จะลาลาบาด

(เปลี่ยนทางจาก จาลาลาแบด)

จะลาลาบาด (ปาทาน/ดารี: جلال‌آباد, Jalālābād) เป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับ 5 ในประเทศอัฟกานิสถาน โดยมีประชากรประมาณ 356,274 คน[3] และทำหน้าที่เป็นเมืองหลักในจังหวัดนันการ์ฮาร์ ห่างจากคาบูลประมาณ 130 กิโลเมตร (80 ไมล์) จะลาลาบาดตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำคาบูลและแม่น้ำคูนาร์ในที่ราบสูงทางใต้ของเทือกเขาฮินดูกูช[4] ทางตะวันตกมีทางหลวงเชื่อมไปที่คาบูลและทางตะวันออกผ่านทางผ่านไคเบอร์ไปยังเมืองเปศวาร์ของประเทศปากีสถาน

จะลาลาบาด

جلال‌آباد
เมือง
A panoramic view of a section of Jalalabad
Jalalabad Bridge
Jalalabad Cricket Stadium
Pashtunistan Square
Mosque in Jalalabad
Governor's House in Jalalabad
Building on a main road
จากบนซ้ายไปขวา: ภาพพาโนรามาของย่านหนึ่งในจะลาลาบาด; สะพานจะลาลาบาด; สนามกีฬาคริกเกตจะลาลาบาด; จัตุรัสพัชตูนิสถาน; มัสยิดในจะลาลาบาด; บ้านผู้ว่าการในจะลาลาบาด; สิ่งก่อสร้างในถนนสายหลัก
จะลาลาบาดตั้งอยู่ในประเทศอัฟกานิสถาน
จะลาลาบาด
จะลาลาบาด
ที่ตั้งในประเทศอัฟกานิสถาน
จะลาลาบาดตั้งอยู่ในฮินดู-คูช
จะลาลาบาด
จะลาลาบาด
จะลาลาบาด (ฮินดู-คูช)
พิกัด: 34°26′03″N 70°26′52″E / 34.43417°N 70.44778°E / 34.43417; 70.44778
ประเทศเอมิเรตอิสลามอัฟกานิสถาน อัฟกานิสถาน
จังหวัดนันการ์ฮาร์
ก่อตั้งค.ศ. 1570
การปกครอง
 • นายเทศมนตรีQari Ehsanullah Sajid[1]
พื้นที่
 • พื้นดิน122 ตร.กม. (47 ตร.ไมล์)
ความสูง575 เมตร (1,886 ฟุต)
ประชากร
 (2021)[2]
 • ทั้งหมด280,685 คน
 [2]
เขตเวลาUTC+4:30 (เวลามาตรฐานอัฟกานิสถาน)
ภูมิอากาศBWh

จะลาลาบาดเป็นศูนย์กลางด้านกิจกรรมทางสังคมและการค้า เพราะตัวเมืองอยู่ในชายแดนTorkhamที่อยู่ห่างไป 65 กิโลเมตร (40 ไมล์)[5] โดยมีอุตสาหกรรมทำกระดาษ สินค้าเกษตร เช่น ส้ม ข้าว และอ้อย ซึ่งมีปัจจัยจากภูมิอากาศแบบอบอุ่น[6] เมืองนี้เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยนันการ์ฮาร์ สถาบันการศึกษาที่มีขนาดใหญ่อันดับ 2 ของประเทศ กษัตริย์อัฟกันหลายพระองค์ทรงโปรดปรานเมืองนี้มาหลายศตวรรษ[7] ในรัชสมัยตีมูร์ ชาฮ์แห่งจักรวรรดิดูร์รานี จะลาลาบาดทำหน้าที่เป็นเมืองหลวงฤดูหนาวของประเทศอัฟกานิสถาน[8]

ภูมิอากาศ แก้

 
ภาพเมืองมองจากแม่น้ำคาบูลฝั่งเหนือ

จะลาลาบาดมีสภาพภูมิอากาศแบบทะเลทรายเขตร้อน (BWh) และเป็นหนึ่งในเมืองที่ร้อนที่สุดในประเทศอัฟกานิสถาน[9] โดยได้รับหยาดน้ำฝน 6 - 8 นิ้วต่อปี (152 - 203 มิลลิเมตรต่อปี) ซึ่งพบได้เฉพาะช่วงฤดูหนาวถึงฤดูใบไม้ผลิ และในช่วงฤดูร้อนอุณหภูมิสามารถเพิ่มขึ้นสูงสุดที่ 49 °C[10]

เนื่องจากอุณหภูมิที่อบอุ่นในอัฟกานิสถานช่วงฤดูหนาว ทำให้จะลาลาบาด (ร่วมกับเปศวาร์) มักเป็น "เมืองหลวงฤดูหนาว" ของผู้นำอัฟกันมาหลายศตวรรษ[8][11] โดยคนรวยจะย้ายไปที่บ้านพักตากอากาศในจะลาลาบาดเพื่อหลีกเลี่ยงอากาศหนาวที่คาบูล[12]

