จักรพันธ์ ครบุรีธีรโชติ
บทความนี้ยาวมาก และอาจไม่สะดวกในการอ่าน กรุณาใช้วิจารณญาณ และอาจมีการย่อความให้สรุป โดยการปรับปรุงบทความ |
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก |
จักรพันธ์ ครบุรีธีรโชติ (ชื่อเล่น ก๊อท, เกิดวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2511) หรือชื่อเดิม จักรพรรณ์ อาบครบุรี เป็นนักร้องลูกทุ่งชาวไทยที่มีฉายาว่า "เจ้าชายลูกทุ่ง"[1][2]
ก๊อท จักรพันธ์ ครบุรีธีรโชติ | |
---|---|
![]() | |
สารนิเทศภูมิหลัง | |
เกิด | 13 กันยายน พ.ศ. 2511 จักรพรรณ์ อาบครบุรี อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย |
ส่วนสูง | 180 เซนติเมตร |
อาชีพ | นักร้อง, นักแสดง, นายแบบ |
ปีที่แสดง | พ.ศ. 2532 - ปัจจุบัน |
ผลงานเด่น | รักคุณยิ่งกว่าใคร,สมหวังนะครับ,เจริญ เจริญ,อย่าปล่อยให้เธอลอยนวล,ใจสารภาพ,ต้องมีสักวัน,แทนความคิดถึง,ขอโทษที่คิดถึง |
สังกัด | จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ (พ.ศ. 2533 - 2537) แกรมมี่โกลด์ (พ.ศ. 2538 - 2564) ศิลปินอิสระ (พ.ศ. 2565 - ปัจจุบัน) |
ประวัติแก้ไข
วัยเด็ก และก่อนเข้าวงการเพลงแก้ไข
จักรพันธ์ ครบุรีธีรโชติ บ้านเกิดที่ บ้านไทรโยง ตำบลครบุรี อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา เป็นลูกคนที่ 3 จาก 4 คน มีมารดา พื้นเพเป็นชาวอำเภอครบุรี และบิดาเป็นชาวอเมริกัน บิดาเป็นทหาร ย้ายมาประจำการที่จังหวัดนครราชสีมา จึงพบมารดาซึ่งขณะนั้นเป็นแม่ครัวในค่ายทหาร ทั้งคู่แต่งงานกัน มีลูกด้วยกัน 4 คน บิดาถูกเรียกตัวกลับไปยังสหรัฐตั้งแต่เขายังเด็กมาก โดยไม่มีรูปทิ้งไว้ เขาจึงจำหน้าไม่ได้ มารดาไม่ย้ายไปด้วยตามคำชวน เพราะห่วงยายของเขา และเกรงมีปัญหาการปรับตัวเพราะด้อยการศึกษา และเพราะบิดาต้องย้ายไปประจำการอีกหลายประเทศ จึงขาดการติดต่อทางจดหมายโดยไม่รู้ชะตากรรมในที่สุด
เขาจะเป็นเด็กเงียบ ๆ ชีวิตวัยเด็กลำบากมาก เพราะมารดายากจน มีลูก 4 คน อยู่บ้านเช่า ทำงานรับจ้างได้ค่าแรงรายวันไม่มาก พี่สาวและพี่ชาย ได้เรียนแค่ ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4 ก็ต้องออกมาทำงานหาเงิน มารดาจึงส่งเขาไปให้อยู่กับตายายที่ อ.ครบุรี เมื่อเขาอายุ 6 ปี เขาเกือบไม่ได้เรียนหนังสือ แต่โชคดี มีคนรู้จักกันขอไปเลี้ยงดูเป็นบุตรที่จังหวัดกาญจนบุรี มารดาตัดสินใจยกให้เพื่ออนาคตของลูก
บิดาบุญธรรมเป็นทหาร มารดาบุญธรรมเป็นแม่บ้าน ซึ่งดูแลอย่างดี ชีวิตเปลี่ยนไปเหมือนเกิดใหม่ มีห้องของตัวเองจากที่เคยนอนรวมกัน และได้เข้าโรงเรียน เขาเริ่มได้รับอิทธิพลเรื่องเพลงตั้งแต่ช่วงนั้น บิดามารดาบุญธรรมชอบฟังเพลงลูกกรุง ได้ฟังบ่อยๆ จึงซึมซับ
สมัยนั้นการเดินทางการสื่อสารไม่สะดวก จึงไม่ได้กลับไปเยี่ยมแม่ แม่เองก็ไม่ได้มาเพราะภาระการเงิน ซึ่งเขามักถามเสมอว่า ทำไมมารดาไม่มา อยากพบ
จน พ.ศ. 2523 อายุ 11-12 ปี ยังไม่ทันจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บิดามารดาบุญธรรมจึงอนุญาต โดยขอคนสืบให้ ใช้เวลาหลายเดือนจนรู้ว่า มารดาเช่าบ้านอยู่ ในซอยบริเวณสามแยกปักธงชัย
เขาเดินทางลำพังจากจังหวัดกาญจนบุรี จนพบและกอดกันร้องไห้ดีใจ และได้รู้จัก สามีใหม่ของแม่ ซึ่งเรียกว่า "ป๋า" เมื่อทุกคนขอร้องให้อยู่ และเริ่มปรับตัวได้ จึงตัดสินใจกลับมาอยู่บ้าน โดยไม่เรียนต่อ ผ่านมา 3 สัปดาห์ ก็ไปทำงานกับป๋า ที่อู่ซ่อมรถ เริ่มจากเด็กฝึกงาน จนเลื่อนเป็นช่างทำสีรถ เมื่ออายุ 13 ปี เท่านั้น
