จักรพรรดิโกะ-โมโมโซโนะ

จักรพรรดิโกะ-โมโมโซโนะ (ญี่ปุ่น: 後桃園天皇, 5 สิงหาคม 1758–16 ธันวาคม 1779) เป็นจักรพรรดิองค์ที่ 118 ของญี่ปุ่น ตามลำดับการสืบราชสันตติวงศ์[1][2] พระองค์ได้รับการตั้งพระนามตามพระราชบิดาของพระองค์คือจักรพรรดิโมโมโซโนะ โดยพระนามของพระองค์นำมาจากพระนามของ จักรพรรดิโมโมโซโนะ จักรพรรดิองค์ที่ 117 ผู้เป็นพระราชบิดาเมื่อใส่คำว่า โกะ (後) ที่แปลว่า ที่สอง หรือ ยุคหลัง เข้าไปในพระนามทำให้พระนามของพระองค์มีความหมายว่า จักรพรรดิโมโมโซโนะที่สอง หรือ จักรพรรดิโมโมโซโนะยุคหลัง

จักรพรรดิโกะ-โมะโมะโซะโนะ
พระสาทิสลักษณ์ของจักรพรรดิโกะ-โมะโมะโซะโนะ
จักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น องค์ที่ 118
ครองราชย์
23 พฤษภาคม พ.ศ. 2313 - 16 ธันวาคม พ.ศ. 2322
พิธีขึ้น29 มกราคม พ.ศ. 2314
พระราชวังหลวงเคียวโตะ
รัชศกเมวะ (Meiwa)
ก่อนหน้าโกะ-ซะกุระมะชิ (พระปิตุจฉา)
ถัดไปโคกากุ (พระราชบุตรบุญธรรมและพระราชบุตรเขย)

พระบรมนามาภิไธยฮิเดฮิโตะ (英仁)
พระราชสมภพ5 สิงหาคม พ.ศ. 2301
พระราชวังหลวงเฮอัง
สวรรคต16 ธันวาคม พ.ศ. 2322
พระราชวังหลวงเฮอัง
สุสานหลวงสึกิ โนะ วะ โนะ มิซะซะงิ (เกียวโต)
พิธีฉลองการเจริญวัย19 กันยายน พ.ศ. 2311
พระราชบิดาจักรพรรดิโมะโมะโซะโนะ
พระสนมโคะโนะเอะ โคะเระโกะ

เจ้าชายฮิเดฮิโตะขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิในปี 1771 แต่ครองราชย์ได้ไม่นานก็สวรรคตในปี 1779[3] เหตุการณ์ในรัชสมัยของพระองค์ต้องเผชิญกับภัยพิบัติทางธรรมชาติหลายครั้งที่เกิดขึ้นในปี 1772 นอกจากนั้น สถานการณ์ทางการเมืองกับโชกุนยังเงียบสงบ ในปลายรัชสมัย จักรพรรดิโกะ-โมโมโซโนะต้องเผชิญกับปัญหาการสืบราชบัลลังก์เนื่องจากจักรพรรดิไม่มีผู้สืบทอดที่เหมาะสม ด้วยเหตุนี้ พระองค์จึงรีบรับเอาเจ้าชายคาเนฮิโตะ (ภายหลังเปลี่ยนเป็นโมโรฮิโตะ) มาเป็นพระราชโอรสบุญธรรมซึ่งต่อมาได้กลายเป็นจักรพรรดิองค์ต่อไป

พงศาวลี

แก้

พระองค์เป็นโอรสของจักรพรรดิโมโมโซโนะกับนางสนองพระโอษฐ์ ก่อนขึ้นเป็นจักรพรรดิ พระองค์มีพระนามเดิมว่า เจ้าชายฮิเดฮิโตะ (英仁親王)

  • นางใน : โคโนเอะ โคเรโกะ (近衛維子)
    • พระราชธิดาองค์ที่ 1 (第一皇子) : เจ้าหญิงโยชิโกะ (欣子内親王) ต่อมาคือจักรพรรดินีในจักรพรรดิโคกะกุหรือต่อมาคือ ชินเซวะอิง (新清和院)
  • พระราชโอรสบุญธรรม (養子)

เหตุการณ์ในพระชนม์ชีพของจักรพรรดิโกะ-โมโมโซโนะ

แก้

พระราชประวัติ

แก้

ก่อนที่จักรพรรดิโกะ-โมโมโซโนะจะสืบราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศ พระองค์มีพระนามเดิมว่า เจ้าชายฮิเดฮิโตะ (英仁親王)[4][5] เจ้าชายฮิเดฮิโตะประสูติเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 1758 และเป็นพระโอรสองค์ใหญ่ของจักรพรรดิโมโมโซโนะ[6] หลังจากที่พระราชบิดาของพระองค์สวรรคตในปี 1762 ตำแหน่งจักรพรรดิก็ตกเป็นของพระปิตุจฉา (ป้า) ซึ่งเป็นที่รู้จักในพระนามจักรพรรดินีโกะ-ซากูรามาจิ เจ้าชายฮิเดฮิโตะยังเยาว์เกินไปที่จะเป็นจักรพรรดิในขณะนั้น แต่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรัชทายาทในอีก 5 ปีต่อมา[2] จักรพรรดินีโกะ-ซากูรามาจิ สละราชบัลลังก์ให้กับพระนัดดาในวันที่ 9 มกราคม 1771 และเจ้าชายฮิเดฮิโตะก็สืบราชบัลลังก์ในทันที[6]

ในฐานะจักรพรรดิ

แก้

เพียงปีเศษหลังจากจักรพรรดิโกะ-โมโมโซโนะเสด็จขึ้นครองราชย์ ญี่ปุ่นก็เผชิญกับ "เพลิงไหม้ครั้งใหญ่ปีเมวะ" เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 1772 มีรายงานอย่างไม่เป็นทางการว่า พบพื้นที่ปกคลุมไปด้วยเถ้าถ่านและขี้เถ้า กว้างประมาณ 8 กิโลเมตร ยาวประมาณ 15 ไมล์ (24 กิโลเมตร) ทำลายวัดวาอารามและศาลเจ้า 178 แห่ง บ้านขุนนางไดเมียว 127 หลัง บ้านเรือนราษฎร 878 หลัง บ้านข้าราชสำนัก 8705 หลัง ร้านค้า 628 แถว มีผู้เสียชีวิตประมาณ 6,000 คน ผลพวงจากความพินาศครั้งนี้คือภาระค่าใช้จ่ายมหาศาลในการฟื้นฟู[7]

อ้างอิง

แก้
  1. Imperial Household Agency (Kunaichō): 後桃園天皇 (118)
  2. 2.0 2.1 Ponsonby-Fane, Richard. (1959). The Imperial House of Japan, p. 120.
  3. Titsingh, Isaac. (1834). Annales des empereurs du Japon, pp. 419–420.
  4. Ponsonby-Fane, p. 10
  5. Titsingh, p. 419.
  6. 6.0 6.1 Meyer, Eva-Maria. (1999). Japans Kaiserhof in der Edo-Zeit, p. 186.
  7. Hall, John. (1955). Tanuma Okitsugu, p. 120.