จังหวัดร้อยเอ็ด
บทความนี้ต้องการข้อความอธิบายความสำคัญที่กระชับ และสรุปเนื้อหาไว้ย่อหน้าแรกของบทความ |
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ร้อยเอ็ด (เดิมสะกดว่า ร้อยเอ็จ)[4] เป็นจังหวัดบริเวณลุ่มแม่น้ำชีในภาคอีสานตอนกลางของประเทศไทย
จังหวัดร้อยเอ็ด | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Changwat Roi Et |
จากซ้ายไปขวา บนลงล่าง:
| |
คำขวัญ: สิบเอ็ดประตูเมืองงาม เรืองนามพระสูงใหญ่ ผ้าไหมสาเกต บุญผะเหวดประเพณี มหาเจดีย์ชัยมงคล งามน่ายลบึงพลาญชัย เขตกว้างไกลทุ่งกุลา โลกลือชาข้าวหอมมะลิ[1] | |
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดร้อยเอ็ดเน้นสีแดง | |
ประเทศ | ไทย |
การปกครอง | |
• ผู้ว่าราชการ | ว่าง (ตั้งแต่ พ.ศ. 2567) |
พื้นที่[2] | |
• ทั้งหมด | 8,299.449 ตร.กม. (3,204.435 ตร.ไมล์) |
อันดับพื้นที่ | อันดับที่ 23 |
ประชากร (พ.ศ. 2566)[3] | |
• ทั้งหมด | 1,284,836 คน |
• อันดับ | อันดับที่ 15 |
• ความหนาแน่น | 154.80 คน/ตร.กม. (400.9 คน/ตร.ไมล์) |
• อันดับความหนาแน่น | อันดับที่ 25 |
รหัส ISO 3166 | TH-45 |
ชื่อไทยอื่น ๆ | สาเกตนคร |
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด | |
• ต้นไม้ | กระบก |
• ดอกไม้ | อินทนิลบก |
• สัตว์น้ำ | ปลาหลดจุด |
ศาลากลางจังหวัด | |
• ที่ตั้ง | ถนนเทวาภิบาล ตำบลในเมือง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด 45000 |
• โทรศัพท์ | 0 4351 9165 |
• โทรสาร | 0 4351 1353 |
เว็บไซต์ | http://www.roiet.go.th/ |
ประวัติ เคยเป็นเมืองที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยปรากฏชื่อในตำนานอุรังคธาตุว่า สาเกตนคร หรือ เมืองร้อยเอ็ดประตู อันเนื่องมาจากเป็นเมืองที่มีความเจริญรุ่งเรื่องโดยที่มีเมืองขึ้นจำนวนมาก การตั้งชื่อเมืองว่า "ร้อยเอ็ดประตู" นั้น น่าจะเป็นการตั้งชื่อเชิงอุปมาอุปไมยให้เป็นศิริมงคลและแสดงถึงความยิ่งใหญ่ของเมืองมากกว่าการที่เมืองจะมีประตูเมืองอยู่จริงถึงร้อยเอ็ดประตู ซึ่งการตั้งชื่อเพื่อแสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองผ่านการมีประตูเมืองจำนวนมากนั้น น่าจะได้รับอิทธิพลหรือแบบอย่างมาจากเมืองหรืออาณาจักรที่เคยรุ่งเรืองในสมัยโบราณอย่างทวารวดีซึ่งมีความหมายว่าเมืองที่มีประตูล้อมรอบเป็นกำแพง หรืออย่างเมืองหงสาวดีที่มีประตูเมืองรายล้อมกำแพงเมืองอยู่ยี่สิบประตู ซึ่งแต่ละประตูนั้นจะตั้งชื่อตามเมืองขึ้นของตน เช่น เชียงใหม่ อโยธยา จังหวัดนครราชสีมา เป็นต้น นอกจากนั้นการตั้งชื่อเมืองให้ดูยิ่งใหญ่เกินจริงเพื่อความเป็นสิริมงคลก็ถือเป็นธรรมดาของการตั้งชื่อเมืองหรืออาณาจักรในสมัยโบราณ
ส่วนข้อสันนิษฐานที่ว่าเมืองร้อยเอ็ดน่าจะมีเพียงสิบเอ็ดหัวเมือง อันเนื่องมาจากการเขียนจำนวนตามแบบภาษาลาวโบราณ โดยเลขสิบเอ็ดจะประกอบไปด้วยเลขสิบกับเลขหนึ่ง (10+1 =101) ทำให้เกิดการอ่านที่ผิดเพี้ยนเป็นคำว่าร้อยเอ็ดนั้น น่าจะเป็นสมมุติฐานที่คลาดเคลื่อน เพราะจากการตรวจสอบข้อความตัวอักษรธรรมในต้นฉบับใบลานเรื่องอุรังคธาตุไม่ปรากฏว่ามีจุดไหนที่เขียนชื่อเมืองร้อยเอ็ดเป็นตัวเลข แต่กลับมีการเขียนถึงเมืองร้อยเอ็ดเป็นตัวอักษรทุกจุด (มีทั้งหมด 59 จุด) และไม่มีข้อความตอนใดที่บรรยายแจกแจงรายชื่อหัวเมืองทั้ง 11 แห่ง (อ่านเพิ่มเติมที่ ร้อยเอ็ด คือ ร้อยเอ็ด มิใช่สิบเอ็ด หรือ 10 + 1 โดย สุวัฒน์ ลีขจร)[5]
ประกอบกับตามธรรมดาของการตั้งชื่อต่างๆไม่ว่าจะคนหรือเมืองนั้น จะต้องมีการออกเสียงก่อนถึงจะมีการเขียนเป็นตัวอักษรหรือตัวเลข ซึ่งหากชื่อเมืองแต่เดิมชื่อว่าเมืองสิบเอ็ดประตูแล้ว จึงมีการจารึกชื่อเป็นตัวเลขอย่าง 101 นั้น คำว่าสิบเอ็ดก็ไม่น่าจะออกเสียงเพี้ยนจนมาเป็นคำว่าร้อยเอ็ดอย่างในปัจจุบันได้ ดังนั้นชื่อเมืองร้อยเอ็ดหรือเมืองร้อยเอ็ดประตูจึงน่าจะเป็นชื่อเมืองที่มีมาอยู่แต่แรกเริ่มดังปรากฏในหลักฐานสำคัญ คือ ตำนานอุรังคธาตุฉบับกรมศิลป์ฯ
สรุปความหมาย ก็คือ มีคำ 2 คำที่ต้องทำความเข้าใจ คำแรก คือคำว่า ร้อยเอ็ด แปลว่าจำนวนที่มากมายจนนับไม่ถ้วน และ อีกคำหนึ่ง ก็คือ คำว่า เมืองร้อยเอ็ดประตู ซึ่งมีนักวิชาการ ได้ตีความว่าน่าจะหมายถึง ทวารวดี เพราะ ทวาร แปลว่า ช่อง, รู, ประตู วติ หรือ วดี แปลว่า เขต หรือ รั้ว ทวารดี จึงแปลว่า เมืองที่มีประตูเป็นรั้ว ซึ่งเปรียบเทียบแล้วน่าจะมีความหมายที่ใกล้เคียงกับคำว่าเมืองร้อยเอ็ดประตูที่สุด
ประวัติศาสตร์
แก้สมัยก่อนประวัติศาสตร์
แก้พบหลักฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์ทั่วไปในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด มีการขุดพบแหล่งโบราณคดีบ้านเมืองบัวซึ่งสันนิษฐานว่า ชุมชนโบราณสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่ค้นพบมีอายุประมาณ 1,800-2,500 ปีมาแล้ว และมักมีถิ่นฐานอยู่บริเวณลุ่มน้ำกับใกล้แหล่งเกลือสินเธาว์[ต้องการอ้างอิง][6][7] อิทธิพลของพุทธศาสนาภายใต้วัฒนธรรมทวารวดีได้เข้ามาเมื่อปลายพุทธศตวรรษที่ 12-15 มีหลักฐานสมัยทวารวดีที่สำคัญ เช่น คูเมืองร้อยเอ็ด เจดีย์เมืองหงส์ในเขตอำเภอจตุรพักตรพิมาน กลุ่มใบเสมาบริเวณหนองศิลาเลขในเขตอำเภอพนมไพร และพระพิมพ์ดินเผาปางนาคปรกที่เมืองไพรในเขตอำเภอเสลภูมิ
วัฒนธรรมจากอาณาจักรขอมได้แพร่เข้ามาในพุทธศตวรรษที่ 16 ปรากฏหลักฐานอยู่มาก เช่น สถาปัตยกรรมในรูปแบบของปราสาทหิน เช่น กู่กาสิงห์ในเขตอำเภอเกษตรวิสัย ปรางค์กู่ในเขตอำเภอธวัชบุรี กู่พระโกนาในเขตอำเภอสุวรรณภูมิ และประติมากรรมที่เป็นรูปเคารพทางศาสนาที่เป็นเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันที่ทำจากหินทรายและโลหะเป็นจำนวนมาก
สมัยทวารวดี
แก้การตั้งถิ่นฐานของชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ต่อเนื่องถึงสมัยทวารวดี เมืองที่สร้างขึ้นมีรูปร่างและที่ตั้งไม่แน่นอน แต่มีลักษณะที่สำคัญคือ มีคูน้ำและคันดิน ล้อมรอบชุมชน ร่องรอยที่ยังเห็นอยู่ของคูเมืองและคันดินได้แก่บริเวณด้านตะวันออกของวัดบูรพาภิราม ด้านใต้ของเมืองบริเวณโรงเรียนสตรีศึกษา นอกจากนี้ยังพบอยู่ในอำเภอต่าง ๆ ของร้อยเอ็ด ได้แก่ บ้านเมืองไพร (เขตอำเภอเสลภูมิ) บ้านเมืองหงส์ (เขตอำเภอจตุรพักตรพิมาน) บ้านสีแก้ว (เขตอำเภอเมืองร้อยเอ็ด) หนองศิลาเลข บ้านชะโด (เขตอำเภอพนมไพร) และบ้านดงสิงห์ (เขตอำเภอจังหาร)[ต้องการอ้างอิง]
สมัยลพบุรี
แก้พบโบราณสถานและโบราณวัตถุสมัยลพบุรีหรือละโว้ที่เป็นที่รู้จักดี ได้แก่ ปราสาทหินกู่กาสิงห์ในเขตอำเภอเกษตรวิสัย กู่พระโกนาในเขตอำเภอสุวรรณภูมิ ปรางค์กู่ในเขตอำเภอธวัชบุรี กู่โพนระฆัง กู่โพนวิท กู่บ้านเมืองบัวในเขตอำเภอเกษตรวิสัย กู่คันทนามในเขตอำเภอโพนทราย สำหรับโบราณวัตถุ ได้แก่ รูปเคารพและเครื่องมือเครื่องใช้ในศาสนา เช่นพระพุทธรูป เทวรูป ศิวลึงค์ ภาชนะดินเผา คันฉ่องสำริด กำไลสำริด เป็นต้น
สมัยอาณาจักรล้านช้าง
แก้ได้ปรากฏชื่อเมืองร้อยเอ็ดในเอกสารของลาวว่า พระเจ้าฟ้างุ้มเมื่อดำรงตำแหน่งเป็นบุตรเขยเมืองขอม ได้นำไพร่พลมารวมกำลังกันอยู่ที่เมืองร้อยเอ็ด ก่อนยกกำลังไปยึดเมืองเชียงทอง (หลวงพระบาง) ได้สำเร็จแล้วจึงได้สถาปนาอาณาจักรล้านช้าง
หลักฐานเกี่ยวกับเมืองร้อยเอ็ดขาดหายไปประมาณ 400 ปี จนถึงประมาณปี พ.ศ. 2231 เมืองเวียงจันทน์เกิดความไม่สงบ พระครูโพนสะเม็ดพร้อมผู้คนประมาณ 3,000 คนได้เชิญเจ้าหน่อกษัตริย์อพยพลงมาตามแม่น้ำโขง แล้วมาตั้งมั่นอยู่ที่บริเวณเมืองจำปาศักดิ์ ผู้ปกครองเมืองจำปาศักดิ์มีความเลื่อมใสศรัทธาในพระครูโพนสะเม็ด จึงได้นิมนต์ให้ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาและปกครองเมืองจำปาศักดิ์ ต่อมาเจ้าหน่อกษัตริย์ได้รับสถาปนาขึ้นเป็นกษัตริย์พระนามว่า เจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร ได้ขยายอิทธิพลไปในดินแดนต่าง ๆ เหนือสองฝั่งแม่น้ำโขง ได้ตั้งเมืองใหม่ขึ้นหลายแห่งและส่งบริวารไปปกครอง เช่น เมืองเชียงแตง เมืองสีทันดร เมืองรัตนบุรี เมืองคำทอง เมืองสาละวัน และเมืองอัตตะปือ เป็นต้น
ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2256 เจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูรได้มอบหมายให้เจ้าจารย์แก้วหรือเจ้าแก้วมงคล เจ้านายผู้มีเชื้อสายแห่งราชวงศ์ลาวล้านช้าง[8][9] ควบคุมไพร่พลประมาณ 3,000 คน มาสร้างเมืองขึ้นใหม่ในดินแดนภาคอีสานตอนกลาง เป็นเมืองหน้าด่านสำคัญของอาณาจักรล้านช้างจำปาสัก เรียกว่า เมืองท่งศรีภูมิ ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอสุวรรณภูมิ ตั้งอยู่ในบริเวณลุ่มน้ำเสียว โดยมีแม่น้ำชีเป็นเขตแดนด้านตะวันออก (เขตนครหลวงจำปาสัก) และแม่น้ำมูลเป็นเขตแดนด้านทิศใต้ กั้นระหว่างเขตเมืองนครราชสีมา (เมืองในเขตอาณาจักรอยุธยา) (ปัจจุบันพื้นที่แม่น้ำชีตกแม่น้ำมูลซึ่งเป็นปลายอาณาเขตของเมืองท่งที่อยู่ทางทิศตะวันออกและทิศใต้สุด ปัจจุบันอยู่ในพื้นที่รอยต่อระหว่าง อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ อำเภอวารินชำราบ และอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี) ด้านทิศเหนือชนแดนเขตอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ บริเวณเมืองผาขาว (บ้านผ้าขาว ตำบลม่วงไข่ อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร) เมืองพันนา (บ้านพันนา ตำบลพันนา อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร) สนามหมากหญ้า (เขตรอยต่อ จังหวัดอุดรธานี จังหวัดหนองบัวลำภู และจังหวัดขอนแก่นในปัจจุบัน) ภูเม็ง (เขตอำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น) ฝายพญานาค (รอยต่ออำเภอหนองเรือ และอำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่นในปัจจุบัน) หรือกล่าวโดยสรุปคือ เมืองท่งศรีภูมิเคยมีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาลมากโดยครอบคลุมพื้นที่กลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธ์ุ แทบจะทั้งหมด และบางส่วนของจังหวัดบุรีรัมย์ ศรีสะเกษ สุรินทร์ ยโสธร อุบลราชธานี ชัยภูมิ อุดรธานี โดยมีพื้นที่ทั้งหมดโดยประมาณ 31,000 ตารางกิโลเมตร[10] อนึ่งเจ้าแก้วมงคลยังเป็นปฐมบรรพบุรุษของเจ้าเมืองทั่วภาคอีสานที่ส่งลูกหลานไปปกครองหัวเมืองอีสานกว่า 20 หัวเมือง ภาคเหนือ 1 หัวเมือง และสปป.ลาว 1 หัวเมือง ได้แก่ เมืองสุวรรณภูมิราชบุรียประเทศราช (เมืองสุวรรณภูมิ) เมืองร้อยเอ็ด เมืองชลบทวิบูลย์ เมืองขอนแก่น เมืองเพี้ย เมืองรัตนนคร เมืองมหาสารคาม เมืองศีร์ษะเกษ เมืองโกสุมพิสัย เมืองกันทรวิชัย (เมืองโคกพระ) เมืองวาปีปทุม เมืองหนองหาน (เมืองหนองหานน้อย) เมืองโพนพิสัย เมืองพุทไธสง (เมืองผไทสมัน) เมืองบุรีรัมย์ (เมืองแปะ) เมืองเกษตรวิสัย เมืองพนมไพรแดนมฤค เมืองธวัชบุรี เมืองพยัคฆภูมิพิสัย (เมืองเสือ) เมืองจตุรพักตรพิมาน (เมืองหงษ์) เมืองขามเฒ่า เมืองเปือยใหญ่ (บ้านค้อ) เมืองนันทบุรี (เมืองน่าน) เมืองรัตนบุรี (เมืองศรีนครเตา) เมืองเดชอุดม เมืองราษีไศล (เมืองคง) เมืองรัตนวาปี เมืองสนม และเมืองประชุมพนาลัย (เมืองปากซัน แขวงบอลิคำไซ สปป.ลาว)
เจ้าแก้วมงคลปกครองเมืองท่งอยู่ได้นาน 12 ปีก็ถึงแก่พิราลัย ในปีพ.ศ. 2268 เจ้าแก้วมงคลมีโอรสสองคน อันเกิดจากพระชายาคนที่ 2 ที่อพยพติดตามกันมาด้วย ได้แก่ เจ้ามืดคำดลและเจ้าสุทนต์มณี พระเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูรจึงทรงแต่งตั้งเจ้ามืดผู้พี่เป็นเจ้าเมืองท่ง ท่านที่ 2 และเจ้าทนเป็นอุปราช เมื่อเจ้ามืดถึงแก่พิราลัย ในปีพ.ศ. 2306 เจ้าทนจึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองท่งแทนพี่ชาย เจ้ามืดมีโอรส 3 คน คือ เจ้าเชียง เจ้าสูน และเจ้าอุ่น (ภายหลังถูกส่งไปทำราชการและไปเป็นกรมการเมืองที่เมืองขุขันธ์) ต่อมาในปีพ.ศ. 2308 เจ้าเชียง เจ้าสูน ทั้งสองคนไม่พอใจที่ไม่ได้เป็นเจ้าเมืองสืบแทนบิดา จึงได้คบคิดกับกรมการเมืองที่เป็นสมัครพรรคพวกของตน เพื่อนำความขึ้นกราบบังคมทูลขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารสมเด็จพระบรมราชาที่ 3 (พระที่นั่งสุริยามรินทร์หรือเจ้าฟ้าเอกทัศน์ กรมขุนอนุรักษ์มนตรี) แห่งกรุงศรีอยุธยาและได้นำทองคำแท่งจำนวนมากไปถวายในคราวเข้าเฝ้า พร้อมกับทูลขอกองทัพจากกรุงศรีอยุธยาไปช่วยรบกับเจ้าทน สมเด็จพระบรมราชาที่ 3 โปรดเกล้าฯ ให้พระยาพรหมกับพระยากรมท่าเป็นแม่ทัพเดินทางมาพร้อมกับเจ้าเชียงและเจ้าสูน เมื่อเดินทางใกล้ถึงเมืองท่ง เจ้าทนทราบข่าว จึงพาครอบครัวและไพร่พลอพยพไปอยู่ ณ บ้านกุดจอก (ในพื้นที่อำเภออาจสามารถ) เมื่อพระยาพรหมและพระยากรมท่าเข้าเมืองแล้ว ได้ติดตามไปนำตัวเจ้าทนมาว่ากล่าวตักเตือนให้คืนดีกันกับเจ้าเชียงและเจ้าสูนผู้เป็นหลาน เจ้าเชียงกับเจ้าสูนก็ได้ครองเมืองท่งและเมืองท่งจึงขาดจากการปกครองของนครจำปาศักดิ์ มาขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยาตั้งแต่บัดนั้น
สมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์
แก้ปี พ.ศ. 2318 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้โปรดเกล้าฯ ให้พระยากรมท่าและพระยาพรหมเดินทางมาดูแลหัวเมืองในภาคอีสาน ท้าวทนจึงได้เข้ามาขออ่อนน้อม พระยาทั้งสองจึงมีใบบอกไปยังกรุงธนบุรีขอตั้งท้าวทน (ต้นตระกูล ณ ร้อยเอ็จ) เป็นเจ้าเมือง โดยยกบ้านกุ่มฮ้างขึ้นเป็น เมืองร้อยเอ็ด ตามนามเดิม แยกอาณาเขตออกจากเมืองสุวรรณภูมิ ท้าวทนได้รับแต่งตั้งเป็นพระขัติยะวงษา นับว่าเป็นเจ้าเมืองร้อยเอ็ดคนแรก ส่วนเมืองท่งศรีภูมินั้นบรรดากรมการเมืองเห็นว่าเป็นชัยภูมิที่ไม่เหมาะสม จึงได้ย้ายไปตั้งบริเวณดงท้าวสาร และให้ชื่อว่า เมืองสุวรรณภูมิ ในปีพ.ศ. 2315 (ซึ่งต่อมา ในสมัย ร.1 เปลี่ยนชื่อเป็น เมืองสุวรรณภูมิราชบุรินทร์หรือเมืองสุวรรณภูมิราชบุรียประเทศราช) นับแต่นั้นมาทั้งเมืองร้อยเอ็ดและเมืองสุวรรณภูมิต่างมีฐานะเป็นเมืองประเทศราชขึ้นตรงต่อกรุงธนบุรีเช่นเดียวกัน (กรณีเมืองสุวรรณภูมิราชบุรินทร์การแต่งตั้งเจ้าเมืองจะถูกจารึกด้วยพระสุพรรณบัฏ)[11][12] โดยเมืองร้อยเอ็ดกับเมืองสุวรรณภูมิได้มีการปักปันเขตแดนกันทั้งหมด ดังนี้ ตั้งแต่ปากน้ำลำพาชี (น้ำชี) ตกลำน้ำมูลขึ้นมาตามลำน้ำพาชี ถึงปากห้วยดางเดียวขึ้นไปทุ่งลาดไถ ไปบ้านดงขี้เหล็ก บ้านแก่งทรายหินตั้งแต่ถ้ำเต่า เหวฮวด ดงสวนอ้อย บึงกุย ศาลาอีเก้ง ภูเม็ง หนองม่วงคลุ้ม กุ่มปัก ศาลาหักมูลเค็ง ประจบปากน้ำลำพาชีตกลำน้ำมูลเป็นเขตเมืองสุวรรณภูมิ (มีพื้นที่โดยประมาณ 16,500 ตารางกิโลเมตร)[10] ตั้งแต่ลำน้ำยัง ตกลำน้ำพาชีขึ้นไปภูดอกซ้อน หินทอดยอดยัง ดู่สามต้น อ้นสามขวาย สนามหมากหญ้า ผาขาวพันนา ฝายพญานาค ภูเม็ง มาประจบหนองแก้ว ศาลาอีเก้งมาบึงกุยเป็นอาณาเขตเมืองร้อยเอ็ด (มีพื้นที่โดยประมาณ 14,500 ตารางกิโลเมตร)[10]
พ.ศ. 2321 เจ้าโสมพมิตร นำไพร่พลอพยพข้ามภูพานจากบ้านพรรณา (ปัจจุบันอยู่ในเขตจังหวัดสกลนคร) เข้ามาตั้งถิ่นฐานในอาณาเขตของเมืองร้อยเอ็ด (พื้นที่จังหวัดกาฬสินธ์ุในปัจจุบัน) ตั้งเป็นบ้านแก่งสำโรงซึ่งขณะนั้นยังคงเป็นเขตแดนของเมืองร้อยเอ็ด
พ.ศ. 2325 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีแห่งใหม่ ทำให้เมืองร้อยเอ็ดและบรรดาหัวเมืองอีสานล้วนต้องขึ้นตรงต่อกรุงรัตนโกสินทร์ ส่วนเมืองร้อยเอ็ดก็ได้มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องจนมีฐานะทางการเมืองและความสำคัญเหนือเมืองสุวรรณภูมิในเวลาต่อมา
พ.ศ. 2326 พระขัติยะวงษา (ท้าวทน) ถึงแก่กรรม ท้าวสีลังบุตรคนโตได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระขัติยะวงษา เจ้าเมืองร้อยเอ็ดสืบแทน
ต่อมาในปีพ.ศ. 2336 พระขัติยะวงษา (สีลัง ธนสีลังกูร) ได้ให้การช่วยเหลือแเก่เจ้าโสมพมิตรโดยการนำพาเข้าเฝ้าฯ ถวายสวามิภักดิ์ ต่อ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช หรือ รัชกาลที่ 1 บ้านแก่งสำโรงจึงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นเมืองกาฬสินธุ์[13] ส่งผลให้เมืองร้อยเอ็ดยกเขตแดนทางทิศเหนือ (บริเวณ ลำน้ำยังตกลำน้ำพาชี ภูดอกซ้อน หินทอดยอดยัง ดู่สามต้น อ้นสามขวาย) ให้แก่เมืองกาฬสินธ์ุ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
พ.ศ. 2340 เพี้ยเมืองแพนกรมการเมืองสุวรรณภูมิ นำไพร่พลขอแยกตัวออกจากเมืองสุวรรณภูมิ ไปตั้งเมืองขึ้นใหม่ ขึ้นเป็นเมืองขอนแก่น ซึ่งตั้งเมืองในเขตแดนของเมืองร้อยเอ็ด ส่งผลให้เมืองร้อยเอ็ดยกเขตแดนทางฟากตะวันตก (บริเวณ สนามหมากหญ้า ฝายพญานาค กู่แก้ว ภูเม็งประจบหนองแก้ว) ให้กับเมืองขอนแก่นตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
ต่อมาในปี พ.ศ. 2369 เกิดกบฏเจ้าอนุวงศ์ เมื่อกองทัพกบฏถูกตีแตกถอยร่นกลับมา กำลังทหารจากเมืองร้อยเอ็ดได้เข้าโจมตีซ้ำเติมจนพวกกบฏแตกพ่าย พระขัติยะวงษา (สีลัง) มีความดีความชอบได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระยาขัติยะวงษา
ในปี พ.ศ. 2408 รัชกาลที่4 โปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านลาดกุดยางใหญ่ ในแขวงเมืองร้อยเอ็ด ขึ้นเป็น เมืองมหาสารคาม ขึ้นกับเมืองร้อยเอ็ด ให้ท้าว มหาไชย (กวด) บุตรอุปฮาด (สิงห์) แห่งเมืองร้อยเอ็ด เป็น “พระเจริญราชเดช” เจ้าเมืองมหาสารคามท่านแรก
พ.ศ. 2412 แยกเมืองมหาสารคามให้ไปขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร
ในปี พ.ศ. 2418 เกิดสงครามปราบฮ่อที่เวียงจันทน์และหนองคาย เจ้าเมืองอุบลได้รับมอบหมายให้เป็นหัวหน้ายกกำลังไปปราบ โดยเกณฑ์กำลังพลจากหัวเมืองตะวันออกเฉียงเหนือไปช่วยปราบกบฏ เมื่อกองทัพยกมาถึงเมืองร้อยเอ็ด พระขัติยะวงษา (สาร) และราชวงศ์ (เสือ) ได้สมทบกำลังไปปราบฮ่อด้วย เมื่อเสร็จศึก ราชวงศ์ (เสือ) ได้รับแต่งตั้งเป็นพระขัติยะวงษา
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปฏิรูปการปกครองในระบบมณฑลเทศาภิบาล จึงให้รวมหัวเมืองอีสานเข้าด้วยกัน แล้วแบ่งออกเป็น 4 กองใหญ่ แต่ละกองมีข้าหลวงกำกับการปกครองกองละ 1 คน และมีข้าหลวงใหญ่กำกับราชการอีกชั้นหนึ่งอยู่ที่เมืองจำปาศักดิ์ กองใหญ่ทั้ง 4 กอง ได้แก่ หัวเมืองลาวฝ่ายตะวันออก หัวเมืองลาวฝ่ายตะวันออกเฉียงเหนือ หัวเมืองลาวฝ่ายเหนือ และหัวเมืองลาวฝ่ายกลาง เมืองร้อยเอ็ดเป็นหัวเมืองเอกในจำนวน 12 เมืองของหัวเมืองลาวฝ่ายตะวันออกเฉียงเหนือ มีศูนย์การบริหารหัวเมืองอยู่ที่เมืองอุบลราชธานี ในปี พ.ศ. 2437 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ ให้ตราระบบการปกครองเทศาภิบาลขึ้นใช้ปกครองส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ หัวเมืองลาวกาวจึงเปลี่ยนฐานะเป็นมณฑลลาวกาว ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นมณฑลตะวันออกเฉียงเหนือ และมณฑลอีสานตามลำดับ
