จอร์เจ เอมิล ปาลาเด

(เปลี่ยนทางจาก จอร์จ อี. พาเลด)

จอร์เจ เอมิล ปาลาเด ForMemRS HonFRMS (โรมาเนีย: George Emil Palade, ออกเสียง: [ˈdʒe̯ordʒe eˈmil paˈlade] ( ฟังเสียง); 19 พฤศจิกายน 1912 – 7 ตุลาคม 2008) เป็นนักชีววิทยาเซลล์ชาวโรมาเนีย และได้รับการบรรยายไว้ว่าเป็น "นักชีววิทยาเซลล์ที่มีอิทธิพลที่สุดตลอดกาล"[3] ในปี 1974 เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ ร่วมกับอาลแบร์ โกลด และคริสเชียน เดอ ดูเว จากผลงานการค้นคว้าด้านกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนและการแยกส่วนเซลล์ซึ่งต่อมาถือเป็นรากฐานสำคัญของชีววิทยาเซลล์ระดับโมเลกุลในยุคใหม่[3] ผลงานการค้นพบที่สำคัญที่สุดของเขาคือการค้นพบไรโบโซมบนเอนโดพลาสมิกเรกติคูลัมซึ่งเขาบรรยายไว้ครั้งแรกในปี 1955[4][5][6][7]

จอร์เจ ปาลาเด
เกิดจอร์เจ เอมิล ปาลาเด
19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1912(1912-11-19)
ยัช ราชอาณาจักรโรมาเนีย
เสียชีวิต8 ตุลาคม ค.ศ. 2008(2008-10-08) (95 ปี)
เดลมาร์ รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐ
สัญชาติโรมาเนีย
ศิษย์เก่าวิทยาลัยแพทยศาสตร์การอล ดาวีลา
มีชื่อเสียงจาก
คู่สมรส
รางวัล
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาชีววิทยาเซลล์
สถาบันที่ทำงาน
ลูกศิษย์ที่มีชื่อเสียงกึนเทอร์ โบลเบิล[2]

ปาลาเดยังได้รับเหรียญเกียรติยศวิทยาศาสตร์จากสหรัฐ ในสาชาวิทยาศาสตร์ชีววิทยา จากผลงาน "เป็นผู้ริเริ่มการค้นพบโครงสร้างอันเป็นระเบียบยิ่งและเป็นพื้นฐานของเซลล์ที่มีชีวิตทั้งหลาย" ในปี 1986 และยังได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกของสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติในปี 1961 และในปี 1968 ได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์แห่งราชสมาคมจุลทรรศนวิทยา (HonFRMS)[8] ในปี 1984 เขากลายมาเป็นสมาชิกราชสมาคมที่เป็นชาวต่างชาติ (ForMemRS)[1]

ชีวิตช่วงต้นและการศึกษา แก้

จอร์เจ เอมิล ปาลาเด เกิดเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 1912 ในเมืองยัช ประเทศโรมาเนีย บิดาเป็นศาสตราจารย์ด้านปรัชญาประจำมหาวิทยาลัยยัช และมารดาเป็นครูโรงเรียนมัธยม ปลาเดจบการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิตในปี 1940 จากวิทยาลัยแพทยศาสตร์การอล ดาวีลา ในบูคาเรสต์

วิชาชีพ แก้

ปาลาเดเป็นคณาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยดาวีลาในบูคาเรสต์จนถึงปี 1946 จากนั้นเขาได้เดินทางไปยังสหรัฐ[9] เพื่อทำงานวิจัยหลังปริญญาเอก ขณะช่วยงานรอเบิร์ต เชมเบอส์ ในห้องทดลองชีววิทยาของมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก เขาได้พบกับศาสตราจารย์อาลแบร์ โกลด[10] จากนั้นเขาจึงเข้าร่วมกำงานกับคลอดที่สถาบันวิจัยการแพทย์ร็อกกีเฟลเลอร์[9]

ในปี 1952 ปาลาเดได้รับสถานะพลเมืองสหรัฐ เขาทำงานอยู่ที่สถาบันร็อกกีเฟลเลอร์จากปี 1958–1973 และยังเป็นศาสตราจารย์ประจำที่วิทยาลัยแพทยศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเยล (1973–1990) และมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย แซนดีเอโก (1990–2008) ขณะประจำที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ปาลาเดมีตำแหน่งวิทยฐานะเป็น Professor of Medicine in Residence (Emeritus) ประจำภาควิชาแพทยศาสตร์ระดับเซลล์และโมเลกุล รวมถึงเป็นคณบดีส่วนกิจการวิทยาศาสตร์ (Dean for Scientific Affairs (Emeritus)) ประจำวิทยาลัยแพทยศาสตร์ลาฮอยา แคลิฟอร์เนีย (School of Medicine at La Jolla, California)[11]

ในปี 1970 เขาได้รับรางวัลลุยซา กรอส ฮอร์วิตซ์ จากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ร่วมกับเรนาโต ดุลเบคโค เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์ฯ ประจำปี 1975[12] ในปี 1985 เขากลายมาเป็นบรรณาธิการบริหารชุดแรกของวารสาร Annual Review of Cell and Developmental Biology[13]

