จังหวัดนครนายก

จังหวัดในภาคกลางในประเทศไทย
(เปลี่ยนทางจาก จ.นครนายก)

นครนายก เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลาง (บางหน่วยงานจัดให้อยู่ในภาคตะวันออก) ของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นครั้งล่าสุดโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดนครนายก พุทธศักราช 2489 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2489

จังหวัดนครนายก
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันChangwat Nakhon Nayok
(ตามเข็มนาฬิกาจากซ้ายบน): วัดอุดมธานี, หลวงพ่อปากแดงที่วัดพราหมณี, ป่าไผ่วัดจุฬาภรณ์วนาราม, ศาลพระรูปมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒวิทยาเขตองครักษ์, เขื่อนขุนด่านปราการชล
คำขวัญ: 
นครนายก เมืองในฝันที่ใกล้กรุง
ภูเขางาม น้ำตกสวย
รวยธรรมชาติ ปราศจากมลพิษ
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดนครนายกเน้นสีแดงประเทศมาเลเซียประเทศพม่าประเทศลาวประเทศเวียดนามประเทศกัมพูชาจังหวัดนราธิวาสจังหวัดยะลาจังหวัดปัตตานีจังหวัดสงขลาจังหวัดสตูลจังหวัดตรังจังหวัดพัทลุงจังหวัดกระบี่จังหวัดภูเก็ตจังหวัดพังงาจังหวัดนครศรีธรรมราชจังหวัดสุราษฎร์ธานีจังหวัดระนองจังหวัดชุมพรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จังหวัดเพชรบุรีจังหวัดราชบุรีจังหวัดสมุทรสงครามจังหวัดสมุทรสาครกรุงเทพมหานครจังหวัดสมุทรปราการจังหวัดฉะเชิงเทราจังหวัดชลบุรีจังหวัดระยองจังหวัดจันทบุรีจังหวัดตราดจังหวัดสระแก้วจังหวัดปราจีนบุรีจังหวัดนครนายกจังหวัดปทุมธานีจังหวัดนนทบุรีจังหวัดนครปฐมจังหวัดกาญจนบุรีจังหวัดสุพรรณบุรีจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจังหวัดอ่างทองจังหวัดสิงห์บุรีจังหวัดสระบุรีจังหวัดลพบุรีจังหวัดนครราชสีมาจังหวัดบุรีรัมย์จังหวัดสุรินทร์จังหวัดศรีสะเกษจังหวัดอุบลราชธานีจังหวัดอุทัยธานีจังหวัดชัยนาทจังหวัดอำนาจเจริญจังหวัดยโสธรจังหวัดร้อยเอ็ดจังหวัดมหาสารคามจังหวัดขอนแก่นจังหวัดชัยภูมิจังหวัดเพชรบูรณ์จังหวัดนครสวรรค์จังหวัดพิจิตรจังหวัดกำแพงเพชรจังหวัดตากจังหวัดมุกดาหารจังหวัดกาฬสินธุ์จังหวัดเลยจังหวัดหนองบัวลำภูจังหวัดหนองคายจังหวัดอุดรธานีจังหวัดบึงกาฬจังหวัดสกลนครจังหวัดนครพนมจังหวัดพิษณุโลกจังหวัดอุตรดิตถ์จังหวัดสุโขทัยจังหวัดน่านจังหวัดพะเยาจังหวัดแพร่จังหวัดเชียงรายจังหวัดลำปางจังหวัดลำพูนจังหวัดเชียงใหม่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดนครนายกเน้นสีแดง
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดนครนายกเน้นสีแดง
ประเทศ ไทย
การปกครอง
 • ผู้ว่าราชการ ว่าง
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2567)
พื้นที่[1]
 • ทั้งหมด2,122.0 ตร.กม. (819.3 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 67
ประชากร
 (พ.ศ. 2566)[2]
 • ทั้งหมด260,117 คน
 • อันดับอันดับที่ 72
 • ความหนาแน่น122.58 คน/ตร.กม. (317.5 คน/ตร.ไมล์)
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 40
รหัส ISO 3166TH-26
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
 • ต้นไม้สุพรรณิการ์
 • ดอกไม้สุพรรณิการ์
 • สัตว์น้ำปลาตะเพียนทอง
ศาลากลางจังหวัด
 • ที่ตั้งถนนสุวรรณศร ตำบลท่าช้าง อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก 26000
 • โทรศัพท์0 3731 4575
เว็บไซต์http://www.nakhonnayok.go.th/
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ประวัติศาสตร์

