จูเซปเป เมอัซซา
จูเซปเป เมอัซซา (อิตาลี: Giuseppe Meazza; 23 สิงหาคม 1910 – 21 สิงหาคม 1979) เป็นผู้จัดการทีมฟุตบอลและผู้เล่นชาวอิตาลี ตลอดอาชีพของเขา เขาเล่นให้แก่อินเตอร์มิลานเป็นหลักในคริสต์ทศวรรษ 1930 โดยทำได้ 242 ประตูจาก 365 นัดให้กับสโมสร และคว้าแชมป์เซเรียอา 3 สมัย รวมถึงโคปปาอิตาเลียด้วย หลังจากนั้นเขายังเล่นให้กับเอซีมิลานคู่แข่งร่วมเมืองของอินเตอร์เช่นเดียวกับยูเวนตุสที่เป็นคู่แข่งร่วมเมืองของตูริน นอกเหนือจากการเล่นกับวาเรเซและอาตาลันตา ในระดับทีมชาติ เขาพาอิตาลีคว้าแชมป์ฟุตบอลโลก 2 สมัยติดต่อกัน ใน ค.ศ. 1934 ที่บ้านเกิด และใน ค.ศ. 1938 ในฐานะกัปตันทีม ทำให้มีชื่อติดทีมออลสตาร์ เมอัซซาได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นหนึ่งในนักฟุตบอลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล และได้รับการยกย่องจากหลาย ๆ คนในแวดวงกีฬาว่าเป็นผู้เล่นที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของอิตาลี[2][3][4] จูเซปเป ปริสโก และจันนี เบรรา ถือว่าเขาเป็นนักฟุตบอลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล[5][6]
ข้อมูลส่วนตัว | |||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
วันเกิด | 1.69 เมตร (5 ฟุต 6 1⁄2 นิ้ว) | ||||||||||||||||||||||||||||||
สถานที่เกิด | มิลาน ราชอาณาจักรอิตาลี | ||||||||||||||||||||||||||||||
วันเสียชีวิต | 21 สิงหาคม ค.ศ. 1979 | (68 ปี)||||||||||||||||||||||||||||||
สถานที่เสียชีวิต | ลิสโซเน ประเทศอิตาลี | ||||||||||||||||||||||||||||||
ส่วนสูง | 1.69 เม | ||||||||||||||||||||||||||||||
ตำแหน่ง | กองหน้า | ||||||||||||||||||||||||||||||
สโมสรเยาวชน | |||||||||||||||||||||||||||||||
1922–1924 | โกลเรีย | ||||||||||||||||||||||||||||||
1924–1927 | อินเตอร์มิลาน | ||||||||||||||||||||||||||||||
สโมสรอาชีพ* | |||||||||||||||||||||||||||||||
ปี | ทีม | ลงเล่น | (ประตู) | ||||||||||||||||||||||||||||
1927–1940 | อินเตอร์มิลาน | 348 | (240) | ||||||||||||||||||||||||||||
1940–1942 | เอซี มิลาน | 37 | (9) | ||||||||||||||||||||||||||||
1942–1943 | ยูเวนตุส | 27 | (10) | ||||||||||||||||||||||||||||
1944 | วาเรเซ | 20 | (7) | ||||||||||||||||||||||||||||
1945–1946 | อาตาลันตา | 14 | (2) | ||||||||||||||||||||||||||||
1946–1947 | อินเตอร์มิลาน | 17 | (2) | ||||||||||||||||||||||||||||
รวม | 463 | (270) | |||||||||||||||||||||||||||||
ทีมชาติ | |||||||||||||||||||||||||||||||
1930–1939 | อิตาลี | 53 | (33) | ||||||||||||||||||||||||||||
จัดการทีม | |||||||||||||||||||||||||||||||
1946 | อาตาลันตา | ||||||||||||||||||||||||||||||
1946–1948 | อินเตอร์มิลาน | ||||||||||||||||||||||||||||||
1948–1949 | เบชิกทัช | ||||||||||||||||||||||||||||||
1949–1951 | โปรปาเตรีย | ||||||||||||||||||||||||||||||
1952–1953 | โอลิมปิกอิตาลี | ||||||||||||||||||||||||||||||
1955–1956 | อินเตอร์มิลาน | ||||||||||||||||||||||||||||||