ในปี พ.ศ. 2443 เมืองร้อยเอ็ดได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นบริเวณร้อยเอ็ด โดยแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 5 เมือง คือเมืองร้อยเอ็ด เมืองสุวรรณภูมิ เมืองมหาสารคาม เมืองกมลาไสย และเมืองกาฬสินธุ์
ในปี พ.ศ. 2451 มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองเป็นแบบเทศาภิบาล มีการยุบเมืองต่างๆเป็น จังหวัด อำเภอ ตำบล และในปีเดียวกัน มีการยุบเมืองกาฬสินธุ์ เป็น อำเภออุทัยกาฬสินธุ์ ยุบเมืองกมลาไสย เป็น อำเภอกมลาไสย และเมืองสุวรรณภูมิ เป็น อำเภอสุวรรณภูมิ พร้อมด้วยเมืองขึ้นทั้งหมดของทั้ง 3 เมือง ให้ยุบเป็นอำเภอ อันได้แก่ อำเภอพนมไพร,อำเภอเกษตรวิสัย,อำเภอจตุรพักตรพิมาน,อำเภออาจสามารถ,อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย,อำเภอเสลภูมิ,อำเภอท่าขอนยาง,อำเภอกันทรวิชัย,อำเภอภูแล่นช้าง,อำเภอสหัสขันธุ์ และ อำเภอกุฉินารายณ์ ให้มาขึ้นกับจังหวัดร้อยเอ็ด
ในปี พ.ศ. 2456 สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ทรงเห็นด้วยกับข้อเสนอของเทศาภิบาลข้าหลวงมณฑลอีสานว่า ควรแยกมณฑลอีสานออกเป็น 2 มณฑล คือ มณฑลอุบลราชธานีและมณฑลร้อยเอ็ด พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้โปรดเกล้าฯ ให้เป็นไปตามที่เสนอ ส่งผลให้จังหวัดร้อยเอ็ดได้รับการถูกยกฐานะขึ้นเป็นมณฑล พร้อมกันนั้นได้มีการแยกอำเภออุทัยกาฬสินธุ์,อำเภอกมลาไสย,อำเภอหัสขันธ์,อำเภอกุฉินารายณ์,อำเภอภูแล่นช้าง ของจังหวัดร้อยเอ็ด ยกฐานะขึ้นเป็นจังหวัดกาฬสินธุ์ มีการโอนอำเภอท่าขอนยาง,อำเภอกันทรวิชัยและอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย ของจังหวัดร้อยเอ็ด ให้ไปขึ้นกับจังหวัดมหาสารคาม โดย มณฑลร้อยเอ็ดมีเขตปกครอง 3 จังหวัดคือ จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดมหาสารคาม และจังหวัดกาฬสินธุ์
พ.ศ. 2465 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ ให้รวมมณฑลร้อยเอ็ด มณฑลอุบล และมณฑลอุดร เป็นภาคเรียกว่า ภาคอีสาน มีอุปราชประจำภาคอยู่ที่เมืองอุดรธานี ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2468 ได้โปรดเกล้าฯ ให้ยกเลิกภาคอีสาน แล้วปรับเปลี่ยนเป็นการปกครองระบบมณฑลตามเดิม ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2469 ได้โปรดเกล้าฯ ให้ยุบมณฑลร้อยเอ็ด และ มณฑลอุบล แล้วให้เปลี่ยนชื่อเป็นจังหวัด ขึ้นต่อมณฑลนครราชสีมา
ในปี พ.ศ. 2445 ได้เกิดกบฏผีบุญขึ้นในจังหวัดร้อยเอ็ดอันมีสาเหตุมาจากการยกเลิกการปกครองแบบดั้งเดิม โดยยกเลิกตำแหน่งเจ้าเมือง แล้วแต่งตั้งข้าราชการจากส่วนกลางไปปกครอง ทำให้เกิดการต่อต้านจากกลุ่มเจ้าเมืองเดิมและทายาท กบฏผีบุญเกิดขึ้นจากการมีผู้อ้างตัวเป็นผู้วิเศษตามท้องถิ่นต่าง ๆ ในภาคอีสาน ในที่สุดก็ถูกทางราชการปราบได้ราบคาบ
ในปี พ.ศ. 2469 อำมาตย์เอก พระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์ (ทอง จันทรางศุ) ข้าหลวงจังหวัดร้อยเอ็ด เห็นว่า บึงพลาญชัย (เดิมใช้ว่าบึงพระลานชัย) ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางเมืองร้อยเอ็ดตื้นเขิน ถ้าปล่อยทิ้งไว้บึงก็จะหมดสภาพไป จึงได้ชักชวนชาวบ้านจากทุกอำเภอมาขุดลอกบึงเพื่อให้มีน้ำขังอยู่ได้ตลอดปี ได้ดำเนินการขุดลอกบึงทั้งกลางวันและกลางคืนอยู่ 2 ปี มีชาวบ้านมาร่วมขุดลอกบึงถึง 40,000 คน นับว่าเป็นผลงานที่ยิ่งใหญ่แห่งหนึ่งของไทยที่ควรจารึกไว้เป็นตัวอย่างที่ดีแก่ลูกหลานไทยต่อไปชั่วกาลนาน ต่อมาก็ได้มีการพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่องจนเป็นมรดกที่สำคัญของจังหวัดร้อยเอ็ดมาตราบเท่าทุกวันนี้
ทำเนียบเจ้าเมืองและผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด
แก้ชื่อ | วาระการดำรงตำแหน่ง |
---|---|
เจ้าเมือง ผู้ว่าราชการเมือง และ ข้าหลวงบริเวณร้อยเอ็ด | |
1. พระขัติยะวงษา (ธน ธนสีลังกูร) | พ.ศ. 2318–2326 |
2. พระยาขัติยวงษาพิสุทธิบดี (สีลัง ธนสีลังกูร) | พ.ศ. 2326–2389 |
3. พระขัติยะวงษา (อินทร์ ธนสีลังกูร) | พ.ศ. 2389–2392 |
4. พระขัติยะวงษา (จันทร์ ธนสีลังกูร) | พ.ศ. 2392–2408 |
5. พระขัติยะวงษา (สาร ธนสีลังกูร) | พ.ศ. 2408–2419 |
6. พระขัติยะวงษา (เสือ ธนสีลังกูร) | พ.ศ. 2420–2425 |
7. พระขัติยะวงษา (เภา ธนสีลังกูร) | พ.ศ. 2429–2434 |
8. นายพันโท พระยาพินิจสารา (ทับทิม บุณยรัตพันธุ์) | พ.ศ. 2443–2446 |
9. พระยาขัติยะวงษาเอกธิกะสตานันท์ (เหลา ณ ร้อยเอ็ด) | พ.ศ. 2448–2451 |
ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด | |
1. พระยาสุริยเดชวิเศษฤทธิ์ทศทิศวิชัย (จาบ สุวรรณทัต) | พ.ศ. 2451–2464 |
2. พระยาแก้วโกรพ (ทองสุก ผลพันธ์ทิน) | พ.ศ. 2464–2469 |
3. พระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์ (ทอง จันทรางศุ) | พ.ศ. 2469–2471 |
4. พระนรินทร์ภักดี (สุข ทังศุภูดิ) | พ.ศ. 2471–2472 |
5. พระวิจารณ์ภักดี (เอียน โอวาทสาร) | พ.ศ. 2472–2476 |
6. พระชาติตระการ (หม่อมราชวงศ์จิตร คเนจร) | พ.ศ. 2476–2478 |
7. หลวงพำนักนิกรชน (อุ่น สมิตตามร) | พ.ศ. 2478–2480 |
8. พันเอก พระศรีราชสงคราม (ศรี ศุขะวาที) | พ.ศ. 2480–2481 |
9. พระบริบูรณ์วุฒิราษฎร์ (ชุบ ศรลัมภ์) | พ.ศ. 2481–2486 |
10. พระบรรณศาสน์สาทร (สง่า คุปตารักษ์) | พ.ศ. 2487–2490 |
11. หลวงเดิมบางบริบาล (ไชยศรี กุณฑลบุตร) | พ.ศ. 2490–2490 |
12. นายยุทธ จรัณยานนท์ | พ.ศ. 2490–2494 |
13. นายสง่า ศุขรัตน์ | พ.ศ. 2494–2495 |
14. นายสวัสดิ์ พิบูลย์นครินทร์ | พ.ศ. 2495–2496 |
15. ขุนบำรุงรัตนบุรี (กุหลาบ จูฑะพุทธิ) | พ.ศ. 2496–2496 |
16. นายสนิท วิไลจิตต์ | พ.ศ. 2496–2497 |
17. ขุนอักษรสารสิทธิ์ (พินิต อักษรสารสิทธิ์) | พ.ศ. 2497–2500 |
18. นายกิตติ โยธการี | พ.ศ. 2500–2501 |
19. นายสมบัติ สมบัติทวี | พ.ศ. 2501–2502 |
20. นายสมาส อมาตยกุล | พ.ศ. 2502–2507 |
21. นายวิญญู อังคณารักษ์ | พ.ศ. 2507–2509 |
22. ร้อยตำรวจตรี ชั้น สุวรรณทรรภ | พ.ศ. 2509–2512 |
23. นายประจักษ์ วัชรปาน | พ.ศ. 2512–2514 |
24. นายประมูล ศรัทธาทิพย์ | พ.ศ. 2514–2516 |
25. พลตรี ชาย อุบลเดชประชารักษ์ | พ.ศ. 2516–2516 |
26. นายประมวล รังสีคุต | พ.ศ. 2516–2517 |
27. นายประมูล จันทรจำนง | พ.ศ. 2517–2520 |
28. นายเดชชาติ วงศ์โกมลเชษฐ์ | พ.ศ. 2520–2520 |
29. นายศักดา อ้อพงษ์ | พ.ศ. 2520–2522 |
30. นายปราโมทย์ หงสกุล | พ.ศ. 2522–2524 |
31. นายธวัชชัย สมสมาน | พ.ศ. 2524–2526 |
32. นายปรีชา คชพลายุกต์ | พ.ศ. 2526–2528 |
33. นายปราโมทย์ แก้วพรรณา | พ.ศ. 2528–2531 |
34. นายปรีชา พงศ์อิศวรานนท์ | พ.ศ. 2531–2532 |
35. นายดำรง รัตนพานิช | พ.ศ. 2532–2533 |
36. นายสุพร สุภสร | พ.ศ. 2533–2534 |
37. นายฮึกหาญ โตมรศักดิ์ | พ.ศ. 2534–2537 |
38. นายมานิต ศิลปอาชา | พ.ศ. 2537–2538 |
39. นายวีระ เสรีรัตน์ | พ.ศ. 2538–2541 |
40. นายอัครพงศ์ พยัคฆันตร | พ.ศ. 2541–2543 |
41. นายประสงค์ศักดิ์ บุญเดช | พ.ศ. 2543–2544 |
42. นายกวี มินวงษ์ | พ.ศ. 2544–2546 |
43. นายนพพร จันทรถง | พ.ศ. 2546–2549 |
44. นายพินิจ พิชยกัลป์ | พ.ศ. 2549–2551 |
45. นายพงษ์ศิริ กุสุมภ์ | พ.ศ. 2551–2552 |
46. นายชิดพงษ์ ฤทธิประศาสน์ | พ.ศ. 2552–2552 |
47. นายธวัชชัย ฟักอังกูร | พ.ศ. 2552–2553 |
48. นายสมศักดิ์ ขำทวีพรหม | พ.ศ. 2553–2555 |
49. นายวันชาติ วงษ์ชัยชนะ | พ.ศ. 2555–2555 |
50. นายสมศักดิ์ ขำทวีพรหม | พ.ศ. 2555–2557 |
51. นายสมศักดิ์ จังตระกุล | พ.ศ. 2557–2558 |
52. นายอนุสรณ์ แก้วกังวาล | พ.ศ. 2558–2559 |
53. นายสฤษดิ์ วิฑูรย์ | พ.ศ. 2559–2560 |
54. นายวันชัย คงเกษม | พ.ศ. 2560–2563 |
55. นายชยันต์ ศิริมาศ | พ.ศ. 2563–2564 |
56. นายภูสิต สมจิตต์ | พ.ศ. 2564–2565 |
57. นายทรงพล ใจกริ่ม | พ.ศ. 2565–2567 |
ภูมิศาสตร์
แก้ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้จังหวัดร้อยเอ็ดตั้งอยู่ตอนกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างละติจูดที่ 15 องศา 24 ลิปดาเหนือ ถึง 16 องศา 19 ลิปดาเหนือ และลองจิจูดที่ 103 องศา 16 ลิปดาตะวันออก ถึง 104 องศา 21 ลิปดาตะวันออก อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร โดยทางรถยนต์ประมาณ 512 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งสิ้น 8,299.46 ตารางกิโลเมตร หรือ 5,187,156 ไร่ มีเขตแดนติดต่อกับจังหวัดอื่นดังนี้
- ทิศเหนือติดต่อกับจังหวัดกาฬสินธุ์และจังหวัดมุกดาหาร
- ทิศตะวันออกติดต่อกับจังหวัดยโสธร
- ทิศใต้ติดต่อกับจังหวัดมหาสารคามและจังหวัดสุรินทร์
- ทิศตะวันตกติดต่อกับจังหวัดสุรินทร์และจังหวัดศรีสะเกษ
ลักษณะภูมิประเทศ