ข้อมูลภูมิอากาศของจะลาลาบาด
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 25.0
(77)
28.8
(83.8)
34.5
(94.1)
40.5
(104.9)
45.4
(113.7)
47.5
(117.5)
44.7
(112.5)
42.4
(108.3)
41.2
(106.2)
38.2
(100.8)
32.4
(90.3)
25.4
(77.7)
47.5
(117.5)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 15.9
(60.6)
17.9
(64.2)
22.5
(72.5)
28.3
(82.9)
34.7
(94.5)
40.4
(104.7)
39.3
(102.7)
38.0
(100.4)
35.2
(95.4)
30.5
(86.9)
23.3
(73.9)
17.5
(63.5)
28.63
(83.53)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 8.5
(47.3)
10.9
(51.6)
16.3
(61.3)
21.9
(71.4)
27.7
(81.9)
32.7
(90.9)
32.8
(91)
31.9
(89.4)
28.1
(82.6)
22.2
(72)
14.9
(58.8)
9.5
(49.1)
21.45
(70.61)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 2.9
(37.2)
5.6
(42.1)
10.5
(50.9)
15.3
(59.5)
19.8
(67.6)
24.7
(76.5)
26.7
(80.1)
26.2
(79.2)
21.4
(70.5)
14.4
(57.9)
6.9
(44.4)
3.5
(38.3)
14.83
(58.69)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) −14.1
(6.6)
-9.5
(14.9)
-1.0
(30.2)
6.1
(43)
10.6
(51.1)
13.5
(56.3)
19.0
(66.2)
17.5
(63.5)
11.0
(51.8)
2.7
(36.9)
−4.5
(23.9)
−5.5
(22.1)
−14.1
(6.6)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 18.1
(0.713)
24.3
(0.957)
39.2
(1.543)
36.4
(1.433)
16.0
(0.63)
1.4
(0.055)
6.9
(0.272)
7.7
(0.303)
8.3
(0.327)
3.2
(0.126)
8.3
(0.327)
12.1
(0.476)
181.9
(7.161)
ความชื้นร้อยละ 61 60 62 59 47 40 52 58 56 55 58 63 55.9
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย 4 5 8 8 4 1 1 1 1 1 2 3 39
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 180.9 182.7 207.1 227.8 304.8 339.6 325.9 299.7 293.6 277.6 231.0 185.6 3,056.3
แหล่งที่มา: NOAA (1964-1983) [13]

อ้างอิง แก้

  1. Zarifi, Yousaf (18 August 2021). "Control food prices, Nangarharis urge Taliban".
  2. 2.0 2.1 "Estimated Population of Afghanistan 2021-22" (PDF). National Statistic and Information Authority (NSIA). April 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-06-24. สืบค้นเมื่อ June 21, 2021.
  3. "The State of Afghan Cities report2015". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-31.
  4. "Afghan poets dream of peace in Pashtun Jalalabad | Arts & Ent, Culture | THE DAILY STAR". The Daily Star. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-22. สืบค้นเมื่อ 2020-12-03.
  5. "Jalālābād". Britannica.com. สืบค้นเมื่อ 2011-08-15.
  6. "CLIMATE OF AFGHANISTAN – Afghanistan photos". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-28. สืบค้นเมื่อ 2022-02-01.
  7. Burns, John F.; Times, Special To the New York (1989-05-11). "Inside Jalalabad: A Sad, Crumbling Shel (Published 1989)". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2020-12-03.
  8. 8.0 8.1 Wright, Colin. "Jellalabad, the bastion where General Elphinstone and others were buried during the seige [sic] 1841-42". www.bl.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-11. สืบค้นเมื่อ 2020-12-03.
  9. "Afghanistan - Drainage". Britannica.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-12-03.
  10. Michel, p. 30
  11. Latifi, Ali M. "Afghanistan halts independence festivities after wedding massacre". www.aljazeera.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-12-03.
  12. http://www.island.lk/index.php?page_cat=article-details&page=article-details&code_title=144825 [ลิงก์เสีย]
  13. "Jalal Abad Climate Normals 1964-1983". National Oceanic and Atmospheric Administration. สืบค้นเมื่อ December 25, 2012.

ข้อมูล แก้

  • Aloys Arthur Michel. The Kabul, Kunduz, and Helmand Valleys and the National Economy of Afghanistan: A Study of Regional Resources and the Comparative Advantages of Development. National Academies.

อ่านเพิ่ม แก้

ตีพิมพ์ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 แก้

ตีพิมพ์ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 แก้

ตีพิมพ์ในคริสต์ศตวรรษที่ 21 แก้

  • Grove Encyclopedia of Islamic Art & Architecture. Oxford University Press. 2009.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้