จักรพรรดินีเซี่ยวฉุน พระพันปีหลวง

เซี่ยวฉุนหวงไท่โฮ่ว (จีน: 孝純皇太后; พินอิน: Xiàochún huáng tàihòu, ค.ศ. 1588–1615) จากตระกูลหลิว เป็นพระมเหสีในจักรพรรดิไท่ชางแห่งราชวงศ์หมิง และเป็นพระราชชนนีในจักรพรรดิฉงเจิ้น

เซี่ยวฉุนหวงไท่โฮ่ว
พระพันปีหลวง
หวงไท่โฮ่วแห่งจักรวรรดิหมิง
(大明皇太后)
สถาปนาค.ศ. 1627
พระราชสมภพค.ศ. 1588
จังหวัดไห่ (海州)
สวรรคตค.ศ. 1615 (27 พรรษา)
ฝังพระบรมศพสุสานหลวงหมิงชิง (明庆陵)
คู่อภิเษกจักรพรรดิไท่ชาง
พระราชบุตรจักรพรรดิฉงเจิน
พระนามเต็ม
พระสมัญญานาม
"แบบสั้น"
เซี่ยวฉุนหวงไท่โฮ่ว
孝純皇太后
"แบบยาว"
เซี่ยวฉุนกงอี้ซูมู่จฺวงจิ้งผีเทียนยฺวี่เซิ่งหวงไท่โฮ่ว
孝純恭懿淑穆莊靜毘天毓聖皇太后
ราชวงศ์ราชวงศ์หมิงโดยการอภิเษกสมรส
พระบิดาหลิว อิงหยวน (劉應元)
พระมารดาอิ๋งกั๋วไท่ฟูเหรินตระกูลซวี (瀛国太夫人徐氏)

พระราชประวัติ

แก้

หลิวฮองไทเฮาได้เข้ารับคัดเลือกเป็นนางสนมระดับล่าง หลิวซูหนี่ว์ ( จีน :劉淑女; พินอิน : Liú shūnǚ ) ของ จู ฉางลั่ว เมื่อครั้งยังเป็นหวงไท่จื่อ

ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1611 หลิวฮองไทเฮาทรงมีพระประสูติกาลพระราชโอรสนามว่า จู โหยวเจี้ยน และในปี ค.ศ. 1615 หวงไท่จื่อจูฉางลั่วโกรธเคืองกับหลิวฮองไทเฮา จึงทรงมีพระราชบัณฑูร ให้ลงพระอาญาหลิวฮองไทเฮาซึ่งถึงจุดนั้นหลิวฮองไทเฮาก็ถูกประหาร เป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่าหวงไท่จื่อจูฉางลั่วมีพระบัณฑูรให้ประหารหลิวฮองไทเฮาหรือเกิดขึ้นจากเหตุสุดวิสัยในขณะที่พระนางถูกลงพระอาญาทางวินัย

หวงไท่จื่อจูฉางลั่วเกรงกลัวต่อการตำหนิของสมเด็จพระจักรพรรดิว่านลี่พระบรมชนกนาถ เพราะพระองค์เป็นต้นเหตุการสิ้นชีพของ"หลิวซูหนี่ว์" สมเด็จเจ้าฟ้าชายจู ฉางหลัวมกุฎราชกุมาร จึงห้ามไม่ให้นางกำนัลขันทีในพระราชวังกล่าวถึงเรื่องนี้อีก และได้นำพระศพของ"หลิวซูหนี่ว์"ไปฝังไว้ที่ จินซาน(จีน: 金山; พินอิน: Jīnshān)เนินเขาทางตะวันตกด้วยความเร่งรีบ

เมื่อ จักรพรรดิเทียนฉี่ ขึ้นสืบราชบัลลังก์ต่อจากพระชนกนาถในปี ค.ศ. 1620 จู โหยวเจี้ยน ได้ทูลขอให้พระบรมเชษฐาได้ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าสถาปนา หลิวซูหนี่ว์ ให้มีพระอิสริยยศที่พระมเหสีเซียนเฟย ( จีน :賢妃)

จู โหยวเจี้ยน เติบโตขึ้นได้อาศัยอยู่ในวังชวีฉิน (จีน: 勗勤宮; พินอิน: Xù qín gōng) ในวันหนึ่งพระองค์ได้ตรัสถามบ่าวรับใช้ว่า: "มีสุสานของ เซินหยีหวาง (จีน: 申懿王; พินอิน: Shēn yìwáng) ในซีอานหรือไม่" บ่าวรับใช้ตอบว่า: "มี" พระองค์ตรัสถามอีกว่า: "มีหลุมฝังพระศพของพระนางหลิวพระชนนีของข้าอยู่ใกล้ ๆ หรือไม่" บ่าวรับใช้ตอบว่า: "มี" ดังนั้น จู โหยวเจี้ยน จึงได้แอบให้เงินแก่บ่าวรับใช้ของเขาและขอให้เขาไปสักการะและทำความสะอาดสุสานฝังพระศพของ"หลิวซูหนี่ว์"ผู้เป็นพระชนนี