แก้จังหวัดร้อยเอ็ด ตั้งอยู่บริเวณตอนกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นที่ราบสูง สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 120-160 เมตร มีภูเขาทางตอนเหนือซึ่งติดต่อจากเทือกเขาภูพาน บริเวณตอนกลางของจังหวัด มีลักษณะเป็นที่ราบลูกคลื่น บริเวณตอนล่างมีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำมูลและสาขา ได้แก่ ลำน้ำชี ลำน้ำพลับพลา ลำน้ำเตา เป็นต้น บริเวณที่ราบต่ำอันกว้างขวาง เรียกว่า ทุ่งกุลาร้องไห้ มีพื้นที่ประมาณ 80,000 ไร่ มีลักษณะเป็นที่ราบแอ่งกระทะ
ลักษณะภูมิอากาศ
แก้จังหวัดร้อยเอ็ดได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ สภาพภูมิอากาศอยู่ในประเภทฝนเมืองร้อน ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,196.8 ลูกบาศก์มิลลิเมตร ฝนตกชุกในเดือนมิถุนายนถึงตุลาคม อากาศร้อนแห้งแล้งในเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม[14]
การคมนาคม
แก้- ทางรถยนต์: ห่างจากกรุงเทพมหานคร ระยะทางประมาณ 520 กม. เส้นทางที่สะดวกคือใช้เส้นทางถนนพหลโยธินเข้าสู่สระบุรี และเลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนมิตรภาพ ผ่านจังหวัดนครราชสีมา อำเภอพล อำเภอบ้านไผ่ แล้วเลี้ยวขวาเข้าสู่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 23 ถนนแจ้งสนิท ผ่านจังหวัดมหาสารคาม แล้วเข้าสู่จังหวัดร้อยเอ็ด
- ทางรถโดยสารประจำทาง:โดยที่สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดร้อยเอ็ด
- และยังมีหลายบริษัทที่เปิดให้บริการ โดยผ่านจังหวัดร้อยเอ็ด หลายบริษัท
- ในอำเภอต่าง ๆ มีรถประจำทางบริการ ได้แก่ อำเภอจังหาร อำเภอโพนทอง อำเภอหนองพอก อำเภอเสลภูมิ อำเภอเกษตรวิสัย อำเภอสุวรรณภูมิ อำเภอพนมไพร อำเภอปทุมรัตต์ อำเภอศรีสมเด็จ อำเภอโพนทราย เป็นต้น
- นอกจากนี้ยังมีรถโดยสารประจำทางไปในจังหวัดต่างๆด้วย เช่น จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดอุดรธานี จังหวัดขอนแก่น จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นต้น
- ทางรถไฟ: จังหวัดร้อยเอ็ดนั้น ปัจจุบันยังไม่มีทางรถไฟตัดผ่าน อย่างไรก็ตามสามารถใช้บริการได้ที่สถานีรถไฟขอนแก่น ในอำเภอเมืองขอนแก่น ดังนี้
- สถานีรถไฟขอนแก่น จากนั้นเดินทางต่อด้วยรถยนต์มาจังหวัดร้อยเอ็ด (อำเภอเมืองร้อยเอ็ด)
- สำหรับในอนาคต มีโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายบ้านไผ่–ร้อยเอ็ด–มุกดาหาร–นครพนม และขณะนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้าง
- ทางเครื่องบิน: ท่าอากาศยานร้อยเอ็ด หรือ สนามบินร้อยเอ็ด (Roi Et Airport ; รหัสสนามบิน : ROI) ตั้งอยู่เลขที่ 135 ถนนร้อยเอ็ด-โพนทอง (ทางหลวงหมายเลข 2044) ตำบลมะอึ และตำบลหนองพอก อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด ห่างจากตัวเมืองประมาณ 11 กิโลเมตร เป็นท่าอากาศยานในสังกัดกรมการบินพลเรือน กระทรวงคมนาคม[1] ประกอบด้วยอาคารที่พักผู้โดยสารขนาด 3,013 ตารางเมตร ประตูผู้โดยสารขาเข้าและขาออกอยู่ชั้นเดียวกัน ทางวิ่ง (รันเวย์) 45 x 2,100 เมตร ท่าอากาศยานร้อยเอ็ด มีสายการบินที่ให้บริการอยู่ 3 สายการบิน
ให้บริการระหว่างท่าอากาศยานดอนเมืองและท่าอากาศยานร้อยเอ็ด
- นกแอร์ ให้บริการทุกวัน ๆ ละ 2 เที่ยวบิน
- ไทยแอร์เอเชีย ให้บริการทุกวัน ๆ ละ 4 เที่ยวบิน
รวมวันละ 6 เที่ยวบิน และ สายการบินไทยสมายล์ ให้บริการระหว่างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและท่าอากาศยานร้อยเอ็ด
- การคมนาคมภายในจังหวัด
- ในการเดินทางภายในจังหวัดก็มีรถโดยสารประจำทางให้บริการ และรถสองแถว มอเตอร์ไซค์รับจ้าง สามล้อรับจ้าง และรถแท็กซี่มิเตอร์ (2 กม. แรก 30 บาท กม. ต่อไป 4 บาท)
- ระยะทางจากตัวจังหวัดไปอำเภอต่าง ๆ
- โดยอำเภอที่อยู่ใกล้ที่สุด คือ อำเภอธวัชบุรี ระยะทาง 12 กิโลเมตร ใช้เวลา 18 นาที ส่วนอำเภอที่อยู่ไกลที่สุด คือ อำเภอโพนทราย ระยะทาง 84 กิโลเมตร ใช้เวลา 1 ชั่วโมง 20 นาที ต่อไปเป็นระยะทางของแต่ละอำเภอ
- อำเภอธวัชบุรี 12 กิโลเมตร
- อำเภอจังหาร 14 กิโลเมตร
- อำเภอเชียงขวัญ 21 กิโลเมตร
- อำเภอศรีสมเด็จ 26 กิโลเมตร
- อำเภอจตุรพักตร์พิมาน 27 กิโลเมตร
- อำเภอเมืองสรวง 28 กิโลเมตร
- อำเภอทุ่งเขาหลวง 29 กิโลเมตร
- อำเภอเสลภูมิ 32 กิโลเมตร
- อำเภออาจสามารถ 36 กิโลเมตร
- อำเภอโพธิ์ชัย 40 กิโลเมตร
- อำเภอเกษตรวิสัย 49 กิโลเมตร
- อำเภอโพนทอง 49 กิโลเมตร
- อำเภอสุวรรณภูมิ 54 กิโลเมตร
- อำเภอปทุมรัตต์ 66 กิโลเมตร
- อำเภอพนมไพร 67 กิโลเมตร
- อำเภอเมยวดี 73 กิโลเมตร
- อำเภอหนองฮี 74 กิโลเมตร
- อำเภอหนองพอก 75 กิโลเมตร
- อำเภอโพนทราย 84 กิโลเมตร
การเมืองการปกครอง
แก้การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้จังหวัดร้อยเอ็ดแบ่งออกเป็น 20 อำเภอ 192 ตำบล 2,446 หมู่บ้าน
แผนที่ | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|
เลข | ชื่ออำเภอ | จำนวนตำบล | ประชากร (พ.ศ. 2563)[15] |
พื้นที่ (ตร.กม.) |
ความหนาแน่น (คน/ตร.กม.) |
ระยะทางจากศาลากลาง (กม.) |
1 | เมืองร้อยเอ็ด | 15 | 158,675 | 493.632 | 321.46 | — |
2 | เกษตรวิสัย | 13 | 97,625 | 870.128 | 112.21 | 49 |
3 | ปทุมรัตต์ | 8 | 53,606 | 356.904 | 150.20 | 66 |
4 | จตุรพักตรพิมาน | 12 | 79,408 | 521.987 | 152.12 | 27 |
5 | ธวัชบุรี | 12 | 67,303 | 374.001 | 179.96 | 12 |
6 | พนมไพร | 13 | 71,398 | 519.329 | 137.49 | 67 |
7 | โพนทอง | 14 | 108,207 | 719.15 | 150.46 | 49 |
8 | โพธิ์ชัย | 9 | 57,981 | 394.304 | 147.05 | 40 |
9 | หนองพอก | 9 | 66,543 | 599.47 | 111 | 75 |
10 | เสลภูมิ | 18 | 118,688 | 792.338 | 149.80 | 32 |
11 | สุวรรณภูมิ | 15 | 114,635 | 1107.042 | 105.55 | 54 |
12 | เมืองสรวง | 5 | 23,115 | 209.44 | 110.58 | 28 |
13 | โพนทราย | 5 | 27,996 | 215.852 | 129.70 | 84 |
14 | อาจสามารถ | 10 | 73,685 | 454.441 | 162.14 | 36 |
15 | เมยวดี | 4 | 23,211 | 180.589 | 128.53 | 73 |
16 | ศรีสมเด็จ | 8 | 36,201 | 217.852 | 166.83 | 26 |
17 | จังหาร | 8 | 45,324 | 165.1 | 274.53 | 14 |
18 | เชียงขวัญ | 6 | 27,352 | 127.161 | 215.03 | 21 |
19 | หนองฮี | 4 | 24,379 | 132 | 184.69 | 74 |
20 | ทุ่งเขาหลวง | 5 | 23,268 | 138.915 | 167.52 | 29 |
รวม | 192 | 1,298,639 | 8,299.499 | 156.47 |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้จังหวัดร้อยเอ็ดมีองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหมด 203 แห่ง แบ่งออกเป็น 1 เทศบาลเมือง 72 เทศบาลตำบล 1 องค์การบริหารส่วนจังหวัด และ 129 องค์การบริหารส่วนตำบล โดยมีรายชื่อเทศบาลดังนี้
อำเภอเมืองร้อยเอ็ด อำเภอเกษตรวิสัย อำเภอปทุมรัตต์ อำเภอจตุรพักตรพิมาน
อำเภอพนมไพร อำเภอธวัชบุรี
|
อำเภอโพนทอง
อำเภอเสลภูมิ
อำเภอโพธิ์ชัย อำเภอหนองพอก อำเภอสุวรรณภูมิ
|
อำเภอเมืองสรวง อำเภอโพนทราย อำเภออาจสามารถ อำเภอเมยวดี อำเภอศรีสมเด็จ อำเภอจังหาร อำเภอหนองฮี อำเภอเชียงขวัญ อำเภอทุ่งเขาหลวง
|
ประชากรศาสตร์
แก้มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 1,310,259 คน แยกเป็นชาย 654,508 คน หญิง 655,751 คน โดยมีอำเภอที่มีประชากรมากที่สุดได้แก่ อำเภอเมืองร้อยเอ็ด 118,789 คน รองลงมาได้แก่ อำเภอเสลภูมิ มีจำนวน 108,063 คน และอำเภอสุวรรณภูมิ มีจำนวน 106,451 คน สำหรับอำเภอที่มีความหนาแน่นของประชากรมากที่สุด คือ อำเภอจังหาร โดยมีอัตราความหนาแน่น 295 คนต่อตารางกิโลเมตร รองลงมาได้แก่ อำเภอเมืองร้อยเอ็ด มีอัตราความหนาแน่น 240 คนต่อตารางกิโลเมตร และอำเภอเชียงขวัญมีอัตราความหนาแน่น 215 คนต่อตารางกิโลเมตร โดยอัตราความหนาแน่นโดยเฉลี่ยของจังหวัดอยู่ในระดับ 158 คนต่อตารางกิโลเมตร
โดยประชากรมีกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
- กลุ่มภาษาไทย-ลาว เป็นคนกลุ่มหลักในจังหวัดร้อยเอ็ด แบ่งย่อยเป็น 2 กลุ่มได้แก่ 1. ชาวไทยอีสานเดิม คนกลุ่มนี้มีภาษาไทยที่เป็นเอกลักษณ์เรียกว่า "สำเนียงร้อยเอ็ด" ไม่พบการใช้สำเนียงนี้ในที่อื่นนอกจากร้อยเอ็ด เป็นกลุ่มภาษาเดียวในภาคอีสานที่จังหวัดอื่นไม่มี สันนิฐานว่าเป็นชนพื้นเมืองร้อยเอ็ดในรุ่นแรกที่เข้ามาอาศัยไม่ต่ำกว่า 500 ปี จนวิวัฒธนาการมีภาษาและสำเนียงของตน ทางประเทศลาวได้กำหนดภาษาลาวไว้ 6 สำเนียง โดยสำเนียงร้อยเอ็ดนี้ทางประเทศลาวได้จัดให้เป็นภาษาลาวตะวันตก มีในเฉพาะในจังหวัดร้อยเอ็ดเท่านั้นและไม่พบการพูดสำเนียงนี้ในที่อื่นๆรวมถึงประเทศลาว แต่ทั้งนี้และทั้งนั้น ภาษาลาวจัดอยู่ตระกูลภาษาขร้า-ไท เช่นเดียวกับภาษาไทยทุกสำเนียง แต่ที่ถูกเรียกเป็นภาษาลาวเพราะทางการลาวใช้สำเนียงเวียงจันทน์เป็นภาษากลางในการจำแนก จึงทำให้สำเนียงร้อยเอ็ดถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มลูกของภาษาลาว เนื่องจากมีความใกล้กับภาษาเวียงจันทน์มากกว่าทางกรุงเทพมหานคร 2. ชาวไทยอีสานใหม่ เป็นกลุ่มชาวไทยอีสานที่โยกย้ายกันในยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์เป็นต้นมา ไม่ว่าจะเป็นยุคสงครามหรือการเมือง คนไทยอีสานในกลุ่มนี้ไม่ได้ใช้สำเนียงร้อยเอ็ด แต่ใช้ภาษาอีสานที่มีในอีสานเหนือ, อีสานกลาง รวมถึงสำเนียงลาวใต้ที่พบในแขวงจำปาศักดิ์, แขวงอัตตะปือ อีกทั้งมีการพบสำเนียงลาวเวียงจันทน์ที่โย้ยย้ายเข้ามาช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์
