จักรพรรดิแห่งรัสเซียทั้งปวง

พระราชอิสริยยศของเจ้าแผ่นดินแห่งรัสเซียในสมัยจักรวรรดิ

จักรพรรดิ(หรือ จักรพรรดินี)และอัตตาธิปัตย์แห่งรัสเซียทั้งปวง[1] (รัสเซีย: Император и Самодержец Всероссийский, อักษรโรมัน: Imperator i Samoderzhets Vserossiyskiy, IPA: [ɪm⁽ʲ⁾pʲɪˈratər ɪ səmɐˈdʲerʐɨt͡s fsʲɪrɐˈsʲijskʲɪj])[c] มักนิยมออกพระยศว่า ซาร์ หรือ ซารีนา/ซาริตซา เป็นพระบรมราชอิสริยยศของประมุขแห่งจักรวรรดิรัสเซียในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์และสมัยภายใต้รัฐธรรมนูญ

จักรพรรดิและอัตตาธิปัตย์
แห่งรัสเซียทั้งปวง
Император и Самодержец Всероссийский
จักรวรรดิ
จักรพรรดินิโคลัสที่ 2
จักรพรรดิพระองค์สุดท้าย
(1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1894 – 15 มีนาคม ค.ศ. 1917)
รายละเอียด
พระราชอิสริยยศฮิส/เฮอร์อิมพีเรียลมาเจสตี
กษัตริย์องค์แรกจักรพรรดิปีเตอร์ที่ 1
กษัตริย์องค์สุดท้ายจักรพรรดินิโคลัสที่ 2
สถาปนาเมื่อ2 พฤศจิกายน ค.ศ. 1721
การล้มล้าง15 มีนาคม ค.ศ. 1917
(195 ปี 134 วัน)
ที่ประทับพระราชวังฤดูหนาว
เครมลิน
พระราชวังเยกาเจรีนา
ผู้แต่งตั้งสืบราชสันตติวงศ์
ผู้อ้างสิทธิเป็นกษัตริย์

หลังจากรัสเซียเอาชนะสวีเดนได้ในมหาสงครามเหนือ ซาร์ปีเตอร์ที่ 1 ได้ปฏิรูปประเทศให้เจริญก้าวหน้า และได้รับเฉลิมพระอิสริยยศเป็น จักรพรรดิแห่งรัสเซียทั้งปวง[2] เป็นพระองค์แรก และยังคงใช้ในรัชกาลต่อ ๆ มาจนระบอบราชาธิปไตยสิ้นสุดลงในการปฏิวัติรัสเซีย ค.ศ. 1917

พระอิสริยยศ

แก้

จักรพรรดิแห่งรัสเซียทั้งปวงมีพระอิสริยยศเต็มว่า

ด้วยพระหรรษทานของพระเป็นเจ้า, เรา NN จักรพรรดิและองค์อธิปัตย์แห่งรัสเซียทั้งปวง แห่งมอสโก เคียฟ วลาดีมีร์ นอฟโกรอด ซาร์แห่งคาซัน ซาร์แห่งอัสตราฮัน ซาร์แห่งโปแลนด์ ซาร์แห่งไซบีเรีย ซาร์แห่งเคร์โซเนส ซาร์แห่งจอร์เจีย องค์อธิปัตย์แห่งปัสคอฟ และแกรนด์ดยุกแห่งสโมเลนสค์ ลิทัวเนีย โวลิเนีย โปโดเลีย และฟินแลนด์; ดยุกแห่งเอสต์แลนด์ ลิฟแลนด์ คัวร์แลนด์ และเซมิกาเลีย ซาโมกิเทีย เบียวิสตอค โคเรเลีย ตเวียร์ ยูเกรีย เปอร์เมีย เวียตกา บอลการี และอื่น ๆ; องค์อธิปัตย์และแกรนด์ดยุกแห่งนิจนีนอฟโกรอด เชียร์นีกอฟ เรียซัน โปลอตสก์ รอสตอฟ ยาโรสลัฟล์ เบียโลโอเซโร อูโดเรีย กอนเดีย วีเต็บสค์ มัสติสลัฟ และผู้ปกครองอาณาเขตทางเหนือทั้งปวง; องค์อธิปัตย์แห่งไอบีเรีย การ์ตาลิเนีย แผ่นดินคาบาร์เดียและมณฑลอาร์มีเนีย: องค์อธิปัตย์สืบราชตระกูลและผู้ปกครองชาวเซอร์คัสเซียนและเจ้าชาวเขาและอื่น ๆ; องค์อธิปัตย์แห่งเตอร์กิสถาน รัชทายาทแห่งนอร์เวย์ ดยุกแห่งชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์ สตอร์มาร์น เดียตมาร์เซิน ออลเดนบวร์ค และอื่น ๆ[3]

