จีนี่ เรคคอร์ด

ค่ายเพลงไทย
(เปลี่ยนทางจาก จีนี่ เรคคอร์ดส)

จีนี่ เรคคอร์ด (อังกฤษ: Genie Records) เป็นค่ายเพลงไทยและ ภายใต้บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) (ต่อมาถูกโอนมาขึ้นกับบริษัท จีเอ็มเอ็ม มิวสิค จำกัด (มหาชน) ตามการปรับโครงสร้างธุรกิจเพลงในปี พ.ศ. 2566) ที่เน้นการผลิตผลงานเพลงแนวร็อกเป็นหลัก[2] โดยมีวิเชียร ฤกษ์ไพศาล เป็นผู้ก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการคนแรกเป็นระยะเวลา 21 ปี โดยในปัจจุบันมีอ๊อฟ - พูนศักดิ์ จตุระบุล มือกีตาร์วงบิ๊กแอส เป็นผู้บริหารในตำแหน่ง Label Director[1][3] ศิลปินของค่ายในปัจจุบัน เช่น พาราด็อกซ์บิ๊กแอสบอดี้สแลม, โปเตโต้, ลาบานูน เป็นต้น[4]

จีนี่ เรคคอร์ด
บริษัทแม่จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ (2541–2566)
จีเอ็มเอ็ม มิวสิค (2566–ปัจจุบัน)
ก่อตั้ง1 มกราคม 2541 (2541-01-01)
ผู้ก่อตั้งวิเชียร ฤกษ์ไพศาล[1]
สถานะยังดำเนินกิจการอยู่
แนวเพลงป็อป ร็อก
ประเทศต้นกำเนิดไทย
ที่ตั้งอาคารจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่เพลส
เลขที่ 50 ถนนอโศกมนตรี
แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร
เว็บไซต์www.genie-records.com

ประวัติ

จีนี่ เรคคอร์ด ก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2541 โดยบริษัท แกรมมี่ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ได้แต่งตั้งให้วิเชียร ฤกษ์ไพศาล เป็นกรรมการผู้จัดการคนแรก ในช่วงแรก โดยค่ายผลิตศิลปินออกมาหลากหลายแนว ศิลปินเบอร์แรกของค่ายคือสุเมธแอนด์เดอะปั๋ง ซึ่งเป็นวงดนตรีดูโอที่ได้รับความนิยมตั้งแต่อัลบั้มแรกของพวกเขา และยังได้แนะนำศิลปินหน้าใหม่เข้าสู่วงการบันเทิงซึ่งท้ายที่สุดก็ได้ผลิตเพลงฮิตออกมา อาทิ ไท ธนาวุฒิ ชวธนาวรกุล (ไท ธนาวุฒิ), พลพล พลกองเส็ง, ณพสิน แสงสุวรรณ (หนุ่ม กะลา), บูโดกัน, วีนัส และดาจิม ในช่วงเวลานั้น พวกเขาต้องแข่งขันกับค่ายมอร์ มิวสิค ที่มีศิลปินร็อกที่มีชื่อเสียงในขณะนั้นเป็นจำนวนมาก เช่น อัสนี-วสันต์, โลโซ, นูโว, แบล็กเฮด, ซิลลี่ฟูลส์ และซีล[5]

บิ๊กแอสซึ่งก่อนหน้านั้นอยู่กับค่ายมิวสิค บั๊กส์ ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของค่ายจีนี่ เรคคอร์ดในปี พ.ศ. 2547 ตามมาด้วยบอดี้สแลมที่ย้ายมาจากค่ายเดียวกัน ต่อมาทั้งสองวงได้ออกอัลบั้มที่ทำให้พวกเขากลายเป็นวงดนตรีร็อคชื่อดัง ได้แก่ "Seven" ของบิ๊กแอส และ "Believe" ของบอดี้สแลม ที่ขึ้นอันดับหนึ่งในชาร์ตเพลงในขณะนั้น นอกจากนี้ทางค่ายยังนำเสนอวงดนตรีใต้ดินให้ผู้ฟังเพลงกระแสหลักได้รู้จักด้วยการนำเสนอวงอย่างอีโบลา, สวีตมัลเล็ต และเรโทรสเปกต์[5]