แก้

สันนิษฐานว่าเคยเป็นเมืองสมัยทวารวดี มีหลักฐานแนวกำแพงเนินดินและสันคูอยู่ที่ตำบลดงละคร แต่นครนายกนั้นปรากฏหลักฐานในสมัยอยุธยาเป็นเมืองหน้าด่านทางทิศตะวันออกในสมัยพระเจ้าอู่ทอง ต่อมาในปี พ.ศ. 2437 รัชกาลที่ 5 ทรงจัดลักษณะการปกครองโดยแบ่งเป็นมณฑล นครนายกได้เข้าไปอยู่ในเขตมณฑลปราจีนบุรีจนเมื่อปี พ.ศ. 2445 ทรงเลิกธรรมเนียมการมีเจ้าครองเมืองและให้มีตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดขึ้นแทน ในช่วง พ.ศ. 2486-2489 นครนายกได้โอนไปรวมกับจังหวัดปราจีนบุรีและสระบุรี หลังจากนั้นจึงแยกเป็นจังหวัดอิสระ

ในเอกสารโบราณ

แก้

จังหวัดนครนายก ระหว่างปี พ.ศ. 2382 - 2387 ปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีชาวต่างประเทศคือ บาทหลวงปาเลอกัวซ์ และ ดาเวนพอร์ท เดินทางมาถึงเมืองนครนายก และได้บันทึกว่า เมืองนครนายกมีพลเมืองประมาณ 5,000 คน ส่วนมากเป็นชาวลาว และมีชาวสยามอยู่ด้วย ราษฎรประกอบอาชีพในการปลูกข้าวและหาของป่าส่งไปขายที่กรุงเทพ.

ที่มาของชื่อ

แก้

ที่มาของชื่อนครนายกนั้นไม่ชัดเจนทางประวัติศาสตร์ แนวคิดหลักของที่มาของชื่อมีดังนี้

  • จังหวัดนครนายกเดิมชื่อบ้านนาแต่ภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็นจังหวัดนครนายก ในสมัยกรุงศรีอยุธยาดินแดนของนครนายกเป็นป่ารกชัฏ เป็นที่ดอนทำนา หรือทำการเพาะปลูกอะไรไม่ค่อยได้ผล มีไข้ป่าชุกชุมผู้คนจึงพากันอพยพไปอยู่ที่อื่นจนกลายเป็นเมืองร้าง ต่อมาพระมหากษัตริย์ทรงทราบความเดือดร้อนของชาวเมืองจึงโปรดให้ยกเลิกภาษีค่านา เพื่อจูงใจให้ชาวเมืองอยู่ที่เดิมทำให้มีคนอพยพมาอยู่เพิ่มมากขึ้นจนเป็นชุมชนใหญ่ และเรียกเมืองนี้จนติดปากว่า เมืองนา-ยก ภายหลังจึงกลายเป็นนครนายกจนทุกวันนี้ [3]
  • สมัยก่อนรัชกาลที่ 5 การปกครองส่วนภูมิภาคถูกแบ่งเป็นสมุหนายกและสมุหกลาโหม โดยสมุหกลาโหมปกครองทั้งฝ่ายพลเรือนและทหารในหัวเมืองด้านใต้ และสมุหนายกปกครองทั้งฝ่ายพลเรือนและทหารในหัวเมืองด้านเหนือ พื้นที่เดิมของจังหวัดนครนายกนั้นเป็นพื้นที่ที่เคยอยู่สังกัดกับสมุหกลาโหมแต่ภายหลังถูกโอนให้อยู่ภายใต้การดูแลของสมุหนายก พื้นที่ตรงนี้จึงได้ชื่อว่านครนายกนับแต่นั้นเป็นต้นมา [3]

ภูมิศาสตร์

แก้

จังหวัดนี้ตั้งอยู่ที่ละติจูดที่ 14 องศาเหนือ และลองจิจูดที่ 101 องศาตะวันออก มีระยะทางจากจากกรุงเทพมหานครตามถนนรังสิต-นครนายก (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 305) ผ่านอำเภอองครักษ์ถึงจังหวัดนครนายก ระยะทาง 105 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 2,122 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 1,326,250 ไร่

 
แม่น้ำนครนายก

สภาพโดยทั่วไปเป็นที่ราบ ทางตอนเหนือและตะวันออกเป็นภูเขาสูงชันในเขตอำเภอบ้านนา อำเภอเมืองนครนายก และอำเภอปากพลี ส่วนหนึ่งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ซึ่งเป็นเขตรอยต่อกับอีก 3 จังหวัด ได้แก่ สระบุรี นครราชสีมา และปราจีนบุรี ซึ่งมีเทือกเขาติดต่อกับทิวเขาดงพญาเย็น มียอดเขาสูงที่สุดของจังหวัดคือ ยอดเขาเขียวมีความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,351 เมตร ส่วนทางตอนกลางและตอนใต้เป็นที่ราบอันกว้างใหญ่ เป็นส่วนหนึ่งของที่ราบสามเหลี่ยมลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาที่เรียกว่า "ที่ราบกรุงเทพฯ"

