จระเข้แคระ
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: สมัยไมโอซีน–ปัจจุบัน[1]
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Sauropsida
อันดับ: Crocodilia
วงศ์: Crocodylidae
สกุล: Osteolaemus
Cope, 1861
สปีชีส์: O.  tetraspis
ชื่อทวินาม
Osteolaemus tetraspis
Cope, 1861
ชนิดย่อย
  • O. t. tetraspis Wermuth & Mertens (1961)
  • O. t. osborni (Schmidt (1919)) Wermuth & Mertens (1961)
การกระจายพันธุ์ของจระเข้แคระ

จระเข้แคระ (อังกฤษ: dwarf crocodile; ชื่อวิทยาศาสตร์: Osteolaemus tetraspis) เป็นจระเข้ที่พบในทวีปแอฟริกา และเป็นชนิดของจระเข้ที่เล็กที่สุดในโลก ปัจจุบันจากการสุ่มตัวอย่างตรวจพบถึงการระบุประชากรที่แตกต่างกันสามกลุ่มพันธุกรรม ซึ่งการค้นพบนี้อาจยกชนิดย่อยขึ้นเป็นชนิด

ลักษณะ แก้

 
กะโหลกจระเข้แคระจากพิพิธภัณฑ์เด็กอินเดียนนาโปลิส

จระเข้แคระเมื่อโตเต็มที่ยาวประมาณ 1.5 เมตร (5 ฟุต) ยาวสุดเท่าที่มีการบันทึกไว้คือ 1.9 เมตร (6.2 ฟุต) จระเข้โตเต็มวัยมีสีดำ ท้องเหลืองมีแต้มสีดำ จระเข้วัยอ่อนมีขีดสีน้ำตาลอ่อนบนลำตัวและหาง และลวดลายสีเหลืองบนหัว

เนื่องจากมีขนาดเล็กจึงมีความเสี่ยงในการล่า จระเข้ชนิดนี้จึงมีเกล็ดเป็นเกราะหนาบริเวณคอ หลัง และหาง และยังมีผิวหนังแข็งเป็นเกล็ด ที่ท้องและใต้ลำคอ

จระเข้แคระมีจมูกทื่อสั้น กว้าง คล้ายกับเคแมนแคระคูเวียร์ อาจเป็นเพราะอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่คล้ายกัน ชุดฟันประกอบด้วยฟันส่วนหน้าของกระดูกขากรรไกรบน 4 ซี่ ฟัน 12 ถึง 13 ซี่บนขากรรไกรบน และฟัน 14 ถึง 15 ซี่บนกระดูกเดนทารี (Dentary)

O.t. tetraspis มีสีสว่างกว่า มีจุดมากกว่า จมูกไม่เชิดขึ้น และมีเกราะลำตัวมากกว่า O.t. osborni

การกระจายพันธุ์และถิ่นอาศัย แก้

จระเข้แคระมีการกระจายพันธุ์ในที่ลุ่มเขตร้อนของพื้นกึ่งซาฮารา ของแอฟริกาตะวันตกทางภาคตะวันตกของแอฟริกากลาง ซึ่งมีการกระจายพันธุ์ได้ซ้อนทับกับจระเข้ปากแหลมทางตะวันตกไกลถึงประเทศเซเนกัล ทางตะวันออกไกลถึงสาธารณรัฐแอฟริกากลาง และทางใต้ถึงประเทศแองโกลา ชนิดย่อย O. t. tetraspis ส่วนมากพบในทางตะวันตกของแหล่งการกระจายพันธุ์ ขณะที่ O. t. osborni พบในป่าฝนของสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกเท่านั้น

จระเข้แคระอาศัยอยู่ในบ่อน้ำตามหนองบึง และพบตามแม่น้ำในป่าฝนบ้างเล็กน้อย มีบึนทึกว่าพบที่บ่อน้ำในทุ่งหญ้าสะวันนา ซึ่งมันจะขุดโพรงเพื่ออาศัยระหว่างฤดูแล้ง

อ้างอิง แก้

  ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Osteolaemus tetraspis ที่วิกิสปีชีส์

  1. "Osteolaemus Cope 1860". Paleobiology Database. Fossilworks. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-17. สืบค้นเมื่อ 17 September 2018.