จอร์จ ฮาร์วีย์ สเตรต (เกิด: 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1952) เป็นนักร้อง นักแต่งเพลง นักแสดง และโปรดิวเซอร์เพลงชาวอเมริกันจากโพทีต, รัฐเท็กซัส, สหรัฐอเมริกา สเตรตได้รับการขนานนามอย่างกว้างขวางให้เป็น "ราชาเพลงคันทรี" (King of Country)[1] และเป็นหนึ่งในผู้ที่มีอิทธิพลต่อวงการคันทรีและยังเป็นศิลปินคันทรีที่อยู่ในกระแสนิยมมากที่สุดคนหนึ่งตลอดกาล[2] สเตรตเป็นที่รู้จักในฐานะผู้นำแนวคันทรีแนวนีโอมาปรับใช้เข้ากับดนตรีของเขา การแต่งตัวในชุดคาวบอย นอกจากนี้ยังเป็นหนึ่งในศิลปินคันทรีแรก ๆ ที่ผลักดันแนว คันทรีแท้ ให้กลับมานิยมอีกครั้งหนึ่ง ในช่วงยุค 80

จอร์จ สเตรต
จอร์จ สเตรต ในปี 2014
ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อเกิดจอร์จ ฮาร์วีย์ สเตรต
รู้จักในชื่อราชาจอร์จ
คิงจอร์จ
ราชาแห่งคันทรี
เดอะคาวบอย
เดอะแมน
เดอะคิง
เดอะไฟเออแมน
เกิด18 พฤษภาคม 1952 (อายุ 71)
ที่เกิดโพทีต, เท็กซัส, สหรัฐอเมริกา
แนวเพลงคันทรี
อาชีพนักร้อง, นักแสดง
เครื่องดนตรีเสียงร้อง, กีตาร์
ช่วงปี1976 - ปัจจุบัน
ค่ายเพลงเอ็มซีเอ (เอ็มซีเอ แนชวิลล์)
เว็บไซต์georgestrait.com
จอร์จ สเตรตบนตราคันทรีมิวสิกฮอลล์ออฟเฟม

สเตรตประสบความสำเร็จในซิงเกิลแรกของเขาคือ "Unwound" ซึ่งได้กลายเป็นซิงเกิลฮิตในปี 1981 และนับจากนั้นเป็นต้นมาตลอดช่วงยุค 80 ด้วยความเป็นที่นิยมอย่างสูงทำให้สตูดิโออัลบั้มทั้ง 7 อัลบั้มของสเตรตสามารถติดชาร์ตอันดับ 1 บนคันทรีชาร์ตทั้งหมด ในปี 2000 สเตรตก็ได้รับการบรรจุให้เป็นศิลปินคันทรีแห่งทศวรรษจาก อะแคเดมีออฟคันทรีมิวสิก (Academy of Country Music) ได้รับเลือกเข้าสู่คันทรีมิวสิกฮอลล์ออฟเฟม และได้รับรางวัลแกรมมีครั้งแรกจากอัลบั้ม Troubadour สเตรตได้รับการยกย่องให้เป็นเอนเตอร์เทนเนอร์แห่งปี 1989, 1990 และ 2013 จากสมาคมดนตรีคันทรี (CMA) และจากอะแคเดมีออฟคันทรีมิวสิก (ACM) ในปี 1990 และ 2014 เขายังได้รับการเสนอรับรางวัลทางดนตรีอีกมากมายและก็ได้รับรางวัลอีกหลายครั้งเช่นกัน ในปี 2009 สเตรตก็ได้ล้มสถิติซิงเกิลอันดับ 1 บนคันทรีชาร์ตมากที่สุดจาก คอนเวย์ ทวิตตี (Conway Twitty) ซึ่งทำไว้ที่ 40 ซิงเกิล แทนที่ด้วยสถิติใหม่ถึง 44 ซิงเกิล[3] แต่ถ้านับในทุกชาร์ตสเตรตจะมีซิงเกิลที่ไต่อันดับ 1 มากถึง 60 ซิงเกิล ทำให้สเตรตกลายเป็นศิลปินที่สามารถครองซิงเกิลอันดับ 1 ไว้มากที่สุดในทุกแนวเพลงอีกด้วย[4] สเตรตยังเป็นที่รู้จักในทัวร์คอนเสิร์ตมากมายทั้ง 360- ดีกรี (360- degree) ซึ่งในเวลาเพียง 3 ปีเขาก็สามารถทำกำไรได้สูงถึง 90 ล้านดอลลาร์[5] จึงกล่าวได้ว่าจอร์จ สเตรต เป็นบุคคลที่มีอิทธิพลต่อวงการคันทรีมากที่สุดคนหนึ่งและยังคงมีซิงเกิลอีกเป็นจำนวนมากที่ได้รับความนิยมจวบจนถึงปัจจุบันนี้

