จักรภพ ภูริเดช
พลเอก จักรภพ ภูริเดช (เกิด 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2512) นายทหารและข้าราชการในพระองค์ชาวไทย รองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ผู้บัญชาการทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ กรรมการทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ กรรมการมูลนิธิโครงการหลวง รองประธานกรรมการบริหาร มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ กรรมการโครงการราชทัณฑ์ปันสุขทำความดีด้วยหัวใจ กรรมการในมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม กรรมการบริหารกองทุนพระราชทานสำหรับศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ กรรมการมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช
จักรภพ ภูริเดช | |
---|---|
รองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 1 สิงหาคม พ.ศ. 2560 | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2512 |
บุพการี |
|
ชื่อเล่น | โก้ |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ![]() |
สังกัด | กองบัญชาการกองทัพไทย (จนถึงปี 2555) |
ยศ | ![]() ![]() |
หน่วย | ทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ |
ประวัติ
แก้เกิดเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2512 เป็นบุตรคนที่ 2 ในบรรดาพี่น้อง 4 คนของ พล.ร.อ. สมภพ ภูริเดช อดีตราชองครักษ์พิเศษ และอดีตผู้บัญชาการกองทัพเรือภาคที่ 3 และนางรสสุคนธ์ ภูริเดช อดีต สมาชิกวุฒิสภา ซึ่งมีพี่น้องอีก 3 คนคือ
- ณัฐภพ ภูริเดช อดีตกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีในสมัยรัฐบาลของนาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
- รศ. ทพญ. ดร. ภฑิตา ภูริเดช หนองหารพิทักษ์ อาจารย์ประจำ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นภรรยาของพลเอก ฐิติราช หนองหารพิทักษ์ อดีตผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ซึ่งปัจจุบันเป็นราชองครักษ์และรองผู้บัญชาการทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์[1]
- พล.ต.ท. จิรภพ ภูริเดช ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง อดีตผู้บังคับการกองปราบปราม จบจาก โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 34 และ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่นที่ 50
รับราชการ
แก้จบจาก โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 28 และ โรงเรียนนายเรืออากาศ รุ่นที่ 35 เมื่อจบการศึกษาจากโรงเรียนนายเรืออากาศแล้ว ได้เข้ารับราชการในกองทัพอากาศก่อนจะเจริญก้าวหน้าในราชการตามลำดับ จนกระทั่งวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2553 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศทหารอากาศให้ ซึ่งขณะนั้นมียศเป็น นาวาอากาศเอก ขึ้นเป็น พลอากาศตรี
ต่อมาในวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2555 จึงได้รับพระราชทานยศ พลอากาศโท จากนั้นในวันที่ 4 กรกฎาคม ปีเดียวกันได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการหน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ สำนักผู้บัญชาการทหารสูงสุด จากเดิมที่ดำรงตำแหน่ง นายทหารปฏิบัติการพิเศษ สำนักงานนายทหารปฏิบัติการพิเศษในพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์
ยศและตำแหน่ง
แก้- 5 มีนาคม พ.ศ. 2553 พลอากาศตรี[2]
- 5 มีนาคม พ.ศ. 2553 ผู้บังคับหน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ กองกิจการทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ สำนักงานฝ่ายเสนาธิการในพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ สำนักผู้บัญชาการทหารสูงสุด[3]
- 1 มีนาคม พ.ศ. 2555 นายทหารปฏิบัติการพิเศษ สำนักงานนายทหารปฏิบัติการพิเศษในพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ สำนักผู้บัญชาการทหารสูงสุด[4]
- 1 มีนาคม พ.ศ. 2555 พลอากาศโท[5]
- 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 ผู้บังคับหน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ สำนักผู้บัญชาการทหารสูงสุด[6]
- 2 มิถุนายน พ.ศ. 2560 หัวหน้าสำนักงานนายทหารปฏิบัติการพิเศษ สำนักงานนายทหารปฏิบัติการพิเศษในพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ (อัตราพลเอก)[7]
- 2 มิถุนายน พ.ศ. 2560 พลเอก[8]
- 1 สิงหาคม พ.ศ. 2560 - รองผู้บัญชาการ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ (อัตรา พลเอกพิเศษ) และรักษาราชการผู้บัญชาการ กองบัญชาการทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์[9]
ตำแหน่งพิเศษ
แก้- 26 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ราชองครักษ์เวร[10]
- 6 เมษายน พ.ศ. 2561 กรรมการบริหารกองทุนพระราชทานสำหรับศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ[11]
- 11 มิถุนายน พ.ศ. 2561 กรรมการมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช[12]
- 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 รองผู้บัญชาการ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัย รักษาพระองค์/ผู้บัญชาการทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัย รักษาพระองค์[13]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2564 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[14]
- พ.ศ. 2560 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[15]
- พ.ศ. 2561 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[16]
- พ.ศ. 2548 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[17]
- พ.ศ. 2562 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 10 ชั้นที่ ๓ (ว.ป.ร.๓)[18]
อ้างอิง
แก้- ↑ จักรภพ - จิรภพ ภูริเดช สองพี่น้องผู้รับใช้ชาติและราชบัลลังก์
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารชั้นนายพล
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ
- ↑ พระราชโองการ ประกาศ เรื่อง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้นายทหารสัญญาบัตรรับราชการและพระราชทานยศ
- ↑ พระราชโองการ ประกาศ เรื่อง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้นายทหารสัญญาบัตรรับราชการและพระราชทานยศ
- ↑ พระราชโองการ ประกาศ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการในพระองค์ให้ดำรงตำแหน่ง (หน้า ๓)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชองครักษ์
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารกองทุนพระราชทานสำหรับศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
- ↑ พระราชบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช
- ↑ ผู้บัญชาการทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัย รักษาพระองค์
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๓๘ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๑, ๑๗ มีนาคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญจักรมาลา, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๖, ๑๒ เมษายน ๒๕๖๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า, เล่ม ๑๓๕ ตอนที่ ๓๒ ข หน้า ๑, ๒๑ ตุลาคม ๒๕๖๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๑๓, ๒๗ มิถุนายน ๒๕๔๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้า และเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๑, ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๒