จริญญา พึ่งแสง
จริญญา พึ่งแสง (10 มิถุนายน พ.ศ. 2467 — 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2542) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำพูน 1 สมัย อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน
จริญญา พึ่งแสง | |
---|---|
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำพูน | |
ดำรงตำแหน่ง 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 – 29 เมษายน พ.ศ. 2531 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 10 มิถุนายน พ.ศ. 2467 |
เสียชีวิต | 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 (74 ปี) |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2529—2530) |
ประวัติ
แก้จริญญา พึ่งแสง เกิดเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2467 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ธรรมศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ ระดับปริญญาโท สาขารัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยอินดีแอนา สหรัฐ[1] สมรสกับนางชวลี พึ่งแสง มีบุตร 2 คน
การทำงาน
แก้จริญญา พึ่งแสง รับราชการในสังกัดกระทรวงมหาดไทย จนได้รับแต่งตั้งเป็นปลัดจังหวัดราชบุรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร ระหว่างปี พ.ศ. 2519 ถึงปี พ.ศ. 2522[2] รองผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในปี พ.ศ. 2523 [3] และเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน ระหว่างปี พ.ศ. 2523 ถึงปี พ.ศ. 2527[4]
หลังเกษียณอายุราชการ นายจริญญา ได้เล่นการเมืองโดยการเข้าร่วมงานกับพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำพูน ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 ต่อมาในปี พ.ศ. 2530 ได้แยกตัวออกจากพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมกับกลุ่ม 10 มกรา[5]
ผลงานที่สำคัญของนายจริญญา อาทิ การสร้างอนุสาวรีย์พระนางจามเทวี การผลักดันการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม เป็นต้น
ถึงแก่อนิจกรรม
แก้จริญญา พึ่งแสง เสียชีวิตเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2542
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2530 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[6]
- พ.ศ. 2527 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2513 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[8]
- พ.ศ. 2509 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[9]
- พ.ศ. 2515 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[10]
- พ.ศ. 2514 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[11]
- พ.ศ. 2527 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[12]
- พ.ศ. ไม่ปรากฎ – เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 1 (เหรียญทอง)
อ้างอิง
แก้- ↑ ภาพและประวัติสมาชิกรัฐสภา พ.ศ. 2529. สำนักงานเลขารัฐสภา. 2529
- ↑ "ทำเนียบรองผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-18. สืบค้นเมื่อ 2020-07-08.
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2523/D/050/87.PDF
- ↑ ผู้บริหาร จังหวัดลำพูนอดีต
- ↑ บทเรียนสอนไม่จำ 32ปี กลุ่ม "10 มกรา" คนประชาธิปัตย์ ซ้ำรอยเสี้ยมกันเอง
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๔๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๑ ธันวาคม ๒๕๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2019-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๑๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕๓, ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๘๗ ตอนที่ ๙๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๗, ๒๑ ตุลาคม ๒๕๑๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๘๓ ตอนที่ ๖๘ ง หน้า ๒๕๙๑, ๙ สิงหาคม ๒๕๐๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๘๙ ตอนที่ ๒๐๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑๙๕, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี, เล่ม ๘๘ ตอนที่ ๙๔ ง หน้า ๒๓๗๗, ๓๑ สิงหาคม ๒๕๑๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๐๑ ตอนที่ ๑๘๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๔, ๑๔ ธันวาคม ๒๕๒๗