ประมาณปี พ.ศ. 2555 ทางค่ายได้ทำการรีแบรนด์ตัวเองเป็น “จีนี่ ร็อค” เพื่อมุ่งเน้นไปที่การผลิตเพลงแนวร็อคเป็นหลัก หลังจากศิลปินแนวอื่น ๆ ในค่ายทยอยหมดสัญญาไป อย่างไรก็ตาม ยังมีศิลปินที่เข้ามาเซ็นสัญญาในค่ายจีนี่ เรคคอร์ด เพิ่มอีกหลายราย เช่น ลาบานูน, เดอะเยอร์ส, ปาล์มมี่, ทเวนตีไฟฟ์อาเวอส์, เปเปอร์เพลนส์ และโปเตโต้ ซึ่งกลับมาที่จีนี่ เรคคอร์ดหลังจากอยู่กับวีเรคคอร์ดสและเวิร์คแก๊งค์ได้ไม่นาน[5]

พวกเขาได้จัดคอนเสิร์ตใหญ่ครั้งแรกในชื่อ "Genie Fest 16 ปีแห่งความร็อก" เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ที่ริมทะเลสาบ เมืองทองธานี เพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ 16 ปีการก่อตั้งจีนี่ เรคคอร์ด[6][7][8] และต่อด้วยงาน “จีนี่เฟสต์ 19 ปีกว่าจะร็อกเท่าวันนี้” ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 ที่สนามราชมังคลากีฬาสถาน[9]

ต่อมาเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 วิเชียรได้ระบุว่าตนหมดสัญญากับบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ที่เปลี่ยนชื่อมาจากแกรมมี่ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ ทำให้พ้นจากการเป็นผู้บริหารค่ายเพลงจีนี่ เรคคอร์ด ที่ตนก่อตั้งไปโดยปริยาย หลังจากดำรงตำแหน่งมาเป็นระยะเวลา 21 ปี 6 เดือน โดยมีอ๊อฟ - พูนศักดิ์ จตุระบุล มือกีตาร์วงบิ๊กแอส ขึ้นมาบริหารค่ายเพลงนี้ต่อ[3] โดยวิเชียรยังคงฝึกสอนวิชาการบริหารให้กับนักดนตรี 2 คน คืออ๊อฟ บิ๊กแอส และ โอม - ปัณฑพล ประสารราชกิจ นักร้องนำวงค็อกเทล ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้บริหารค่ายเพลงยีนแล็บและ 19 ที่อยู่ในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เช่นเดียวกัน เนื่องจากวิเชียรเห็นว่าทั้งอ๊อฟและโอมเป็นนักดนตรีที่มีความสามารถเพียงพอในการเป็นผู้บริหารในอนาคต[10]

ต่อมาเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2566 จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ได้ดำเนินการปรับโครงสร้างธุรกิจเพลง โดยโอนธุรกิจเพลงทั้งหมดให้แก่บริษัท จีเอ็มเอ็ม มิวสิค จำกัด (มหาชน) ที่จัดตั้งขึ้นใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับแผนการระดมทุนสาธารณะในรูปแบบการเสนอขายหุ้นครั้งแรกให้แก่สาธารณชน และเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทำให้จีนี่ เรคคอร์ด ซึ่งเป็นหนึ่งในค่ายเพลงในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ถูกโอนย้ายไปเป็นค่ายเพลงในเครือจีเอ็มเอ็ม มิวสิค ไปโดยปริยาย และมีภาวิต จิตรกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของจีเอ็มเอ็ม มิวสิค เป็นผู้มีอำนาจควบคุมทางอ้อม[11]

ศิลปิน

ปัจจุบัน

ศิลปินเดี่ยว
ศิลปินเดี่ยว
เปิดตัว ชื่อศิลปิน ชื่อศิลปิน
2542 ณพสิน แสงสุวรรณ
2543 พลพล
2544
(ย้ายเข้ามา 2560)
อีฟ ปานเจริญ
2545
(ย้ายเข้ามา 2546-2549, 2559)
ศิริศิลป์ โชติวิจิตร
2547
(ย้ายเข้ามา 2564)
อนุวัฒน์ สงวนศักดิ์ภักดี
2548
(ย้ายเข้ามา 2560)
เจษฎา ลัดดาชยาพร
2549
(ย้ายเข้ามา 2549-2557,2561)
ไปรยา มาลาศรี
2559
(ย้ายเข้ามา 2564)
พัชรพล วงศาโรจน์
2561
(ย้ายเข้ามา 2562)
ภควัต หริกุล
2562
(ย้ายเข้ามา 2563)
ภูวศิษฐ์ อนันต์พรสิริ
2563
(ย้ายเข้ามา 2564)
นัทธมน ทองชิว
2565 ขมิ้น กิ่งศักดิ์
วงดนตรี
ศิลปินกลุ่ม
เปิดตัว ชื่อศิลปิน จำนวนสมาชิก นักร้องนำ ชื่อสมาชิก
2537
(ย้ายเข้ามา 2543)
พาราด็อกซ์ 4 ต้า
2540
(ย้ายเข้ามา 2547)
บิ๊กแอส 5 เจ๋ง
2541
(ย้ายเข้ามา 2557)
ลาบานูน 3 เมธี
2544
(ย้ายเข้ามา 2547)
เรโทรสเปกต์ 4 เก้า
2544
(ย้ายเข้ามา 2550-2552,2558)
โปเตโต้ 5 ปั๊บ
2545
(ย้ายเข้ามา 2547)
บอดี้สแลม 5 ตูน
2546
(ย้ายเข้ามา 2547)
สวีตมัลเล็ต 4 เต๋า
2548
(ย้ายเข้ามา 2563)
โลโมโซนิก 4 บอย
2549
(ย้ายเข้ามา 2553)
อินสติงต์ 2 ปาล์ม
2550 เคลียร์ 3 แพท
2555
(ย้ายเข้ามา 2560)
เยสเซอร์เดส์ 4 อัทธ์
2557
(ย้ายเข้ามา 2563)
เดอะไวเทสโครว 4 ไตเติ้ล
2559
(ย้ายเข้ามา 2560)
เปเปอร์เพลนส์ 2 ฮาย
2559
(ย้ายเข้ามา 2564)
บอมบ์แอทแทร็ค 5 เต้
2560
(ย้ายเข้ามา 2565)
คล็อกเวิร์คโมชั่นเลส 4 กัน
2562 ลิงรมย์ 5 พีท
2562 ฟูลสเต็ป 5 มาร์ค
2562
(ย้ายเข้ามา 2564)
วอลล์โรลเลอร์ส 4 ภูร์
2564
(ย้ายเข้ามา 2565)
ทูพีเพิล 2 นิค,แนต
2565 นิว ทราเวลเลอร์ส 5 เอก

อดีต

ระยะเวลา

สมาชิก ระยะเวลา 2541 2542 2543 2544 2545 2546 2547 2548 2549 2550 2551 2552 2553 2554 2555 2556 2557 2558 2559 2560 2561 2562 2563 2564 2565 2566 2567
ศิลปินในปัจจุบัน
(หนุ่ม) กะลา 2542–ปัจจุบัน
พลพล 2543–ปัจจุบัน
พาราด็อกซ์ 2543–ปัจจุบัน
(กวาง) เอบีนอร์มัล 2546–2550, 2559–ปัจจุบัน
บิ๊กแอส 2547–ปัจจุบัน
บอดี้แสลม 2547–ปัจจุบัน
สวีตมัลเล็ต 2547–ปัจจุบัน
เรโทรสเปกต์ 2547–ปัจจุบัน
เคลียร์ 2550–ปัจจุบัน
อินสติงต์ 2550–ปัจจุบัน
โปเตโต้ 2550–2552, 2558–ปัจจุบัน
ลาบานูน 2557–ปัจจุบัน
ปั้น แบชเชอร์ 2560–ปัจจุบัน
เยสเซอร์เดส์ 2560–ปัจจุบัน
ปาล์มมี่ 2560–ปัจจุบัน
เปเปอร์ เพลนส์ 2562–ปัจจุบัน
(ฟักแฟง) โนมอร์เทียร์ 2549–2557, 2561-ปัจจุบัน
โลโมโซนิก 2563–ปัจจุบัน
โจอี้ ภูวศิษฐ์ 2563–ปัจจุบัน
บอมบ์แอทแทร็ค 2564–ปัจจุบัน
ศิลปินในอดีต
วรรธนา วีรยวรรธน 2541-2544
บูโดกัน 2543-2549
ดาจิม 2545-2550
ลุลา 2547
ซินญอริต้า 2547-2551
ป้าง นครินทร์ 2550–2565
อีโบลา 2552-2554
ค็อกเทล 2554–2564
ทเวนตีไฟฟ์อาเวอส์ 2557–2563
เดอะเยอร์ส 2557–2566
เดอะมูสส์ 2552–2567
สมาชิก ระยะเวลา 2541 2542 2543 2544 2545 2546 2547 2548 2549 2550 2551 2552 2553 2554 2555 2556 2557 2558 2559 2560 2561 2562 2563 2564 2565 2566 2567