1957 | อินเตอร์มิลาน | ||||||||||||||||||||||||||||||
เกียรติประวัติ
| |||||||||||||||||||||||||||||||
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น |
เมอัซซาเป็น 1 ในผู้เล่นอิตาลีเพียง 4 คนที่คว้าแชมป์ฟุตบอลโลก 2 สมัย ร่วมกับโจวันนี แฟร์รารี, กวีโด มาเซตตี และเอรัลโด มอนเซลโย[7][8] หลังจากเขาแขวนสตั๊ด เขาทำหน้าที่เป็นผู้ฝึกสอนให้แก่ทีมชาติอิตาลีและแก่สโมสรในอิตาลีหลายสโมสร รวมถึงสโมสรเก่าของเขาอย่างอินเตอร์และอาตาลันตา เช่นเดียวกับโปรปาเตรียและเบชิกทัชของตุรกี เขาเป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอนของอิตาลีในโอลิมปิกฤดูร้อน 1952
เนื่องจากทักษะการยิงประตูที่มากมายและความสามารถในการสร้างสรรค์เกม เมอัซซาจึงได้รับสมญานามว่า อิลเจนิโอ ("อัจฉริยะ") จากสื่ออิตาลีตลอดอาชีพของเขา[9]
อ้างอิง
แก้- ↑ นี่คือชื่อที่กำหนดให้แก่อินเตอร์มิลานในคริสต์ทศวรรษ 1930 ด้วยเหตุผลทางการเมือง
- ↑ "Giuseppe Meazza La favola di Peppin il folbèr" (ภาษาอิตาลี). Storie di Calcio. สืบค้นเมื่อ 21 January 2015.
- ↑ "The inimitable Giuseppe Meazza". FIFA.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 October 2019. สืบค้นเมื่อ 21 January 2015.
- ↑ "Dalla A alla Zico, i grandi numeri 10 del calcio internazionale" (ภาษาอิตาลี). Sport.Sky.it. 10 October 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-02. สืบค้นเมื่อ 23 July 2017.
- ↑ Whittaker, Mike (24 December 2012). "Giuseppe Meazza: A legend ahead of his time". ESPN.com. สืบค้นเมื่อ 1 August 2018.
The late great Peppino Prisco considered him to be the best of all time: 'Meazza was great, unbeatable, even if he would occasionally run into a frightful crisis, caused by his intense sexual activity and his passion for the game. When he took over on the field, he did things that left the mouth ajar.'
- ↑ "Peppin Meazza, il demonio che infiammò Milano" (ภาษาอิตาลี). La Repubblica. 8 June 2014. สืบค้นเมื่อ 1 August 2018.
Secondo Brera, e dunque secondo la storia, è stato il più grande di tutti.
- ↑ "Record e Curiosità" [Records and Trivia] (ภาษาอิตาลี). La Repubblica. สืบค้นเมื่อ 6 May 2016.
- ↑ "Presenze" [Appearances] (ภาษาอิตาลี). la Repubblica. สืบค้นเมื่อ 3 May 2016.
- ↑ "Peppino Meazza: 100 anni fa nacque Balilla, Genio del calcio" (ภาษาอิตาลี). Sky.it. 17 August 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 21 January 2015.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- จูเซปเป เมอัซซา ที่ FIFA (archived) (ในภาษาอังกฤษ)
- จูเซปเป เมอัซซา ที่ FootballDatabase.eu (ในภาษาอังกฤษ)
- จูเซปเป เมอัซซา ที่ National-Football-Teams.com (ในภาษาอังกฤษ)
- จูเซปเป เมอัซซา ที่ Soccerbase.com (ในภาษาอังกฤษ)
- จูเซปเป เมอัซซา ที่ WorldFootball.net (ในภาษาอังกฤษ)
- จูเซปเป เมอัซซา ที่ Olympedia (ในภาษาอังกฤษ)