จ่อย รวมมิตร

ชื่อจริง รวมมิตร คงชาตรี เป็นนักร้องเพลงลูกทุ่งชาวไทย
(เปลี่ยนทางจาก จ่อย ไมค์ทองคำ)

จ่อย รวมมิตร ชื่อจริง รวมมิตร คงชาตรี เป็นนักร้องเพลงลูกทุ่งชาวไทย

จ่อย รวมมิตร
ชื่อเกิดรวมมิตร คงชาตรี
เกิด4 มกราคม พ.ศ. 2509 (58 ปี)
จังหวัดสุพรรณบุรี ประเทศไทย ไทย
แนวเพลงลูกทุ่ง
อาชีพนักร้อง
ค่ายเพลงนักร้องอิสระ

หรือผู้เป็นที่รู้จักในชื่อ จ่อย ไมค์ทองคำ เกิดวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2509 หนุ่มลูกชาวนาจากจังหวัดสุพรรณบุรี ที่ประกอบอาชีพก่อสร้างเลี้ยงปากท้อง ได้มาร่วมประกวดร้องเพลงในรายการ "ชิงช้าสวรรค์ ไมค์ทองคำ" ซีซั่นแรก ในปี พ.ศ. 2557[1] จากนั้นมีการเปลี่ยนชื่อรายการเป็นไมค์ทองคำ ซึ่งเป็นรายการประกวดร้องเพลงลูกทุ่งระดับประเทศ ออกอากาศทางช่องเวิร์คพอยท์[2] จ่อยได้แสดงพรสวรรค์ที่มีเปี่ยมล้นเอาชนะใจกรรมการและผู้ชมจากทางบ้านทุกรอบการประกวด ได้รับเสียงโหวตจากคนไทยทั้งประเทศมาเป็นอันดับ 1 คว้าแชมป์ "ไมค์ทองคำคนแรก" ในปี พ.ศ. 2557[3][4][5] จากนั้นมีการเปลี่ยนชื่อรายการเป็นไมค์ทองคำ และเข้ามาเป็นศิลปินในสังกัดค่ายเพลงยุ้งข้าวเรคคอร์ด[6] ในเครือบริษัทเวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) อีกด้วย ด้วยบุคลิกหน้าตาซื่อ ๆ นิสัยซื่อ ๆ ร้องเพลงซื่อ ๆ ร้องอย่างธรรมชาติไม่ดัดจริตเสียง เป็นเอกลักษณ์ของตัวเองแบบลูกทุ่งไทยแท้ ทำให้เป็นที่ชื่นชอบของแฟน ๆ เพลง

ผลงานเพลง แก้

  • กระเป๋าสมปอง (2557)
  • พระแอบ (2558)
  • ปาปาย่าตุ๊กตุ๊ก (2558)
  • ทูนหัวของบ่าว (2559)
  • เทพารักษ์กับนักร้อง (2559)
  • รอสาวที่ บขส. (2560)
  • หัวใจหล่นที่สกลนคร (2560)
  • หมดมุก (2561)[7]
  • ฝันที่รอ (2562)
  • สมศรี 2020 -​ จ่อย รวมมิตร​ (Cover version)​ (2563)
  • รถอ้อยแฟนลืม (2563)[8]
  • รอเธอที่ปราสาททอง (2564)

ผลงาน แก้

ซิทคอม แก้

ปี พ.ศ. เรื่อง รับบท ช่อง
2565 โอมเพี้ยงอาจารย์คง ตอน ทัวร์ลงคงจะดัง จ่อย (รับเชิญ) ช่องเวิร์คพอยท์

รางวัลที่ได้รับ แก้

  • 18 ต.ค. 2557 รางวัลชนะเลิศ ประกวดร้องเพลงลูกทุ่ง ในรายการ "ชิงช้าสวรรค์ไมค์ทองคำ" ครั้งที่ 1
  • 30 มิ.ย. 2558 "SIAMDARA STAR AWARDS 2015" รางวัลประเภทเพลงลูกทุ่งยอดเยี่ยม จากเพลงกระเป๋าสมปอง[9]
  • 29 ก.ค. 2558 รางวัลชนะเลิศการขับร้องเพลงดีเด่นด้านภาษาไทย (เพชรในเพลง) ประเภทผู้ขับร้องเพลงไทยลูกทุ่งชาย จากเพลงกระเป๋าสมปอง จัดโดย สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
  • 16 พ.ค. 2559 รางวัล "ทูตพระพุทธศาสนาวิสาขบูชาโลก 2559" จัดโดยสภาศิลปินส่งเสริมพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย
  • 29 ก.ค. 2559 รางวัลชมเชยการขับร้องเพลงดีเด่นด้านภาษาไทย (เพชรในเพลง) ประเภทผู้ขับร้องเพลงไทยลูกทุ่งชาย จากเพลงพระแอบ จัดโดย สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
  • 30 ก.ย. 2559 รางวัลแห่งความเมตตา 2559 ในโอกาสเทศกาลถือศีลทานเจ 2559 จัดโดยคณะกรรมการโครงการพุทธสัมพันธ์ไทย-จีน และสภาศิลปินส่งเสริมพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย
  • 3 ต.ค. 2559 รางวัลญาณสังวร "คนดีศรีสยาม" ในโครงการเฉลิมพระเกียรติองค์ราชัน “ยกย่องส่งเสริมบุคคลต้นแบบคนดีของแผ่นดินตามรอยพระยุคลบาท” จัดโดย โครงการเฉลิมพระเกียรติองค์ราชัน และ สว.นท
  • 19 ส.ค. 2560 รางวัลระฆังทอง "บุคคลแห่งปี" จัดโดย สว.นท.
  • 29 เม.ย. 2561 รางวัล เพรส อวอร์ด ประจำปี 2561 (Press Awards 2018) เณศไอยรา มอบ "รางวัลสื่อสารมวลชน" วิทยุโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ประเภทรางวัลศิลปินลูกทุ่งชายดีเด่น จัดโดยชมรมสมาพันธ์สื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย
  • 24 ก.ค. 2563 รางวัลชมเชยการขับร้องเพลงดีเด่นด้านภาษาไทย (เพชรในเพลง) ประเภทผู้ขับร้องเพลงไทยลูกทุ่งชาย จากเพลงฝันที่รอ จัดโดย สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม[10]
  • 28 พ.ย. 2563 รางวัลครุฑปรเมศวร สาขาศิลปินตัวอย่าง จัดโดยชมรมปันน้ำใจอุ่นไอรัก[11]

อ้างอิง แก้

  1. https://www.facebook.com/profile.php?id=100004602587922
  2. https://www.thairath.co.th/content/459269
  3. https://www.facebook.com/profile.php?id=100004602587922
  4. https://www.dailynews.co.th/entertainment/275451
  5. https://www.naewna.com/entertain/378218
  6. https://www.facebook.com/yoongkaorecord/
  7. https://www.youtube.com/watch?v=JChvhlm12bA
  8. https://www.youtube.com/watch?v=Ys0dFl0mgko
  9. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-23. สืบค้นเมื่อ 2018-09-03.
  10. https://www.facebook.com/yoongkaorecord/posts/3235252146513560
  11. https://www.dailynews.co.th/entertainment/809901/