จังหวัดกระบี่

จังหวัดในภาคใต้ในประเทศไทย
(เปลี่ยนทางจาก จ.กระบี่)

กระบี่ เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคใต้ของประเทศไทย เป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของภาคใต้ มีแหล่งท่องเที่ยวหลายแห่ง เช่น หาดทรายขาว น้ำทะเลใส ปะการัง ถ้ำ และหมู่เกาะน้อยใหญ่กว่า 100 เกาะ และเป็นที่ตั้งของเรือนรับรองที่ประทับแหลมหางนาค

จังหวัดกระบี่
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันChangwat Krabi
จากซ้ายไปขวา บนลงล่าง: ชายหาดเกาะปอดะ ตำบลอ่าวนาง หมู่เกาะพีพี หาดอ่าวมาหยา ป่าชายเลนอำเภออ่าวลึก ท่าอากาศยานนานาชาติกระบี่
คำขวัญ: 
กระบี่เมืองน่าอยู่ ผู้คนน่ารัก[1]
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดกระบี่เน้นสีแดงประเทศมาเลเซียประเทศพม่าประเทศลาวประเทศเวียดนามประเทศกัมพูชาจังหวัดนราธิวาสจังหวัดยะลาจังหวัดปัตตานีจังหวัดสงขลาจังหวัดสตูลจังหวัดตรังจังหวัดพัทลุงจังหวัดกระบี่จังหวัดภูเก็ตจังหวัดพังงาจังหวัดนครศรีธรรมราชจังหวัดสุราษฎร์ธานีจังหวัดระนองจังหวัดชุมพรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จังหวัดเพชรบุรีจังหวัดราชบุรีจังหวัดสมุทรสงครามจังหวัดสมุทรสาครกรุงเทพมหานครจังหวัดสมุทรปราการจังหวัดฉะเชิงเทราจังหวัดชลบุรีจังหวัดระยองจังหวัดจันทบุรีจังหวัดตราดจังหวัดสระแก้วจังหวัดปราจีนบุรีจังหวัดนครนายกจังหวัดปทุมธานีจังหวัดนนทบุรีจังหวัดนครปฐมจังหวัดกาญจนบุรีจังหวัดสุพรรณบุรีจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจังหวัดอ่างทองจังหวัดสิงห์บุรีจังหวัดสระบุรีจังหวัดลพบุรีจังหวัดนครราชสีมาจังหวัดบุรีรัมย์จังหวัดสุรินทร์จังหวัดศรีสะเกษจังหวัดอุบลราชธานีจังหวัดอุทัยธานีจังหวัดชัยนาทจังหวัดอำนาจเจริญจังหวัดยโสธรจังหวัดร้อยเอ็ดจังหวัดมหาสารคามจังหวัดขอนแก่นจังหวัดชัยภูมิจังหวัดเพชรบูรณ์จังหวัดนครสวรรค์จังหวัดพิจิตรจังหวัดกำแพงเพชรจังหวัดตากจังหวัดมุกดาหารจังหวัดกาฬสินธุ์จังหวัดเลยจังหวัดหนองบัวลำภูจังหวัดหนองคายจังหวัดอุดรธานีจังหวัดบึงกาฬจังหวัดสกลนครจังหวัดนครพนมจังหวัดพิษณุโลกจังหวัดอุตรดิตถ์จังหวัดสุโขทัยจังหวัดน่านจังหวัดพะเยาจังหวัดแพร่จังหวัดเชียงรายจังหวัดลำปางจังหวัดลำพูนจังหวัดเชียงใหม่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดกระบี่เน้นสีแดง
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดกระบี่เน้นสีแดง
ประเทศ ไทย
การปกครอง
 • ผู้ว่าราชการ สมชาย หาญภักดีปฏิมา[2]
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2566)
พื้นที่[3]
 • ทั้งหมด4,708.512 ตร.กม. (1,817.967 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 45
ประชากร
 (พ.ศ. 2564)[4]
 • ทั้งหมด479,351 คน
 • อันดับอันดับที่ 56
 • ความหนาแน่น101.81 คน/ตร.กม. (263.7 คน/ตร.ไมล์)
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 50
รหัส ISO 3166TH-81
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
 • ต้นไม้ทุ้งฟ้า
 • ดอกไม้ทุ้งฟ้า
 • สัตว์น้ำหอยชักตีน
ศาลากลางจังหวัด
 • ที่ตั้งถนนอุตรกิจ ตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ 81000
 • โทรศัพท์0 7561 1144
 • โทรสาร0 7562 2138
เว็บไซต์http://www.krabi.go.th/
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ประวัติ แก้

