จักรพรรดิโกะ-ซางะ
จักรพรรดิโกะ-ซางะ (อังกฤษ: Emperor Go-Saga; ญี่ปุ่น: 後嵯峨天皇;1 เมษายน ค.ศ. 1220 – 20 มีนาคม ค.ศ. 1272) จักรพรรดิญี่ปุ่น องค์ที่ 88 อันเนื่องมาจากการสืบราชสันตติวงศ์ตามโบราณราชประเพณี
โกะ-ซางะ | |
---|---|
จักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น องค์ที่ 88 | |
ครองราชย์ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 1785 - 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 1789 | |
พิธีขึ้น | 19 เมษายน พ.ศ. 1785 พระราชวังหลวงเฮอัง |
ไดโจไซ | 6 ธันวาคม พ.ศ. 1785 |
รัชศก | นินจิ คังเง็ง |
ก่อนหน้า | ชิโจ |
ถัดไป | โกะ-ฟุกะกุซะ |
พระราชสมภพ | 1 เมษายน พ.ศ. 1763 |
สวรรคต | 20 มีนาคม พ.ศ. 1815 |
ฝังพระบรมศพ | 22 มีนาคม พ.ศ. 1815 |
สุสานหลวง | ซางะ โนะ มินะมิ |
พิธีฉลองการเจริญวัย | 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 1783 |
พระราชบิดา | จักรพรรดิสึชิมิกะโดะ |
จักรพรรดินี (โคโง) | ฟุจิวะระ โนะ คิสึชิ |
พระราชโอรส-ธิดา | โกะ-ฟุกะกุซะ คาเมยามะ |
รัชสมัยของพระองค์อยู่ใน ค.ศ. 1242–1246
พระราชวงศ์
แก้ก่อนที่จักรพรรดิโกซางะจะขึ้นครองราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศมีพระนามเดิมว่า เจ้าชายคุนิฮิโตะ (邦仁親王)[1]
เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 2 ใน จักรพรรดิสึชิมิกะโดะ
- จักรพรรดินี : ฟุจิวะระ โนะ คิสึชิ (Fujiwara no Kitsushi)[2]
- พระราชโอรสองค์ที่ 4 (第四皇子): เจ้าชายฮิซะฮิโตะ (久仁親王) (ต่อมาคือ จักรพรรดิโกะ-ฟุกะกุซะ) (後深草天皇)
- พระราชธิดาองค์ที่ 1 (第一皇女): เจ้าหญิงโอะซะโกะ (綜子内親王)[3]
- พระราชโอรสองค์ที่ 7 : เจ้าชายสึเนะฮิโตะ (恒仁親王) (ต่อมาคือ จักรพรรดิคาเมยามะ) (亀山天皇)
- พระราชโอรสองค์ที่ 11 : เจ้าชายมะซะตะกะ (雅尊親王)
- พระราชโอรสองค์ที่ 13 : เจ้าชายซะดะโยะชิ (貞良親王)
- นางสนองพระโอษฐ์ : ไทระ โนะ มุเนะโกะ (平棟子) ธิดาของ ไทระ โนะ มุเนะโมะโตะ (Taira no Munemoto)[4]
- พระราชโอรสองค์ที่ 3 (第三皇子): เจ้าชายมุเนะตะกะ (ต่อมาคือ โชกุน คนที่ 6 แห่ง รัฐบาลโชกุนคะมะกุระ)
- สาวใช้ : ฟุจิวะระ ??
- พระราชโอรสองค์ที่ 8 : เจ้าชายกะกุโจ (覚助法親王) (ต่อมาทรงผนวชเป็นพระภิกษุ)[3]
- พระราชธิดาองค์ที่ 2 (第二皇女): เจ้าหญิง ?? (Imperial Princess ??)
- พระราชธิดาองค์ที่ 6 : เจ้าหญิง ?? (Imperial Princess ??)