ต่อมา เขาต้องออกจากงานช่าง กลับไปอยู่กับตายาย ที่อำเภอครบุรี เพราะน้าเข้ามาเรียนต่อในกรุงเทพฯ และช่วยเลี้ยงควาย 3 ตัว แทนน้า เขาปรับตัวใหม่อีกครั้ง บ้านยายเป็นชนบทที่กันดาร ไม่มีไฟฟ้า การเป็นลูกครึ่งในท้องที่นั้นเป็นเรื่องแปลก เพราะผิวขาวกว่าทุกคน จนปรับตัวได้ มีเพื่อนจำนวนมากที่ต้อนควายของตนไปเลี้ยงด้วยกัน
ช่วงนั้น วันหนึ่งพบวิทยุทรานซิสเตอร์เครื่องใหม่เอี่ยมแต่มีสนิมห่อผ้าซ่อนอยู่ในที่รกกลางทุ่งนา จึงคาดว่าถูกขโมยมาซ่อนไว้แต่ลืมทิ้ง จึงเก็บมาใช้ ทำให้เป็นช่วงเวลาที่ผูกพันกับเพลงลูกทุ่ง โดยใช้วิทยุเป็นเสมือนครูที่เปิดฟังและร้องตาม ในปี พ.ศ. 2527 หลังอยู่กับตายายได้ 4 ปี ก็กลับไปอยู่กับแม่อีก ทำงานเป็นช่างเช่นเดิม
แรกเริ่มในวงการเพลงแก้ไข
ทุกวันอาทิตย์ ในตัวจังหวัด มีการประกวดร้องเพลงที่จัดโดย นที สุนันทา ดีเจชื่อดัง ซึ่งผู้ชนะเลิศจะได้เข้าประกวด รายการชุมทางคนเด่น ของ ประจวบ จำปาทอง เขาไปดูทุกครั้งและอยากประกวดมากแต่ไม่กล้า
ต่อมา เขาสมัครทำงานเป็นพนักงานเสิร์ฟในโรงแรม ซึ่งอยู่ใกล้กับเวทีประกวด โดยไปดูการประกวดทุกครั้งกับเพื่อนที่ชื่นชอบเหมือนกัน เขาร้องเพลงขณะทำงาน เหมือนการฝึก ซึ่งมักร้องเพลงของ สายัณห์ สัญญา หรือ ยอดรัก สลักใจ โดยใช้เพลงดังกล่าวไปประกวด และได้เข้ารอบในครั้งที่ 3 ผู้จัดให้ผู้เข้ารอบได้ร้องเพลงอัดเสียง เพื่อนำไปเปิดในรายการวิทยุให้คนทางบ้านช่วยตัดสิน
ช่วงที่รอ เซลส์แมนขายเครื่องเสียงตามบ้าน มาพักที่โรงแรม ซึ่งขณะทดสอบเครื่อง ให้เขาร้องเพลงลองเสียง และชื่นชอบ จึงชวนให้ไปอยู่ด้วย ช่วยขายของ ร้องเพลงเรียกลูกค้า รับเงินเดือนประจำ เขาสนุกกับชีวิตตะลอนทัวร์ประมาณ 2 ปี โดยไม่กลับบ้าน ส่งแต่เงินกลับ
จนเดินสายมาถึงจังหวัดระยอง เพื่อนของหัวหน้ากลุ่มเซลล์แมนเปิดร้านคาเฟ่ เขาเห็นคาเฟ่เป็นครั้งแรกและชอบมาก หัวหน้าฝากงานให้ แต่ได้เป็นหัวหน้าพนักงานเสิร์ฟ ไม่ได้ขึ้นร้องสักคน จึงไปหางานที่พัทยา เพราะเพื่อนชวน หางานอยู่หลายที่ จนได้งานที่ร้านแห่งหนึ่ง แม้เงินเดือนไม่มาก แต่ได้ทิปหลักหมื่นต่อเดือนในสมัยนั้น จึงมีความเป็นอยู่ดีขึ้นมา มีเงินส่งกลับจำนวนมาก
สู่จีเอ็มเอ็มแกรมมี่ ออกอัลบั้มแรกแก้ไข
ประมาณ 1 ปี ได้ย้ายมาประจำที่ร้านไอส์แลนด์ ว่าว อนุวัฒน์ ซึ่งขณะนั้นเป็นโปรดิวเซอร์ของ คีตา เรคคอร์ดส มาพบ ให้เข้ากรุงเทพฯ ทดสอบเสียง แต่ไม่ผ่าน จึงกลับไปทำงานที่เดิม
อีกประมาณ 3-4 เดือนต่อมา เต๋อ - เรวัต พุทธินันทน์ ผู้ก่อตั้งร่วมและโปรดิวเซอร์ของ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ (ขณะนั้นชื่อ บริษัท แกรมมี่ เอนเตอร์เทนเม้นท์) มาชวนออกอัลบั้ม โดยต้องเรียนเพิ่มเติม ทั้งการร้องเพลง ภาษา วิธีการทำงานในห้องอัด และอื่น ๆ รวมถึงปรับปรุงบุคลิกอย่างผู้มีการศึกษาระดับสูง ตามกระแสนิยม โดยแกรมมี่เช่าอพาร์ตเมนต์ให้อยู่ มีเงินเดือนให้ โดยมีศิลปินรุ่นเดียวกันที่เรียนร้องเพลงคือ ใหม่ เจริญปุระ
ปี พ.ศ. 2533 ช่วงการผลิต เซ็ตอัลบั้มชุด "แม่ไม้เพลงไทย" รวมศิลปินหลายคน ร้องเพลงเก่าที่ดังในอดีต และยังหาคนสุดท้ายไม่ได้ สำหรับแนวเพลงระดับครูของ สุรพล สมบัติเจริญ เต๋อจึงเสนอชื่อเขา และได้เป็นอัลบั้มชุดแรกของเขา ชุดอัลบั้มนี้ขายดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพลงที่เขาร้อง
ในช่วงเวลาเดียวกัน เขาเริ่มมีงานแสดงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้รับความนิยม และสร้างชื่อเสียงให้เขาเป็นอย่างมาก