ลักษณะดินเป็นดินปนทรายและดินเหนียวเหมาะแก่การ ทำนา ทำสวนผลไม้ และการอยู่อาศัย

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

แก้

การเมืองการปกครอง

แก้

หน่วยการปกครอง

แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค

แก้
 
แผนที่อำเภอในจังหวัดนครนายก

การปกครองส่วนภูมิภาคของจังหวัดนครนายกแบ่งออกเป็น 4 อำเภอ 41 ตำบล 403 หมู่บ้าน

ข้อมูลอำเภอต่าง ๆ ในจังหวัดนครนายก

ชั้น หมายเลข อำเภอ ประชากร
(พ.ศ. 2564)
พื้นที่
(ตร.กม.)
ความหนาแน่น
(คน/ตร.กม.)
รหัสไปรษณีย์ ระยะทางจาก
อำเภอเมืองนครนายก
1 1 อำเภอเมืองนครนายก 101,741 728.1 139.74 26000, 26001 -
3 2 อำเภอปากพลี 24,294 519.1 46.80 26130 10
2 3 อำเภอบ้านนา 69,267 388.4 178.34 26110 17
3 4 อำเภอองครักษ์ 65,129 486.4 133.90 26120 31
รวม 260,431 2,122.0 122.73

การปกครองส่วนท้องถิ่น

แก้
 
ภาพตัวเมืองนครนายก

จังหวัดนครนายกมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรวม 46 แห่ง ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครนายก, เทศบาลเมือง 1 แห่ง คือ เทศบาลเมืองนครนายก, เทศบาลตำบล 5 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 39 แห่ง[4] โดยรายชื่อเทศบาลทั้งหมดในจังหวัดนครนายกมีดังนี้

ทำเนียบผู้ว่าราชการจังหวัด

แก้
ลำดับ ชื่อ เริ่มดำรงตำแหน่ง ออกจากตำแหน่ง
1 พระพิบูลย์สงคราม (จอน) 1 กุมภาพันธ์ 2445 13 กรกฎาคม 2449
2 พระกรุงศรีบริรักษ์ (สุ่ม) 13 กรกฎาคม 2449 23 กุมภาพันธ์ 2450
3 พระพนมสารนรินทร์ (กลึง) 23 กุมภาพันธ์ 2450 11 มกราคม 2451
4 พระเสนานิคมพินิจ (ม.ร.ว. ชุบ นพวงศ์) 15 มีนาคม 2451 14 กรกฎาคม 2458
5 พระยานายกรชนวิมลภักดี (เจริญ ปริยานนท์) 14 กรกฎาคม 2458 5 พฤษภาคม 2470
6 พระศรีนครคาม (ทอง สุทธพินทุ) 5 พฤษภาคม 2470 16 กรกฎาคม 2471
7 หม่อมเจ้าธงไชยสิริพันธ์ ศรีธวัช 13 สิงหาคม 2471 28 กุมภาพันธ์ 2476
8 หลวงศรีนรานุบาล (สมุทร สาขากร) 5 มีนาคม 2476 30 เมษายน 2478
9 หลวงบรรณสารประสิทธิ์ (สิทธิ โรจนวิภาต) 13 พฤษภาคม 2478 1 สิงหาคม 2481
10 หลวงวิโรจน์รัฐกิจ (เปรื่อง โรจนกุล) 6 สิงหาคม 2481 1 พฤษภาคม 2482
11 หลวงภูวนาทนรานุบาล (สนิท มหามุสิก) 5 พฤษภาคม 2482 16 พฤศจิกายน 2482
12 ขุนธรรมรัฐธุราทร (โกมล โรจน์สุนทร) 16 พฤศจิกายน 2482 1 พฤษภาคม 2484
13 ขุนไมตรีประชารักษ์ (กิมเซ็ง วัลยกุล) 5 พฤษภาคม 2484 31 ธันวาคม 2485
14 นายชุณห์ นกแก้ว 1 พฤศจิกายน 2489 1 กันยายน 2490
15 ขุนวรคุตคณารักษ์ (บุญฤทธิ์ วรคุตตานนท์) 2 กันยายน 2490 1 มกราคม 2491
16 ขุนสนิทประชากร (สนิท สนิทประชากร) 2 มกราคม 2491 8 มิถุนายน 2496
17 นายนวน มีชำนาญ 10 มิถุนายน 2496 21 กรกฎาคม 2497
18 นายประพนธ์ ณ พัทลุง 22 กรกฎาคม 2497 26 เมษายน 2498
19 นายชูสง่า ฤทธิประศาสน์ (ไชยพันธุ์) 27 เมษายน 2498 8 ตุลาคม 2502
20 นายแสวง รุจิรัต 9 ตุลาคม 2502 30 มิถุนายน 2503
21 นายประทวน อรรถโกวิท กรกฎาคม 2503 30 กันยายน 2510
22 นายอนันต์ พยัคฆันตร์ 1 ตุลาคม 2510 16 พฤศจิกายน 2510
23 นายสมอาจ กุยยกานนท์ 16 ธันวาคม 2510 30 กันยายน 2515
24 นายจำรูญ ปิยัมปตระ 1 ตุลาคม 2515 1 มกราคม 2519
ลำดับ ชื่อ เริ่มดำรงตำแหน่ง ออกจากตำแหน่ง
25 นายเมธี ส.ศรีสุภาพ 1 มกราคม 2519 30 กันยายน 2521
26 นายสนิท รุจิณรง 1 ตุลาคม 2521 30 กันยายน 2523
27 นายกริช เกตุแก้ว 1 ตุลาคม 2523 30 กันยายน 2525
28 นายธานี โรจนาลักษณ์ 1 ตุลาคม 2525 30 กันยายน 2527
29 นายปัญญา ฤกษ์อุไร 1 ตุลาคม 2527 30 กันยายน 2531
30 นายสุชาญ พงษ์เหนือ 1 ตุลาคม 2531 30 กันยายน 2532
31 ร้อยตรีพูลศักดิ์ สัตยานุรักษ์ 1 ตุลาคม 2532 15 มิถุนายน 2534
32 นายประกิต เทพชนะ 16 มิถุนายน 2534 25 มกราคม 2536
33 คุณหญิงจรัสศรี ทีปิรัช 26 มกราคม 2536 5 มิถุนายน 2541
34 ดร.พีรพล ไตรทศาวิทย์ 6 มิถุนายน 2541 30 กันยายน 2542
35 นายประกิต กันยาบาล 1 ตุลาคม 2542 30 กันยายน 2544
36 นายเชิดวิทย์ ฤทธิประศาสน์ 1 ตุลาคม 2544 30 กันยายน 2547
37 นายรัชทิน ศยามานนท์ 1 ตุลาคม 2547 30 กันยายน 2548
38 นายปานชัย บวรรัตนปราณ 1 ตุลาคม 2548 12 พฤศจิกายน 2549
39 นายเจตน์ ธนวัฒน์ 13 พฤศจิกายน 2549 6 พฤษภาคม 2551
40 นายไพรัตน์ สกลพันธุ์ 6 พฤษภาคม 2551 15 มีนาคม 2552
41 นายปรีชา กมลบุตร 16 มีนาคม 2552 30 กันยายน 2553
42 นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ 1 ตุลาคม 2553 13 มกราคม 2555
43 ดร.สุรชัย ศรีสารคาม 23 กุมภาพันธ์ 2555 18 ตุลาคม 2556
44 ดร.ทวี นริสศิริกุล 30 ตุลาคม 2556 30 กันยายน 2558
45 ดร.สุจินต์ ไชยชุมศักดิ์ 1 ตุลาคม 2558 30 กันยายน 2559
46 ดร.ประดิษฐ์ ยมานันท์ 1 ตุลาคม 2559 30 กันยายน 2560
47 นายณัฐพงศ์ ศิริชนะ 1 ตุลาคม 2560 30 กันยายน 2563
48 นายอำพล อังคภากรณ์กุล 1 ตุลาคม 2563 30 กันยายน 2565
49 นายบัญชา เชาวรินทร์ 2 ธันวาคม 2565 30 กันยายน 2566
50 นายสุภกิณห์ แวงชิน 1 ตุลาคม 2566 30 กันยายน 2567

การศึกษา

แก้
 
หอพระ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์

ในจังหวัดนครนายก มีสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ ได้แก่

บุคคลที่มีชื่อเสียง

แก้
พระสงฆ์ พระภิกษุ
นักการเมือง

จังหวัดนครนายกมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคนแรก คือ พระยาวิเศษสิงหนาท (หร่าย รัตนกสิกร)

บันเทิง
นักกีฬา

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm เก็บถาวร 2016-03-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
  2. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_64.pdf 2564. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
  3. 3.0 3.1 เว็บมาสเตอร์ นครนายก (2012-02-21). "ประวัดิความเป็นมาจังหวัดนครนายก". กรมโยธาธิการและผังเมือง. สืบค้นเมื่อ 2017-10-23.
  4. ข้อมูลจำนวน อปท. แยกรายจังหวัด กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

14°12′N 101°13′E / 14.2°N 101.22°E / 14.2; 101.22