จากหลักฐานทางโบราณคดีสันนิษฐานได้ว่า บริเวณเมืองกระบี่เคยเป็นแหล่งชุมชนโบราณก่อนประวัติศาสตร์ และต่อเนื่องมาจนถึงสมัยประวัติศาสตร์ ดินแดนนี้เดิมคือ บันไทยสมอ มีสภาพเป็นชุมชนเล็ก ๆ ขึ้นอยู่กับอาณาจักรนครศรีธรรมราช เมื่อถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เจ้าพระยานคร (น้อย) ได้มอบหมายให้ปลัดเมืองไปตั้งเพนียดคล้องช้างที่กระบี่ ทำให้ผู้คนอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานกันมากขึ้นจนกลายเป็นชุมชนใหญ่ ต่อมายกฐานะเป็น แขวงเมืองกาสัย หรือ ปกาสัย[5] ขึ้นต่อเมืองนครศรีธรรมราช

ประมาณปี พ.ศ. 2415 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะขึ้นเป็นเมืองปกาสัย และพระราชทานนามว่า เมืองกระบี่ เมื่อได้ประกาศตั้งขึ้นเป็นเมืองแล้วโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งที่ทำการอยู่ที่ตำบลกระบี่ใหญ่ (บ้านตลาดเก่า) ในท้องที่อำเภอเมืองกระบี่ปัจจุบัน มีหลวงเทพเสนาเป็นเจ้าเมืองกระบี่คนแรก จนในปี พ.ศ. 2418 เมืองกระบี่ได้แยกออกจากการปกครองของเมืองนครศรีธรรมราช เป็นเมืองจัตวาขึ้นตรงต่อกรุงเทพ และ ในปี พ.ศ. 2443 สมัยพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี๊ ณ ระนอง) เป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต ได้ย้ายที่ตั้งเมืองไปอยู่ตำบลปากน้ำ ซึ่งอยู่ใกล้ปากอ่าวเป็นร่องน้ำลึก ให้เป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัดจนถึงปัจจุบันนี้[6]

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด แก้

 
ต้นทุ้งฟ้า

ภูมิศาสตร์ แก้

เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ริมฝั่งช่องแคบมะละกา อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร 814 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) มีเนื้อที่ 4,708 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยภูเขา ที่ดอน ที่ราบ หมู่เกาะน้อยใหญ่ กว่า 154 เกาะ อุดมไปด้วยป่าชายเลน ตัวเมืองกระบี่มีแม่น้ำ ยาวประมาณ 5 กิโลเมตร ไหลผ่านลงสู่ช่องแคบมะละกา ที่ตำบลปากน้ำ นอกจากนี้ยังมีคลองปกาสัย คลองกระบี่ใหญ่ และคลองกระบี่น้อย มีต้นกำเนิดจากยอดเขาที่สูงที่สุดในจังหวัดกระบี่ คือ เขาพนมเบญจา

สภาพภูมิประเทศ แก้

สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปของจังหวัดกระบี่ ทางตอนเหนือประกอบด้วยเทือกเขายาวทอดตัวไปในแนวเหนือใต้ สลับกับสภาพพื้นที่แบบลูกคลื่นลอนลาด และลอนชัน มีที่ราบชายฝั่งทะเลด้านตะวันตก บริเวณทางใต้ มีสภาพภูมิอากาศเป็นภูเขากระจัดกระจาย สลับกับพื้นที่แบบลูกคลื่น ส่วนบริเวณทางตอนใต้สุดและตะวันตกเฉียงใต้ มีสภาพพื้นที่เป็นแบบลูกคลื่นลอนลาดจนถึงค่อนข้างเรียบ และมีภูเขาสูง ๆ ต่ำ ๆ สลับกันไป บริเวณด้านตะวันตกมีลักษณะ เป็นชายฝั่งติดกับช่องแคบมะละกายาวประมาณ 160 กิโลเมตร ประกอบด้วยหมู่เกาะน้อยใหญ่ประมาณ 130 เกาะ แต่เป็นเกาะที่มีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 13 เกาะ เกาะที่สำคัญได้แก่ เกาะลันตา เป็นที่ตั้งของอำเภอเกาะลันตา และเกาะพีพี ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอเมืองกระบี่ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงามติดอันดับของโลก บริเวณตัวเมืองมีแม่น้ำกระบี่ ยาวประมาณ 5 กิโลเมตร ไหลผ่านลงสู่ช่องแคบมะละกาที่ตำบลปากน้ำ นอกจากนี้ยังมีคลองปกาสัย คลองกระบี่ใหญ่ และคลองกระบี่น้อย ซึ่งมี่ต้นกำเนิดมาจากเทือกเขาพนมเบญจา เทือกเขาที่สูงที่สุดในจังหวัดกระบี่