วิสัยทัศน์ที่แม่นยำของเต๋อแก้ไข
ยุคนั้น แนวเพลงไทยสากล (สตริง) มีกระแสนิยมมากกว่าแนวเพลงลูกทุ่ง เขาจึงเสนอว่าเพราะอายุยังน้อย น่าลองทำผลงานเพลงสตริงก่อน เพื่อให้ตรงกับการตลาด ซึ่งเต๋อยืนยันมาตั้งแต่แรกว่าเขาเหมาะกับเพลงลูกทุ่ง แต่ก็ไม่คัดค้าน โดยพูดว่า "นายจะประสบความสำเร็จกับการร้องเพลงลูกทุ่ง เพราะเราเห็น แต่ถ้าอยากจะลองทำสตริงดูก็ได้"
จึงเกิดอัลบั้มชุดที่ 2 "ก๊อต ช็อต" ที่เปลี่ยนแนวเป็นสตริง และอัลบั้มชุดที่ 3 "ก๊อต เพราะใจไม่เหมือนเดิม" เป็นเพลงฟังสบาย แต่เนื่องจากสาเหตุฟังยาก ไม่ติดหู จึงไม่ค่อยได้รับความนิยม ซึ่งอัลบั้มชุดที่ 3 มีนักร้องหญิงมาคอรัสให้เขาคือ โบ - สุนิตา ลีติกุล ซึ่งตอนนั้นโบยังไม่เป็นศิลปินเต็มตัวและก่อนจะมีอัลบั้มและสร้างปรากฏการณ์ล้านตลับใน 2 ปีต่อมา
ในปี พ.ศ. 2538 ก๊อตกลับมาปรึกษากับเต๋ออีกครั้งว่า อยากลองเปลี่ยนกลับมาร้องเพลงลูกทุ่ง เต๋อดีใจมาก เพราะคิดว่าเหมาะสมและเข้าทาง ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับที่ก่อตั้งแกรมมี่โกลด์ เป็นบริษัทในเครือ โดยแยกสายการผลิตเพลงลูกทุ่ง ออกจากแนวสากล โดยกริช ทอมมัส เป็นกรรมการผู้จัดการและหนึ่งในโปรดิวเซอร์
ทีมงานจึงผลิตเช็ตอัลบั้มชุด "หัวแก้วหัวแหวน" ออกมาจำนวน 5 ชุด และวางจำหน่ายพร้อมกันทั้งหมด โดยกริช ทอมมัส เป็นโปรดิวเซอร์ประจำตัวของเขานับแต่นั้นเรื่อยมา และถึงแม้ว่าจะสร้างหลายอัลบั้มพร้อมกัน แต่ก็ขายได้ถล่มทลายเป็นประวัติการณ์ ประมาณ 2 ล้านตลับ (ยุคนั้นยังจำหน่ายเพียงตลับเทป) เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่สร้างชื่อและแจ้งเกิดในวงการลูกทุ่งของก๊อท (ความนิยมนั้นแม้ผ่านมา 20 ปี ก็ยังผลิตอัลบั้มรวมฮิตขายได้อยู่)
จุดเปลี่ยนประวัติศาสตร์เพลงลูกทุ่ง และการมีส่วนร่วมในผลงานแก้ไข
เหตุการณ์นี้เป็นจุดเปลี่ยนประวัติศาสตร์วงการเพลงลูกทุ่งด้วย เพราะเริ่มผสมดนตรีแบบไทยสากลในเพลงลูกทุ่งเล็กน้อย โดยก่อนหน้านั้นลูกทุ่งมีแบบแผนรูปแบบเครื่องดนตรีชัดเจน ผู้นิยมเพลงสตริง รับได้เป็นปกติ ส่วนผู้นิยมเพลงลูกทุ่งเอง ช่วงแรกยังมีความเห็นขัดแย้ง แต่เมื่อเผยแพร่สักระยะหนึ่ง ก็เริ่มเป็นที่นิยม และยอมรับในที่สุด และในภายหลัง แนวเพลงลูกทุ่งประยุกต์นี้ กลายเป็นกระแสความนิยมที่พบได้มาก ในผลงานของศิลปินรุ่นต่อมา ทั้งค่ายเพลงนี้และค่ายเพลงอื่น ในลักษณะที่ค่อย ๆ ผสมความเป็นไทยสากลมากขึ้นไปอีก
เนื่องจากการผลิตเช็ตอัลบั้มชุด "ก๊อต หัวแก้วหัวแหวน" ชุดที่ 1-5 จนประสบความสำเร็จ ในปี พ.ศ. 2539 จึงได้ผลิตชุดที่ 6-9 ออกมาอีก ยอดขายรวมทั้ง 9 ชุด กว่า 10 ล้านตลับ อย่างไรก็ตาม เต๋อ เรวัต ได้เตือนก๊อทว่า "ขอให้มีสติดี ๆ เพราะความสำเร็จที่เข้ามาขนาดนี้ จะทำให้เราเขวได้" ซึ่งเขาจดจำยึดถือเรื่อยมา
เนื่องจากในช่วงแรกของอัลบั้ม แกรมมี่ยังไม่สันทัดการจัดการแสดงบนเวทีของเพลงลูกทุ่ง นอกจากการร้อง เขาจึงมีส่วนร่วมในการผลิตอัลบั้มอยู่มาก เช่น การเลือกเพลง การเลือกดนตรี การจัดหานักเต้นประกอบ การผลิตเครื่องแต่งกายนักเต้นประกอบ และอื่น ๆ จนกลายเป็นแนวทางการทำงานในทุกอัลบั้มต่อมา (ในระยะหลัง ยังช่วยควบคุมด้านดนตรีด้วย)
กรณีเครื่องแต่งกายนักเต้นประกอบ ผู้จัดการประจำตัวที่เขาเรียกว่า "พี่มด" ซึ่งเคยเป็นดีไซเนอร์ของอัลคาซ่ามาก่อน ได้รับผิดชอบจึงจัดหาชุดจากอัลคาซ่ามาดัดแปลงให้นักเต้นประกอบใส่ และเน้นความอลังการในการแสดง ซึ่งได้รับความนิยม จนกลายเป็นรูปแบบหนึ่งของการแสดงบนเวทีที่วงดนตรีลูกทุ่งนิยมจัดแสดง รวมถึงทุกอัลบั้มต่อมาของก๊อทเอง เขาถือว่า การแสดงบนเวทีที่อลังการเป็นหัวใจหลักของอัลบั้ม เพราะแฟนคลับชื่นชอบ อีกทั้งพัฒนาการที่ เนื้อหาเพลงหลากหลายขึ้น จึงยิ่งเพิ่มความหลากหลายเครื่องแต่งกาย และเพิ่มรูปแบบการแสดงมากขึ้น เช่น ผสมรูปแบบการแสดงแบบโรงละครเวทีแนวบรอดเวย์ของต่างประเทศ ฯลฯ
เขาเป็นคนที่ทำงานจริงจังมาก และชอบทำบุญ
ศิลปินต้นแบบของเขา ได้แก่ เบิร์ด - ธงไชย แมคอินไตย์ เพราะสนุกกับงานเสมอ และ ตู่ - นันทิดา แก้วบัวสาย เพราะให้กำลังใจและสอนดีมาก ส่วนเขาเองก็เป็นต้นแบบของศิลปินรุ่นน้องจำนวนมากเช่นกัน
ชีวิตหลังประสบความสำเร็จแก้ไข
หลังประสบความสำเร็จ มีรายได้มากขึ้น ความเป็นอยู่ที่บ้านก็ดีขึ้น เขาดูแลช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในบ้านของแม่และน้อง ขณะช่วยเหลือพี่สาวกับพี่ชายตามโอกาส เพราะทั้งสองแต่งงานมีครอบครัวของตน
ใน พ.ศ. 2550 หลังจาก อัลบั้มชุดที่ 4 "ก๊อต จักรพรรณ์ 4 เจริญ เจริญ" ได้เปลี่ยนชื่อเป็น ก๊อท จักรพันธ์ ครบุรีธีรโชติ เพราะถูกทักว่า เกิดวันศุกร์ ไม่ถูกโฉลกกับ ร.เรือ หลายตัว ส่วนนามสกุล เปลี่ยนให้ความหมายดีขึ้นเป็น ครบุรีธีรโชติ แปลว่า เมืองแห่งความรุ่งเรืองของนักปราชญ์
มีช่วงหนึ่งดำเนินกิจการร้านอาหาร แต่เลิกกิจการไปเมื่อมีงานอัลบั้มต่อเนื่อง
ก่อนผลิตอัลบั้ม "แทนความคิดถึง" และก่อนผลิตอัลบั้ม "แทนความผูกพัน 20 ปี หัวแก้วหัวแหวน" เขาได้พักผ่อนยาว ใช้เวลากับครอบครัว และใช้โอกาสนี้ปลูกบ้านใหม่ ที่อยู่กับแม่และน้อง โดยดูแลการก่อสร้างทั้งหมดเอง
ผลงานต่อมาแก้ไข
นอกจากอัลบั้มที่นำเพลงเก่ามาร้องใหม่แล้ว อัลบั้มของตนเอง ที่ประกอบด้วยเพลงแต่งใหม่ ซึ่งนับเป็นชุดที่ 4 ก็ได้รับความนิยมเช่นกัน ในปี พ.ศ. 2546 ผลิตอัลบั้ม "ก๊อต จักรพรรณ์ 4 'เจริญ เจริญ" ที่กลับมาเป็นแนวลูกทุ่งแล้ว และผลิตแต่ผลงานแนวเพลงลูกทุ่งเรื่อยมา
ออกจากแกรมมี่โกลด์แก้ไข
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาที่อยู่กับแกรมมี่โกลด์ ก๊อทมีอัลบั้มชุดแรก-ชุดที่ 9 หัวแก้วหัวแหวน ปี พ.ศ. 2538 - 2540 และอัลบั้มลูกทุ่งไทยแลนด์ ชุดที่ 1 รักคุณยิ่งกว่าใคร ปี พ.ศ. 2540 ถึง ชุดที่ 7 เพชรตัดเพชร ปี พ.ศ. 2554 อัลบั้ม 20 ปีแทนความผูกพัน หัวแก้วหัวแหวน ชุด 9/1 และ 9/2 อัลบั้มกับอีก 1 อัลบั้มที่ไม่ได้วางขายคืออัลบั้มชุดที่ 8 เอ้อละเหย (ต้นฉบับ เพลงประกอบละคร เพลงรักข้ามภพ)
ในวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 ก๊อท จักรพันธ์ได้ประกาศว่าได้หมดสัญญากับแกรมมี่โกลด์ เป็นที่เรียบร้อย และเขาตัดสินใจไม่ต่อสัญญา กลายเป็นศิลปินอิสระเต็มตัว ผลงานสุดท้ายที่เขาทำร่วมกับแกรมมี่โกลด์ คือ New Country โดยการนำศิลปินรุ่นใหม่จากรายการลูกทุ่งไอดอล (ซึ่งก๊อทเคยเป็นพิธีกรในซีซั่นที่ 2 และ 3) จำนวน 6 คน มาทำเพลงในรูปแบบวง โดยก๊อทเป็นผู้ควบคุมการผลิตทั้งหมด[2] และผลงานนี้ทำให้ก๊อทมีปัญหากับแกรมมี่โกลด์ในการร่วมงาน จนในที่สุด ก๊อทก็ได้ประกาศขอยุติการร่วมงานทั้งหมดกับจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม[3]
ผลงานเพลงแก้ไข
อัลบั้มเดี่ยวแก้ไข
ปี | สตูดิโออัลบั้ม | รายชื่อเพลง |
---|---|---|
2533 |
ก๊อต จักรพรรณ์ อาบครบุรี ชุดที่ 1 แม่ไม้เพลงไทยแก้ไข
|
|
2535 |
ก๊อต จักรพรรณ์ อาบครบุรี ชุดที่ 2 ช็อตแก้ไข
|
|
2537 |
ก๊อต จักรพรรณ์ อาบครบุรี ชุดที่ 3 เพราะใจไม่เหมือนเดิมแก้ไข
