จีอีเอ (รถจักร)
เจเนอรัล อิเล็กทริก ซีเอ็ม22-7ไอ (General Electric CM22-7i) หรือ จีอีเอ (GEA) เป็น รถจักรดีเซลไฟฟ้า ของ การรถไฟแห่งประเทศไทย ที่สั่งนำเข้ามาเพื่อใช้ในการทำขบวนรถโดยสารและขบวนรถสินค้า สั่งซื้อจาก บริษัท General Electric Transportation, รัฐเพนซิลเวเนีย สหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ. 2538
General Electric CM22-7i / GEA | |
---|---|
![]() รถจักรดีเซลไฟฟ้า GEA 4538 | |
ประเภทและที่มา | |
ชื่อเรียกรุ่น | GEA (General Electric Airbrake) |
รุ่นเลขที่ | 4523 – 4560 |
โมเดลโรงงาน | CM22-7i |
ผู้ผลิต | General Electric Transportation, สหรัฐอเมริกา ![]() |
ประจำการ | พ.ศ. 2538 - ปัจจุบัน |
จำนวน | 38 คัน |
ข้อมูลทั่วไป | |
ชนิด | รถจักรดีเซลไฟฟ้า |
มาตรฐานทางกว้าง | 1.000 เมตร |
การจัดวางล้อ | Co-Co |
ความยาว | 19.355 เมตร |
ความกว้าง | 2.820 เมตร |
ความสูง | 3.635 เมตร |
น้ำหนัก | จอดนิ่ง 80.60 ตัน ใช้การ 86.50 ตัน |
น้ำหนักกดเพลา | 15 ตัน/เพลา (U15) |
ความจุถังเชื้อเพลิง | 4,540 ลิตร |
ระบบห้ามล้อ | ลมอัด |
จำนวนห้องขับ | 2 ฝั่ง |
ประสิทธิภาพ | |
กำลังเครื่องยนต์ | 1,250 x 2 แรงม้า |
ความเร็วสูงสุด | 100 กิโลเมตร/ชั่วโมง |
การใช้งาน | |
ประจำการใน | การรถไฟแห่งประเทศไทย, ประเทศไทย ![]() |
จำนวนประจำการในปัจจุบัน | 36 คัน |
ปลดประจำการ | 2 คัน |
ข้อมูลรถจักรแก้ไข
- ชนิดรถจักร รถจักรดีเซลไฟฟ้า (Diesel Electric Locomotives)
- ชื่อเรียก : GEA (General Electric Airbrake)
- โมเดลโรงงาน : CM22-7i
- เครื่องยนต์ Cummins KTA-50L ขนาดความจุ 50,000 cc. 16 สูบ มี 2 เครื่องยนต์
- แรงม้า 2 x 1,250 แรงม้า ที่ 1,800 รอบต่อนาที
- น้ำหนักรถจักร 80.60 ตัน (จอดนิ่ง) / 86.50 ตัน (ขณะทำขบวน)
- น้ำหนักกดเพลา 15 ตัน
- การจัดวางล้อ Co-Co all axles powered (มี 2 แคร่ แต่ละแคร่มี 3 เพลาล้อ ทุกเพลาล้อติดตั้งมอเตอร์ลากจูง 1 ลูก)
- พิกัดตัวรถ กว้าง 2.820 เมตร / สูง 3.635 เมตร / ยาว 19.355 เมตร
- ระบบห้ามล้อ ลมอัดล้วน ทุกคัน
- ความจุถังนั้ามันเชื้อเพลิง 4,540 ลิตร
- ความจุถังนั้ามันหล่อลื่นเครื่องยนต์ 474 ลิตร
- ความจุถังทราย 450 ลิตร
- ความเร็วสูงสุด 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
- บริษัทผู้ผลิต บริษัท เจเนอรัลอิเล็กทริก ฝ่ายการคมนาคมและขนส่ง รัฐเพนซิลวาเนีย สหรัฐ
- ราคาต่อคัน 54,350,498 บาท
- เริ่มใช้งาน ตั้งแต่ช่วง พ.ศ. 2538–2539
ปัจจุบัน การรถไฟแห่งประเทศไทยมักใช้รถจักร GEA ในการลากขบวนรถด่วนพิเศษ เช่น รถด่วนพิเศษอุตราวิถี, รถด่วนพิเศษทักษิณารัถย์, รถด่วนพิเศษอีสานมรรคา, รถด่วนพิเศษอีสานวัตนา เป็นบางโอกาส
รถจักรที่ตัดบัญชีแก้ไข
หมายเลข | ลักษณะอุบัติเหตุ | ขบวนที่ทำ | วันที่ | สถานที่ | ความเสียหาย | สถานะปัจจุบัน | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|---|---|---|
†4526 | ชนกับรถบรรทุก | ขบวนรถด่วนพิเศษระหว่างประเทศที่ 36 (บัตเตอร์เวอร์ธ–กรุงเทพ) | 22 มีนาคม พ.ศ. 2549 | สถานีรถไฟบ้านคูบัว จังหวัดราชบุรี | เสียหายทั้งหมด | ตัดบัญชี | [1] |
†4544 | ตกราง | ขบวนรถด่วนที่ 84 (ตรัง–กรุงเทพ) | 5 ตุลาคม พ.ศ. 2552 | สถานีรถไฟเขาเต่า จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ | เสียหายทั้งหมด | ตัดบัญชี | [2] |
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ "ตัดหน้ารถด่วน ขยี้สิบล้อ 6 ศพ". สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2562. Check date values in:
|accessdate=
(help) - ↑ "เบื้องหลัง รถไฟตกราง ที่เขาเต่า อ.หัวหิน". สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2562. Check date values in:
|accessdate=
(help)
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: เจเนอรัล อิเล็กทริก แอร์เบรก |