จอกบ่วาย
จอกบ่วายที่ภูกระดึง
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Core eudicots
อันดับ: Caryophyllales
วงศ์: Droseraceae
สกุล: Drosera
สปีชีส์: D.  burmannii
ชื่อทวินาม
Drosera burmannii
Vahl (1794)
ชื่อพ้อง
  • Drosera burmannii
    auct. non Vahl: DC. (1824)
    [=Drosera burmannii/Drosera spatulata]
  • Drosera burmannii
    auct. non Vahl: Ito & Matsum. (1899)
    [=Drosera spatulata]
  • Drosera burmannii var. dietrichiana
    (Rchb.f.) Diels (1906)
  • Drosera dietrichiana
    Rchb.f. (1871)
  • Drosera rotundifolia
    auct. non L.: Lour. (1790)
  • Drosera sessilifolia
    auct. non St.Hil.: R.Hamet (1907)
    [=Drosera burmannii/Drosera sessilifolia]
  • Drosera zeylonensis
    Burm. ex Diels (1906)

จอกบ่วาย หรือ หมอกบ่วาย เป็นพืชกินสัตว์ขนาดเล็กอยู่ในสกุลหยาดน้ำค้างเป็นพืชฤดูเดียว มีลักษณะลำต้นแนบไปกับพื้น ใบเป็นแผ่นมนรี ค่อนข้างหนา ลักษณะคล้ายช้อน เรียงกันเป็นรูปวงกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 ถึง 3 ซม. มีขน จอกบ่วายเป็นหยาดน้ำค้างที่มีกับดักแบบเร็ว เมื่อดักจับแมลงได้ใบจะโอบล้อมแมลงในสองสามวินาที ขณะที่ชนิดอื่นใช้เวลาเป็นนาทีหรือชั่วโมง

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ แก้

จอกบ่วายมีลำต้นจะแนบอยู่กับพื้นดิน ใบเป็นกระจุกแบบกุหลาบซ้อนหนาแน่นที่โคนแนบชิดติดดิน เส้นผ่าศูนย์กลาง ตั้งแต่ 1.5 - 3 ซม. แผ่นใบเป็นแผ่นมนรีรูปไข่กลับหรือทรงกลม ค่อนข้างหนา กว้างประมาณ 0.5-0.8 ซม. ยาวประมาณ 0.6-1.5 ซม.[1] ที่ใบจะมีขนเล็ก ๆ เป็นจำนวนมาก มีสีแดงเรื่อถึงแดง ปลายขนจะมีเมือกใสเกาะอยู่ คล้ายกับหยาดน้ำค้าง ดอกดอกออกใจกลางต้น ตั้งตรง ช่อดอกสูง 5 -15 ซม. กลีบดอกมีสีขาว[2]

การกระจายพันธุ์ แก้

จอกบ่วายมีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง พบในแถบประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินเดีย ศรีลังกา ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย ส่วนใหญ่ในประเทศไทยพบทุกภาคขึ้นตามที่ชื้นแฉะ ที่โล่งและดินที่ไม่สมบูรณ์ โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามภูเขาหินทราย

ประโยชน์ แก้

ในยาพื้นบ้านอีสาน ใช้จอกบ่วายทั้งต้นแห้ง ดองเหล้าดื่ม แก้ท้องมาน ทั้งต้นสด ขยี้ทาแก้กลากเกลื้อน[3] ในตำรายาไทย ใช้ ทั้งต้น แก้บิด ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ ไข้มาลาเรีย ตามตำรายาของฮินดูจอกบ่วายมีคุณสมบัติทำให้ผิวหนังแดงจากการที่เลือดคั่ง[4]

การเผยแพร่ในสื่อ แก้

 
แสตมป์ชุดพืชกินแมลง พ.ศ. 2549

ประเทศไทยได้จัดพิมพ์แสตมป์ชุดพืชกินแมลง 4 ดวง เป็นที่ระลึกสัปดาห์สากลแห่งการเขียนจดหมาย พ.ศ. 2549 โดยใช้ภาพที่ชนะเลิศจากการประกวดในงานสัปดาห์สากลแห่งการเขียนจดหมายประจำปี พ.ศ. 2548 ในหัวข้อ "พืชกินแมลง" 1 ใน 4 ดวงนั้นเป็นรูปจอกบ่วาย ที่ออกแบบโดย นายจรรยา บุญญาศักดิ์ ราคา 15.00 บาท ออกจำหน่ายครั้งแรกเมื่อ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2549[5]

อ้างอิง แก้

  1. จอกบ่วาย สารานุกรมพืชในประเทศไทย, สำนักงานหอพรรณไม้
  2. Larsen, K. (1987). Droseraceae. In T. Smitinand and K. Larsen (eds.), Flora of Thailand Vol. 2 part 1: 67-69.
  3. ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ มูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล, สารานุกรมสมุนไพรเล่ม 4 (กกยาอีสาน) , พิมพ์ครั้งที่ 1, อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) : กรุงเทพฯ 2543, หน้า 95-6
  4. Lewis, Walter H., 1977 Medical Botany - Plants Affecting Man's Health. John Wiley & Sons, St. Louis, Missouri.
  5. แสตมป์ชุดพืชกินแมลง เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน stampthai.org เก็บถาวร 2007-05-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน