ห่านที่วางไข่ทองคำ

ห่านที่วางไข่ทองคำ (อังกฤษ: The Goose that Laid the Golden Eggs) เป็นนิทานอีสปหมายเลขที่ 87 ตามระบบจำแนกนิทานสอนใจของ B. E. Perry เป็นนิทานตะวันตกที่มีเรื่องคล้าย ๆ กันของชาวตะวันออก หลายเรื่องก็มีห่านวางไข่ทองคำเหมือนกัน ในขณะที่บางเรื่องจะแทนห่านด้วยแม่ไก่หรือสัตว์ปีกอื่นที่วางไข่ทองคำ นิทานเรื่องนี้เป็นที่มาของสำนวนภาษาอังกฤษว่า 'ฆ่าห่านที่วางไข่ทองคำ' (killing the goose that lays the golden eggs) ซึ่งหมายถึงการทำลายทรัพยากรอันมีค่าโดยไม่คำนึงถึงผลที่ตามมา หรือการกระทำที่ไม่เกิดประโยชน์เนื่องจากความโลภ

ห่านกับไข่ทองคำ วาดโดย ไมโล วินเทอร์ ในฉบับปี 1919

เนื้อเรื่องและคติสอนใจ แก้

Avianus และ Caxton ต่างเล่าเรื่องเป็นห่านออกไข่ทองคำ ในขณะที่มีรูปแบบเรื่องอื่น ๆ ที่เล่าเรื่องเป็นแม่ไก่ออกไข่ทองคำ[1] เช่นในเรื่องที่แปลโดย Townsend มีใจความว่า "ชาวบ้านคนหนึ่งและภรรยาของเขามีแม่ไก่ที่วางไข่ทองคำทุกวัน พวกเขาคิดว่าแม่ไก่มีทองขนาดใหญ่ภายในตัว จึงฆ่าไก่เพื่อที่เอาทองออกมา หลังจากที่ลงมือทำไปแล้ว พวกเขากลับต้องแปลกใจที่แม่ไก่นั้นไม่ได้แตกต่างไปจากแม่ไก่ตัวอื่นที่พวกเขามี ผลจากความอยากรวยในเวลาอันสั้นได้ทำให้คู่สามีภรรยาที่โง่เขลาพลาดผลประโยชน์ที่เขาควรได้รับทุกวันจากการกระทำอันโง่เขลาของตน"[2]

สำนวนภาษาอังกฤษ "อย่าฆ่าห่านที่วางไข่เป็นทองคำ" (Kill not the goose that lays the golden egg)[3] หรือที่บางทีเรียกสั้น ๆ ว่า "การฆ่าห่านทองคำ" (killing the golden goose) มาจากนิทานเรื่องนี้ สำนวนนี้มักใช้กับการกระทำสิ้นคิดที่ทำลายความสามารถในการทำกำไรของสินทรัพย์ ในนิทานสำนวนของ Caxton เล่าว่าเจ้าของห่านมีความโลภ ต้องการไข่สองฟองต่อวัน เมื่อห่านทำไม่ได้จึงฆ่ามันเสีย[4] คติสอนใจทำนองเดียวกันยังสอนไว้ในนิทานของ Ignacy Krasicki ในเรื่อง "ชาวสวน" (The Farmer) ที่มีความโลภอยากได้ผลผลิตจากที่ดินเป็นสองเท่า

มีนิทานอีกสำนวนหนึ่งโดย Syntipas (Perry Index 58) ซึ่งปรากฏอยู่ในหนังสือของ Roger L'Estrange เมื่อ ค.ศ. 1692 ในเรื่อง "ผู้หญิงและแม่ไก่อ้วน" (A Woman and a Fat Hen นิทายหมายเลข 87) ความว่า สุภาพสตรีนางหนึ่งมีแม่ไก่ที่ออกไข่วันละหนึ่งฟอง เธอคิดไปว่าหากเธอให้ข้าวโพดแก่แม่ไก่มากขึ้น แม่ไก่อาจออกไข่วันละสองครั้ง เธอจึงทำการทดลองดังที่คิด แม่ไก่อ้วนท้วนขึ้นและเลิกออกไข่ ผู้แด่งให้ความเห็นว่า 'เราทุกคนควรกำหนดข้อจำกัดของความต้องการและมีความพึงพอใจกับสิ่งที่ดีอยู่แล้ว เนื่องจากกลัวที่จะสูญเสียสิ่งที่มีอยู่' นิทานอีสปอีกเรื่องหนึ่งที่มีคติสอนใจอย่างเดียวกัน คือสุนัขและกระดูก

การประยุกต์ใช้ในงานศิลป์ แก้

ภาพประกอบ "ห่านกับไข่ทองคำ" โดยส่วนใหญ่แสดงให้เห็นชาวนาที่สิ้นหวังหลังจากค้นพบว่าเขาได้ฆ่าห่านไปอย่างไร้ความหมาย นิทานเรื่องนี้ยังเป็นหนึ่งในนิทานที่ถูกประยุกต์ใช้กับปัญหาการเมืองโดยนักวาดภาพประกอบชาวอเมริกันโธมัส แนสต์ ภาพประกอบแสดงถึงชาวนาที่กำลังสับสนจากคำแนะนำของนักการเมืองคอมมิวนิสต์ ปรากฏในนิตยสาร Harpers Weekly ฉบับวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2421 มีข้อความประกอบว่า ฆ่าห่านที่วางไข่ทองคำตลอด ("Always killing the goose that lays the golden eggs")[5] ภาพประกอบสื่อถึงเหตุการณ์ The Rail Strike ใน พ.ศ. 2420 ชาวนาในภาพหมายถึงสมาชิกสหภาพแรงงานที่ถูกปั่นประสาททางการเมือง มีภรรยาและลูกโศกเศร้าอยู่บริเวณพื้นหลังของภาพ

อ้างอิง แก้

  1. "The Man And The Golden Eggs". Mythfolklore.net. สืบค้นเมื่อ 2011-10-17.
  2. "163. The Hen and the Golden Eggs (Perry 87)". Mythfolklore.net. สืบค้นเมื่อ 2011-10-17.
  3. Marvin, Dwight Edwards (1922). The Antiquity of Proverbs: Fifty Familiar Proverbs and Folk Sayings with Annotations and Lists of Connected Forms, Found in All Parts of the World. G. P. Putnam's Sons. pp. 188–189.
  4. "Avyan 24. Of the goos and of her lord (Perry 87)". Mythfolklore.net. สืบค้นเมื่อ 2011-10-17.
  5. "Always Killing the Goose that Lays the Golden Eggs". Sophia.smith.edu. สืบค้นเมื่อ 2011-10-17.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้