การขนส่ง
แก้- ถนนที่สำคัญในสุพรรณบุรี
สำหรับถนนในหมายเลขที่ 1-10 เป็นถนนที่ใช้ชื่อตัวละครในวรรณคดีไทยเรื่องขุนช้างขุนแผน นิทานพื้นบ้านของจังหวัดสุพรรณบุรี ได้แก่
- ถนนพระพันวษา
- ถนนขุนไกร
- ถนนม้าสีหมอก และ ถนนหมื่นหาญ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3431)
- ถนนเณรแก้ว
- ถนนขุนแผน (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3017)
- ถนนนางพิม
- ถนนขุนช้าง (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3318)
- ถนนหลวงทรงพล
- ถนนพลายชุมพล
- ถนนขุนไกร
ส่วนถนนต่อไปนี้ เป็นถนนที่ตั้งชื่อขึ้นมาใหม่
- ถนนบางบัวทอง-ชัยนาท (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 340)
- ถนนมาลัยแมน (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 321)
- ถนนประชาธิปไตย
- ถนนวงแหวนรอบเมืองสุพรรณบุรี
- สะพานที่สำคัญ
- สะพานอาชาสีหมอก ๑
- สะพานอาชาสีหมอก ๒
- สะพานอาชาสีหมอก ๓
- สะพานวัดพระรูป
ทางรถไฟ
จังหวัดสุพรรณบุรีนั้นมีทางรถไฟผ่านโดยเป็นทางรถไฟที่แยกมาจากสถานีชุมทางหนองปลาดุก จังหวัดราชบุรี โดยเปิดเดินรถเมื่อ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2506 ปัจจุบันมีที่หยุดรถ/ป้ายหยุดรถ/สถานีในเขตจังหวัดสุพรรณบุรีดังนี้
1.ที่หยุดรถหนองวัลย์เปรียง
2.ที่หยุดรถศรีสำราญ
3.ที่หยุดรถดอนสงวน
4.ป้ายหยุดรถดอนทอง
5.ที่หยุดรถหนองผักชี
6.ที่หยุดรถบ้านมะขามล้ม
7.ที่หยุดรถสะแกย่างหมู
8.สถานีสุพรรณบุรี
9.ที่หยุดรถมาลัยแมน
โดยในปัจจุบันนั้นมีรถไฟให้บริการ 2 ขบวน คือขบวนรถชานเมืองที่ 355/356 โดยขบวน 355 ปลายทางสุพรรณบุรีวันอาทิตย์ ขบวน 356 ต้นทางสุพรรณบุรีวันจันทร์ ส่วนวันอื่นๆนั้นขบวนรถจะสิ้นสุดปลายทางแค่ชุมทางหนองปลาดุก
การศึกษา
แก้- โรงเรียน
- ระดับอุดมศึกษา
- มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์สุพรรณบุรีศรีสุวรรณภูมิ
- มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี
- มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ศูนย์ด่านช้าง สุพรรณบุรี
- มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ศูนย์การศึกษาอู่ทองทวาราวดี
- มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ศูนย์เดิมบางนางบาช สุพรรณบุรี
- มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี ศูนย์สุพรรณบุรี
- มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตสุพรรณบุรี
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ วิทยาเขตสุพรรณบุรี
- วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี
- วิทยาลัยสาธารณสุขสิรินธร สุพรรณบุรี
- วิทยาลัยนาฏศิลปสุพรรณบุรี
- วิทยาลัยช่างศิลปสุพรรณบุรี
- มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตสุพรรณบุรี
- ระดับอาชีวศึกษา
- วิทยาลัยเทคโนโลยีสหวิทย์บริหารธุรกิจ
- วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุพรรณบุรี
- วิทยาลัยสารพัดช่างบรรหาร-แจ่มใส
- วิทยาลัยเทคนิคสุพรรณบุรี
- วิทยาลัยการอาชีพสองพี่น้อง
- วิทยาลัยการอาชีพอู่ทอง
- วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุพรรณบุรี
สาธารณสุข
แก้- โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช
- โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ ๑๗
- โรงพยาบาลอู่ทอง
- โรงพยาบาลด่านช้าง
- โรงพยาบาลเดิมบางนางบวช
- โรงพยาบาลสามชุก
- โรงพยาบาลศรีประจันต์
- โรงพยาบาลดอนเจดีย์
- โรงพยาบาลบางปลาม้า
- โรงพยาบาลหนองหญ้าไซ
- โรงพยาบาลศุภมิตร
- โรงพยาบาลพรชัย
- โรงพยาบาลเทวพร
- โรงพยาบาลธนบุรี-อู่ทอง
- โรงพยาบาลสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (สถานีอนามัยดอนขุนราม)
บุคคลที่มีชื่อเสียง
แก้นักร้อง
แก้- เปาวลี พรพิมล
- ชินกฤช มะลิซ้อน
- แพรวา พัชรี
- ฮาย ชุติมา นักร้องลูกทุ่ง หมอลำ นักแสดง แชมป์ ศึกวันดวลเพลง 10 สมัย แชมป์ ศึกวันดวลเพลง เสาร์ ๕ ฤดูกาลที่ 1 แชมป์ ศึกวันดวลเพลง ซูเปอร์แชมป์
อ้างอิง
แก้- ↑ ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_64.pdf 2564. สืบค้น 6 มีนาคม 2565.
- ↑ 3.0 3.1 คณะกรรมการอำนวยการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี. (2542). "พระราชพงศาวดารเหนือ (เรื่องพระเจ้าอู่ทอง)," ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม ๑. จัดพิมพ์เป็นที่ระลึกเนื่องในมหามงคลสมัยฉลองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี พุทธศักราช ๒๕๓๙. กรุงเทพฯ: กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. หน้า 119.ISBN 974-419-215-1
- ↑ ข้อมูลจำนวน อปท. แยกรายจังหวัด กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
ดูเพิ่ม
แก้แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของจังหวัด เก็บถาวร 2005-05-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- เว็บไซต์ส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดสุพรรณบุรี เก็บถาวร 2008-05-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน