จำลอง เอี่ยมแจ้งพันธุ์
พลตำรวจเอก จำลอง เอี่ยมแจ้งพันธ์ อดีตที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (สมัคร สุนทรเวช) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข[1] ในรัฐบาลของ ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีว่ากระทรวงศึกษาธิการ ปองพล อดิเรกสาร และอดีตรองอธิบดีกรมตำรวจ
จำลอง เอี่ยมแจ้งพันธุ์ | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข | |
ดำรงตำแหน่ง 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 – 10 มีนาคม พ.ศ. 2547 | |
นายกรัฐมนตรี | พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | คำรณ ณ ลำพูน |
ถัดไป | อนุทิน ชาญวีรกูล |
ผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยตำรวจ | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2534 – พ.ศ. 2535 | |
ก่อนหน้า | พล.ต.อ.สมชาย ไชยเวช |
ถัดไป | พล.ต.ท. นิรดม ตันตริก |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 7 ธันวาคม พ.ศ. 2478 อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ |
พรรคการเมือง | ไทยรักไทย |
คู่สมรส | จงกล เอี่ยมแจ้งพันธุ์ |
ประวัติ
แก้จำลอง เอี่ยมแจ้งพันธ์ เกิดเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2478 ที่อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์[2] เป็นบุตรของนายฮะ เอี่ยมแจ้งพันธ์ กับนางเหรียญ เอี่ยมแจ้งพันธ์ จบการศึกษาจากโรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย และ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่นที่ 13
การทำงาน
แก้พล.ต.อ.จำลอง เคยดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ในระหว่างปี พ.ศ. 2535 - พ.ศ. 2536[3] และได้รับตำแหน่งสูงสุดคือ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รอง ผบ.ตร.) ฝ่ายจราจรโครงการพระราชดำริ[4] ต่อมาหลังเกษียณอายุราชการ ได้เข้าร่วมงานการเมืองกับพรรคไทยรักไทย โดยลงสมัคร ส.ส.ในระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 89 และได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2546
ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 เขาเข้าสังกัดพรรคพลังประชาชนพร้อมกับลงรับสมัคร ส.ส. ในระบบสัดส่วนลำดับที่ 4 ของกลุ่ม 6 ที่ประกอบด้วยพื้นที่กรุงเทพมหานคร, นนทบุรี และสมุทรปราการ แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2538 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2535 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[6]
- พ.ศ. 2548 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[7]
- พ.ศ. 2514 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[8]
- พ.ศ. 2536 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[9]
- พ.ศ. 2539 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[10]
อ้างอิง
แก้- ↑ ทำบุญครบรอบวันคล้ายวันเกิด พล.ต.อ.จำลอง เอี่ยมแจ้งพันธุ์ 83 ปี
- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส. เก็บถาวร 2012-11-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนกรมการปกครอง
- ↑ ทำเนียบ ผบช.น.
- ↑ ตำรวจจราจรโครงการพระราชดำริ พระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เพื่อบรรเทาวิกฤตจราจร
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2010-02-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๗ ข หน้า ๓, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๕๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๘, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า เก็บถาวร 2021-02-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๖ ข หน้า ๑, ๕ พฤษภาคม ๒๕๔๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๘๘ ตอนที่ ๑๕๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๐๑๕, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๑๕ ข หน้า ๘๙, ๑๗ สิงหาคม ๒๕๓๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๑๒ ข หน้า ๖๓, ๒๑ มิถุนายน ๒๕๓๙