|
|
2540 |
ก๊อต จักรพรรณ์ ลูกทุ่งไทยแลนด์ ชุดที่ 1 รักคุณยิ่งกว่าใครแก้ไข
|
|
2541 |
ก๊อต จักรพรรณ์ ลูกทุ่งไทยแลนด์ ชุดที่ 2แก้ไข
|
|
2544 |
ก๊อต จักรพรรณ์ ลูกทุ่งไทยแลนด์ ชุดที่ 3แก้ไข
|
|
2546 |
ชุดที่ 4 เจริญ เจริญแก้ไข
|
|
2550 |
ชุดที่ 5 ขอโทษ...ที่คิดถึงแก้ไข
|
|
2552 |
ชุดที่ 6 คุณ OK ไหมแก้ไข
|
|
2554 |
ชุดที่ 7 เพชรตัดเพชรแก้ไข
|
|
อัลบั้มพิเศษแก้ไข
ปี | สตูดิโออัลบั้ม | รายชื่อเพลง |
---|---|---|
2538-2539 |
ก๊อต จักรพรรณ์ อาบครบุรี หัวแก้วหัวแหวน ชุดที่ 1-9แก้ไข
|
|
2540 |
ก๊อต แดนซ์ ชุดที่ 1-2แก้ไข
|
|
2541 |
ก๊อต จักรพรรณ์ หนึ่งในสยาม ชุดที่ 1-3แก้ไข
|
|
2543 |
ก๊อต จักรพรรณ์ มนต์เพลงสุรพล 1-5แก้ไข
|
|
2548 |
ก๊อต จักรพรรณ์ แทนความคิดถึง 1-2แก้ไข
|
|
2549 |
ก๊อต จักรพรรณ์ ลูกทุ่งกีตาร์หวาน 1-2แก้ไข
|
|
2557 |
แทนความผูกพัน 20 ปี หัวแก้วหัวแหวน ก๊อท จักรพันธ์ 9/1 - 9/2แก้ไข
|
|
อัลบั้มรวมเพลงแก้ไข
ปี | สตูดิโออัลบั้ม | รายชื่อเพลง |
---|---|---|
2538 |
รวมฮิต ดาวดวงนี้แก้ไข
|
|
2541 |
แชมป์เพลงลูกทุ่ง (เพลงรำวง, เพลงเต้น, เพลงหวาน)แก้ไข
|
|
2543 |
แกรมมี่ ซุปเปอร์สตาร์โปรเจกต์ ก๊อต จักรพรรณ์แก้ไข
|
|
2544 |
ก๊อตฮิต ลูกทุ่งไทยแลนด์แก้ไข
|
|
2545 |
The Best Selected คัดเลือกสุดยอดผลงานที่ดีที่สุดของ จักรพรรณ์ อาบครบุรี อมตะเพลงหวาน / อมตะเพลงรักแก้ไข
|
|
2546 | ดีวีดี คาราโอเกะ หัวแก้วหัวแหวน ชุดที่ 1 - 5
|
|
ดีวีดี คาราโอเกะ มนต์เพลงสุรพล ชุดที่ 1 - 2
|
| |
2547 |
รวมฮิต จากคนที่รักเธอแก้ไข
|
|
2549 |
รำลึกครูสุรพลแก้ไข
|
|
คู่ฮิตกีตาร์หวาน ก๊อต & ต่ายแก้ไข
|
||
2550 |
12 ปี แกรมมี่ โกลด์แก้ไข
|
|
เซียนโอเกะแก้ไข
|
||
2553 |
ก๊อท ชะ ชะ ช่าแก้ไข
|
|
รวมฮิต จากคนที่รักเธอ 2แก้ไข
|
||
เพลงรัก...สลักใจแก้ไข
|
||
2554 |
อมตะเพลงหวานกลางกรุง
|
|
บทเพลงแห่งรักแก้ไข
|
||
43 ปี ที่คิดถึง สุรพล สมบัติเจริญแก้ไข
|
||
2558 |
ก๊อท จักรพันธ์ อมตะหัวแก้วหัวแหวนแก้ไข
|
|
2559 |
บทเพลงของครู สุรพล สมบัติเจริญแก้ไข
|
|
รวมฮิต ด้วยรัก..และคิดถึงแก้ไข
|
||
คิดถึง สุรพล สมบัติเจริญแก้ไข
|
||
ที่สุดเพลงดัง หัวแก้วหัวแหวนแก้ไข
|
||
2560 |
Live ก๊อท โชว์แก้ไข
|
|
2561 |
MP3 ที่สุดเพลงฮิตแก้ไข
|
|
DVD Karaoke ที่สุดเพลงฮิตแก้ไข
|
||
2562 |
USB รวมฮิต ลูกทุ่งหัวแก้วหัวแหวนแก้ไข
|
ผลงานร่วมศิลปินอื่นแก้ไข
ปี | อัลบั้ม | เพลงที่มี ก๊อท จักรพันธ์ ร้อง |
---|---|---|
2534 | โลกสวยด้วยมือเรา |
|
2536 | ซน งานซนคนดนตรี นานที 10 ปี หน |
|
2537 | รวมเพลงประกอบละครยามเมื่อลมพัดหวน |
|
2538 | รวมเพลงประกอบละครคือหัตถาครองพิภพ |
|
รวมเพลงประกอบละครอยากหยุดตะวันไว้ที่ปลายฟ้า |
| |
2539 | รวมใจถวายชัย ธ ครองไทย 50 ปี |
|
2540 | รวมฮิตเพลงโจ๊ะ |
|
2541 | เพลงติดดาว 2 |
|
ลูกทุ่งท๊อปฮิต |
| |
2542 | เพลงรักสำเนียงไทย |
|
2543 | เพลงติดดาว 3 |
|
x 2 ซูเปอร์ฮิต |
| |
2544 | เพลงติดดาว 3 |
|
2545 | ครอบครัวลูกทุ่ง |
|
หมู่เฮา ปาร์ตี้ |
| |
ลูกทุ่งกีต้าร์หวาน |
| |
ลูกทุ่งกีต้าร์หวาน |
| |
2546 | ลูกทุ่งซิ่งสะเดิด |
|
หักใจลา |
| |
ม่วนซูเปอร์แซบ |
| |
ลูกทุ่งประจัญบาน |
| |
2 ทศวรรษ สลา คุณวุฒิ ชุดที่ 2 รวมใจเหล่าผองศิษย์ |
| |
2547 | ลูกทุ่งโป๊งชึ่ง |
|
ลูกทุ่งกีตาร์หวาน 2 |
| |
บันทึกวันวาน ขับขานเพลงครู |
| |