รายพระนามจักรพรรดิ

แก้
พระนาม
อายุขัย
เริ่มรัชกาล
สิ้นสุดรัชกาล
หมายเหตุ
ราชวงศ์
พระฉายาลักษณ์
จักรพรรดิปีเตอร์ที่ 1
  • Пётр Вели́кий
    ปีเตอร์มหาราช
9 มิถุนายน ค.ศ. 1672

8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1725
ในพระอิสริยยศซาร์:
2 มิถุนายน ค.ศ. 1682
ในพระอิสริยยศจักรพรรดิ:
2 พฤศจิกายน ค.ศ. 1721
8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1725 พระราชโอรสของพระเจ้าซาร์อเล็กซีที่ 1 กับนาตัลยา นารึชคินา
พระอนุชาของโซฟียา อะเลคเซเยฟนา, พระเจ้าซาร์ฟิโอดอร์ที่ 3 และพระเจ้าซาร์อีวานที่ 5
พระองค์ทรงปกครองร่วมกับพระเจ้าซาร์อีวานที่ 5
ทรงได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในผู้ปกครองรัสเซียที่ยิ่งใหญ่ที่สุด
โรมานอฟ  
จักรพรรดินีเยกาเจรีนาที่ 1
  • Екатери́на I Алексе́евна
15 เมษายน ค.ศ. 1684

17 พฤษภาคม ค.ศ. 1727
8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1725 17 พฤษภาคม ค.ศ. 1727 พระมเหสีของจักรพรรดิปีเตอร์ที่ 1 สการอนสกี  
จักรพรรดิปีเตอร์ที่ 2
  • Пётр II Алексеевич
23 ตุลาคม ค.ศ. 1715

30 มกราคม ค.ศ. 1730
18 พฤษภาคม ค.ศ. 1727 30 มกราคม ค.ศ. 1730 พระราชนัดดาของจักรพรรดิปีเตอร์ที่ 1 ซึ่งสืบทอดผ่านทางซาร์เรวิชอเล็กซีย์ ซึ่งถูกปลงพระชนม์ พระองค์เป็นผู้ชายคนสุดท้ายที่สืบทอดราชวงศ์โรมานอฟผ่านทางสายตรง โรมานอฟ  
จักรพรรดินีนาถแอนนา
  • Анна Иоанновна
7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1693

28 ตุลาคม ค.ศ. 1740
15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1730 28 ตุลาคม ค.ศ. 1740 พระราชธิดาของพระเจ้าซาร์อีวานที่ 5 โรมานอฟ  
จักรพรรดิอีวานที่ 6
  • Иван VI
23 สิงหาคม ค.ศ. 1740

16 กรกฎาคม ค.ศ. 1764
28 ตุลาคม ค.ศ. 1740 6 ธันวาคม ค.ศ. 1741 พระราชปนัดดาของพระเจ้าซาร์อีวานที่ 5
ถูกถอดถอนราชบัลลังก์ในวัยเยาว์ ซึ่งถูกจองจำ และถูกปลงพระชนม์ในเวลาต่อมา
เบราน์ชไวก์-เบเวิร์น  
จักรพรรดินีนาถเยลิซาเวตา
  • Елизаве́та
29 ธันวาคม ค.ศ. 1709

5 มกราคม ค.ศ. 1762
6 ธันวาคม ค.ศ. 1741 5 มกราคม ค.ศ. 1762 พระราชธิดาของจักรพรรดิปีเตอร์ที่ 1 และจักรพรรดินีนาถเยกาเจรีนาที่ 1 ซึ่งทรงแย่งชิงราชบัลลงก์จากจักรพรรดิอีวานที่ 6 โรมานอฟ  
จักรพรรดิปีเตอร์ที่ 3
  • Пётр III Фёдорович
21 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1728

17 กรกฎาคม ค.ศ. 1762
9 มกราคม ค.ศ. 1762 9 กรกฎาคม ค.ศ. 1762 พระราชนัดดาของจักรพรรดิปีเตอร์ที่ 1
พระราชนัดดาของจักรพรรดินีนาถเยลิซาเวตา
ถูกปลงพระชนม์
ฮ็อลชไตน์-ก็อทตาร์ฟ-โรมานอฟ  
จักรพรรดินีนาถเยกาเจรีนาที่ 2
  • Екатерина Алексеевна
    เยกาเจรีนามหาราชินี
2 พฤษภาคม 1729