สภาพภูมิอากาศ แก้

จังหวัดกระบี่ มีภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน ซึ่งได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้มีฝนตกชุกตลอดปี และมีเพียง 2 ฤดู คือ

  1. ฤดูร้อน มี 4 เดือน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ไปจนถึงเดือนพฤษภาคม
  2. ฤดูฝน มี 8 เดือน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน ไปจนถึงเดือนตุลาคม

อาณาเขต แก้

การเมืองการปกครอง แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค แก้

การปกครองแบ่งออกเป็น 8 อำเภอ 53 ตำบล 389 หมู่บ้าน

  1. อำเภอเมืองกระบี่
  2. อำเภอเขาพนม
  3. อำเภอเกาะลันตา
  4. อำเภอคลองท่อม
  5. อำเภออ่าวลึก
  6. อำเภอปลายพระยา
  7. อำเภอลำทับ
  8. อำเภอเหนือคลอง
  

การปกครองส่วนท้องถิ่น แก้

มีการแบ่งการปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนี้

เทศบาลเมือง

รายชื่อเจ้าเมืองและผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ แก้

  1. หลวงเทพเสนา 
  2. พระยาอิศราธิชัย
  3. พระพนธิพยุหสงคราม (กลิ่น ณ นคร) 
  4. พระบริรักษ์ภูธร 
  5. พระเทพ (กระต่าย ณ นคร) 
  6. นายกลับ ณ นคร (ผู้รั้ง) 
  7. พระยาอุตรกิจวิจารณ์ 
  8. พระพนธิพยุหสงคราม (พลอย ณ นคร) 
  9. พระยาอิศราธิชัย (หมี ณ ถลาง) 
  10. พระระนองบุรีศรีสมุทรเขต (คลองอยู่โหย ณ ระนอง) 1 มี.ค. 2468 - 16 พ.ค. 2473
  11. พระทวีธุระประศาสตร์ (จอน พรหมบุตร) 17 พ.ค. 2473 - 18 มิ.ย. 2476
  12. พระบรรหารวรพจน์  (บุญนาค คตเดชะ) 19 มิ.ย. 2476 - 30 พ.ย. 2478
  13. ขุนไมตรีประชารักษ์ (ไมตรี พิจิตรนรการ) 20 ธ.ค. 2478 - 2 พ.ย. 2484
  14. นายออม ธีญะระ 1 มิ.ย. 2484 - 11 ก.ค. 2485
  15. นายวิจารณ์ วิจารณ์นิกรกิจ 9 ก.ย. 2485 - 24 ก.ค. 2487
  16. นายสมบูรณ์ จันทร์ประทับ 2 มี.ค. 2487 - 1 ก.ค. 2489
  17. นายจันทร์ สมบูรณ์กุล 7 ต.ค. 2489 - 6 ธ.ค. 2490
  18. นายวิเวก จันทโรจวงศ์ 6 ธ.ค. 2490 - 10 มิ.ย. 2497
  19. นายเฉลิม ยูปานนท์ 15 มิ.ย. 2497 - 18 พค. 2498
  20. นายอ้วน สุรกุล 2 ก.ย. 2498 - 20 พ.ค. 2501
  21. นายประจักษ์ วัชรปาณ 20 พ.ค. 2501 - 1 ก.ค. 2503
  22. นายเคลื่อน จิตรสำเริง 2 ก.ค. 2503 - 27 ต.ค. 2506
  23. นายพุก ฤกษ์เกษม 28 ต.ค. 2506 - 30 ก.ย. 2511
  24. นายเหรียญ สร้อยสนธิ์ 2 ต.ค. 2511 - 30 ก.ย. 2513
  25. นายเฉลิม สุวรรณเนตร 1 ต.ค. 2513 - 30 ก.ย. 2515
  26. นายวัชระ สิงคิวิบูลย์ 2 ต.ค. 2515 - 5 ต.ค. 2516
  27. นายฉลอง กัลยาณมิตร 8 ต.ค. 2516 - 3 ต.ค. 2518
  28. นายกระจ่าง คีรินทรนนท์ 9 ต.ค. 2518 - 30 ก.ย. 2520