- กลุ่มภาษาเขมร เป็นคนพื้นเมืองร้อยเอ็ด แต่มีบรรพบุรุษเชื้อสายเขมร อยู่ในอำเภอสุวรรณภูมิ และอำเภอเกษตรวิสัย กลุ่มคนเหล่านี้มีภาษาใกล้เคียงกับชาวเขมรในอีสานใต้ หรือที่เรียกกันว่าภาษาเขมรสูง แยกเป็นอีกสำเนียงหนึ่งในตระกูลภาษาเขมร โดยคนกัมพูชาฟังไม่ค่อยเข้าใจ แต่ชาวเขมรสูงในประเทศไทยสามารถฟังภาษาเขมรในกัมพูชาแตกฉาน
- กลุ่มภาษาส่วย-กูย เป็นคนที่อยู่ในจังหวัดร้อยเอ็ด มีเชื่อสายเป็นชาวส่วยหรือกูย อยู่บริเวณอำเภอสุวรรณภูมิ, อำเภอปทุมรัตต์ และอำเภอโพนทราย ติดต่อกับจังหวัดศรีสะเกษ ภาษากูยจัดอยู่ในตระกูลภาษาออสโตร-เอเชียติก เช่นเดียวกับกลุ่มภาษามอญ-เขมร แต่ชาวกูยแยกสายออกมาเป็นเวลานานมากจึงทำให้มีภาษาใหม่ ปัจจุบันภาษากูยถูกแยกย่อยเป็นอีกกลุ่มภาษาคือกลุ่มภาษากะตู ภาษาย่อยกูย
- กลุ่มภูไทหรือผู้ไท เป็นกลุ่มที่ตั้งถิ่นฐานในเขตอำเภอเมยวดี, อำเภอหนองพอก ซึ่งติดต่อกับจังหวัดกาฬสินธุ์, ยโสธร และมุกดาหาร คนกลุ่มนี้เข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ยาวจนมาถึงสมัยรัชกาลที่ 5 โดยในปัจจุบันคือแขวงหัวพัน, แขวงเชียงขวาง, แขวงพงสาลี รวมถึงดินแดนสิบสองจุไท หรือในปัจจุบันคือจังหวัดเดียนเบียนฟูในประเทศเวียดนาม พูดภาษาผู้ไท และเรียกตนเองว่าไทนำหน้า เช่น ไทดำ นอกจากนี้ภาษาใกล้เคียงมากกับชาวไทพวน โดย "พวน" คือชื่อเมือง
- กลุ่มไทย้อ เป็นกลุ่มที่มีเชื้อสายมาจากแขวงคำมวน ประเทศลาว อาศัยอยู่ในเขตอำเภอโพธิ์ชัย ภาษาไทญ้อจัดอยู่ในกลุ่มภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้ ในประเทศไทยมีจำนวนกว่า 50,000 คน ถึงแม้ในอดีตจะมาจากฝั่งประเทศลาว แต่ชาติพันธุ์ไทญ้อไม่ได้ถูกนับรวมกับกลุ่มภาษาลาวทั้ง 6 สำเนียงจากทางการ ภาษาไทญ้อใกล้เคียงกับภาษาภูไท, ผู้ไท, พวน, ลาวโซ่ง และไทดำ
นอกจากนั้นยังมีกลุ่มคนอพยพเข้ามาอาศัยในจังหวัดร้อยเอ็ดในภายหลัง ได้แก่ กลุ่มชาวจีน, ชาวเวียดนาม, แขก
การศึกษา
แก้การศึกษาในจังหวัดร้อยเอ็ดได้ริเริ่มอย่างแบบตะวันตกนั้นได้เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2453 โดยพระครูเอกุตรสตาธิคุณ (โมง) เจ้าอาวาสวัดศรีมงคล (ปัจจุบันคือวัดสระทอง) อำเภอเมืองร้อยเอ็ด ตรงกับช่วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงริเริ่มขยายการศึกษาไปสู่หัวเมืองต่าง ๆ ในปี พ.ศ. 2454 รัฐบาลจึงได้มอบหมายให้ราชบุรุษจันทร์มาเปิดโรงเรียนอย่างเป็นทางการที่วัดศรีมงคลโดยได้ตั้งชื่อว่า โรงเรียนวัดศรีมงคล ปลาย พ.ศ. 2456 จึงได้ย้ายมาทำการสอนที่อาคารที่ว่าการอำเภอเก่าริมคูเมือง พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนประจำมณฑลร้อยเอ็ด และตั้งเป็นโรงเรียนประจำมณฑลร้อยเอ็ด (ร้อยเอ็ด มหาสารคาม และกาฬสินธุ์) ซึ่งภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย
เนื่องจากโรงเรียนประจำมณฑลร้อยเอ็ดเปิดสอนเฉพาะนักเรียนชาย จึงได้มีการจัดตั้งโรงเรียนประจำมณฑลหญิงขึ้นในปี พ.ศ. 2462 โดยได้แยกออกมาทำการเรียนการสอนบริเวณนอกคูเมืองทางทิศใต้ ซึ่งปัจจุบันคือ โรงเรียนสตรีศึกษา ต่อมารัฐก็ได้พยายามส่งเสริมการศึกษาระดับมัธยมศึกษามากขึ้น โดยได้จัดตั้งโรงเรียนวิสามัญประอำเภอจนครบทุกอำเภอในปี พ.ศ. 2513 จนกระทั่งปัจจุบันจังหวัดร้อยเอ็ดมีการจัดการศึกษาในทุกระดับการศึกษาทั้งระดับอุมศึกษา อาชีวศึกษา การศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษานอกโรงเรียน ทั้งในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ดูที่ รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดร้อยเอ็ด
ระดับอุดมศึกษา
สัญลักษณ์
แก้-
ตราประจำจังหวัดร้อยเอ็ด
-
อินทนิลบก ดอกไม้ประจำจังหวัด
-
โหวด
- ตราประจำจังหวัด : ประกอบด้วยสัญลักษณ์ที่สำคัญคือรูปบึงพลาญชัย ศาลหลักเมือง พระมหาเจดีย์ชัยมงคล ตัวเลข ๑๐๑ และรวงข้าวหอมมะลิ ตราที่ใช้ในปัจจุบันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อ ปี พ.ศ. 2545 ออกแบบโดย นายรังสรรค์ ต้นทัพไทย
- คำขวัญประจำจังหวัด : สิบเอ็ดประตูเมืองงาม เรืองนามพระสูงใหญ่ ผ้าไหมสาเกต บุญผะเหวดประเพณี มหาเจดีย์ชัยมงคล งามน่ายลบึงพลาญชัย เขตกว้างไกลทุ่งกุลา โลกลือชาข้าวหอมมะลิ
- ต้นไม้ประจำจังหวัด : ต้นกระบก (Irvingia malayana)
- ดอกไม้ประจำจังหวัด : ดอกอินทนิลบก (Lagerstroemia macrocarpa)
- สัตว์น้ำประจำจังหวัด : ปลาหลดจุด (Macrognathus siamensis)
- เครื่องดนตรีประจำจังหวัด : โหวด
แหล่งท่องเที่ยว
แก้บึงพลาญชัย
แก้บึงพลาญชัยตั้งอยู่บริเวณกลางเมืองร้อยเอ็ด ถือเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัด มีลักษณะเป็นเกาะอยู่กลางบึงน้ำขนาดใหญ่ มีเนื้อที่ประมาณ 2 แสนตารางเมตร เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ตกแต่งเป็นสวนไม้ดอกขนาดใหญ่ มีพรรณไม้ต่าง ๆ ร่มรื่น และในบึงน้ำมีปลาชนิดต่าง ๆ หลายพันธุ์ มีเรือจักรยานน้ำและเรือพายไว้บริการประชาชนพายเล่นในบึง นอกจากนั้นยังใช้เป็นสถานที่จัดงานเทศกาลของจังหวัด รวมทั้งจัดมหรสพต่าง ๆ ภายในบึงพลาญชัยยังมีสิ่งก่อสร้างที่น่าสนใจคือ
- ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง เป็นของคู่บ้านคู่เมืองที่ชาวร้อยเอ็ดเคารพนับถือ และเชื่อว่าเจ้าพ่อจะช่วยดลบันดาลให้ชาวเมืองมีความสุข คิดสิ่งใดสมปรารถนา จึงเป็นสถานที่อีกแห่งหนึ่งที่ชาวเมืองร้อยเอ็ดจะพากันมากราบนมัสการขอพรเป็นประจำ
- พระพุทธรูปปางลีลาขนาดใหญ่ กลางสวนดอกไม้
- พานรัฐธรรมนูญ และนาฬิกาดอกไม้
- ภูพลาญชัย มีลักษณะเป็นน้ำตกจำลอง และรูปปั้นสัตว์ต่าง ๆ คล้ายสวนสัตว์
- สนามเด็กเล่น และ สวนสุขภาพ เป็นสวนออกกำลังกาย เพื่อให้ประชาชนได้ออกกำลังกาย อันเป็นการเสริมสร้างพลานามัยแก่ชาวร้อยเอ็ด
- น้ำพุดนตรี
หอโหวดร้อยเอ็ด
แก้หอชมเมืองร้อยเอ็ด หรือ หอโหวด ๑๐๑ (Roi Et Tower) เป็นหอคอยชมเมืองที่ตั้งอยู่ใจกลางของเมืองร้อยเอ็ด ตั้งอยู่ภายในสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ร้อยเอ็ด บริเวณด้านหน้าศาลากลางจังหวัดและบึงพลาญชัย เปิดทำการเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2563 มีพื้นที่ใช้สอยจริงจำนวน 12 ชั้น เทียบเท่าความสูงของตึก 35 ชั้น มีความสูง 123 เมตร นับได้ว่าเป็นหอคอยชมเมืองที่สูงที่สุดในภาคอีสาน ของประเทศไทย ณ.ปัจจุบัน รวมพื้นที่ทั้งหมด 3,621 ตารางเมตร หอชมเมืองสร้างตามยุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองร้อยเอ็ด 4.0 เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชื่อ "โครงการสามเหลี่ยมการท่องเที่ยวสาเกตนคร" โดยมีการเชื่อม 3 อำเภอเข้าด้วยกัน ได้แก่ อำเภอเมืองร้อยเอ็ด อำเภอธวัชบุรี และอำเภอหนองพอก หอชมเมืองหรือหอโหวด ๑๐๑ ตั้งชื่อตามเครื่องดนตรีพื้นบ้านอีสาน "โหวด" ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีประจำจังหวัดและถูกนำมาออกแบบเป็นรูปทรงของอาคาร และชื่อจังหวัด "๑๐๑" ภายในอาคารประดับตกแต่งโดยสอดแทรกเรื่องราวท้องถิ่นกับความร่วมสมัย เช่น ดอกอินทนิลบก ดอกไม้ประจำจังหวัด ที่ทำจากคริสตัล เป็นต้น
โดยพื้นที่ภายในอาคารของแต่ละชั้นจะมีดังนี้
- ชั้นที่ 1 สำนักงานโครงการหอชมเมือง ห้องควบคุมต่างๆ
- ชั้นที่ 2 ทางเข้าหลักประชาชนทั่วไป เคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์
- ชั้นที่ 3 ร้านขายของสินค้าที่ระลึก สินค้าพื้นเมือง ร้านกาแฟ
- ชั้นที่ 4 ร้านอาหาร ชมทัศนียภาพ
- ชั้นที่ 28 ฟิตเนส
- ชั้นที่ 29 ร้านขายอาหารว่าง
- ชั้นที่ 30 ร้านอาหาร
- ชั้นที่ 31 พื้นที่ชมวิว 360 องศา (ภายใน)
- ชั้นที่ 32 พื้นที่ชมวิว ห้องพักเจ้าหน้าที่
- ชั้นที่ 33 พิพิธภัณฑ์เมืองร้อยเอ็ด
- ชั้นที่ 34 พื้นที่ชมวิว 360 องศา (ภายนอก) พื้นกระจกลอยฟ้า Sky Walk กิจกรรมการนั่งกระเช้าห้อยลวดสลิง และกิจกรรมโรยตัวจากชั้น 34 ไปที่บึงพลาญชัย
- ชั้นที่ 35 เป็นหอพระซึ่งประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ และพระพุทธมิ่งเมืองมงคล พระพุทธรูปประจำจังหวัดร้อยเอ็ด
พระมหาเจดีย์ชัยมงคล
แก้พระมหาเจดีย์ชัยมงคล ตั้งอยู่บริเวณวัดผาน้ำทิพย์เทพประสิทธิ์วราราม ตำบลโคกสว่าง อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด ระยะทางจากตัวเมืองร้อยเอ็ดประมาณ 80 กิโลเมตร มีลักษณะเป็นมหาเจดีย์ขนาดใหญ่ที่วิจิตรพิสดาร ใช้ศิลปกรรมร่วมสมัยระหว่างภาคกลางและภาคอีสานเป็นการผสมกันระหว่างพระปฐมเจดีย์และพระธาตุพนม ใช้งบประมาณก่อสร้างถึงปัจจุบันกว่า 3,000 ล้านบาท ดำเนินการสร้างโดย “พระอาจารย์ศรี มหาวิโร” ซึ่งเป็นศิษย์พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
พระมหาเจดีย์นี้ออกแบบโดยกรมศิลปากรเป็นสีขาวตกแต่งลวดลายตระการตาด้วยสีทองเหลืองอร่าม รายล้อมด้วยเจดีย์องค์เล็กทั้ง 8 ทิศ สร้างในเนื้อที่ 101 ไร่ กว้าง 101 เมตร ยาว 101 เมตร ความสูง 101 เมตร รวมยอดทองคำเป็น 109 เมตร ใช้ทองคำหนัก 4,750 บาท หรือประมาณ 60 กิโลกรัม ภายในองค์พระมหาเจดีย์เหมือนอยู่บนวิมานแดนสวรรค์
