จิตรกรรมบาโรก
จิตรกรรมบาโรก (อังกฤษ: Baroque painting) เป็นจิตรกรรมที่เกี่ยวข้องกับขบวนการศิลปะบาโรก ซึ่งเป็นขบวนการที่เกี่ยวข้องกับระบบสัมบูรณนิยมทางการเมือง (absolutism), การปฏิรูปศาสนาซ้อน (Counter Reformation) และการฟื้นฟูโรมันคาทอลิก[1] [2] แต่ความนิยมของศิลปะบาโรกและสถาปัตยกรรมบาโรกมิได้จำกัดอยู่เพียงในบริเวณที่เป็นโรมันคาทอลิก แต่ยังเผยแพร่และเป็นที่นิยมในบริเวณที่เป็นโปรเตสแตนต์ด้วย[3]
ภาพเขียนที่สำคัญในสมัยบาโรกเริ่มราวปี ค.ศ. 1600 จนตลอดคริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงต้นคริสต์ศตวรรษ 18 ลักษณะของศิลปะแบบบาโรกเป็นศิลปะที่เต็มไปด้วยนาฏกรรม, สีสด และแสงที่จัดและเงามืด ซึ่งตรงกันข้ามกับศิลปะในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาที่มักจะแสดงภาพของเหตุการณ์ก่อนหน้าที่จะเกิดขึ้น ศิลปะบาโรกจะแสดงวินาทีที่เป็นนาฏกรรมมากที่สุดหรือถ้าเป็นได้วินาทีที่เหตุการณ์เกิดขึ้น: ไมเคิล แอนเจโลศิลปินยุคเรอแนซ็องส์สูงสลักเดวิด ยืนวางท่านิ่งก่อนที่จะเข้าต่อสู้กับโกไลแอธ; แต่เดวิดของจัน โลเรนโซ แบร์นีนีในสมัยบาโรกเป็นเดวิดที่กำลังขว้างก้อนหินไปยังโกไลแอธ ศิลปะบาโรกเป็นศิลปะที่มีจุดประสงค์ในการกระตุ้นอารมณ์ผู้ดูแทนที่จะสร้างความสงบทางเหตุผลเช่นในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา
ในบรรดาจิตรกรเอกของยุคบาโรกก็ได้แก่การาวัจโจ,[4] แรมบรังด์,[5] ปีเตอร์ พอล รูเบนส์,[6] เดียโก เบลัซเกซ, นีกอลา ปูแซ็ง[7] และโยฮันส์ เวร์เมร์[8] การาวัจโจมาจากศิลปินเรอแนซ็องส์สูงที่มาใช้ความเป็นจริงในการเขียนตัวแบบและเขียนจากคนจริงและใช้แสงบนตัวแบบบนฉากหลังที่มืด ที่ปูทางไปสู่การเขียนภาพแบบใหม่ จิตรกรรมแบบบาโรกมักจะสร้างความเป็นนาฏกรรมของภาพด้วยการใช้แสงที่ตัดกันเช่นในงานของแรมบรังด์, โยฮันส์ เวร์เมร์ และฌอร์ฌ เดอ ลา ตูร์ ส่วนแอนโทนี แวน ไดค์ ก็เป็นผู้สร้างวิธีการเขียนภาพเหมือนที่มีอิทธิพลโดยเฉพาะในอังกฤษ
ความมั่งคั่งของฮอลแลนด์ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ทำให้เกิดการเขียนภาพกันเป็นจำนวนมากที่เป็นภาพเขียนในหัวข้อที่เกี่ยวกับภาพชีวิตประจำวัน, ภูมิทัศน์, ภาพนิ่ง, ภาพเหมือน หรือ จิตรกรรมประวัติศาสตร์ มาตรฐานการเขียนก็สูงขึ้นและจิตรกรรมยุคทองของเนเธอร์แลนด์กลายมาเป็นพื้นฐานที่มีอิทธิพลต่อมมาจนกระทั่งถึงยุคสมัยใหม่นิยม
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ Counter Reformation, from Encyclopædia Britannica Online, latest edition, full-article.
- ↑ Counter Reformation, from The Columbia Encyclopedia, Sixth Edition. 2001-05.
- ↑ Helen Gardner, Fred S. Kleiner, and Christin J. Mamiya, "Gardner's Art Through the Ages" (Belmont, CA: Thomson/Wadsworth, 2005)
- ↑ Getty profile, including variant spellings of the artist's name.
- ↑ Gombrich, p. 420.
- ↑ Belkin (1998): 11–18.
- ↑ His Lives of the Painters was published in Rome, 1672. Poussin's other contemporary biographer was André Félibien.
- ↑ W. Liedtke (2007) Dutch Paintings in the Metropolitan Museum of Art, p. 867.
ดูเพิ่มแก้ไข
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ จิตรกรรมบาโรก
บทความเกี่ยวกับศิลปกรรมนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |