จักรพรรดินีโกะ-ซากูรามาจิ

จักรพรรดินีโกะ-ซากูรามาจิ (ญี่ปุ่น: 後桜町天皇โรมาจิGo-Sakuramachi-tennōทับศัพท์: โกะ-ซากูรามาจิ-เท็นโน, 23 กันยายน พ.ศ. 2283 - 24 ธันวาคม พ.ศ. 2356) ทรงเป็นสมเด็จพระจักรพรรดินีแห่งญี่ปุ่นพระองค์ที่ 117[1] อันเนื่องมาจากการสืบราชสันตติวงศ์ตามโบราณราชประเพณี[2] จักรพรรดินีโกะ-ซากูรามาจิครองราชย์ตั้งแต่พ.ศ. 2305 ถึงพ.ศ. 2314[3] เป็นระยะเวลา 9 ปี

จักรพรรดินีโกะ-ซะกุระมะชิ
พระสาทิสลักษณ์จักรพรรดินีโกะ-ซะกุระมะชิ
จักรพรรดินีนาถแห่งญี่ปุ่น องค์ที่ 117
ครองราชย์
15 กันยายน [ตามปฎิทินเก่า: 27 สิงหาคม] 2305 - 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2314
รัชกาลก่อนหน้าจักรพรรดิโมโมโซโนะ
รัชกาลถัดไปจักรพรรดิโกะ-โมโมโซโนะ

พระราชสมภพ23 กันยายน พ.ศ. 2283
พระบรมนามาภิไธยโทะชิโกะ (智子)
พระอิสริยยศเจ้าอิเสะ
เจ้าอาเกะ
สวรรคต24 ธันวาคม พ.ศ. 2356
พระราชบิดาสมเด็จพระจักรพรรดิซะกุระมะชิ
พระราชมารดานิโจ อิเอะโกะ

ในศตวรรษที่ 18 สมเด็จพระจักรพรรดินีนาถทรงตั้งพระนามในรัชสมัยของพระองค์ตามจักรพรรดิซากูรามาจิพระราชบิดา จักรพรรดิในรัชกาลที่ 115 และคำว่า "โกะ-"(後) ในภาษาญี่ปุ่นมีความหมายว่า "หลังจาก","ถัดมา" หรือ "ต่อมา" ในบางครั้งจึงมีการออกพระนามว่า "สมเด็จพระจักรพรรดินีนาถซะกุระมะชิองค์ต่อมา" (Later Empress Regnant Sakuramachi) นอกจากนี้คำว่า "โกะ" ยังอาจแปลได้อีกความหมายว่า "ลำดับที่สอง" ในเอกสารเก่าบางเห่งจึงพบการออกพระนามของพระองค์ว่า "สมเด็จพระจักรพรรดินีนาถซะกุระมะชิที่ 2" ("Sakuramachi, the second,", "Sakuramachi II")

ในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น จักรพรรดินีโกะ-ซะกุระมะชิเป็นสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถพระองค์สุดท้ายจากพระจักรพรรดินีนาถทั้ง 8 พระองค์ สมเด็จพระจักรพรรดินีนาถทั้ง 7 พระองค์ก่อนรัชสมัยของพระนางได้แก่ จักรพรรดินีซุอิโกะ, จักรพรรดินีโคเงียวกุหรืออีกพระนามหนึ่งคือ สมเด็จพระจักรพรรดินีนาถไซเม, จักรพรรดินีจิโต, จักรพรรดินีเก็มเม, จักรพรรดินีเก็นโช, จักรพรรดินีโคเก็งหรืออีกพระนามหนึ่งคือ สมเด็จพระจักรพรรดินีนาถโชโตะคุ และสมเด็จพระจักรพรรดินีเมโช

พงศาวลี แก้

ก่อนที่จักรพรรดินีโกะ-ซะกุระมะชิจะสืบพระราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศ พระนามเดิมของพระนางคือ เจ้าหญิงโทะชิโกะ (智子)[4] และพระอิศริยยศก่อนที่จะสืบราชบัลลังก์ของพระนางคือ อิสะ-โนะ-มิยะ(以茶宮) และพระอิศริยยศต่อจากนั้นคือ อะเกะ-โนะ-มิยะ(緋宮)

พระนางเป็นพระราชธิดาพระองค์ที่สองใน สมเด็จพระจักรพรรดิซะกุระมะชิ พระราชมารดาของพระนางคือ พระสนมนิโจ อิเอะโกะ(二条 舎子) พระเชษฐภคินีของพระนางสิ้นพระชนม์เมื่อทรงพระเยาว์ และพระอนุชาของพระนางคือ สมเด็จพระจักรพรรดิโมะโมะโซะโนะ องค์จักรพรรดินีนาถและพระจักรพรรดิพระอนุชาของพระนางทรงเป็นสายสุดท้ายในการสืบราชสันตติวงศ์สายตรงจากสมเด็จพระจักรพรรดินะกะมิกะโดะ[5]

พระราชวงศ์ของจักรพรรดินีโกะ-ซะกุระมะชิประทับร่วมกับพระจักรพรรดินีนาถในไดริแห่งพระราชวังหลวงเฮอัง

เหตุการณ์ในพระชนม์ชีพของจักรพรรดินีโกะ-ซะกุระมะชิ แก้

เจ้าหญิงโทชิโกะทรงสืบราชบัลลังก์เมื่อสมเด็จพระจักรพรรดิโมะโมะโซะโนะทรงสละราชสมบัติให่แก่พระเชษฐภคินีองค์โปรด[4] พระราชโอรสของจักรพรรดิโมะโมะโซะโนะคือ เจ้าชายฮิเดะฮิโตะ(ต่อมาทรงเป็นที่รู้จักในพระนาม สมเด็จพระจักรพรรดิโกะ-โมะโมะโซะโนะ)ซึ่งขณะนั้นมีพระชนมายุเพียง 5 พรรษา องค์จักรพรรดินีนาถผู้เป็นพระปิตุจฉาของเจ้าชายฮิเดะฮิโตะทรงเห็นว่าพระนางควรจะยึดราชบัลลังก์ไว้จนกว่าพระนัดดาพระองค์นี้จะมีวุฒิภาวะและความรับผิดชอบเพียงพอจะบริหารราชการแผ่นดินได้

  • 23 กันยายน พ.ศ. 2283: เจ้าหญิงโทะชิโกะเสด็จพระราชสมภพ[6]
  • 15 กันยายน พ.ศ. 2305(ปีโฮเระกิที่ 12): ทรงสืบราชบัลลังก์เป็นจักรพรรดินีโกะ-ซะกุระมะชิเมื่อสมเด็จพระจักรพรรดิโมะโมะโซะโนะพระอนุชาทรงสละราชสมบัติ[7]
  • พ.ศ. 2306(ปีโฮเระกิที่ 13): สมาคมพ่อค้าผู้นำเข้าโสมเกาหลีได้ก่อตั้งที่เขตคันดะในเอะโดะ[8]
  • พ.ศ. 2308(ปีเมวะที่ 2): เหรียญห้า momme ถูกนำออกใช้
  • พ.ศ. 2309(ปีเมวะที่ 3): เกิดเหตุการณ์เมวะซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับการวางแผนและกิจกรรมต่างๆมีความพยายามที่จะล้มล้างรัฐบาลโชกุนและฟื้นฟูพระราชอำนาจขององค์จักรพรรดินีนาถ แต่แผนการได้รั่วไหลจึงถูกสกัดกั้นไว้[9]
  • พ.ศ. 2311(ปีเมวะที่ 5): ยกเลิกใช้เหรียญห้า momme
  • พ.ศ. 2313(ปีเมวะที่ 7): พายุไต้ฝุ่นทำลายพระราชวังจนสิ้นซากและมีการสร้างพระราชวังใหม่[10]
  • พ.ศ. 2313(ปีเมวะที่ 7): ดาวหางขนาดใหญ่(ดาวหางเล็กเซล)ด้วยหางที่ยาวปรากฏสว่างจ้าบนท้องฟ้ากลางคือนตลอดฤดูร้อนและฤดูใบไม้ร่วง[10]
  • พ.ศ. 2313(ปีเมวะที่ 7): ถึงแม้ว่าจะไม่มีใครทราบเวลาที่แน่นอนในสมัยนั้น ซึ่งเป็นครั้งแรกในความแห้งแล้งที่ติดต่อกันเป็นเวลา 15 ปีของญี่ปุ่น[10]
  • 9 มกราคม พ.ศ. 2314: หลังจากทรงครองสิริราชสมบัติเป็นระยะเวลา 9 ปี จักรพรรดินีโกะ-ซะกุระมะชิทรงสละราชบัลลังก์แก่พระนัดดาองค์โปรด[6] นับเป็นจุดสิ้นสุดรัชสมัยของสตรีที่ขึ้นมาเป็นองค์จักรพรรดินีนาถพระองค์สุดท้ายของญี่ปุ่น
 
พระบรมสาทิสลักษณ์จักรพรรดินีโกะ-ซะกุระมะชิ ทรงเป็นจักรพรรดินีนาถพระองค์สุดท้าย และพระนางทรงมีบทบาททางการเมืองมากจนกระทั่งเสด็จสวรรคต

สมเด็จพระจักรพรรดิโกะ-โมะโมะโซะโนะทรงครองราชสมบัติเพียงระยะเวลาสั้นๆ ซึ่งสิ้นสุดในปีพ.ศ. 2322 เมื่อจักรพรรดิโกะ-โมะโมะโซะโนะเสด็จสวรรคตโดยปราศจากรัชทายาท เมื่อพระราชนัดดาเสด็จสวรรคต อดีตจักรพรรดินีนาถโกะ-ซะกุระมะชิ หรือ องค์ไดโจ เทนโนทรงปรึกษากับข้าราชการผู้อาวุโสและราชองครักษ์ในราชสำนัก ทรมีพระประสงค์ที่จะรับเจ้าชายฟุชิมิ-โนะ-มิยะเป็นพระโอรสบุญธรรม แต่ในที่สุดมีการตัดสินใจเลือกเจ้าชายโมะโระฮิโตะ(師仁) พระโอรสองค์ที่หกในเจ้าชายคันอิน-โนะ-มิยะ สุเคะฮิโกะ(閑院宮典仁) ผู้ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากโคะโนะเอะ อุจิซะกิ ผู้เป็นหัวหน้าคณะที่ปรึกษาองค์จักรพรรดิ(เซ็สโซ และ คัมปะกุ) เจ้าชายโมะโระฮิโตะได้ถูกรับเป็นพระโอรสบุญธรรมของจักรพรรดิโกะ-โมะโมะโซะบนพระแท่นบรรทมซึ่งต่อมาเสด็จสวรรคตในทันที พระโอรสบุญธรรมจึงได้ครองราชย์สืบต่อเป็น สมเด็จพระจักรพรรดิโคคะกุ

หลังจากพระราชบัลลังก์ได้ถูกเปลี่ยนสายสืบราชสันตติวงศ์ อดีตจักรพรรดินีโกะ-ซะกุระมะชิทรงดำรงพระอิศริยยศเป็น อดีตจักรพรรดินีนาถ ซึ่งทรงมีฐานะเป็นผู้คุ้มครองพระประมุขซึ่งยังทรงพระเยาว์ จากบทบาทนี้ในปีพ.ศ. 2332 เกิดเรื่องอื้อฉาวอันเป็นที่ส่งผลถึงพระเกียรติยศโดย พระนางทรงก้าวก่ายราชกิจและทรงกล่าวตักเตือนองค์จักรพรรดิด้วยพระนางเอง อีกทั้งมีพระราชอำนาจเหนือองค์จักรพรรดิจนกระทั่งพระนางเสด็จสวรรคต