ในปี 1974 ปาลาเดได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ร่วมกับอาลแบร์ โกลด และคริสเชียน เดอ ดูเว จากผลงานการค้นคว้าด้านกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนและการแยกส่วนเซลล์ซึ่งต่อมาถือเป็นรากฐานสำคัญของชีววิทยาเซลล์ระดับโมเลกุลในยุคใหม่[3] สุนทรพจน์รับรางวัลโนเบลของเขาเมื่อ 12 ธันวาคม 1974 มีชื่อว่า "มุมมองระดับในเซลล์ของขบวนการการหลั่งโปรตีน" ("Intracellular Aspects of the Process of Protein Secretion")[14] และได้รับการตีพิมพ์โดยมูลนิธิรางวัลโนเบลในปี 1992[15][16]

ขณะทำงานอยู่ที่สถาบันร็อกกีเฟลเลอร์ ปาลาเดได้ใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนศึกษาการจัดการโครงสร้างภายในของเซลล์ เช่น ไรโบโซม, ไมโทคอนเดรีย, คลอโรพลาสต์, กอลไจแอปพาราตัส เป็นต้น การค้นพบครั้งสำคัญของเขามาจากการวิเคราะห์พัลส์-เชสซึ่งเขาและเพื่อนร่วมงานประสบความสำเร็จในการยืนยันข้อสันนิษฐานเดิมที่ว่ามีวิถีการคายสาร (secretory pathway) ร่วมระหว่างเอนโดพลาสมิกเรกติคูลัมหยาบกับกอลไจแอปพาราตัส เขาพุ่งเป้าการศึกษาไปที่โครงสร้างที่ปัจจุบันเรียกว่า เวย์เบล-ปาลาเด บอดี (ตามชื่อของเขาและเอวัลท์ ไวเบิล นักสรีรวิทยาชาวสวิส) ซึ่งเป็นออร์กาเนลล์สำหรับเก็บกัก (storage organelle) ที่มีเฉพาะในเนื้อเยื่อบุโพรง และเป็นที่เก็บกักโปรตีนเช่นวอนวิลเลอแบรนด์แฟกเตอร์[17]

ข้อมูลของมูลนิธิโนเบลระบุว่า ผู้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีในปี 2009 ได้แก่เว็งกัฏรามัณ รามกิรุษณัณ, ทอมัส เอ. สตีตซ์ และอาดา โยนัต ได้รับรางวัลจาก "การศึกษาโครงสร้างและหน้าที่ของไรโบโซม" ที่ปาลาเดได้ค้นพบ[18]

ชีวิตส่วนบุคคล แก้

ปาลาเดสมรสกับแมริลิน ฟาร์คูฮาร์ นักชีววิทยาเซลล์ประจำมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย แซนดีเอโก[19]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "Fellowship of the Royal Society 1660–2015". London: Royal Society. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-15.
  2. "The Palade Symposium: Celebrating Cell Biology at Its Best". Molbiolcell.org. Retrieved on 2016-06-10.
  3. 3.0 3.1 3.2 "Prof. George Palade: Nobel prize-winner whose work laid the foundations for modern molecular cell biology". The Independent. 22 October 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 19, 2010. สืบค้นเมื่อ 2011-02-09. Archived. (Internet Archive copy)
  4. Grens, Kerry (February 1, 2014). "Palade Particles, 1955". The Scientist.
  5. Pollack, Andrew (October 9, 2008) George Palade, Nobel Winner for Work Inspiring Modern Cell Biology, Dies at 95. New York Times
  6. George E. Palade ที่ Nobelprize.org  , accessed 11 ตุลาคม 2563
  7. Palade, G. E. (2007). "Tribute to Professor George E. Palade". Journal of Cellular and Molecular Medicine. 11 (1): 2–3. doi:10.1111/j.1582-4934.2007.00018.x. ISSN 1582-1838. PMC 4401215. PMID 17367496.
  8. "Honorary Fellows Past and Present". Royal Microscopical Society. สืบค้นเมื่อ 5 June 2018.
  9. 9.0 9.1 "George E. Palade – Autobiography". Nobelprize.org. 2008-10-07. สืบค้นเมื่อ 2011-04-03.
  10. "George E. Palade - Autobiography". 2006-07-16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-07-16. สืบค้นเมื่อ 2019-08-16.
  11. Professor George E. Palade – web page at the University of California at San Diego, School of medicine เก็บถาวร มีนาคม 30, 2004 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  12. "The 1974 Nobel Prize for Medicine". Nobelprize.org. สืบค้นเมื่อ 2011-04-03.
  13. Spudich, James A. (1994). "Preface". Annual Review of Cell Biology. 10. doi:10.1146/annurev.cb.10.111406.100001.
  14. "Nobel lecture". Nobelprize.org. 1974-12-12. สืบค้นเมื่อ 2011-04-03.
  15. The Nobel Prize Lecture of George E. Palade (Pdf 3.78 MB), (1974) The Nobel Foundation, ISBN 981-02-0791-3
  16. Nobel Lectures in Physiology or Medicine เก็บถาวร กรกฎาคม 14, 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  17. Weibel, ER; Palade, GE (1964). "New cytoplasmic components in arterial endothelia". The Journal of Cell Biology. 23 (1): 101–112. doi:10.1083/jcb.23.1.101. PMC 2106503. PMID 14228505.
  18. 2009 Nobel Prize in Chemistry, Nobel Foundation
  19. y James D. Jamieson (November 8, 2008). "Obituary: "A tribute to George E. Palade". Journal of Clinical Investigation. 118 (11): 3517–3518. doi:10.1172/JCI37749. PMC 2575727. PMID 19065752.

บรรณานุกรม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้