เมื่อจู โหยวเจี้ยน ขึ้นครองราชบัลลังก์เป็นจักรพรรดิ ในปี ค.ศ. 1627 พระองค์ได้สถาปนาพระบรมชนนีเป็น 皇太后

ที่มาของพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์

แก้

เนื่องจากจักรพรรดิฉงเจิ้นมีพระชนมายุเพียง 5 พรรษาในขณะที่พระราชชนนีสวรรคต เมื่อพระองค์เสด็จครองราชย์จึงมีความปรารถนาที่อยากจะทรงทอดพระเนตรพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ของพระราชชนนี พระองค์จึงทรงมีพระราชบัญชาให้ค้นหาแต่ก็ล้มเหลว ต่อมาเมื่อ"ฟู่ อี้เฟย"(จีน: 傅懿妃; พินอิน: Fùyìfēi)พระมเหสีผู้ทรงเคยเป็นพระสนมในสมเด็จพระจักรพรรดิไทชางร่วมกับหลิวไท่โฮ่ว เมื่อตอนที่พระองค์ยังทรงเป็นมกุฎราชกุมารและเคยอาศัยอยู่ในพระตำหนักใกล้กันกับหลิวไท่โฮ่ว พระมเหสีฟู่อี้ได้มีพระเสาวนีย์ให้ค้นหานางกำนัลในวังที่มีลักษณะดูคล้ายกับหลิวไท่โฮ่วเพื่อเป็นต้นแบบภาพ และได้มอบให้นางสวี่พระชนนีของหลิวไท่โฮ่ว เป็นผู้ดูแลให้คำแนะนำในการจัดทำพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ของหลิวไทโฮ่ว เมื่อสร้างเสร็จแล้ว ภาพเสมือนก็ถูกนำผ่านเข้ามาในพระราชวังทางประตูเจิ้งหยาง(จีน: 正陽門; พินอิน: Zhèngyáng mén)สมเด็จพระจักรพรรดิฉงเจิ้นทรงคุกเข่าสักการะพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ของหลิวไทโฮ่ว และได้นำไปแขวนไว้ในพระราชวัง พระองค์ได้เรียกนางกำนัลอาวุโสมาตรัสถามว่าพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์นี้เหมือนหลิวไท่โฮ่วหรือไม่ เมื่อนางกำนัลอาวุโสเห็นก็ได้ร้องไห้ออกมา สมเด็จพระจักรพรรดิฉงเจินเห็นดังนั่นก็ทรงพระกรรแสงยิ่งถึงหลิวไท่โฮ่วพระราชชนนีผู้ล่วงลับ

พระราชอิสริยยศ

แก้
ธรรมเนียมพระยศของ
จักรพรรดินีเซี่ยวฉุน พระพันปีหลวง
การทูลหวงไท่โฮ่วเหนียงเหนียง (皇太后娘娘)
การขานรับซื่อหวงไท่โฮ่ว (是皇太后)
  • ในรัชสมัยจักรพรรดิว่านลี่(ค.ศ. 1572–1620):
  • ภายหลังการสวรรคตในรัชสมัยจักรพรรดิเทียนฉี
  • ภายหลังการสวรรคตในรัชสมัยจักรพรรดิฉงเจิน
    • จักรพรรดินีเซี่ยวฉุนกงอี้ซูมู่จฺวงจิ้งผีเทียนยฺวี่เซิ่ง พระพันปีหลวง (จีน: 孝純恭懿淑穆莊靜毘天毓聖皇太后; พินอิน: Xiàochún gōng yì shū mù zhuāng jìng pí tiān yù shèng huáng tàihòu; ตั้งแต่ ค.ศ. 1627)

อ้างอิง

แก้

จาง ติงหยู เอ็ด (1739) "《明史》卷一百十四 列传第二" [ประวัติศาสตร์หมิง เล่มที่ 114 ชีวประวัติประวัติศาสตร์ 2] ลี่ซี่ชุนชิวเน็ต (ภาษาจีน) ลี่ซี ชุนชิว. สืบค้นเมื่อ22 มิถุนายน 2560 .