2548 | 10 ปี แกรมมี่ โกลด์ ดนตรีไม่มีพรมแดน ชุดที่ 3 |
|
เพลงติดดาวสเปเชี่ยล |
| |
ลูกทุ่งไมค์ร้อน |
| |
วรรณกรรมเพลงรัก |
| |
2549 | เพื่อรักเพื่อชีวิต |
|
รักเศร้าห้องเช่าเดิม |
| |
รางวัลแห่งเกียรติยศ 10 ปี แกรมมี่โกลด์ |
| |
สื่อรัก สื่อใจ |
| |
แรงใจในเพลง |
| |
น้ำตานองวันน้องแต่ง |
| |
รวมเพลงละครพันล้าน |
| |
คู่ร้องทำนองรัก |
| |
2550 | เพลงรักกราบตักแม่ |
|
รวมฮิต คิดฮอด |
| |
ลูกทุ่งแดนซ์สะเดิด 3 |
| |
ลูกทุ่งแดนซ์สะเดิด 4 |
| |
มิวสิคบ๊อกซ์ ลูกทุ่งบรรเลง |
| |
ลูกทุ่งแดนซ์ซิ่งแดนเซอร์ 3 |
| |
เกียรติยศมาลัยทอง นักร้องชาย |
| |
เรียงร้อยเพลงรัก |
| |
Seven ลูกทุ่ง |
| |
2551 | ลูกทุ่งท็อปดาวน์โหลด 2 |
|
ลูกทุ่งสู้ชีวิต |
| |
ลูกทุ่งบิ๊กสะเดิด 2 |
| |
เพลงกอดแม่ |
| |
ลูกทุ่งโบว์แดง |
| |
ลูกทุ่งโบว์แดง 2 |
| |
หนุ่มเหงา สาวครวญ |
| |
ลูกทุ่งซูเปอร์สตาร์ปาร์ตี้ 2008 |
| |
มนต์รักสัญจร |
| |
ลูกทุ่งหนุ่มเสียงทอง |
| |
ลูกทุ่งแดนซ์ซิ่งแดนซ์เซอร์ 4 |
| |
บันทึกรักพันล้าน |
| |
รวมฮิต คิดฮอด 2 |
| |
ดวงใจภิรมย์ |
| |
2552 | รวมใจทุกคู่ แด่...ครูสลา ชุด ขอบคุณฟ้าที่ให้เจอ ขอบคุณเธอที่ให้ใจ |
|
ใจหมดฮัก |
| |
ฮักหมดใจ |
| |
ลูกทุ่งร็อกสะเดิด 2 |
| |
หัวใจไม่ท้อ |
| |
ก๊อท & ไมค์ |
| |
ลูกทุ่งวาไรตี้ ซูเปอร์แดนซ์ปาร์ตี้ 2010 |
| |
ฮิตบิ๊กเบิ้ม |
| |
เพลงรักสัญญาณใจ |
| |
ลูกทุ่งซูปเปอร์ฮิพฮอพ 3 |
| |
ลูกทุ่งเพื่อชีวิตรวมมิตรฮิตระเบิด |
| |
เพลงสวรรค์บ้านนา มนต์สปาลูกทุ่ง |
| |
วิมานเพลงรัก |
| |
เพลงหวานกลางกรุง |
| |
2553 | ผู้หญิงอยากรู้ ผู้ชายอยากถาม |
|
แฟนทีวีฮิต 3 |
| |
อีสานตำนานรัก |
| |
คู่รักอมตะ นิรันดร์กาล |
| |
2554 | ลูกทุ่งชายหัวใจซูเปอร์แดนซ์ |
|
ลูกทุ่งสาวซูเปอร์เซิ้ง ปะทะ หนุ่มซูเปอร์ซิ่ง |
| |
ลูกทุ่งเพลงเต้น |
| |
ลูกทุ่งซูเปอร์แซบ |
| |
2555 | ออนซอนอีสาน |
|
ลูกทุ่งเงินล้าน มนต์รักอูคูเลเล่ |
| |
ตามรอยปากกา ... ครูสลา คุณวุฒิ |
| |
ลูกทุ่งฟีทเจอริ่ง |
| |
เพลงฮิต...ที่คิดถึง |
| |
ลูกทุ่ง 3 ช่า หรรษาวาไรตี้ |
| |
2556 | เพลงดัง ฟังเพลิน โดนใจ ใช่เลย |
|
ลูกทุ่งเพลงหวาน ด้วยรักและคิดถึง |
| |
คู่ฮอต เพลงฮิต |
| |
2557 | ออนซอนอีสาน 4 |
|
2559 | ลูกทุ่งงานแต่ง |
|
เพลงประกอบละครแก้ไข
ปี | ละคร | สังกัด | รายชื่อเพลง |
---|---|---|---|
2544 |
หงส์ฟ้ากับสมหวังแก้ไข |
แกรมมี่ โกลด์ ในเครือ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ |
ชุดที่ 1แก้ไข
ชุดที่ 2แก้ไข
|
2546 |
ลิเก๊..ลิเกแก้ไข |
ชุดที่ 1แก้ไข
ชุดที่ 2แก้ไข
| |
2549 |
เธอคือดวงใจแก้ไข |
ชุดที่ 1แก้ไข
ชุดที่ 2แก้ไข
|
คอนเสิร์ตใหญ่แก้ไข
ปี พ.ศ. | ชื่อคอนเสิร์ต | วันแสดง | สถานที่จัดการแสดง | จำนวนรอบ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
พ.ศ. 2541 | ก๊อต อะเมซิ่ง ลูกทุ่งไทยแลนด์ | 23 พฤษภาคม | MCC HALL THE MALL บางกะปิ | 1 | ก๊อต อะเมซิ่ง ลูกทุ่งไทยแลนด์ |
พ.ศ. 2552 | Got Show ตอน คนสำคัญกับวันพิเศษ | 23 - 25 ตุลาคม | หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย | 3 | คอนเสิร์ตครั้งยิ่งใหญ่ที่เต็มรูปแบบ สุดอลังการในรอบ 12 ปี
คอนเสิร์ตใหญ่ ครั้งที่ 1 |
พ.ศ. 2555 | Got Show เพชรตัดเพชร | 10- 11 มีนาคม | ธันเดอร์โดม เมืองทองธานี | 2 | การปะทะกันระหว่าง ก๊อท จักรพันธ์ กับ เหล่าศิลปินระดับเพชร
คอนเสิร์ตใหญ่ ครั้งที่ 2 |