โปรเจ็กต์พิเศษ

  • อัลบั้ม Intro 2000 (2542)
  • อัลบั้ม Meeting (2544)
  • เพลงประกอบละคร สุภาพบุรุษลูกผู้ชาย (2546)
  • อัลบั้ม Meeting 2 Meeting Again (2547)
  • อัลบั้ม Showroom Vol.1 (2547)
  • อัลบั้ม Showroom Vol.2 (2548)
  • อัลบั้ม วันฟ้าใหม่ (2548)
  • อัลบั้ม Play (2552)
  • เพลงประกอบภาพยนตร์ SuckSeed ห่วยขั้นเทพ (2554)
  • อัลบั้ม Genie Fest 16 ปีแห่งความร็อก (2557)
  • อัลบั้ม Showroom Vol.3 (2559) ++ ผลงานออกบางส่วน
  • อัลบั้ม Genie Fest 19 ปีกว่าจะร็อกเท่าวันนี้ (2561)
  • อัลบั้ม Play 2 (2561)

คอนเสิร์ตรวมศิลปิน

ชื่อคอนเสิร์ต วันที่แสดง ศิลปิน แขกรับเชิญ สถานที่
Genie Fest 16 ปีแห่งความร็อก 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 รวมศิลปิน ปั๊บ Potato
เอ๋ Ebola
ลานกิจกรรม ริมทะเลสาบเมืองทองธานี
Genie Fest 19 ปี กว่าจะร็อกเท่าวันนี้ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 รวมศิลปิน UrboyTJ
อั๋น Sweet Mullet
ฟักแฟง No More Tear
ราชมังคลากีฬาสถาน

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 ""WISESIGHT" states the grand Thailand Zocial Awards 2020 will shift Social Media Society to the next level". wisesight.com. Wisesight. 5 November 2019. สืบค้นเมื่อ 31 August 2020.
  2. "Music - GMM Grammy". gmmgrammy.com. จีเอ็มเอ็มแกรมมี่. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-13. สืบค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2020.
  3. 3.0 3.1 "ศิลปินโพสต์ข้อความสุดอบอุ่น หลัง นิค-วิเชียร ฤกษ์ไพศาล ประกาศอำลา Genie Records". The Standard (ภาษาThai). 1 July 2019. สืบค้นเมื่อ 31 August 2020.{{cite news}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  4. "Chang Music Connection presents genie fest 19". bangkokpost.com. สืบค้นเมื่อ 31 August 2020.
  5. 5.0 5.1 5.2 "ย้อนรอย genie records จากบ้านดนตรีหลากสีสัน สู่ค่ายเพลงร็อกชั้นแนวหน้าของประเทศ". themomentum.co (ภาษาThai). The Momentum. 12 January 2020. สืบค้นเมื่อ 31 August 2020.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  6. Pravattiyagul, Onsiri (13 May 2014). "Genie Fest's magical musical mash-up". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 31 August 2020.
  7. "Love and loathing for scalpers after Genie Fest sell-out". The Nation. 16 April 2014. สืบค้นเมื่อ 31 August 2020.
  8. "Genie Rock Festival (G16) Stage Design". supermachine.co. 12 May 2014. สืบค้นเมื่อ 31 August 2020.
  9. "Relive Genie Records' Rock Music Festival G19 Fest on YouTube". siam2nite.com. Siam2nite. 22 April 2020. สืบค้นเมื่อ 31 August 2020.
  10. "เปิดใจ "นิค จีนี่" หลังบอกลาแกรมมี่ แต่ยังเป็น Mr.Opportunity ของวงการเพลง". ประชาชาติธุรกิจ. 5 กันยายน 2019. สืบค้นเมื่อ 22 มีนาคม 2025.
  11. "สิ่งทีส่งมาด้วย : สารสนเทศเกี่ยวกับการปรับรูปแบบการประกอบธุรกิจจากบริษัทที่มีการประกอบธุรกิจทั่วไป (Operating Company) เป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น (Holding Company) การกำหนดธุรกิจหลัก และการกำหนดบริษัทย่อยที่ประกอบธุรกิจหลักที่ไม่มีสถานะเป็นบริษัทจดทะเบียน" (PDF). ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย: 3–13. 15 พฤศจิกายน 2023. สืบค้นเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2023.

แหล่งข้อมูลอื่น