จู หรงจี

อดีตนายกรัฐมนตรีจีน

จู หรงจี (จีน: 朱镕基; พินอิน: Zhū Róngjī; IPA: [ʈʂú ɻʊ̌ŋ.tɕí]; เกิด 23 ตุลาคม ค.ศ. 1928) เป็นอดีตนักการเมืองชาวจีนผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีนตั้งแต่ปี ค.ศ. 1998 ถึง 2003 และเป็นสมาชิกคณะกรรมาธิการสามัญประจำกรมการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์จีนตั้งแต่ปี ค.ศ. 1992 ถึง 2002 ร่วมกับเจียง เจ๋อหมิน เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน

จู หรงจี
朱镕基
จูในปี ค.ศ. 2000
นายกรัฐมนตรีจีน
ดำรงตำแหน่ง
17 มีนาคม ค.ศ. 1998 – 16 มีนาคม ค.ศ. 2003
(4 ปี 364 วัน)
ประธานาธิบดีเจียง เจ๋อหมิน
รองหัวหน้ารัฐบาลหลี่ หลานชิง
เฉียน ฉีเชิน
อู๋ ปังกั๋ว
เวิน เจียเป่า
ก่อนหน้าหลี่ เผิง
ถัดไปเวิน เจียเป่า
รองนายกรัฐมนตรีจีนลำดับที่หนึ่ง
ดำรงตำแหน่ง
29 มีนาคม ค.ศ. 1993 – 17 มีนาคม ค.ศ. 1998
(4 ปี 353 วัน)
หัวหน้ารัฐบาลหลี่ เผิง
ก่อนหน้าเหยา อี้หลิน
ถัดไปหลี่ หลานชิง
ผู้ว่าการธนาคารประชาชนจีน
ดำรงตำแหน่ง
2 กรกฎาคม ค.ศ. 1993 – 30 มิถุนายน ค.ศ. 1995
(1 ปี 363 วัน)
หัวหน้ารัฐบาลหลี่ เผิง
ก่อนหน้าหลี่ กุ้ยเซียน
ถัดไปไต้ เซี่ยงหลง
เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ประจำนครเซี่ยงไฮ้
ดำรงตำแหน่ง
1 มีนาคม ค.ศ. 1989 – 20 มีนาคม ค.ศ. 1991
(2 ปี 19 วัน)
ก่อนหน้าเจียง เจ๋อหมิน
ถัดไปอู๋ ปังกั๋ว
นายกเทศมนตรีนครเซี่ยงไฮ้
ดำรงตำแหน่ง
25 เมษายน ค.ศ. 1988 – 20 มีนาคม ค.ศ. 1991
(2 ปี 329 วัน)
ก่อนหน้าเจียง เจ๋อหมิน
ถัดไปหฺวาง จฺวี๋
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด (1928-10-23) 23 ตุลาคม ค.ศ. 1928 (96 ปี)
ฉางชา, มณฑลหูหนาน, สาธารณรัฐจีน
พรรคการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์จีน (1949–1958; 1978–)
คู่สมรสเหลา อัน (สมรส 1956)
บุตรจู ยฺเหวียนไหล (บุตรี)
จู ยฺหวินไหล (บุตร)
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยชิงหฺวา (วท.บ.)
วิชาชีพวิศวกรไฟฟ้า
ชื่อภาษาจีน
อักษรจีนตัวย่อ
อักษรจีนตัวเต็ม