17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1796
9 กรกฎาคม ค.ศ. 1762 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1796 พระมเหสีของจักรพรรดิปีเตอร์ที่ 3 อัสคาเนีย  
จักรพรรดิพอลที่ 1
  • Па́вел I Петро́вич
1 ตุลาคม ค.ศ. 1754

23 มีนาคม ค.ศ. 1801
17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1796 23 มีนาคม ค.ศ. 1801 พระราชโอรสของจักรพรรดิปีเตอร์ที่ 3 และจักรพรรดินีนาถเยกาเจรีนาที่ 2
ถูกลอบปลงพระชนม์
ฮ็อลชไตน์-ก็อทตาร์ฟ-โรมานอฟ  
จักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 1
  • Александр Павлович
23 ธันวาคม ค.ศ. 1777

1 ธันวาคม ค.ศ. 1825
23 มีนาคม ค.ศ. 1801 1 ธันวาคม ค.ศ. 1825 พระราชโอรสของจักรพรรดิพอลที่ 1 กับโซฟี โดโรเธีย แห่งเวือร์ทเทิมแบร์ค
ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งโปแลนด์ และมกุฎราชกุมารแห่งฟินแลนด์พระองค์แรก ที่ปกครองด้วยราชวงศ์โรมานอฟ
ฮ็อลชไตน์-ก็อทตาร์ฟ-โรมานอฟ  
จักรพรรดินีโคไลที่ 1
  • Николай I Павлович
6 กรกฎาคม ค.ศ. 1796

2 มีนาคม ค.ศ. 1855
1 ธันวาคม ค.ศ. 1825 2 มีนาคม ค.ศ. 1855 พระราชโอรสของจักรพรรดิพอลที่ 1 กับโซฟี โดโรเธีย แห่งเวือร์ทเทิมแบร์ค
พระราชอนุชาของจักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 1 และคอนสตันติน ปัฟโลวิช
ฮ็อลชไตน์-ก็อทตาร์ฟ-โรมานอฟ  
จักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 2
  • Алекса́ндр II Никола́евич
29 เมษายน ค.ศ. 1818

13 มีนาคม ค.ศ. 1881
2 มีนาคม ค.ศ. 1855 13 มีนาคม ค.ศ. 1881 พระราชโอรสของจักรพรรดินีโคไลที่ 1 กับอะเลคซันดรา ฟีโอดรอฟนา
พระราชนัดดาของจักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 1
ถูกลอบปลงพระชนม์
ฮ็อลชไตน์-ก็อทตาร์ฟ-โรมานอฟ  
จักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 3
  • Алекса́ндр III Алекса́ндрович
10 มีนาคม ค.ศ. 1845

1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1894
13 มีนาคม ค.ศ. 1881 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1894 พระราชโอรสของจักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 2 กับมารียา อะเลคซันดรอฟนา ฮ็อลชไตน์-ก็อทตาร์ฟ-โรมานอฟ  
จักรพรรดินีโคไลที่ 2
  • Николай II Алекса́ндрович
18 พฤษภาคม ค.ศ. 1868

17 กรกฎาคม ค.ศ. 1918
1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1894 15 มีนาคม ค.ศ. 1917 พระราชโอรสของจักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 3 กับมารียา ฟีโอดรอฟนา
ทรงสละพระราชสมบัติในการปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์
ถูกปลงพระชนม์โดยบอลเชวิค
ฮ็อลชไตน์-ก็อทตาร์ฟ-โรมานอฟ  

หมายเหตุ

แก้
  1. สำหรับจักรพรรดิ
  2. สำหรับจักรพรรดินี
  3. รัสเซีย: (ตัวสะกดก่อน ค.ศ. 1918) Императоръ Всероссійскій[a], Императрица Всероссійская[b], (ตัวสะกดสมัยใหม่) Император Всероссийский, Императрица Всероссийская, อักษรโรมัน: Imperator Vserossiyskiy, Imperatritsa Vserossiyskaya

อ้างอิง

แก้
  1. Ferro, Marc (1995). Nicholas II: Last of the Tsars (ภาษาอังกฤษ). Oxford University Press. p. 36. ISBN 978-0-19-509382-7.
  2. ราชบัณฑิตยสถาน. สารานุกรมประเศในทวีปยุโรป ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2550. 792 หน้า. หน้า 592. ISBN 978-974-9588-84-0
  3. "Chapter Six On the Title of His Imperial Majesty and the State Coat of Arms". Romanov House. 2017. สืบค้นเมื่อ 21 สิงหาคม ค.ศ. 2020. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)