  29. นายเจริญจิตต์ ณ สงขลา 1 ต.ค. 2520 - 30 ก.ย. 2521
  30. นายดิเรก ดิเรกวัฒนะ 1 ต.ค. 2521 - 21 ก.ย. 2522
  31. นายเชิด ดิฐานนท์ 1 ต.ค. 2522 - 30 ก.ย. 2523
  32. เรือตรี สุกรี รักษ์ศรีทอง 1 ต.ค. 2523 - 30 เม.ย. 2526
  33. นายบุญช่วย หุตะชาต 1 พ.ค. 2526 - 30 ก.ย. 2529
  34. นายมังกร กองสุวรรณ 1 ต.ค. 2529 - 30 ก.ย. 2531
  35. นายกนก ยะสารวรรณ 1 ต.ค. 2531 - 30 ก.ย. 2533
  36. พันตรี ประโยชน์ สุดจินดา 1 ต.ค. 2533 - 30 ก.ย. 2535
  37. นายวีระ รอดเรือง 1 ต.ค. 2535 - 30 ก.ย. 2537
  38. นายศิระ ชวนะวิรัช 1 ต.ค. 2537 - 30 ก.ย. 2538
  39. นายสถิตย์ แสงศรี 1 ต.ค. 2538 - 30 เม.ย. 2540
  40. นายสมบูรณ์ สุขสำราญ 1 พ.ค. 2540 - 11 ม.ค. 2541
  41. นายศิระ ชวนะวิรัช 12 ม.ค. 2541 - 30 กย. 2544
  42. นายสมาน กลิ่นเกษร 1 ต.ค. 2544 - 30 ก.ย. 2546
  43. นายอำนวย สงวนนาม 1 ต.ค. 2546 - 30 ก.ย. 2547 
  44. นายอานนท์ พรหมนารท  1 ต.ค. 2547 - 30 ก.ย. 2548 
  45. นายสนธิ เตชานันท์ 1 ต.ค. 2548 - 12 พ.ย. 2549     
  46. นายศิวะ ศิริเสาวลักษณ์  13 พ.ย. 2549 - 30 ก.ย. 2552 
  47. นายประสิทธิ์ โอสถานนท์ 1 ต.ค. 2552 - 30 ก.ย. 2557
  48. นายทรงพล สวาสดิ์ธรรม 2 พ.ย. 2557 - 30 ก.ย. 2558
  49. นายพินิจ บุญเลิศ 1 ต.ค. 2558 - 30 ก.ย. 2560
  50. พันตำรวจโท หม่อมหลวงกิติบดี ประวิตร 1 ต.ค. 2560 - 30 ก.ย. 2564
  51. นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ 1 ต.ค. 2564 - 2 ธ.ค. 2565
  52. นายภาสกร บุญญลักษม์ 2 ธ.ค. 2565 - 30 ก.ย. 2566
  53. นายสมชาย หาญภักดีปฏิมา 17 ธ.ค. 2566 - ปัจจุบัน

การคมนาคม แก้

ทางหลวง แก้

สามารถไปได้ 3 เส้นทาง คือ

  1. จากกรุงเทพมหานคร ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 4 (ถ.เพชรเกษม) ผ่าน จ.สมุทรสาคร จ.นครปฐม จ.ราชบุรี จ.เพชรบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ จ.ชุมพร จ.ระนอง จ.พังงา จนถึง จ.กระบี่ ระยะทาง 946 กิโลเมตร
  2. จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 4 (ถ.เพชรเกษม) ถึง จ.ชุมพร แล้วต่อด้วยเส้นทางหลวงหมายเลข 41 ผ่าน อ.หลังสวน จ.ชุมพร เข้าสู่ อ.ไชยา อ.เวียงสระ จ.สุราษฏร์ธานี จากนั้นใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 4035 ถึง อ.อ่าวลึก แล้ววกเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 4 อีกครั้ง เข้าสู่ จ.กระบี่ ระยะทาง 814 กิโลเมตร
  3. จากจังหวัดภูเก็ต ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 402 ต่อด้วยทางหลวงหมายเลข 4 ผ่าน ต.โคกกลอย อ.ตะกั่วทุ่ง อ.ทับปุด จ.พังงา เข้าสู่ อ.อ่าวลึก จ.กระบี่ ระยะทาง 185 กิโลเมตร