เหตุการณ์ในพระชนม์ชีพ
แก้จักรพรรดิโกะ-ซะงะครองราชย์ระหว่างวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1242 – 16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1246
เนื่องจากการสวรรคตอย่างกะทันหันของ จักรพรรดิชิโจ โดยไร้รัชทายาทเหล่าขุนนางในราชสำนักที่นำโดย คุโจ มิชิอิเอะ ซึ่งเป็น เซ็สโซ ในรัชกาลก่อนได้สนับสนุน เจ้าชายทะดะนะริ (Imperial Prince Tadanari) พระราชโอรสของ จักรพรรดิจุนโตะกุ แต่ได้รับการปฏิเสธจากทาง รัฐบาลโชกุนคะมะกุระ ที่นำโดย โฮโจ ยะซุโตะกิ (Hojo Yasutoki) ชิกเก็ง หรือผู้สำเร็จราชการของโชกุนเนื่องจากพระราชบิดาของเจ้าชายมีส่วนร่วมใน สงครามปีโจคิว ซึ่งทางรัฐบาลโชกุนได้สนับสนุน เจ้าชายคุนิฮิโตะ พระราชโอรสใน จักรพรรดิสึชิมิกะโดะ พระชนมายุ 22 พรรษาซึ่งถูกเนรเทศไปอยู่ จังหวัดโทะซะ ตั้งแต่ทรงพระเยาว์ภายหลังจากสงครามปีโจคิวให้มารับราชสมบัติ
- ค.ศ. 1242 (วันที่ 10 เดือน 1 ปี นินจิ ที่ 3) ปีที่ 10 ในรัชกาล จักรพรรดิชิโจ องค์จักรพรรดิสวรรคตอย่างกะทันหันเมื่อพระชนมายุเพียง 10 พรรษาโดยไร้รัชทายาททำให้สายราชสกุลของพระองค์ต้องสิ้นสุดลงทางรัฐบาลโชกุนคะมะกุระจึงสนับสนุนให้เจ้าชายคุนิฮิโตะพระชนมายุ 22 พรรษาขึ้นครองราชย์แทน
- ค.ศ. 1242 (เดือน 5 ปี นินจิ ที่ 3) จักรพรรดิโกะ-ซะงะประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกที่ พระราชวังหลวงเฮอัง นครหลวงเคียวโตะ
หลังจากครองราชย์ได้เพียง 4 ปีก็สละราชบัลลังก์เมื่อ ค.ศ. 1246 ขณะพระชนมายุเพียง 26 พรรษาโดยสละราชบัลลังก์ให้กับ เจ้าชายฮิซะฮิโตะ พระราชโอรสองค์ใหญ่พระชนมายุเพียง 3 พรรษาขึ้นครองราชย์ต่อมาเป็น จักรพรรดิโกะ-ฟุกะกุซะ ส่วนพระองค์ก็ได้เป็น ไดโจโฮ หรือ โฮโอ ที่แปลว่า อดีตจักรพรรดิอันประทับในศาสนา ต่อมาบังคับให้จักรพรรดิโกะ-ฟุกะกุซะสละราชบัลลังก์ให้กับ เจ้าชายสึเนะฮิโตะ พระราชอนุชาร่วมพระราชมารดาเดียวกันขึ้นครองราชย์เป็น จักรพรรดิคะเมะยะมะ ซึ่งหลังจากนั้นเชื้อพระวงศ์ซึ่งสืบเชื้อสายจากจักรพรรดิทั้ง 2 พระองค์ก็พยายามอ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศถึงขั้นแบ่งเป็นราชวงศ์เหนือ-ใต้ ก่อนที่ จักรพรรดิโกะ-โคะมะสึ จักรพรรดิองค์ที่ 100 จาก ราชวงศ์เหนือ จะสามารถก้าวขึ้นเป็นจักรพรรดิเพียงพระองค์เดียวของญี่ปุ่นภายหลังการสละราชบัลลังก์ของ จักรพรรดิโกะ-คะเมะยะมะ จักรพรรดิองค์ที่ 4 และองค์สุดท้ายจากราชวงศ์ใต้เมื่อปี 1935
จักรพรรดิโกะ-ซะงะเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 1272 ขณะพระชนม์ได้ 51 พรรษา
แผนผังจักรพรรดิญี่ปุ่น
แก้(77) โกะ-ชิระกะวะ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
(78) นิโจ | โมะชิฮิโตะ | (80) ทะกะกุระ | เจ้าหญิงซุเกะโกะ | เจ้าหญิงชิกิชิ | เจ้าหญิงคินชิ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
(79) โระกุโจ | (81) อันโตะกุ | เจ้าชายโมะริซะดะ (โกะ-ทะกะกุระ-อิง) | (82) โกะ-โทะบะ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
(86)โกะ-โฮะริกะวะ | (83) สึชิมิกะโดะ | (84) จุนโตะกุ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
(87) ชิโจ | (88) โกะซางะ | (85) ชูเกียว | ทะดะนะริ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
(88) โกซางะ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
มุเนะตะกะ (โชกุนลำดับที่ 6) | (จิเมียวอิง) (89) โกะ-ฟุกะกุซะ | (ไดกะกุจิ) (90) คาเมยามะ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
โคะเระยะซุ (โชกุนลำดับที่ 7) | (92) ฟุชิมิ | เจ้าชายฮิซะอะกิ (โชกุนลำดับที่ 8) | (91) โกอูดะ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
(93) โกะ-ฟุชิมิ | (95) ฮะนะโซะโนะ | เจ้าชายโมะริกุนิ (โชกุนลำดับที่ 9) | (94) โกะ-นิโจ | (96) โกไดโงะ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
(อ้าง 1) โคงง | นะโอะฮิโตะ | คุนิโยะชิ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อ้างอิง
แก้- ↑ Titsingh, p. 245; Varley, p.228.
- ↑ Fortunes of Emperors
- ↑ 3.0 3.1 Emergence of Japanese Kingship, p5
- ↑ Taira no Muneko is from 'The Changing of the Shogun 1289: An Excerpt from Towazugatari', The Journal of the Association of Teachers of Japanese, Vol. , No. 1, Tenth Anniversary Issue, (Nov., 1972), pp. 58–65
ก่อนหน้า | จักรพรรดิโกะ-ซางะ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
จักรพรรดิชิโจ | จักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น (1242 – 1246) |
จักรพรรดิโกะ-ฟุกะกุซะ |