จิ้งเหลนบ้าน
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Reptilia
อันดับ: Squamata
อันดับย่อย: Sauria
วงศ์: Scincidae
วงศ์ย่อย: Lygosominae
สกุล: Eutropis
สปีชีส์: E.  multifasciata
ชื่อทวินาม
Eutropis multifasciata
(Kuhl, ค.ศ. 1820)
ชื่อพ้อง [1]
  • Mabuya multifasciata (Kuhl, 1820)
  • Scincus multifasciatus Kuhl, 1820

จิ้งเหลนบ้าน (อังกฤษ: East Indian brown mabuya, Many-lined sun skink, Many-striped skink, Common sun skink, Golden skink; ชื่อวิทยาศาสตร์: Eutropis multifasciata) เป็นสัตว์เลื้อยคลานในวงศ์จิ้งเหลน (Scincidae)

นับเป็นจิ้งเหลนชนิดที่ได้ง่ายและบ่อยที่สุดในประเทศไทย[2] มีลำตัวหนา แต่หลังแบนจึงดูคล้ายว่ามีลำตัวเป็นรูปสี่เหลียมทรงกระบอก หัวและลำตัวมีสีน้ำตาลเหลือบทอง เกล็ดมีความเงางาม มีลายเส้นสีดำข้างลำตัวตั้งแต่ 5-7 ขีด ปลายปากเรียวแหลมและเล็ก ด้านข้างลำตัวเป็นสีน้ำตาลเข้มมีจุดสีขาว ขณะที่บางตัวเป็นสีส้ม มีหางเรียวยาว ใต้ท้องสีขาวเทาหรือออกเหลือง มีความยาวลำตัวประมาณ 81–90 มิลลิเมตร หางยาวประมาณ 142–156 มิลลิเมตร

จิ้งเหลนบ้านเป็นสัตว์เลื้อยคลานที่พบได้ทั่วไปในหลากหลายภูมิประเทศ ตั้งแต่ในป่าทึบจนถึงพื้นที่ในสังคมเมืองใหญ่ เช่น สวนสาธารณะหรือสวนหลังบ้าน เป็นสัตว์ที่กินอาหารได้หลากหลาย แต่นิยมกินแมลงมากที่สุด แต่อาจจะกินสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำอย่างเขียดได้ด้วย โดยมักหากินบนพื้นดินเป็นหลัก

มีการกระจายพันธุ์ที่กว้างขวาง ตั้งแต่อนุทวีปอินเดีย, เอเชียอาคเนย์, จีนตอนใต้ จนถึงออสเตรเลีย วางไข่โดยการผสมพันธุ์ในฤดูฝน ตัวเมียที่มีขนาดเล็กกว่าจะเข้าไปในถิ่นอาศัยของตัวผู้ และมีการวิ่งไล่กันสักพักจึงจะมีการผสมพันธุ์เกิดขึ้น เริ่มวางไข่ในเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม

จิ้งเหลนบ้านยังมีชื่อเรียกแตกต่างออกไปในแต่ละถิ่นว่า "จักเล้อ" หรือ"ขี้โก๊ะ" เป็นต้น[3]

อ้างอิง แก้

  1. http://reptile-database.reptarium.cz/species.php?genus=Eutropis&species=multifasciata
  2. วีรยุทธ์ เลาหะจินดา, วิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก หน้า 391-392 (พ.ศ. 2552) ISBN 978-616-556-016-0
  3. จิ้งเหลนบ้าน (ไทย)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Eutropis multifasciata ที่วิกิสปีชีส์