จงกั๋วสฺยงลี่-อฺวี่โจ้วเจียน
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
จงกั๋วสฺยงลี่-อฺวี่โจ้วเจียน (จีนตัวย่อ: 中国雄立宇宙间; จีนตัวเต็ม: 中國雄立宇宙間; พินอิน: Zhōngguó xióng lì yǔzhòujiān; "เมืองจีนยืนแกร่งกลางพิภพ") เป็นเพลงชาติประเทศจีน และ รัฐบาลสาธารณรัฐจีน (ระหว่าง ค.ศ. 1915–1921) กรมพิธีการ (禮制館) ได้ประกาศเพลงชาติประเทศจีนอย่างเป็นทางการในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1915 ในปีเดียวกันรัฐบาลเป่ย์หยางได้ใช้เพลงดังกล่าวเป็นเพลงชาติเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม ประพันธ์ทำนองโดย หวัง ลู่ (王露) เนื้อร้องโดย อิ้น ชาง (廕昌) ใช้แต่เพียงในสมัยการปกครองของยฺเหวียน ชื่อไข่ (袁世凱) เท่านั้น
คำแปล: เมืองจีนยืนแกร่งกลางพิภพ | |
---|---|
中國雄立宇宙間 | |
เนื้อร้อง | อิ้น ชาง (廕昌) |
ทำนอง | หวัง ลู่ (王露) |
รับไปใช้ | 23 พฤษภาคม ค.ศ. 1915 (สาธารณรัฐจีน) มิถุนายน ค.ศ. 1915 (จักรวรรดิจีน) |
เลิกใช้ | 22 มีนาคม ค.ศ. 1916 (จักรวรรดิจีน) 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1921 (สาธารณรัฐจีน) |
ตัวอย่างเสียง | |
จงกั๋วสฺยงลี่-อฺวี่โจ้วเจียน (บรรเลง) |
ภายหลังจากการสถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิจีน เมื่อ 12 ธันวาคม ค.ศ. 1915 ได้มีการแก้ไขบทร้องบางวรรค สำหรับใช้เป็นเพลงชาติภายหลังจากการอสัญกรรมเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน ค.ศ. 1916 ต่อมาได้มีการแก้ไขบทร้องบางวรรค โดย จาง จั้วหลิน (張作霖) และ ได้ใช้เป็นเพลงชาติเพียงระยะเวลาไม่นาน ใช้จนถึงวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 1921 ภายหลังได้เปลี่ยนไปใช้เพลงชาติฉบับใหม่ที่มีชื่อว่า "ชิงยฺหวินเกอ" (卿雲歌; "เพลงเมฆมงคล")
เนื้อร้อง
แก้บทร้องดั้งเดิม
แก้อักษรจีนตัวเต็ม | พินอิน | คำแปลภาษาไทย |
---|---|---|
中國雄立宇宙間, |
Zhōngguó xióng lì yǔzhoù jiān, |
เมืองจีนยืนแกร่งกลางพิภพ |
บทร้องในยุคยฺเหวียน ชื่อไข่
แก้อักษรจีนตัวเต็ม | พินอิน | คำแปลภาษาไทย |
---|---|---|
中國雄立宇宙間, |
Zhōngguó xióng lì yǔzhoù jiān, |
เมืองจีนยืนแกร่งกลางพิภพ |
- Shanrang ที่ปรากฏในเพลงนี้เป็นชื่อจักรพรรดิในตำนานจีนโบราณ ในภาษาจีนมีสำนวนหนึ่งกล่าวว่า "ศักราชจักรพรรดิเหยา และ จักรพรรดิชุน" (堯天舜日) สำนวนนี้ใช้หมายถึง ช่วงเวลาแห่งความสงบสุขและความอุดมสมบูรณ์
บทร้องในยุครัฐบาลเป่ยหยาง
แก้อักษรจีนตัวเต็ม | พินอิน | คำแปลภาษาไทย |
---|---|---|
中華雄立宇宙間, |
Zhōnghuá xióng lì yǔzhòu jiān, |
ประเทศจีนยืนยงในจักรวาลอย่างกล้าหาญ, |
- 四海 หมายถึง สี่ทะเลของประเทศจีนสมัยโบราณ อันประกอบด้วย ทะเลสาบชิงไห่ ทะเลจีนตะวันออก ทะเลจีนใต้ และทะเลสาบไบคาล หมายถึงทั่วอาณาบริเวณประเทศจีน