ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จงรัก พลาศัย นายกสภามหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์[1][2] อธิการบดีคนแรกของมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ อดีตผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคนราธิวาส

ประวัติ

แก้

การศึกษา

แก้

ผศ.ดร.จงรัก พลาศัย สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ครุศาสตรอุตสาหกรรมบัณฑิต (วิศวกรรมเครื่องกล) จากสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตเทเวศน์ กรุงเทพมหานคร เมื่อปี พ.ศ. 2532 ระดับปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ พ.ศ. 2541 และระดับปริญญาเอก ด้านการศึกษา (Ed.D.) จากมหาวิทยาลัยบาเกียว ประเทศฟิลิปปินส์ ปี พ.ศ. 2551

การทำงาน

แก้

ผศ.ดร.จงรัก พลาศัย เริ่มรับราชการครู ประจำโรงเรียนเกษตรกรรมนราธิวาส เมื่อปี พ.ศ. 2519 ต่อมาในปี พ.ศ. 2525 จึงได้มารับตำแหน่งอาจารย์ ประจำวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ในปี พ.ศ. 2526 เป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการวิทยาลัยสารพัดช่างนราธิวาส ต่อมา พ.ศ. 2539 เป็นผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพตากใบ และเป็นผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคนราธิวาส ในปี พ.ศ. 2545 กระทั่งในปี พ.ศ. 2548 ได้มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ขึ้น และยุบรวมเอาวิทยาลัยเทคนิคนราธิวาสเข้าเป็นหน่วยงานในสังกัด ดร.จงรัก พลาศัย จึงได้รับการแต่งตั้งเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 จนถึงปัจจุบัน[3]

ผลงานโดดเด่น

แก้

ผศ.ดร.จงรัก พลาศัย เคยได้รับคัดเลือกเป็นข้าราชการผลงานดีเด่นของจังหวัดชายแดนภาคใต้ สาขาการบริหารนโยบาย ประจำปี 2546 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานเกียรติบัตร ณ อาคารสิริกาญจนทักษิณ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2546 และได้รับคัดเลือกจากกระทรวงวัฒนธรรม ให้เป็นผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา ประเภทส่งเสริมและอนุรักษ์วัฒนธรรม มรดกไทยทางพระพุทธศาสนา โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานรางวัลเสาเสมาธรรมจักรเนื่องในวันวิสาขบูชาโลก ประจำปี 2547

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/E/052/13.PDF
  2. วารสาร ประวัติอธิการบดี มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์[ลิงก์เสีย]
  3. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๓๙๘, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๑๐๔, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๓๒ ข หน้า ๗๐, ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๘
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๓๐๕, ๑๐ มีนาคม ๒๕๔๗