ตลอดช่วงเวลาในวงการเพลงของสเตรตสามารถทำยอดขายรวมมากกว่า 160 ล้านชุดทั่วโลก[6] ทำให้เขาเป็นหนึ่งในศิลปินที่ทำยอดขายได้สูงสุดตลอดกาล ได้รับการยืนยันยอดจำหน่ายสมาคมอุตสาหกรรมบันทึกเสียงของสหรัฐ (RIAA) ระดับ 13 มัลติแพลทินัม, 33 ทองคำขาว และ 38 ทอง[7] โดยมีอัลบั้มที่ประสบความสำเร็จในแง่ยอดขายมากที่สุดคือ Pure Country (1992) ซึ่งจำหน่ายได้ถึง 6 ล้านชุด (6× ทองคำขาว) ส่วนอัลบั้มที่ประสบความสำเร็จในแง่การยืนยันยอดมากที่สุดคือ Strait Out of the Box (1995) ด้วยยอดจำหน่าย 2 ล้านชุด (8× ทองคำขาว) และอ้างจากอาร์ไอเอเอ จอร์จ สเตรตสามารถจำหน่ายอัลบั้มได้สูงที่สุดเป็นอันดับที่ 12 ในบรรดาศิลปินสัญชาติอเมริกันทั้งหมด ด้วยยอดจำหน่ายกว่า 70 ล้านชุด[8] นอกจากนี้สเตรตยังเป็นรองแค่เอลวิส เพรสลีย์และเดอะบีเทิลส์ ในฐานะศิลปินที่มียอดยืนยันระดับทองคำขาว-ทอง มากที่สุดอีกด้วย[9]

สตูดิโออัลบั้ม แก้

ทั้งหมด 29 อัลบั้ม

  • Strait Country (1981)
  • Strait from the Heart (1982)
  • Right or Wrong (1983)
  • Does Fort Worth Ever Cross Your Mind (1984)
  • Something Special (1985)
  • #7 (1986)
  • Ocean Front Property (1987)
  • If You Ain't Lovin' You Ain't Livin' (1988)
  • Beyond the Blue Neon (1989)
  • Livin' It Up (1990)
  • Chill of an Early Fall (1991)
  • Holding My Own (1992)
  • Pure Country (1992)
  • Easy Come, Easy Go (1993)
  • Lead On (1994)
  • Blue Clear Sky (1996)
  • Carrying Your Love with Me (1997)
  • One Step at a Time (1998)
  • Always Never the Same (1999)
  • George Strait (2000)
  • The Road Less Traveled (2001)
  • Honkytonkville (2003)
  • Somewhere Down in Texas (2005)
  • It Just Comes Natural (2006)
  • Troubadour (2008)
  • Twang (2009)
  • Here for a Good Time (2011)
  • Love Is Everything (2013)
  • Cold Beer Conversation (2015)

ภาพยนตร์ แก้

ปี ชื่อ บท
1982 The Soldier ตัวเอง
1992 Pure Country Wyatt "Dusty" Chandler
2002 Grand Champion ตัวเอง
2003 King of the Hill พากย์เสียงคอร์เนล
2011 Pure Country 2: The Gift ตัวเอง

อ้างอิง แก้

  1. Villalva, Brittney R. (September 27, 2012). "George Strait Farewell Tour Announced" .The Christian Post. Retrieved October 18, 2014.
  2. Bego, Mark (2001). George Strait: The Story of Country's Living Legend. New York: Citadel Press. ISBN 978-0806522586.
  3. Trust, Gary (December 29, 2009). "Best of 2009 by the Numbers" .Billboard. Retrieved January 8, 2010.
  4. Stark, Phyllis (February 26, 2006). "Being George Strait". American Chronicle. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 9, 2007. สืบค้นเมื่อ March 15, 2007.
  5. Waddell, Ray. "Legend of Live Goes Country." Billboard 125.44(2013): 55-56. Music Index. Web. 5 Oct. 2015.
  6. Tipping, Joy (June 8, 2014). "George Strait Sets a U.S. Concert Attendance Record ..." เก็บถาวร 2014-06-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน .The Dallas Morning News. Retrieved June 8, 2014.
  7. "Top Awarded Artists". Riaa.com. สืบค้นเมื่อ 2012-11-20.
  8. "George Strait Sets Billboard Record". Gather. April 14, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-16. สืบค้นเมื่อ November 2, 2012.
  9. Betts, Stephen L. (June 4, 2009). "George Strait Catching Up to Beatles, Elvis". The Boot. สืบค้นเมื่อ November 2, 2012.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้