- ชั้นที่ 1 เป็นห้องโถงกว้างใหญ่ โอ่อ่า ผนังจารึกนามทานาธิบดีต่าง ๆ ใช้เป็นห้องประชุม บำเพ็ญบุญ
- ชั้นที่ 2 เป็นห้องโถงโอ่อ่าเช่นกัน ผนังติดตั้งรูปพระพุทธประวัติ ลวดลาย ไทยวิจิตรพิสดาร
- ชั้นที่ 3 เป็นที่ประดิษฐานรูปพระณาจารย์ ปราชญ์อีสานในอดีต เป็นรูปเหมือนสลักหินอ่อน และหุ่นรูปเหมือนพระสุปฏิปันโน 101 องค์
- ชั้นที่ 4 จัดเป็นพิพิธภัณฑ์แสดงวัดวาอาราม สถานปฏิบัติสมถะวิปัสสนา กรรมฐานที่หลวงปู่ศรี เคยบำเพ็ญธรรมมา
- ชั้นที่ 5 บันไดเวียน 119 ชั้น เป็นห้องโถงรูประฆัง 8 เหลี่ยมบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
ทุ่งกุลาร้องไห้
แก้ทุ่งกุลาร้องไห้ เป็นที่ราบขนาดใหญ่มีพื้นที่ประมาณ 2 ล้านไร่ อยู่ในเขตจังหวัดสุรินทร์ จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดศรีสะเกษ และจังหวัดร้อยเอ็ด การที่ได้ชื่อว่าทุ่งกุลาร้องไห้ มีเรื่องเล่าสืบกันมาว่า ชนเผ่ากุลาซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยจากเมืองเมาะตะมะ ประเทศพม่า ได้เดินทางมาค้าขายผ่านทุ่งแห่งนี้ ต้องใช้เวลาเดินทางหลายวัน ไม่พบหมู่บ้านใด ๆ เลย น้ำก็ไม่มีดื่ม ต้นไม้ก็ไม่มีที่จะให้ร่มเงา มีแต่ทุ่งหญ้าเต็มไปหมด พื้นดินเป็นทราย เดินทางยากลำบากเหมือนอยู่กลางทะเลทราย ทำให้คนพวกนี้ถึงกับร้องไห้
ในอดีตทุ่งกุลาร้องไห้ในฤดูแล้ง พื้นที่ส่วนใหญ่จะแห้งแล้งมาก ส่วนในฤดูฝนน้ำจะท่วมทุกปี ใต้พื้นดินลงไปเป็นน้ำเค็ม ไม่สามารถทำการเกษตรได้ หลังจากที่ได้มีการพัฒนาที่ดินแล้ว ทุ่งกุลาร้องไห้ได้กลายเป็นแหล่งผลิตข้าวหอมมะลิที่สำคัญของประเทศ และกลายเป็นอู่ข้าวอู่น้ำที่มีชื่อเสียงของไทย
น้ำตกถ้ำโสดา
แก้เป็นน้ำตกจากหน้าผาสูง50เมตร ลดหลั่นหลายชั้น มีความสวยงานตระการตา บริเวณหน้าผามีม่านน้ำตกสวยงาม และเป็นชะง่อนถ้ำ มีพระพุทธรูปใว้สักการะบูชา
พระพุทธรูปที่สูงที่สุดอันดับที่สองของประเทศไทย ตั้งอยู่ในวัดบูรพาภิราม อำเภอเมือง
ประเพณี วัฒนธรรม
แก้ประเพณีบุญผะเหวด
แก้งานบุญพระเวสสันดรชาดก หรือบุญผะเหวดในภาษาอีสาน เป็นบุญประเพณีที่มีการเทศน์มหาชาติเป็นงานที่ยิ่งใหญ่ของจังหวัดร้อยเอ็ด โดยเฉพาะจังหวัดได้กำหนดให้เป็นงานประเพณีประจำปีของจังหวัดและจัดได้ยิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ซึ่งเป็นไปตามฮีต 12 คือหมายถึงเดือนสี่มีการทำบุญผะเหวดดังคำกล่าวไว้ในฮีตว่า
ฮีตหนึ่ง พอเถิงเดือนสี่ได้ให้เก็บดอกบุปผา หามาลา
ดวงหอมสู่ตนเก็บไว้
อย่าได้ไลคองนี้เสียศรีสูญเปล่า
หาเอาตากแดดไว้ได้ทำแท้สู่คน
อย่าได้ไลหนีเว้นแนวคองตั้งแต่เก่า
ไฟทั้งหลายสิแล่นเข้าเผาบ้านสิเสื่อมสูญเด้
ประเพณีบุญบั้งไฟสุวรรณภูมิ (ลายศรีภูมิ)
แก้เป็นงานบุญประเพณีที่สำคัญของจังหวัด อีกหนึ่งงาน ที่มีการจัดอย่างต่อเนื่องและมีความเก่าแก่มากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย (ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2256 เป็นต้นมา) อีกทั้งยังเป็นงานประเพณีบุญบั้งไฟ 1 ใน 4 แห่งที่มีชื่อเสียงและมีการจัดงานยิ่งใหญ่ในระดับประเทศ โดยมีเอกลักษณ์ คือ ประกวดแข่งขัน การเอ้ บั้งไฟ ประเภท ลายกรรไกรตัด หรือ "บั้งไฟลายศรีภูมิ" เพียงแห่งเดียวในประเทศไทย โดย ทั่วไปพื้นที่อื่นๆ การตกแต่งตัวบั้งไฟ จะใช้ลายสับ ทั้งนี้ ในเขตเทศบาลตำบลสุวรรณภูมิ และอำเภอสุวรรณภูมิ มีช่างเอ้ ช่างตัดลายบั้งไฟที่มีชื่อเสียง และถ่ายทอดภูมิปัญญา มาไม่น้อยกว่า 310 ปี และที่มีบันทึกทางวิชาการ ลวดลายกระดาษ โดยช่างมีฝีมือ ที่มีหลักฐานสืบต้นทางวิชาการ ที่มีพัฒนาการและนวัตกรรม การตัดลายกระดาษ "ลายศรีภูมิ" ระหว่าง 70 - 90 ปี และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง งานบั้งไฟลายศรีภูมิ นั้น เป็นที่ทราบกันดีของช่างบั้งไฟเอ้ ทั่วจังหวัดร้อยเอ็ด และจังหวัดในภาคอีสาน ว่า งานประเพณีบุญบั้งไฟสุวรรณภูมิ เป็นงาน ที่รวบรวมช่างฝีมือการเอ้บั้งไฟและการตกแต่งเครื่องล่าง มาร่วมแข่งขันบั้งไฟเอ้สวยงามขนาดใหญ่ มากที่สุดในประเทศไทย โดย การจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟสุวรรณภูมิ จะจัดทุกวัน เสาร์ อาทิตย์แรก ของเดือนมิถุนายน ของทุกปี โดยตั้งเเต่ งานประเพณีบุญบั้งไฟสุวรรณภูมิ 2567 เป็นต้นไป จะมีขบวนแห่รำเซิ้งสวยงาม ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งจะมีการถูกจัดขึ้นเป็นครั้งเเรกในปี พ.ศ. 2567 ให้สมเกียรติกับดินเเดนที่มีการจัดงานบุญบั้งไฟอย่างยิ่งใหญ่ เป็นเอกลักษณ์เเละมีความเก่าเเก่เเละต่อเนื่องมาอย่างยาวนานมากที่สุดเเห่งหนึ่งของภาคอีสานเเละของประเทศไทย นอกจากนี้ยังเป็นงานประเพณีที่ดึงดูดเเละเป็นศูนย์รวมให้ลูกหลานเมืองศรีภูมิหรือเครือข่ายลูกหลานเจ้าเเก้วมงคล (บรรพชนกลุ่มใหญ่ของภาคอีสาน) ที่มีอยู่ทั่วภาคอีสานเเละประเทศไทยให้กลับมาเยี่ยมเยือนถิ่นเก่าของบรรพชน ซึ่งได้ขึ้นชื่อว่าเป็น เมืองบรรพบุรุษของชาวอีสาน ก่อนที่ภายหลังจะมีการอพยพเเยกกันออกไปสร้างเมืองเเละชุมชนต่างๆมากมายทั่วภาคอีสาน นับได้ว่าเป็นศูนย์รวมทางจิตใจให้เเก่ลูกหลานชาวอีสานได้มากมายเลยทีเดียว
ประเพณีบุญบั้งไฟพนมไพร
แก้เป็นงานประเพณีบุญบั้งไฟ 1 ใน 4 แห่งที่มีชื่อเสียงและมีการจัดงานยิ่งใหญ่ในระดับประเทศ ในการจัดการแข่งขันบั้งไฟมีขบวนแห่ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาสยามบรมราชกุมารี และมีการจัดตามฮีตสิบสองคองสิบสี่ โดยยึดวัน ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 เป็นการจัดงานในทุกปี และมีการจุดบั้งไฟถวย (ถวาย) องค์พระมหาธาตุวัดกลางอุดมเวทย์ ซึ่ง มีบั้งไฟแสน รวมบั้งไฟขนาดอื่นๆ รวมกันมากกว่า 1,000 บั้ง และมีการจุดมากที่สุดในประเทศไทย
ประเพณีบุญบั้งไฟโพนทราย
แก้ประเพณีลอยกระทง (สมมาน้ำ คืนเพ็ง เส็งประทีป)
แก้เป็นงานประเพณีลอยกระทงที่ใหญ่ที่สุดในภาคอีสานและติด 1 ใน 5 ของงานประเพณีลอยกระทงที่มีอัตลักษณ์และจัดได้ยิ่งใหญ่ที่สุดของประเทศ[16][17] ถือเป็นตัวแทนจัดงานลอยกระทงของภาคตะวันออกเฉียงเหนือใช้ชื่อว่า “สมมาน้ำ คืนเพ็ง เส็งประทีป” มีการแห่กระทงประทีป 12 หัวเมือง การประกวดกระทงอนุรักษ์ธรรมชาติ ฯลฯ[18] งานประเพณีลอยกระทง "สมมาน้ำ คืนเพ็ง เส็งประทีป” เป็นเอกลักษณ์ เป็นการขอขมาพระแม่คงคาในคืนวันเพ็ญเดือน 12 โดยจัดขึ้นที่บึงพลาญชัยและสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ร้อยเอ็ด อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด ภายในงานสามารถร่วมลอยกระทงรวงข้าวซึ่งเป็นอัตลักษณ์ของงานลอยกระทงของจังหวัดร้อยเอ็ดเนื่องด้วยจังหวัดร้อยเอ็ดเป็นแหล่งผลิตข้าวหอมมะลิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน และร่วมชมประทีปพระราชทาน การประกวดกระทงอนุรักษ์ การประกวดขบวนแห่ การประกวดกระทงประทีปใหญ่ชิงถ้วยพระราชทานจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ การประกวดธิดาสาเกตนคร และการแสดงแสง เสียงตำนานเมืองร้อยเอ็ด (สาเกตนคร)[19][20]
บุคคลที่มีชื่อเสียง
แก้บุคคลในประวัติศาสตร์
แก้- เจ้าแก้วมงคล เจ้าเมืองท่งศรีภูมิท่านแรก
- เจ้ามืดคำดล เจ้าเมืองท่งศรีภูมิท่านที่ 2
- พระขัติยวงษา (เจ้าสุทนต์มณี) เจ้าเมืองท่งศรีภูมิท่านที่ 3 เจ้าเมืองร้อยเอ็ดท่านแรก
- พระรัตนวงษา (เจ้าเซียง) เจ้าเมืองท่งศรีภูมิท่านที่ 4
- พระรัตนาวงษามหาขัติยราช (อ่อน) เจ้าเมืองท่งศรีภูมิท่านที่ 6
- พระยารัตนวงษา มหาขัติยราช (คำผาย) เจ้าเมืองท่งศรีภูมิท่านที่ 11
- พระยารัตนวงษา (คำสิงห์) เจ้าเมืองท่งศรีภูมิท่านที่ 12
- พระยาขัติยวงษาพิสุทธิบดี (สีลัง ธนสีลังกูร) เจ้าเมืองร้อยเอ็ดท่านที่ 2
- พระยาขัติยะวงษาเอกธิกะสตานันท์ (เหลา ณ ร้อยเอ็ด) ผู้ว่าราชการเมืองร้อยเอ็ดท่านสุดท้าย
- พระเจริญราชเดช (กวด ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม) เจ้าเมืองมหาสารคามท่านแรก ปัจจุบันคือ จังหวัดมหาสารคาม
- พระสุนทรพิพิธ (เสือ) เจ้าเมืองโกสุมพิสัยท่านแรก ปัจจุบันคือ อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
- พระพิทักษ์นรากร (บุญมี) เจ้าเมืองวาปีปทุมท่านแรก ปัจจุบันคือ อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม
- พระศรีเกษตราวิชัย (เหง้า) เจ้าเมืองเกษตรวิสัยท่านแรก
- พระดำรงฤทธิไกร (บุญตา) เจ้าเมืองพนมไพรแดนมฤคท่านแรก
- พระธาดาอำนวยเดช (สุพรหม) เจ้าเมืองจตุรพักตรพิมานท่านแรก
- พระศรีสุวรรณวงษา (เทศ) เจ้าเมืองพยัคฆภูมิพิสัยท่านแรก ปัจจุบันคือ อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
- พระนิคมบริรักษ์ (เสน ประทุมทิพย์) เจ้าเมืองเสลภูมินิคมท่านแรก
- พระธำรงไชยธวัช (โพธิราช) เจ้าเมืองธวัชบุรีท่านแรก
- พระพิชัยสุริยะวงศ์ (ตาดี) เจ้าเมืองโพนพิสัยท่านแรก ปัจจุบันคือ อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย
- พระพิทักษ์เขื่อนขันธ์ (เพ) เจ้าเมืองหนองหานหรือหนองหานน้อยท่านแรก ปัจจุบันคือ อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี
- พระจันตะประเทศ (คำพาวเมืองแสน) เจ้าเมืองชลบถวิบูลย์หรือชนบทท่านแรก ปัจจุบันคือ อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น
- พระนครศรีบริรักษ์ (ศักดิ์) เจ้าเมืองขอนแก่นหรือขรแก่นท่านแรก ปัจจุบันคือ จังหวัดขอนแก่น
- พระยาเสนาสงคราม (เพี้ยศรีปาก) เจ้าเมืองพุทไธสงหรือไผทสมันต์ท่านแรก ปัจจุบันคือ อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์
- พระนครภักดี (เพี้ยเหล็กสะท้อน) เจ้าเมืองแปะหรือบุรีรัมย์ท่านแรก ปัจจุบันคือ จังหวัดบุรีรัมย์
- พระรัตนวงษา (อุ่น) เจ้าเมืองศีร์ษะเกษท่านแรก ปัจจุบันคือ จังหวัดศรีสะเกษ
- พระปทุมวิเศษ (คำมูล) เจ้าเมืองกันทรวิชัยท่านแรก ปัจจุบันคือ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
- พระปทุมวิเศษ (ทองคำ) เจ้าเมืองกันทรวิชัยท่านที่ 2 ปัจจุบันคือ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
- พระศรีนครชัย (บุญจันทร์) เจ้าเมืองรัตนบุรีหรือศรีนครเตาท่านที่ 2 ปัจจุบันคือ อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์
พระภิกษุสงฆ์
แก้- พระธรรมโสภิต (หลวงปู่โส ธมฺมปาโล) สำนักตักกศิลาบ้านฟ้าเหลื่อม จังหวัดร้อยเอ็ด
- พระพรหมวชิรโสภณ (ศรีจันทร์ ปุญฺญรโต) พระราชาคณะเจ้าคณะรอง ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 10 ธรรมยุต เจ้าอาวาสวัดบึงพระลานชัย พระอารามหลวง ร้อยเอ็ด
- พระพรหมวชิรธีรคุณ (สมคิด เขมจารี)ป.ธ.9 พระราชาคณะเจ้าคณะรอง เจ้าคณะภาค 11 เจ้าอาวาสวัดทองนพคุณ กรุงเทพมหานคร
- พระศรีอรรถเมธี (หลวงปู่มหาเคน อตฺถกาโม ป.ธ.๘)อดีตเจ้าคณะจังหวัดเลย รูปที่2
- หลวงปู่ทองมา ถาวโร
- พระมงคลญาณเถร หลวงปู่มา ญาณวโร
- พระเทพวิสุทธิมงคล วิ. หลวงปู่ศรี มหาวีโร
- พระราชวีราภรณ์ (หลวงปู่ใหญ่มหาเสาร์ อภินนฺโท ป.ธ.๗) ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค๘
- พระวิสุทธิญาณเถร (สมชาย ฐิตวิริโย)
- หลวงปู่จันทา ถาวโร
- พระราชธรรมานุวัตร (เลื่อน สุกวโร)
- พระราชวัชรสารบัณฑิต (ประสาร จนฺทสาโร) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร
- พระครูศรีธีราภรณ์ (หลวงพ่อมหาบุญมี ยโสธร) ป.ธ.๖ รองเจ้าคณะจังหวัดเลย
- พระศรีธีรพงษ์ (อุดม สารเมธี) ป.ธ.9 เลขานุการเจ้าคณะภาค 11,เจ้าคณะเขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร
- พระครูสมุทรธรรมสุนทร (สุด สิริธโร)
- หลวงปู่บัว สิริปุณฺโณ
- พระอาจารย์ดี ฉนฺโน
ข้าราชการ/นักการเมือง/นักเคลื่อนไหวทางการเมือง/นักกฎหมาย
แก้- ถวิล อุดล นักการเมือง
- เชาวน์ สายเชื้อ ประธานศาลรัฐธรรมนูญคนแรก
- เอกภาพ พลซื่อ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด
- อนุรักษ์ จุรีมาศ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์คนแรก และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
- สุรพร ดนัยตั้งตระกูล อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- เศกสิทธิ์ ไวนิยมพงศ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด
- ศักดา คงเพชร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- วราวงษ์ พันธุ์ศิลา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด เขต 1
- บุญเติม จันทะวัฒน์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด
- นิรันดร์ นาเมืองรักษ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด อดีตผู้อำนวยการพรรคเพื่อไทย
- นิรมิต สุจารี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด เขต 3
- นันทโชติ ชัยรัตน์ อดีตที่ปรึกษาสมัชชาคนจน
- ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
- ฉลาด ขามช่วง ประธานกรรมาธิการแก้ไขปัญหาหนี้สินแห่งชาติ
- ขจรศักดิ์ ศรีสวาสดิ์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด 6 สมัย
- กิตติ สมทรัพย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด เขต 6
- ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์ เป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และเป็นอดีตอธิบดีกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
- อานนท์ นำภา ทนายความ
- เวียง วรเชษฐ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด 4 สมัย
- จิราพร สินธุไพร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต 5 จังหวัดร้อยเอ็ด อดีตคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน
- ชัชวาลย์ ชมภูแดง อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี อดีตรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- นิสิต สินธุไพร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ นปช.
- วิรุฬห์ พื้นแสน อดีตผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจ อดีตนายตำรวจราชองครักษ์พิเศษ[1]และอดีตสมาชิกวุฒิสภา
- เอมอร สินธุไพร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด เขต 5
- ระวี มาศฉมาดล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ อดีตเลขาธิการพรรคพลังธรรม
- ระวี หิรัญโชติ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
- อุ่นเรือน อารีเอื้อ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด 1 สมัย
- อำพัน หิรัญโชติ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด 4 สมัย และอดีตนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด
- เขมชาติ บุณยรัตพันธุ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- รัชนี พลซื่อ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด
- บุญช่วย ศรีสารคาม อดีตอธิบดีกรมราชทัณฑ์ อดีตรองปลัดกระทรวงมหาดไทย และอดีตผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์,ขอนแก่น, อุบลราชธานี, ชลบุรี, และจันทบุรี
- พลตำรวจตรี เอกพงษ์ ทิปะณี (สารวัตรต้น) อดีต ผบ.หมู่ สว.สส.สภ.เมืองยโสธร
- ชญาภา สินธุไพร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต 8 จังหวัดร้อยเอ็ด
- คารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน สังกัดพรรคภูมิใจไทย
นักกีฬา
แก้- รัชนก อินทนนท์ นักกีฬาแบดมินตัน
- ทัดดาว นึกแจ้ง นักกีฬาวอลเลย์บอล
- แซมซั่น กระทิงแดงยิม นักมวย
- หงส์ขาว ม.ราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง (นิติยาภรณ์ ศรีไสล (แนน)) นักกีฬามวยไทย
- อุ่นจิตร ทรงกิตรัตน์ นักมวย
- เพชร ซีพีเฟรชมาร์ท นักมวย
- เม็ดเงิน กระทิงแดงยิม นักมวย
- ก้องนภา วัชรวิทย์ นักมวย
- เสนีย์ แก้วนาม นักฟุตบอล
- สุมัญญา ปุริสาย นักฟุตบอลทีมชาติไทย
- สนธยา แก้วบัณฑิต นักกีฬาวอลเลย์บอล
- ศักดิ์ แกแล็คซี่ นักมวย
- วิชิต เมืองร้อยเอ็ด นักมวย
- วรุตม์ บุญสุข นักฟุตบอล
- ยอดขุนพล ศิษย์ไตรภูมิ นักมวย
- ฟ้าสั่ง ป.พงษ์สว่าง นักมวย
- ฟ้าเพชรน้อย ส.จิตรพัฒนา นักมวย
- พิชัย สายโยธา นักมวย
- ปัจจัย ยงยุทธยิม นักมวย
- นพพล พลคำ นักฟุตบอล
- นพพล ปิตะฝ่าย นักฟุตบอลทีมชาติไทย
- ธีระพล เยาะเย้ย นักฟุตบอล
- เด็ดดวง ป.พงษ์สว่าง นักมวย
- ดีเด่น เก่งการุณ นักมวย
- ฉัตรเพชร ศิษย์หมอเส็ง นักมวย
- จุฑาธิป มณีพันธุ์ นักกีฬาปั่นจักรยาน
- แก้วฟ้า ต.บัวมาศ นักมวย
- เกรียงไกร พิมพ์รัตน์ นักฟุตบอล
- กวนอู ภารสมบูรณ์ นักมวย
- เกษตรชัย สุวรรณธาดา นักกีฬาฟุตบอล เจ้าของฉายา "หนูถีบจักร"
- นิตินัดดา แก้วคำไสย์ นักตระกร้อหญิงทีมชาติไทย เจ้าของฉายา "เพชฌฆาตเงียบ"
- ปริมประภา เเก้วคำไสย์ นักตระกร้อหญิงทีมชาติไทย
นักร้อง/นักดนตรี
แก้- ฉวีวรรณ ดำเนิน ราชินีหมอลำคนแรกของประเทศไทย ศิลปินเเห่งชาติ พำนักอยู่ที่จังหวัดร้อยเอ็ดแต่เกิดที่จังหวัดอุบลราชธานี
- จินตหรา พูนลาภ นักร้อง นักแสดง ราชินีลูกทุ่งหมอลำ
- รุ่งโรจน์ เพชรธงชัย นักร้องหมอลำ
- สุภาพ ดาวดวงเด่น นักร้องหมอลำ
- คำเกิ่ง ทองจันทร์ นักร้องหมอลำ นักประพันธ์เพลง
- พิมพ์ใจ เพชรพลาญชัย นักร้องหมอลำ ราชินีลำเพลิน
- พวงผกา เพชรพลาญชัย นักร้องหมอลำ
- แจ่มนภา เพชรพลาญชัย นักร้องหมอลำ
- รัชฎา ผลาผล นักร้องหมอลำ อดีตนางเอกหมอลำคณะนกยูงทอง คณะระเบียบวาทะศิลป์ คณะเสียงอิสาน
- บานเย็น ศรีวงษา หมอลำ
- เสียงพิณ ถิ่นอีสาน นักร้องหมอลำจากค่ายเยนาวี่โปรโมชั่น
- ดวงเนตร วาสนา นักร้องหมอลำเพลิน
- ยุพิน สายใจ นักร้องหมอลำเพลิน ฉายาราชินีหมอลำเพลินคนที่ 2
- ประสาน เวียงสิมา นักร้องหมอลำ
- ลาวัณย์ จันทร์เพ็ญ นักร้องหมอลำ
- เรืองฤทธิ์ ศิริพานิช นักร้อง นักแสดง รองชนะเลิศอันดับที่ 1 เดอะสตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาว ปี 6
- เอกราช สุวรรณภูมิ นักร้อง
- ลำไย ไหทองคำ นักร้อง นักแสดง พิธีกร ราชินีอินดี้
- พล แคลช หรือ คชภัค ผลธนโชติ อดีตนักกีต้าร์ วงแคลช
- ขวัญชัย เพชรร้อยเอ็ด นักร้อง
- ร้อยเอ็ด เพชรสยาม นักร้อง
- เวียง นฤมล นักร้อง นักแสดง
- เจมส์ จตุรงค์ นักร้องลูกทุ่ง หมอลำ นักแสดง แชมป์ ศึกวันดวลเพลง 10 สมัย แชมป์ ศึกวันดวลเพลง เสาร์ ๕ ฤดูกาลที่ 1 แชมป์ ศึกวันดวลเพลง ซูเปอร์แชมป์
- เจ๋ง บิ๊กเเอส หรือ เดชา โคนาโล นักร้องนำวง Big Ass
- เต๊ะ ตระกูลตอ นักร้อง
- บอย พนมไพร นักร้อง
- เพียว เอกพันธ์ วรรณสุทธิ์ นักร้อง แชมป์ The Voice All Star คนแรก แชมป์ เคพีเอ็น อวอร์ด ครั้งที่ 19
- โจอี้ ภูวศิษฐ์ นักร้อง เจ้าชายแห่งวงการเสียงสูง รองชนะเลิศอันดับที่ 2 เดอะวอยซ์ไทยแลนด์ ฤดูกาลที่ 7
- บู๊ท จักรพันธ์ ลำเพลิน ซานเล้าบันเทิงศิลป์ อดีตพระเอกหมอลำคณะระเบียบวาทะศิลป์ หัวหน้าวงซานเล้าบันเทิงศิลป์
- ธัญญ่า อาร์สยาม นักร้อง นักแสดง
- เอม อภัสรา นักร้อง
- สาวแย้ เจติยา นักร้อง
- อุ่นเรือน ราโชติ นักแสดง
- ดาว ชลิตา นักร้อง
- แอนนา อริสา นักร้อง
- จันทร์เพ็ญ ศิริเทพ หมอลำ
- มงคล อุทก นักดนตรี อดีตสมาชิกวงคาราวาน
- พัชรา แวงวรรณ นักร้อง
- สิทธิพร สุนทรพจน์ นักร้อง
- หญิง ฐิติกานต์ นักร้อง
- บี ประภาพร ขวัญใจแฟนแฟน นางเอกหมอลำสังกัดคณะหมอลำขวัญใจแฟนแฟน แมน จักรพันธ์
- ต้าร์ ตจว. นักร้อง
- ไอออน กลวัชร ข้าวสารแลนด์ นักร้อง พระเอกหมอลำคณะซานเล้าบันเทิงศิลป์
- ตาต้า สุภาพร แปดแสนซาวด์ นักร้อง
- จิ๋ว ขุมดิน อินดี้ลายไทย นักร้อง
- โบว์ดำ ลำซิ่ง อาร์สยาม นักร้อง
- สนุ๊ก สิงห์มาตร นักร้อง
- แพทริค ณัฐวรรธ์ ฟิงค์เลอร์ นายเเบบ นักแสดง นักร้อง C-POP อดีตสมาชิกวงบอยแบนด์ INTO1 ผู้ผ่านการคัดเลือก 1 ใน 11 คน จากรายการ CHUANG 2021 หรือ พรอดิวซ์แคมป์ 2021ของประเทศจีน
- หนึ่ง พลาญชัย ท็อปไลน์ พระเอกหมอลำคณะคำผุนร่วมมิตร
- ใบตอง จันทร์งาม หรือ แป๋ว ปัทมา นักร้องหมอลำ
- ก้อย ชาลินี นักร้องหมอลำ อดีตนางเอกหมอลำคณะสาวน้อยเพชรบ้านแพงเเละคณะศิลปินภูไท
นักแสดง
แก้- แอนดริว เกร้กสัน นักแสดง (ช่อง3)
- มันนี่ กิจจำนง นักแสดง (ช่อง7)
- กัญญาวีร์ สองเมือง นักแสดง
- ศิระ รัตนโภคาสถิต นักแสดง ผู้ผ่านเข้ารอบ 12 คนสุดท้าย ทรู อะคาเดมี่ แฟนเทเชีย ซีซั่นที่ 3
- ชินธันย์ เธียรกิตติพงษ์ นักแสดงประกอบค่ายอิสระ
- มณีรัตน์ คำอ้วน นักแสดง
- ด้งเด้ง ณัฐวุฒิ แสนยะบุตร นักแสดง (ไทบ้านเดอะซีรีส์)
- ฟิฟิม สิริอมร อ่อนคูณ นักแสดง (ไทบ้านเดอะซีรีส์)
- เฟิร์ส ธนาดล บัวระบัติ นักแสดง (ไทบ้านเดอะซีรีส์)
- คำตัน จินดามล นักแสดง (ไทบ้านเดอะซีรีส์)
- เจ้สี่ พลล้ำ อดีตนักแสดงตลกคณะระเบียบวาทะศิลป์
- เรย์ แมคโดนัลด์ นักแสดง พิธีกร
นายเเบบ/นางเเบบ/นางงาม
แก้- โยชิ รินรดา ธุระพันธ์ นักแสดง, เนตไอดอล,นางงาม,มิสทิฟฟานี่ยูนิเวิร์ส 2017 และ รองอับดับ2มิสอินเตอร์เนชั่นแนลควีน
- ศักดิ์ สระแก้ว นายแบบ
- ธาราทิพย์ สุขดรุณพัฒน์ นักแสดง นักร้อง นางงาม มิสบุรีรัมย์ยูไนเต็ด 2013 มิสซูปราเนชันแนลไทยแลนด์ 2015
- แสงธรรม ชูมีชัย นักแสดง นางงาม รองนางสาวไทย ประจำปี 2547
- ธนัชญา บุญเเสง นางงาม รองอับดับ2มิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ 2019
- อรวิภา กนกนทีสวัสดิ์ นักแสดง นางแบบ นางงาม นางสาวไทย ประจำปี 2552
- อัจฉราภรณ์ กนกนทีสวัสดิ์ นักแสดง นางแบบ พิธีกร นางงาม นางสาวไทย ประจำปี 2556
ผู้กำกับภาพยนตร์
แก้- ต้องเต ธิติ ศรีนวล นักแสดง ผู้กำกับภาพยนตร์ โปรดิวเซอร์ (กำกับภาพยนตร์เรื่อง สัปเหร่อ)
- วัชรพงษ์ ปัทมะ ผู้กำกับภาพยนตร์ นักแสดง (ร่วมกำกับภาพยนต์ดัง อาทิ แดง พระโขนง เป็นต้น)
นักประพันธ์เพลง
แก้- ภานุวัฒน์ วิเศษวงษา นักเเต่งเพลง (เเต่งเพลงดัง อาทิ บ่เป็นหยังเขาเข้าใจ ซังได้ซังเเล้ว ห้ามตั๋ว นางไอ่ของอ้าย เพิ่นบ่แม่นผู้สาวเฮา เป็นต้น)
ผู้ดำเนินรายการ/ผู้สื่อข่าว
แก้- สุวิช สุทธิประภา ผู้ประกาศข่าว
- กรองทอง จันทะบุรม ผู้ประกาศข่าวภาคสนาม
- รัชนีย์ สุทธิธรรม ผู้ประกาศข่าว
นักธุรกิจ
แก้- ธีรายุทธ ศิริวัฒนาเลิศ นักธุรกิจ
- วิทูร สุริยวนากุล นักธุรกิจ (ผู้ก่อตั้ง บริษัทสยามโกลบอลเฮ้าส์ จํากัด (มหาชน))
- จักรพงษ์ สุริยวนากุล นักธุรกิจ (ผู้ก่อตั้ง บริษัทไทยเพิ่มพูลโฮมช็อป จำกัด)
- พนม ศรีแสนปาง นักธุรกิจ (ผู้ก่อตั้ง บริษัทศรีแสงดาวไบโอเพาเวอร์ จำกัด)
- พันธ์รบ กำลา นักธุรกิจ (ผู้ก่อตั้ง บริษัทชายสี่บะหมี่เกี๊ยว จำกัด)
นักเขียน/กวี
แก้- สิลา วีระวงส์ กวี นักเขียน ศิลปินมรดกอีสาน นักปราชญ์คนสำคัญของชาวลาว
- เดช ภูสองชั้น นักเขียน ผู้เขียน "คนทุ่งกุลา"
วีรบุรุษ
แก้- นาวาตรี สมาน กุนัน วีรบุรุษถ้ำหลวง
ศิลปินแห่งชาติ
แก้- ทรงศักดิ์ ประทุมสินธุ์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีพื้นบ้านอีสาน) ประจำปีพุทธศักราช 2562 ผู้พัฒนาเครื่องดนตรี โหวด เครื่องดนตรีประจำจังหวัดร้อยเอ็ด
- ไพวรินทร์ ขาวงาม กวี นักเขียน ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ กวีนิพนธ์ พุทธศักราช 2558 ผู้เขียน ม้าก้านกล้วย
นักวิชาการ ปราชญ์ชุมชน พื้นบ้าน
แก้- คำเม้า เปิดถนน ครูพิณเเละมือพิณวง Paradise Bangkok Molam International Band (เดินสายในระดับสากล)
- พยอม สีนะวัฒน์ ครูช่างศิลป์ ครูช่างทอผ้ายกดอกลายโบราณ ศิลปินเเห่งชาติ พำนักเเละมีครอบครัวอยู่ที่จังหวัดร้อยเอ็ดเเต่เกิดที่จังหวัดศรีสะเกษ
- คำหมา แสงงาม ครูช่างศิลป์ ครูช่างเมรุนกหัสดีลิงค์ ศิลปินเเห่งชาติ พำนักเเละมีครอบครัวอยู่ที่จังหวัดร้อยเอ็ดแต่เกิดที่จังหวัดอุบลราชธานี
- ยุทธพงศ์ มาตย์วิเศษ นักวิชาการ ศิลปินมรดกอีสาน ครูช่างเมรุนกหัสดีลิงค์ ผู้ที่ปริวรรตใบลานอุรังคธาตุนิทานฉบับที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกความทรงจำแห่งโลก
- สมัยลี สร้อยศิลา ปราชญ์พื้นบ้าน ด้านทัศนศิลป์ ครูช่างตัดแต่งลายเอ้บั้งไฟ ลายศรีภูมิ
- ล้อม ปราสาร ปราชญ์ชุมชน ด้านศาสนพิธี พิธีกรรม ครูช่างทอผ้าไหมลายศรีภูมิดั้งเดิม
- เลียบ แจ้งสนาม ศิลปินพื้นบ้าน ด้านทัศนศิลป์ ครูช่างตัดแต่งลายเอ้บั้งไฟ ลายศรีภูมิ ผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม ของ สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อกระทรวงวัฒนธรรม
- ครุธ ภูมิแสนโคตร ปราชญ์พื้นบ้าน ด้านทัศนศิลป์ ครูช่างตัดแต่งลายเอ้บั้งไฟ ศิลปินมรดกอีสาน
- สุมิตรา ทองเภ้า ครูช่างทอผ้ายกดอกลายโบราณจังหวัดร้อยเอ็ด ครูช่างศิลป์ บุคคลต้นแบบของการพัฒนาเชิงสร้างสรรค์
- เลื่อน สามาลา ปราชญ์พื้นบ้าน ด้านทัศนศิลป์ ครูช่างตัดแต่งลายเอ้บั้งไฟ ช่างออกแบบและก่อสร้างสถาปัตยกรรมไทย
อ้างอิง
แก้- ↑ กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร. สำนักงานจังหวัดร้อยเอ็ด. "เอกลักษณ์ของจังหวัดร้อยเอ็ด." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.roiet.go.th/brand_of_roiet.htm เก็บถาวร 2007-03-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 30 มกราคม 2552.
- ↑ ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm เก็บถาวร 2016-03-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_64.pdf 2564. สืบค้น 10 กุมภาพันธ์ 2565.
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ. เก็บถาวร 2011-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 34 ตอนที่ ๐ก วันที่ 29 เมษายน 2460
- ↑ เขียนจำนวนตามแบบภาษาลาวโบราณ
- ↑ "ดอนขุมเงิน และบ่อพันขัน : เกลือ และน้ำศักดิ์สิทธิ์ สร้างอาณาจักรขอมโบราณ". matichonweekly.com. 2018-05-31.
- ↑ "ภูมิบ้านภูมิเมือง : เมืองร้อยเอ็ด ภูมิแห่งชัยชนะของพระเจ้าจิตรเสน". naewna.com. 2014-09-07.
- ↑ หม่อมอมรวงศ์วิจิตร (ม.ร.ว.ปฐม คเนจร), ตำนาน เมืองนครจำปาศักดิ์ (อุบลราชธานี : ในงานฌาปนกิจศพ นายวิจิตรศักดิ์ สาระโสภณ ณ เมรุวัดเเจ้ง, ๒๕๒๗) น. ๔
- ↑ https://finearts.go.th/storage/contents/file/S7yoBa3aJe2AkCKdVqwQCKbvlt16f6i01xIy9q3Z.pdf
- ↑ 10.0 10.1 10.2 "พื้นที่อาณาเขตของเมืองศรีภูมิ(สุวรรณภูมิ)". เฟสบุ๊ค. 2021-07-15. สืบค้นเมื่อ 2023-06-23.
- ↑ คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์สำนักนายกรัฐมนตรี, เรื่องทรงตั้งเจ้าประเทศราชกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 (กรุงเทพฯ : สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี, ๒๕๑๔) น. ๒๓,๔๑-๔๕
- ↑ https://www.finearts.go.th/nlt-korat/view/19408-%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B9%8C-%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-1
- ↑ อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม 2 , 2507 , หน้า 49-50 [1]
- ↑ Climatological Information for Roi Et, Thailand เก็บถาวร 2012-12-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, accessed 29 March 2012.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อpopulation
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-18. สืบค้นเมื่อ 2022-10-18.
- ↑ https://www.jangkhao.org/12555/
- ↑ https://news.trueid.net/detail/G3baGQWZ65wk
- ↑ https://news.trueid.net/detail/G3baGQWZ65wk
- ↑ https://www.77kaoded.com/news/winai/2025586
ดูเพิ่ม
แก้แหล่งข้อมูลอื่น
แก้16°03′N 103°39′E / 16.05°N 103.65°E
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ จังหวัดร้อยเอ็ด
- แผนที่ จาก มัลติแมป โกลบอลไกด์ หรือ กูเกิลแผนที่
- ภาพถ่ายทางอากาศ จาก เทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
- ภาพถ่ายดาวเทียม จาก วิกิแมเปีย