รถโดยสารประจำทาง แก้

มีรถโดยสารปรับอากาศของบริษัท ขนส่ง จำกัด และของเอกชน บริษัท ลิกไนท์ ทัวร์ สายกรุงเทพฯ-กระบี่ ออกจากสถานีขนส่งสายใต้ ถนนบรมราชชนนี ทุกวัน วันละหลายเที่ยว ใช้เวลาเดินทางประมาณ 11–12 ชั่วโมง

รถไฟ แก้

จากสถานีรถไฟกรุงเทพ(หัวลำโพง) ลงได้ 3 สถานี คือ

เครื่องบิน แก้

ปัจจุบันมีสายการบินภายในประเทศ คือ การบินไทย แอร์เอเชีย บางกอกแอร์เวย์ ไทยแอร์เอเชีย นกแอร์ ไทยไลอ้อนแอร์ ไทยเวียดเจ็ท ไทยสไมล์

สถานที่ท่องเที่ยว แก้

บุคคลที่มีชื่อเสียง แก้

นักการเมือง แก้

ภาคเอกชน แก้

นักร้อง นักแสดง แก้

นักกีฬา แก้

บุคคลทั่วไป แก้

  • ประสิทธิ์ เจียวก๊ก - ประธานโครงการ "คืนคุณแผ่นดิน" ถูกดำเนินคดีในข้อหาฉ้อโกงประชาชนและร่วมกันกู้ยืมเงินอันเป็นการฉ้อโกงประชาชนกว่า 1 พันราย[7][8] ร่วมกับพวกประกอบด้วย พ.ท.พญ.อมราภรณ์ วิเศษสุข ประธานโครงการ "เที่ยวเพื่อชาติ", น.ส.ณัฐวรรณ อุตตมะปรากรม, น.ส.สิริมา เนาวรัตน์, นายกิตติวัฒน์ อ่วมอารีย์ และ นายกิตติศักดิ์ เย็นนานนท์ รองประธานกรรมการบริหารบริษัทในเครือของผู้ต้องหาดังกล่าว มูลค่าความเสียหายรวมแล้วกว่า 1,000 ล้านบาท โดยทางสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ให้ยึดและอายัดทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดไว้ชั่วคราว[8]

ข้าราชการพลเรือน แก้

  • สิปป์บวร แก้วงาม - อดีตผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ อดีตผู้ตรวจราชการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และที่ปรึกษามหาเถรสมาคม[9][10]

อ้างอิง แก้

  1. กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร. สำนักงานจังหวัดกระบี่. "ข้อมูลจังหวัดกระบี่: สัญลักษณ์จังหวัด." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.krabi.go.th/men/logo.htm เก็บถาวร 2007-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 21 เมษายน 2553.
  2. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอน 318 ง หน้า 13 วันที่ 19 ธันวาคม 2566
  3. ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm เก็บถาวร 2016-03-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
  4. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_64.pdf 2564. สืบค้น 13 มีนาคม 2565.
  5. "บันทึกประเทศไทย ฉบับที่ 101 - จังหวัดกระบี่".
  6. "ข้อมูลพื้นฐานจังหวัดกระบี่" (PDF). กระทรวงวัฒนธรรม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-06-14. สืบค้นเมื่อ 2021-06-14.
  7. วิศรุต สินพงพร. (2564).สรุปโพสต์เดียวจบ ‘ประสิทธิ์ เจียวก๊ก’ คนดีโดนคดีฉ้อโกงพันล้าน. workpointTODAY. สืบค้นเมื่อ 16 ตุลาคม 2564
  8. 8.0 8.1 แนวหน้า. (2564). กองปราบทลายแก๊งตุ๋นพันล้าน มี‘พ.ท.’เอี่ยวเร่งสอบขยายผล. สืบค้นเมื่อ 16 ตุลาคม 2564
  9. "การบรรยายหัวข้อ "ปรัชญาการเป็นข้าราชการที่ดี" โดยนายสิปป์บวร แก้วงาม". hr.onab.go.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  10. chanhena, Bandit. "มส.ตั้ง "สิปป์บวร" เป็นที่ปรึกษา หลังเกษียณฯจากผอ.พศ". เดลินิวส์.

ดูเพิ่ม แก้