พ.ศ. 2557 | แทนความผูกพัน 20 ปี หัวแก้วหัวแหวน | 2 - 3 สิงหาคม | รอยัลพารากอนฮอลล์ สยามพารากอน | 2 | |
พ.ศ. 2559 | วันแรงงาน | 1 พฤษภาคม | สวนพักผ่อนเซ็นทรัลพาร์ค เซ็นทรัลพลาซา พระราม 2 | 1 |
คอนเสิร์ตร่วมกับศิลปินคนอื่นแก้ไข
ปี พ.ศ. | ชื่อคอนเสิร์ต | วันแสดง | สถานที่จัดการแสดง |
---|---|---|---|
พ.ศ. 2534 | Earth Day (ครั้งที่ 1) | 21 เมษายน | สนามกีฬากองทัพบก |
พ.ศ. 2537 | 10 ปี แกรมมี่ | 9 มกราคม | อินดอร์ สเตเดียม หัวหมาก |
พ.ศ. 2542 | พลังแผ่นดิน | 20 พฤศจิกายน | ลานพระบรมรูปทรงม้า |
พ.ศ. 2545 | ถูกใจคนไทย ร่วมใช้สินค้าถูกกฎหมาย | 18 สิงหาคม | สนามหลวง |
พ.ศ. 2546 | 2 ทศวรรษ สลา คุณวุฒิ | 17 สิงหาคม | อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี |
พ.ศ. 2547 | Pattaya Music Festival 2004 | 21 มีนาคม | เมืองพัทยา |
พ.ศ. 2548 | ด้วยแสงแห่งรัก The Light of Love | 13 กุมภาพันธ์ | เวทีกลางแจ้ง สวนลุมพินี |
พ.ศ. 2550 | ด้วยรักแด่ครูสลา | 11 มีนาคม | ปากชอย อ่อนนุช |
พ.ศ. 2550 | รวมพลัง คนไทยทั้งแผ่นดิน | 23 เมษายน - 1 พฤษภาคม | มณฑลพิธีท้องสนามหลวง |
พ.ศ. 2552 | รอยยิ้มเพื่อพ่อ ครั้งที่ 2 | 7 มีนาคม - 4 กรกฎาคม | จังหวัดระยอง, ภาดใต้, สุราษฎร์ธานี, ภาดเหนือ, ภาดอีสาน, จังหวัดนครราชสีมา, ภาดกลาง, กรุงเทพมหานคร |
พ.ศ. 2554 | Pattaya Music Festival 2011 | 20 มีนาคม | เวทีแหลมบาลีฮาย, เวทีพัทยากลาง(ข้างโรงแรม ฮาร์ดร๊อค), เวทีพัทยาซอย 4 และ เวทีพัทยาใต้ |
พ.ศ. 2555 | Pattaya Music Festival 2012 | 29 มีนาคม | บริเวณริมหาดพัทยา ตั้งแต่พัทยาเหนือถึงพัทยาใต้ |
พ.ศ. 2557 | Pattaya Music Festival 2014 | 23 มีนาคม | ข้างโรงแรมฮาร์ดร็อกพัทยา เรกเก้ ถนนคนเดินพัทยา เซ็นทรัลเฟส บริเวณพัทยากลาง |
พ.ศ. 2558 | Pattaya Music Festival 2015 | 22 มีนาคม | บริเวณถนนสายชายหาด แหลมบาลีฮาย จังหวัดชลบุรี |
พ.ศ. 2558 | 78 ปี ตำนานแห่งสายน้ำ ครูชลธี ธารทอง | 16 พฤษภาคม | หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย |
รางวัลที่ได้รับแก้ไข
- รางวัล เมขลา ปี พ.ศ. 2536 สาขานักแสดงดาวรุ่งชาย จากละครเรื่อง "วันนี้ที่รอคอย"
- รางวัล ลูกกตัญญู ปี พ.ศ. 2537
- รางวัล ครอบครัวขวัญใจประชาชน
- รางวัล แต่งกายดีเด่น สาขาศิลปินนักร้อง
- รางวัล พระพิฆเนศทองพระราชทาน ครั้งที่ 2 ปี พ.ศ. 2540 สาขานักร้องลูกทุ่งชายยอดเยี่ยม จากเพลงเรือนหอน้ำตา
- รางวัล พระพิฆเนศทองพระราชทาน ครั้งที่ 3 ปี พ.ศ. 2541 สาขาเพลงไทยลูกทุ่งชายเอี่ยม จากเพลงแด่..แม่
- รางวัล คนดีศรีโคราช ปี พ.ศ. 2541
- รางวัล พระพิฆเนศทองพระราชทาน ปี พ.ศ. 2544 สาขาเพลงไทยลูกทุ่งชายยอดเยี่ยม จากเพลง สมหวังนะครับ
- รางวัล มาลัยทอง ปี พ.ศ. 2544 สาขานักร้องชายยอดนิยม จากเพลงต้องมีสักวัน
- รางวัล มาลัยทอง ปี พ.ศ. 2546 สาขาเรียงเรียงเสียงประสานยอดเยี่ยม จากเพลงเอิ๊ง เอ่ย
- รางวัล มาลัยทอง ปี พ.ศ. 2546 สาขานักร้องชายยอดเยี่ยม จากเพลงใจสารภาพ
- รางวัล มาลัยทอง ปี พ.ศ. 2546 สาขาคำร้องยอดเยี่ยม จากเพลงสวรรค์ปลายนา
- รางวัล พระพิฆเนศทองพระราชทาน ครั้งที่ 6 ปี พ.ศ. 2547 สาขานักร้องลูกทุ่งชายยอดเยี่ยม เพลงใจสารภาพ
- รางวัล มาลัยทอง ปี พ.ศ. 2549 สาขานักร้องชายยอดเยี่ยม จากเพลงเธอคือดวงใจ
- รางวัล ขวัญใจคอเพลงลูกทุ่ง ปี พ.ศ. 2550 จาก TV POOL และ สวนดุสิตโพล