เขาเกิดที่เมืองฉางชา มณฑลหูหนาน เข้าร่วมพรรคคอมมิวนิสต์จีนในปี ค.ศ. 1949 ซึ่งตรงกับปีที่ก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน เขาทำงานในคณะกรรมการวางแผนแห่งรัฐระหว่างปี ค.ศ. 1952 ถึง 1958 และวิจารณ์นโยบายเศรษฐกิจของเหมา เจ๋อตง ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์จีน ในช่วงการรณรงค์ร้อยบุปผาในปี ค.ศ. 1957 ทำให้เขาถูกตราหน้าว่าเป็น "พวกฝ่ายขวา" ในการรณรงค์ปราบปรามฝ่ายขวาที่ตามมา ส่งผลให้จูถูกปลดและขับออกจากพรรค ต่อมาเขาถูกส่งไปทำงานที่โรงเรียนเจ้าหน้าที่พรรคคอมมิวนิสต์ในพื้นที่ห่างไกล เขาได้รับการอภัยโทษในปี ค.ศ. 1962 หลังจากเกิดภาวะทุพภิกขภัยอันเนื่องมาจากนโยบายก้าวกระโดดไกลไปข้างหน้า แต่ยังไม่ได้รับการฟื้นฟูทางการเมือง และถูกส่งกลับไปที่คณะกรรมการวางแผนแห่งรัฐอีกครั้ง เขาถูกกวาดล้างอีกครั้งในช่วงการปฏิวัติทางวัฒนธรรม และถูกส่งตัวไปปรับทัศนคติที่โรงเรียนเจ้าหน้าที่พรรค 7 พฤษภาคม

ภายหลังการถึงแก่อสัญกรรมของเหมา เจ๋อตงในปี ค.ศ. 1976 และการขึ้นสู่อำนาจของเติ้ง เสี่ยวผิงในเวลาต่อมา จูก็ได้รับการฟื้นฟูทางการเมืองและได้รับอนุญาตให้กลับมาเข้าร่วมพรรคคอมมิวนิสต์จีนอีกครั้ง เขาทำงานในกระทรวงปิโตรเลียมตั้งแต่ปี ค.ศ. 1976 ถึง 1979 และเข้าร่วมคณะกรรมการเศรษฐกิจแห่งรัฐ ซึ่งเป็นองค์กรสืบทอดมาจากคณะกรรมการวางแผนแห่งรัฐในปี ค.ศ. 1979 และดำรงตำแหน่งรองประธานคณะกรรมการฯ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1983 ถึง 1987 ในปี ค.ศ. 1988 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นนายกเทศมนตรีนครเซี่ยงไฮ้ และดำเนินนโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจอย่างจริงจัง เขาได้ร่วมงานกับเจียง เจ๋อหมิน เลขาธิการพรรคฯ ประจำนครเซี่ยงไฮ้ในขณะนั้น และต่อมาได้สืบทอดตำแหน่งดังกล่าวจากเจียงในปี ค.ศ. 1989 เมื่อเจียงได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็นเลขาธิการใหญ่ของพรรค

ในปี ค.ศ. 1993 จูได้รับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีลำดับที่หนึ่ง ภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีหลี่ เผิง โดยมีหน้าที่ขับเคลื่อนการปฏิรูปเศรษฐกิจให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง เขาได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีในปี ค.ศ. 1998 จูมีชื่อเสียงในฐานะนักบริหารที่แข็งกร้าวและเน้นปฏิบัติจริง ในระหว่างที่ดำรงตำแหน่ง เศรษฐกิจของจีนมีอัตราการเติบโตแบบเลขสองหลัก นอกจากนี้ จูยังได้รับความนิยมจากประชาชนชาวจีนมากกว่าหลี่ เผิง นายกรัฐมนตรีคนก่อนอย่างมาก อย่างไรก็ตาม ฝ่ายตรงข้ามของจูได้ตั้งข้อสังเกตว่าท่าทีที่แข็งกร้าวและปฏิบัติจริงในนโยบายของเขานั้นไม่เป็นไปได้จริงและไม่จำเป็น และคำสัญญาหลายประการของเขายังคงไม่ได้รับการปฏิบัติ จูเกษียณอายุเมื่อปี ค.ศ. 2003 และไม่ได้มีบทบาทในวงสังคมอีกเลยนับจากนั้น

อ้างอิง

แก้
ก่อนหน้า จู หรงจี ถัดไป
หลี่ เผิง   นายกรัฐมนตรีจีน
(พ.ศ. 2541-2546)
  เวิน เจียเป่า