สิ่งตกทอด แก้

ถึงแม้ว่าจะมีสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถถึง 7 พระองค์อื่นๆ รัชทายาทส่วนใหญ่มักเป็นบุรุษและเลือกจากสายวงศ์บุรุษ ที่ซึ่งทำไมภูมิปัญญาแบบอนุรักษนิยมได้พยายามโต้เถียงถึงการครองราชย์ของสตรีในยุคสมัยใหม่และกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์โดยบุรุษเพียงเท่านั้นยังคงใช้อยู่ในศตวรรษที่ 21[11] จักรพรรดินีเก็มเม ทรงให้พระราชธิดาสามารถสืบราชสมบัติต่อจากพระนางได้เป็นจักรพรรดินีเก็นโช ยังคงเป็นข้อยกเว้นสำหรับข้อถกเถียงนี้

อดีตจักรพรรดินีโกะ-ซะกุระมะชิทรงพระราชนิพนธ์หนังสือชื่อ สถานการณ์รายปีในราชสำนัก(禁中年中の事 คินชู-เน็นจู โนะ โกะโตะ) เป็นหนังสือที่ประกอบไปด้วยบทกวี,จดหมายเหตุหลวงและพระราชพงศาวดาร

  • 24 ธันวาคม พ.ศ. 2356: อดีตจักรพรรดินีโกะ-ซะกุระมะชิเสด็จสวรรคต สิริพระชนมายุ 73 พรรษา[6]

พระบรมศพและดวงพระวิญญาณ(คะมิ)ของจักรพรรดินีโกะ-ซะกุระมะชิได้ถูกปกป้องไว้เป็นพิเศษที่สุสานหลวง(มิซะซะกิ),สึกิ โนะ วะ โนะ มิซะซะกิวัดเซ็นเนียว-จิ บริเวณฮะกะชิยะมะ-คุ, เกียวโต ซึ่งเป็นที่ฝังพระบรมศพและพระวิญญาณขององค์จักรพรรดิหลายพระองค์ตั้งแต่สมัยจักรพรรดิโกะ-มิซึโนะโอะ ได้แก่ สมเด็จพระจักรพรรดินีเมโช, จักรพรรดิโกะ-โคเมียว, จักรพรรดิโกะ-ไซ, จักรพรรดิเรเงง, จักรพรรดิฮิงะชิยะมะ, จักรพรรดินะกะมิกะโดะ, จักรพรรดิซะกุระมะชิและจักรพรรดิโมะโมะโซะโนะ และอีกจักรพรรดิทั้งสี่พระองค์หลังรัชสมัยของพระนางได้แก่ จักรพรรดิโกะ-โมะโมะโซะโนะ, จักรพรรดิโคคะกุ, จักรพรรดินินโก และจักรพรรดิโคเม[12]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Imperial Household Agency (Kunaichō): 後桜町天皇 (120)
  2. Ponsonby-Fane, Richard. (1959). The Imperial House of Japan, p. 120.
  3. Titsingh, Isaac. (1834). Annales des empereurs du Japon, pp. 419–420.
  4. 4.0 4.1 Titsingh, p. 419.
  5. Brinkley, Frank. (1907). A History of the Japanese People, p. 621.
  6. 6.0 6.1 6.2 Meyer, Eva-Maria. (1999). Japans Kaiserhof in der Edo-Zeit, p. 186.
  7. Meyer, p. 186; Titsingh, p. 419.
  8. Hall, John. (1988). The Cambridge History of Japan, p. xxiii.
  9. Screech, T. Secret Memoirs of the Shoguns, pp. 139–145.
  10. 10.0 10.1 10.2 Hall, John. (1955). Tanuma Okitsugu, 1719–1788, p. 120.
  11. "Life in the Cloudy Imperial Fishbowl," Japan Times. 27 March 2007.
  12. Ponsonby-Fane, Richard. (1959). Imperial House, p. 423.
ก่อนหน้า จักรพรรดินีโกะ-ซากูรามาจิ ถัดไป
จักรพรรดิโมะโมะโซะโนะ    
จักรพรรดินีแห่งญี่ปุ่น
(15 กันยายน ค.ศ. 1762 - 23 พฤษภาคม ค.ศ. 1771)
  จักรพรรดิโกะ-โมะโมะโซะโนะ