- รางวัล พระพิฆเนศทองพระราชทาน ครั้งที่ 7 ปี พ.ศ. 2553 2 รางวัล สาขานักร้องลูกทุ่งชายยอดเยี่ยม และเพลงยอดเยี่ยม
ผลงานอื่น ๆแก้ไข
เพลงประกอบละคร โฆษณาแก้ไข
- พ.ศ. 2537 เพลง "สายใย" ประกอบละคร “สายรักสายสวาท”
- พ.ศ. 2537 เพลง "เกมเกียรติยศ" ประกอบละคร “เกมเกียรติยศ”
- พ.ศ. 2538 เพลง "ดาวดวงนี้" ประกอบละคร “ดาวแต้มดิน”
- พ.ศ. 2552 เพลง "นำทางรวย" ประกอบโฆษณา “รถกระบะอีซูซุ”
- พ.ศ. 2558 เพลง "สมหวังนะครับ" ประกอบโฆษณา “สมหวัง เงินสั่งได้”
ผลงานละครโทรทัศน์แก้ไข
- กำลังใจ ปี พ.ศ. 2534 - 2535 ช่อง 7 (ผลงานละครเรื่องแรก โดยเป็นละครชุดตอนเย็น)
- ด้วยเนื้อนาบุญ ปี พ.ศ. 2534 - 2535 ช่อง 7 (ตัวประกอบ)
- วันนี้ที่รอคอย ปี พ.ศ. 2536 ช่อง 7 รับบทเป็น จ้าวฉินเจียง (แสดงร่วมกับ “เบิร์ด” ธงไชย แมคอินไตย์, สรพงศ์ ชาตรี และได้รับรางวัลเมขลาดาวรุ่งชาย)
- สายรักสายสวาท ปี พ.ศ. 2537 ช่อง 3 รับบทเป็น ภาคิไนย คู่กับ ปัทมวรรณ เค้ามูลคดี
- เกมเกียรติยศ ปี พ.ศ. 2537 ช่อง 5 คู่กับ ธนาภรณ์ รัตนเสน + รัญญา ศิยานนท์
- ดาวแต้มดิน ปี พ.ศ. 2538 ช่อง 7 รับบทเป็น ภุมวา คู่กับ สุวนันท์ คงยิ่ง, อนันต์ บุนนาค
- สาวใช้คนใหม่ ปี พ.ศ. 2539 ช่อง 9 รับบทเป็น ไผท คู่กับ ชไมพร สิทธิวรนันท์
- หงส์ฟ้ากับสมหวัง ปี พ.ศ. 2544 ช่อง 7 รับบทเป็น สมหวัง คู่กับ พิยดา อัครเศรณี, วัชระ ปานเอี่ยม, ธงชัย ประสงค์สันติ, ไพโรจน์ ใจสิงห์
- ลิเก๊..ลิเก ปี พ.ศ. 2546 ช่อง 7 รับบทเป็น พงศ์เทพ / หลง คู่กับ ภัครมัย โปตระนันท์, ไพโรจน์ ใจสิงห์, ชาย เมืองสิงห์
- เธอคือดวงใจ ปี พ.ศ. 2549 ช่อง 3 รับบทเป็น ปฐวี คู่กับ เข็มอัปสร สิริสุขะ, สันติสุข พรหมศิริ
- หมัดเด็ดเสียงทอง ปี พ.ศ. 2558 ช่อง โมเดิร์นไนน์ทีวี รับบทเป็น ก๊อต คู่กับ เล็ก อรวี
ผลงานภาพยนตร์แก้ไข
- เพื่อนซื่อพาก๊อง (เป็นภาพยนตร์เรื่องเดียวที่เล่นกับ บอย อินคา กำกับการแสดงโดย ประยูร วงศ์ชื่น) (2536)
พิธีกรแก้ไข
- ลูกทุ่งไอดอล SS2 ปี พ.ศ. 2562 (เป็นกรรมการตัดสินร่วม)
- ลูกทุ่งไอดอล SS3 ปี พ.ศ. 2563 (เป็นกรรมการตัดสินร่วม)
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ ก๊อท-จักรพันธ์ ครบุรีธีรโชติ: 7 สิ่งมหัศจรรย์ ที่ประกอบเขาให้กลายเป็นเจ้าชายแห่งวงการเพลงลูกทุ่ง
- ↑ 2.0 2.1 “ก๊อท จักรพันธ์” ของขึ้น! ถามนักร้องรุ่นลูก สะกด ‘มารยาท’ เป็นไหม?
- ↑ "ด่วน! "ก๊อท จักรพันธ์" ตัดขาด "แกรมมี่" พิษโปรเจกต์ "นิวคันทรี่"". กรุงเทพธุรกิจ. 2022-12-08. สืบค้นเมื่อ 2022-12-09.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
- หนังสือพิมพ์ ข่าวสด ฉบับ 4 กันยายน 2548 โดย สมรัก บรรลังก์ เผยแพร่ผ่านเว็บบอร์ด Thaimisc.Pukpik.com โดยสมาชิก sls - สัมภาษณ์เกี่ยวกับ ชีวิตวัยเด็ก ถึง อัลบั้ม แทนความคิดถึง[ลิงก์เสีย]
- รายการเมืองสำราญ สถานีโทรทัศน์ช่อง 7 เผยแพร่ผ่านไดอารี่ Luktung.Blogspot.com - สัมภาษณ์เกี่ยวกับ การเปลี่ยนชื่อ และอุปนิสัย
- ไทยรัฐออนไลน์ คอลัมน์บันเทิง โดยหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เมื่อ 19 กรกฎาคม 2557 - สัมภาษณ์เกี่ยวกับ ชีวิตช่วงพัก และคอนเสิร์ตใหญ่
- G-member ของ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ - รายชื่ออัลบั้มและเพลง เก็บถาวร 2018-09-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- KK-BOX Thailand - รายชื่ออัลบั้มและเพลง เก็บถาวร 2015-06-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน